โครงการหมอดินน้อยคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม (กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิตจ.ปทุมธานี)
โครงการหมอดินน้อยคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม (กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิตจ.ปทุมธานี)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการหมอดินน้อยคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิต จ.ปทุมธานี
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิต เกิดจากโครงการที่โรงเรียนธัญรัตน์เข้าร่วมกับหน่วยงาน WWF ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 โดยคุณครูสาระวิชาวิทยาศาสตร์ นำนักเรียนชั้น ม.2 ทำโครงการ “นักสำรวจท้องทุ่ง” และมาเป็น “สืบสวนป่วนส้มรังสิต” ในปี 2553 ต่อมาเกิดนักเรียนกลุ่มแกนนำที่ชอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งก็คือ น้องบิ๊ว น้ำมล และได้ทำโครงการต่อมาในปี 2554 ชื่อ “รักษ์ส้มรังสิต” จนกระทั่งในปี 2555 ได้มาทำโครงการส้มรังสิตคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม คือพัฒนา “หมอดินน้อยร้อยคน”ซึ่งเปิดรับสมาชิกรุ่นน้องๆมาศึกษาเรียนรู้การฟื้นฟูดิน 100 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการปลูกใจรักษ์โลก ของมูลนิธิกองทุนไทยและมูลนิธิสยามกัมมาจล และในปี 2556 กลุ่มเยาวชนฯก็ได้รับการสนับสนุนโครงการเป็นระยะที่ 2 โดยยังเน้นไปที่การพัฒนาหมอดินน้อย

­

รายชื่อเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการ


1.น.ส.วิภาดา แก้วพร อายุ 16 ปี หัวหน้าโครงการ

2.นายพงษ์วัฒน์ พันธุ์ไพโรจน์ อายุ 15 ปี ติดต่อประสานงาน

3.น.ส.รุจาภา นิลมูล อายุ 15 ปี ผู้ให้ความรู้และถ่ายทอดกระบวนการตรวจสอบคุณภาพดิน

4.น.ส.กมลรัตน์ เทือกไชยคำ อายุ 17 ปี

5.นายคชรักษ์ แก้วสุราษฎ์ อายุ 18 ปี

6.นายทรงฤทธิ์ เกิดผล อายุ 18 ปี

7.นายระชัย ตัณฑ์อำไพ อายุ 18 ปี

8.น.ส.ชนิดา สิงห์บุปผา อายุ 18 ปี

9.น.ส.อทิตยา มาดรกลาง อายุ 16 ปี

10.นายชัยวัตร เวชกิจ อายุ 15 ปี

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำโครงการ


ชุมชนคลองรังสิตมีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำเกษตรกรรมร่องสวนเป็นอาชีพหลักวิถีชีวิตพึ่งพาแหล่งน้ำจากคลองรังสิต เพื่อการเพาะปลูก คมนาคม อุปโภค และบริโภคแต่เดิมเกษตรกรทำสวนส้ม แต่ประสบปัญหาโรคส้มระบาด และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นดินเปรี้ยวเกษตรกรจึงเริ่มหันมาปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งสามารถทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและน้ำท่วมขังได้นานกว่า 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนสภาพเป็นแหล่งอุตสาหกรรม และอาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นยิ่งส่งผลให้พื้นที่ทำการเกษตรลดน้อยลงแต่ถึงกระนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของทุ่งรังสิตก็ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใส่ปุ๋ยและใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแต่กลับส่งผลให้คุณภาพดินแย่ลง

­

โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ


คุณภาพดินเสื่อมโทรมจากการทำการเกษตร กลุ่มเยาวชนจึงมีความต้องการพัฒนาปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่สวนส้มคลอง 10 และสวนมะม่วงที่อยู่คลอง 11 และสร้างหมอดินน้อยเพื่อมาทำหน้าที่ในการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพดิน

­

เป้าหมายของการทำโครงการ


เพื่อสร้างแกนนำเยาวชน 120 คน ให้เป็นหมอดินที่สามารถตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพดินได้

­

พื้นที่ดำเนินโครงการ / กลุ่มเป้าหมาย


-สวนส้ม คลอง 10 และ สวนมะม่วง คลอง 11

-นักเรียนโรงเรียนธัญรัตน์ จำนวน 100 คน / แกนนำเยาวชนจากโครงการหมอดินปี 1 จำนวน 40 คน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการหมอดินน้อยคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม 

กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิต จ.ปทุมธานี


กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิต เกิดจากโครงการที่โรงเรียนธัญรัตน์เข้าร่วมกับหน่วยงาน WWF ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 โดยคุณครูสาระวิชาวิทยาศาสตร์ นำนักเรียนชั้น ม.2 ทำโครงการ “นักสำรวจท้องทุ่ง” และมาเป็น “สืบสวนป่วนส้มรังสิต” ในปี 2553 ต่อมาเกิดนักเรียนกลุ่มแกนนำที่ชอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งก็คือ น้องบิ๊ว น้ำมล และได้ทำโครงการต่อมาในปี 2554 ชื่อ “รักษ์ส้มรังสิต” จนกระทั่งในปี 2555 ได้มาทำโครงการส้มรังสิตคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม คือพัฒนา “หมอดินน้อยร้อยคน”ซึ่งเปิดรับสมาชิกรุ่นน้องๆมาศึกษาเรียนรู้การฟื้นฟูดิน 100 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการปลูกใจรักษ์โลก ของมูลนิธิกองทุนไทยและมูลนิธิสยามกัมมาจล และในปี 2556 กลุ่มเยาวชนฯก็ได้รับการสนับสนุนโครงการเป็นระยะที่ 2 โดยยังเน้นไปที่การพัฒนาหมอดินน้อย

­

รายชื่อเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการ


1.น.ส.วิภาดา แก้วพร อายุ 16 ปี หัวหน้าโครงการ

2.นายพงษ์วัฒน์ พันธุ์ไพโรจน์ อายุ 15 ปี ติดต่อประสานงาน

3.น.ส.รุจาภา นิลมูล อายุ 15 ปี ผู้ให้ความรู้และถ่ายทอดกระบวนการตรวจสอบคุณภาพดิน

4.น.ส.กมลรัตน์ เทือกไชยคำ อายุ 17 ปี

5.นายคชรักษ์ แก้วสุราษฎ์ อายุ 18 ปี

6.นายทรงฤทธิ์ เกิดผล อายุ 18 ปี

7.นายระชัย ตัณฑ์อำไพ อายุ 18 ปี

8.น.ส.ชนิดา สิงห์บุปผา อายุ 18 ปี

9.น.ส.อทิตยา มาดรกลาง อายุ 16 ปี

10.นายชัยวัตร เวชกิจ อายุ 15 ปี

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำโครงการ


ชุมชนคลองรังสิตมีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำเกษตรกรรมร่องสวนเป็นอาชีพหลักวิถีชีวิตพึ่งพาแหล่งน้ำจากคลองรังสิต เพื่อการเพาะปลูก คมนาคม อุปโภค และบริโภคแต่เดิมเกษตรกรทำสวนส้ม แต่ประสบปัญหาโรคส้มระบาด และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นดินเปรี้ยวเกษตรกรจึงเริ่มหันมาปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งสามารถทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและน้ำท่วมขังได้นานกว่า 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนสภาพเป็นแหล่งอุตสาหกรรม และอาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นยิ่งส่งผลให้พื้นที่ทำการเกษตรลดน้อยลงแต่ถึงกระนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของทุ่งรังสิตก็ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใส่ปุ๋ยและใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแต่กลับส่งผลให้คุณภาพดินแย่ลง

­

โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ


คุณภาพดินเสื่อมโทรมจากการทำการเกษตร กลุ่มเยาวชนจึงมีความต้องการพัฒนาปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่สวนส้มคลอง 10 และสวนมะม่วงที่อยู่คลอง 11 และสร้างหมอดินน้อยเพื่อมาทำหน้าที่ในการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพดิน

­

เป้าหมายของการทำโครงการ


เพื่อสร้างแกนนำเยาวชน 120 คน ให้เป็นหมอดินที่สามารถตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพดินได้

­

พื้นที่ดำเนินโครงการ / กลุ่มเป้าหมาย


-สวนส้ม คลอง 10 และ สวนมะม่วง คลอง 11

-นักเรียนโรงเรียนธัญรัตน์ จำนวน 100 คน / แกนนำเยาวชนจากโครงการหมอดินปี 1 จำนวน 40 คน

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


-อบรมให้ความรู้หมอดินน้อย โดยมีผู้เข้าร่วมนักเรียน 100 คน และแกนนำ 40 คน เพื่อให้หมอดินมีความรู้เรื่องการตรวจวัดและวิธีการตรวจวัดคุณภาพดิน

­

-หมอดินน้อยทั้ง 100 คน และแกนนำ 40 คน ลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับเกษตรกร ศึกษาวิธีการเก็บดินตั้งแต่คลอง 7-13

­

-นำดินที่เก็บมาตรวจคุณภาพและขอคำปรึกษาจากกรมพัฒนาที่ดิน เขต 1 เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาสวนที่หมอดินรับผิดชอบ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการของเยาวชน


1.ผลต่อกลุ่มเยาวชน

·มีแนวร่วมที่เป็นหมอดินน้อยมีทักษะการตรวจวัดคุณภาพดินเพิ่มขึ้นอีก 40 คน

­

2.ผลต่อแกนนำเยาวชน

·กล้าพูด กล้านำเสนอ

·มีความรู้เรื่องดินเพิ่มมากขึ้น (ความชื่นอากาศ น้ำ แมลง) เริ่มมีวิเคราะห์เชื่อมโยงระบบได้ และรู้ว่าการเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรจากเดิมมาเป็นเกษตรอินทรีย์มิใช่วิธีทางการแก้ปัญหา แต่การทำให้เกษตรรู้ว่าคุณภาพดินมีธาตุอาหารอะไรสะสมอยู่ในดินมากเกินไป และขาดธาตุอาหารอะไรที่พืชต้องการ เพื่อนำมาปรับปรุงวิธีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมไม่ทำลายสภาพแวดล้อมในดินก็จะสามารถช่วยให้ดินฟื้นคืนสภาพได้

·รู้วิธีการ รู้ขั้นตอนการทำงาน และมีทักษะการตรวจวัดดินเพิ่มขึ้น

­

3.ผลต่อชุมชนเป้าหมาย

·เจ้าของสวนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการใช้พื้นที่สวนในการทำกิจกรรมปรับปรุงดินของกลุ่มเยาวชน ซึ่งเจ้าของสวนยังคงมีมุมมองต่อโครงการเด็ก เป็นเพียงวิชาเรียนรู้ทดลองวิทยาศาสตร์จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญ

­

4.ผลต่อสิ่งแวดล้อม

·ในรายงานอ้างว่า “การที่หมอดินลงพื้นที่ไปดูแลสวนของเกษตรกรทำให้ระบบนิเวศรอบพื้นที่ดีขึ้น เนื่องจากในอดีตชาวสวนใช้สารเคมี พอมีหมอดินเข้ามามีส่วนร่วมทำให้ชาวสวนหันมาใช้ปุ๋ยหมักที่ไม่ส่งผลร้ายต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น

­

ปัจจัยต่อความล้มเหลว


1.ที่ปรึกษาโครงการมีอิทธิพลต่อการคิดและตัดสินใจของแกนนำเยาวชน นั้นคือ การรับคำสั่งงานจากครู

­

2.แกนนำเยาวชนใช้รูปแบบการทำงานแบบสั่งงาน แล้วตัวเองจะรอดูผล ภายหลังจากการอบรมกับน้องๆ หมอดินน้อยมือใหม่เสร็จแล้ว ก็จะปล่อยให้น้องๆ ลงไปตรวจวัดคุณภาพดินกันเอง มีถูกบ้าง ผิดบ้าง ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความเข้าใจ ความแม่นยำในวิธีการตรวจวัดมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งมิใช่การชักชวนกันหรือจับมือกันทำงาน แต่กลับกลายเป็นการพักภาระนี้ให้กับสมาชิกใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ

­

3.ไม่มีการนำผลการตรวจวัดคุณภาพดินแต่ละสวนกลับไปบอกสู่เจ้าของสวน ทำให้เจ้าของสวนไม่รู้ว่าผลการเปลี่ยนแปลงหรือคุณภาพของดินในสวนตัวเองเป็นอย่างไร 

­

ารเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน

นาย พงษ์วัฒน์ พันธุ์ไพโรจน์(ปลื้ม) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธัญรัตน์ จ.ปทุมธานี

­

“ผมได้ไปอบรมกับวิทยากรท่านหนึ่งมันเป็นเวลาเข้าค่ายแค่ 8 ชั่วโมง แต่มันทำให้ผมได้แรงบันดาลใจอย่างมากในการทำงาน วิทยากรท่านนั้นชื่อว่า “พี่หลิน” หลังจากนั้นผมก็ทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ”


ปลื้มทำหน้าที่ คิดรูปแบบของโครงการและออกแบบการทำงาน, สันทนาการ, ถ่ายทอดความรู้สู่น้องในเรื่องของการทำกิจกรรม, สอนน้องตรวจสภาพดิน

­

สิ่งที่ปลื้มได้เรียนรู้จากการทำโครงการครั้งนี้ คือ “การได้ร่วมกันทำงานกับเพื่อนๆ มีความกล้าพูด กล้าแสดงออกเพราะเราต้องคอยดูแลน้องๆ ทำให้เวลาพูดจึงต้องมีหลักการและเหตุผลมากขึ้นและลงพื้นที่จริงเพื่อพูดคุยกับเกษตรกรโดยตรง ได้เรียนรู้วิธีการขุดดินที่ถูกต้อง และการนำสันทนาการให้สนุกทำได้อย่างไรจากการเข้าค่ายในโครงการ” 



นางสาว วิภาดา แก้วพร (น้ำมล) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนธัญรัตน์ จ.ปทุมธานี

­

จากความประทับที่ได้เข้าค่ายสิ่งแวดล้อมทำให้น้ำมลหันมาตั้งใจและทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง “ตอน ม.1 เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสเข้าค่ายสิ่งแวดล้อม ได้เจอวิทยากรหลายท่านและกลุ่มเยาวชนด้วยกัน รู้สึกดีมากๆที่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากค่ายนี้ และได้แรงบันดาลใจในการทำงานสิ่งแวดล้อมจากพี่วิทยากรคนหนึ่งในค่าย พี่เขาเป็นคนสนุกสนาน มีความรู้รอบตัวมากมายที่มาสอนพวกเรา พอเข้าค่ายกับพี่เขาแล้วเราก็ได้กลับมาทำโครงงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้วได้ติดต่อกับพี่เขาเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานเรื่อยๆ แล้วจนทำจบโครงการแล้วพี่เขาได้ติดต่อให้ไปช่วยเป็นพี่เลี้ยงน้องๆที่ชายแดนซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เราได้เพื่อนใหม่ได้นำกิจกรรม ได้รู้จักเด็กๆที่น่ารักที่มีโอกาสน้อยกว่าคนอื่น ได้เรียนรู้ภาษาพม่า กระเหรี่ยง เป็นค่ายแรกที่ประทับใจสุดๆและทำให้ได้รู้ว่าการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อคนอื่น ถึงจะเหนื่อย จะท้อไปบ้าง แต่ก็มีความสุขเลยตัดสินใจจะทำงานด้านนี้ต่อไป และอยากได้ประสบการณ์ให้มากกว่านี้เพื่อเราจะได้สอนคนอื่นได้ อยากจะเป็นวิทยากรที่สามารถให้ทั้งความสนุกและความรู้แบบพี่วิทยากรคนนั้น” 

­

ในฐานะที่เป็นรุ่นพี่ สำหรับโครงการปี 2 น้ำมลจึงมีหน้าที่แบ่งงานและหน้าที่ให้กับทีมทำงาน, ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสอนน้องตรวจสอบดิน บางครั้งต้องทำสันทนาการด้วย

แรกๆน้ำมลจะมีปัญหาเรื่องการแบ่งงานให้กับเพื่อนในกลุ่มมากเพราะเกรงใจ บางครั้งไม่กล้าขอให้เขาช่วยทำ “แต่สักพักเราก็สามารถจัดวางระบบงานได้ว่า ใครเหมาะสมกับงานประเภทใด และเจาะจงหน้าที่ชัดเจนมากขึ้นโดยกล้าที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นคะ”นอกจากนี้น้ำมลยังเล่าให้ฟังอีกว่า “ได้มิตรภาพ ความไว้ใจ และความเคารพจากเพื่อนและรุ่นน้องมากขึ้นผ่านการทำงานที่ตั้งใจที่หนักกว่าเดิมของเรา รวมถึงได้ลงมือทำงานในส่วนของตัวเองอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น”



นางสาวสิรินยา สารสุรินทร์ (มายด์)

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนธัญรัตน์ จ.ปทุมธานี

­

ในโครงการฯ มายด์ถูกมอบหมายให้มีหน้าที่ในการคิดกิจกรรมนันทนาการ, ลงพื้นที่เก็บข้อมูล, พี่เลี้ยงเด็ก, วางแผนการทำงาน, เตรียมอาหารในช่วงอบรม ทักษะที่มายด์ได้จากการทำโครงการ คือ การเก็บดินและตรวจวิเคราะห์ดิน การสังเกต สามารถนำกิจกรรมสันทนาการได้ ได้ฝึกความคิดและการวางแผนการทำงานกับเพื่อนๆ สามารถบอกเล่าประสบการณ์และความรู้ต่างๆที่ได้รับมาจากการอบรมให้น้องๆในพื้นที่ นอกจากนี้ยังทำให้เราได้รู้จักคนมากขึ้น

­

ที่ปรึกษาโครงการ

นางขวัญชีวิต นุชบัว (ครูขวัญ) อายุ 53 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีศึกษาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเป็นครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนธัญบุรี จ.ปทุมธานี

ครูขวัญ เล่าถึงแรงบันดาลใจและเหตุผลที่ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชนว่า “อยากสร้างเยาวชนให้เป็นผู้นำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม” 

­

ครูขวัญซึ่งมีทักษะของคุณครูนักวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การสำรวจ การสังเกต ตั้งข้อสงสัย ทดลองและตรวจสอบให้เห็นข้อเท็จจริง ได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษา และช่วยประสานงานการจัดกิจกรรมได้ทุกกิจกรรมอีกทั้งนำ สร้างแรงจูงใจในการทำโครงการและโครงงาน และได้เล่าถึงการทำงานหมอดินน้อยของเราในปีนี้ “เด็กมีมาสมัคร น่ารักมาก ตั้งใจทำงาน น้องตั้งใจเรียนรู้ทำ Labได้เร็วมาก เวลาทำงานมากันทุกคน ผู้ปกครองคอยช่วยเหลือรับรถไปรับ-ส่ง ชาวสวนก็เลี้ยงขนม ทำก๋วยเตี๋ยวเลี้ยง เด็กๆ สนุก เล่นด้วยทำงานด้วยไม่อยากกลับบ้าน ครูต้องโทรตามให้กลับ บอกให้พี่ๆ เก็บงานตามหัวข้อที่วางแผนไว้”



โครงการหมอดินน้อยคิดพัฒนาดินเสื่อมโทรม

กลุ่มเยาวชนรักษ์ส้มรังสิต โรงเรียนธัญบุรี จ.ปทุมธานี

ผู้ประสานงาน วิภาดา แก้วพร (น้ำมน) โทรศัพท์ 08-3221-9304 อีเมล์ vipada_mon_@hotmail.com

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ