โครงการเยาวชนร่วมฟื้นฟูผืนป่า  ม่อนต้นลาน (กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด จ.ลำปาง)
โครงการเยาวชนร่วมฟื้นฟูผืนป่า ม่อนต้นลาน (กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด จ.ลำปาง)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการ เยาวชนร่วมฟื้นฟูผืนป่าม่อนต้นลาน กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด จ.ลำปาง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เยาวชนร่วมฟื้นฟูผืนป่าม่อนต้นลาน

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด จ.ลำปาง

 

            กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิดรุ่นปัจจุบัน ได้เริ่มรู้จักกันตอนเข้าค่าย “ปี๋สอนน้อง” ซึ่งทำกันมาทุกๆ ปี เด็กกลุ่มนี้จึงเริ่มก่อตัวขึ้นในวัยใกล้เคียงกันในหมู่บ้านสาแพะ งานเริ่มต้นที่พวกเขาทำ จะเป็นงานที่ทำร่วมกับวัดเป็นกลุ่มที่พยายามสานต่อวัฒนธรรมของหมู่บ้านเอาไว้ เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัว การพัฒนาหมู่บ้าน บำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ภายในหมู่บ้าน รวมถึงการแสดงฟ้อนรำ เพื่อเป็นการต้อนรับแขกผู้มาเยือนบ้านสาแพะด้วย

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.วัชระพงษ์ สุขพรรณ์ (มาส)ประธาน

2.นายสมัชญ์ เก่งแท้ (น็อต) รองประธาน

3.นายอนุพล ปราณีต (มัด) เหรัญญิก

4.นางสาวศศิยาภรณ์ เล่ห์ดี เลขานุการ

5.นางสาวสุมิตรา เป็นพวก

6.นางสาวณัฏฐริกา กลิ่นฟุ้ง

7.นายธนากร ใจเย็น

8.นายธรรมรัช ปินตา

9.นายพิทักษ์ โตลำมะ


ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ

“ป่าม่อนต้นลาน” เป็นผืนป่าที่ตั้งอยู่ในบ้านสาแพะ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง แต่ก่อนเป็นพื้นที่ ใช้ทำการเกษตรกรรมและเป็นแหล่งต้นน้ำของชาวบ้านที่ใช้อุปโภค มีทรัพยากรมาก ทั้งต้นไม้กินได้ ไม้ยืนต้น พืชกินได้ทั้ง เห็ดโคน เห็ดน้ำผึ้ง หน่อไม้ ผักกูด ผักหวาน เป็นต้น


โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบันสภาพป่าบริเวณรอบม่อนต้นลาน มีต้นไม้ลดน้อยลง เพราะถูกบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่ทำมาหากิน อาหารที่เคยได้จากป่าลดน้อยลง ความแห้งแล้งมาเยือน การทำเกษตรกรรมไม่ได้ผล

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด เห็นถึงความสำคัญจึงร่วมใจกันอาสาร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าม่อนต้อนลานให้สภาพป่ากลับคืนมาเหมือนในอดีตที่เคยมี กลับมาเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ผลผลิตที่ดี


เป้าหมายของโครงการ

เด็กและเยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้ เห็นคุณค่าของป่าม่อนต้นลาน รักษ์และหวงแหนป่า ชาวบ้านตระหนักถึงปัญหา เกิดการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างรู้คุณค่า และช่วยกันฟื้นฟูดูแลรักษาป่าม่อนต้นลานอันเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน


กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด, เด็กและเยาวชน, ผู้รู้, ผู้นำ และชาวบ้านในหมู่บ้านสาแพะ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการเยาวชนร่วมฟื้นฟูผืนป่าม่อนต้นลาน

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด จ.ลำปาง 

­

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิดรุ่นปัจจุบัน ได้เริ่มรู้จักกันตอนเข้าค่าย “ปี๋สอนน้อง” ซึ่งทำกันมาทุกๆ ปี เด็กกลุ่มนี้จึงเริ่มก่อตัวขึ้นในวัยใกล้เคียงกันในหมู่บ้านสาแพะ งานเริ่มต้นที่พวกเขาทำ จะเป็นงานที่ทำร่วมกับวัดเป็นกลุ่มที่พยายามสานต่อวัฒนธรรมของหมู่บ้านเอาไว้ เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัว การพัฒนาหมู่บ้าน บำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ภายในหมู่บ้าน รวมถึงการแสดงฟ้อนรำ เพื่อเป็นการต้อนรับแขกผู้มาเยือนบ้านสาแพะด้วย

­

ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ

“ป่าม่อนต้นลาน” เป็นผืนป่าที่ตั้งอยู่ในบ้านสาแพะ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง แต่ก่อนเป็นพื้นที่ ใช้ทำการเกษตรกรรมและเป็นแหล่งต้นน้ำของชาวบ้านที่ใช้อุปโภค มีทรัพยากรมาก ทั้งต้นไม้กินได้ ไม้ยืนต้น พืชกินได้ทั้ง เห็ดโคน เห็ดน้ำผึ้ง หน่อไม้ ผักกูด ผักหวาน เป็นต้น

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบันสภาพป่าบริเวณรอบม่อนต้นลาน มีต้นไม้ลดน้อยลง เพราะถูกบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่ทำมาหากิน อาหารที่เคยได้จากป่าลดน้อยลง ความแห้งแล้งมาเยือน การทำเกษตรกรรมไม่ได้ผล

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด เห็นถึงความสำคัญจึงร่วมใจกันอาสาร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าม่อนต้อนลานให้สภาพป่ากลับคืนมาเหมือนในอดีตที่เคยมี กลับมาเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ผลผลิตที่ดี

­

เป้าหมายของโครงการ

เด็กและเยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้ เห็นคุณค่าของป่าม่อนต้นลาน รักษ์และหวงแหนป่า ชาวบ้านตระหนักถึงปัญหา เกิดการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างรู้คุณค่า และช่วยกันฟื้นฟูดูแลรักษาป่าม่อนต้นลานอันเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน

­

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด, เด็กและเยาวชน, ผู้รู้, ผู้นำ และชาวบ้านในหมู่บ้านสาแพะ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

1. เรียนรู้ - สำรวจป่า – รู้จักป่าชุมนของตน ว่าสภาพป่าเป็นอย่างไร ปัญหาอย่างไร ต้องฟื้นฟูอย่างไร

2. รู้จักคุณค่าของป่าม่อนต้นลาน

3. เผยแพร่เสียงตามสายให้ชาวบ้านรู้จักโครงการและร่วมมือช่วยเหลือกิจกรรม

4. จัดเวทีชาวบ้าน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

5. เรียนรู้ชุชนต้นแบบและจัดการป่าชุมชน

6. ฟื้นฟูและดูแลป่าม่อนต้นลาน ด้วยการเพาะกล้า ทำแนวกันไฟ สร้างฝายชะลอน้ำ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


1) ผลที่เกิดขึ้น (ทั้งด้านบวกและลบ) ต่อ ชุมชน + สิ่งแวดล้อม + กลุ่มเยาวชน

  • ชาวบ้านรับรู้ในการทำงานของเยาวชน และรู้ปัญหาของป่าชุมชนของตน
  • เยาวชนรู้จักชื่อต้นไม้ และรู้วิธีใช้ประโยชน์จากป่าและการอนุรักษ์
  • เยาวชน ชาวบ้านทราบถึงปัญหาม่อนต้นลาน
  • จากกิจกรรมปลูกป่า ทำให้เห็นว่า ต้นไม้ส่วนหนึ่งเจริญเติบโตได้ และชาวบ้านผูกพันกับป่ามากขึ้น รักและหวงแหนป่า
  • จากกิจกรรมแนวกันไฟ

๑.ไฟไม่ลุกลามในเขตพื้นที่โครงการ และเขตอนุรักษ์ ในเหตุการณ์ไฟไหม้ในเดือน มีนาคม

๒.น้องๆเยาวชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

๓.งานเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด

  • จากกิจกรรมปุ๋ยหมัก ได้ปุ๋ยหมักมาใช้ในการเพาะเมล็ด
  • จากกิจกรรมเก็บหอมรอมริบ ได้เรียนรู้ความรู้ของชาวบ้านแต่ละคนตามความสนใจและความถนัด ชาวบ้านได้ช่วยกันให้ความรู้กับเยาวชน รู้จักประวัติม่อนต้นลานรู้จักพันธุ์ไม้ที่เคยมีในป่าม่อนต้นลาน รู้จักสมุนไพร พืชผักเห็นทุกชนิดทั้งกินได้และกินไม่ได้ ได้รู้แนวทางการอนุรักษ์แบบชาวบ้าน
  • จากกิจกรรมสื่อเปลี่ยนโลก เยาวชนได้ลองใช้เสียงตาสายที่มีในหมู่บ้าน ให้เกิดประโยชน์ด้วยการให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับชาวบ้านได้รับทราบ เมื่อชาวบ้านทราบว่ามีกิจกรรมเมื่อไหร่ ชาวบ้านก็จะให้ความร่วมมือไปช่วยลงมือลงแรงด้วย ซึ่งเยาวชนรู้สึกซาบซึ้งกับชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก
  • ก็ รู้วิธีการดูแลอนุรักษ์ เช่น การไม่เผาป่า หรือไม่ให้ไฟลามเข้า ต้องทำแนวกันไฟ การดูแลแบบไม่ต้องดูแล เช่นทำฝาย เพราะฝายจะช่วยรดน้ำต้นไม้ให้เราครับ สำรวจแบบง่าย เช่น มองต้นไม้แล้ว วาด ลักษณะของต้นๆนั้น มีใบอย่างไร เปลือกเป็นยังไง และสามารถนำกลับไปถามพ่อแม่ได้ครับ
  • ได้เรียนรู้การทำงานและปัญหาการแก้ปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยเจอ เรียนรู้การเก็บ การเพาะเมล็ดพันธุ์จาก SCG และนำมาเพาะพันธุ์ในกิจกรรม
  • มีต้นไม้เพิ่มขึ้น เพระฝนตก และต้นไม้ที่เคยปลูกไปก็เริ่มโตขึ้น ชาวบ้านให้ความร่วมมือ พอสมควรกับบริเวณโครงการ จึงไม่มีการตัดไม้

­

2) ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว

  • ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย (ชาวบ้าน เด็ก พระและครู) ร่วมระดมความคิดแก้ปัญหาด้วยกัน
  • ความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำให้งานสำเร็จได้เป็นอย่างดี
  • การร่วมแรงทำงานงานประสบความสำเร็จ / งานเสร็จเร็วก่อนเวลาที่กำหนด
  • ชาวบ้านไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ การดำเนินงานกิจกรรมของเยาวชน
  • ผู้นำชุมชนขาดความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญ คิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแล โดยตรง
  • ทีมงานหลายคนยังไม่รู้หน้าที่ และยังไม่กล้าพูดกันตรงๆ ครับ
  • ชาวบ้านไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ การดำเนินงานกิจกรรมของเยาวชน
  • ผู้นำชุมชนขาดความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญ คิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแล โดยตรง

­

3) คุณค่าจากการทำโครงการ

ชุมชนเกิดความเข้าใจผลกระทบจากปัญหา ดิน น้ำ ป่า

­

อนาคตที่อยากทำต่อ

อยาก ทำเวทีความคิดครับ อยากให้ชาวบ้านได้รู้และใส่ใจเรื่องทรัพยากรป่ามากขึ้นครับ จะได้ช่วยกันใช้ ช่วยกันดูแล มีกฎกติกา มีข้อตกลง ให้คนในชุมชนได้ใช้ร่วมกัน อีกนานๆครับ

­

........................

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน


นายวัชรพงษ์ สุขพรรณ์ (มาส) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา

ตำแหน่ง ประธาน

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“เพราะป่าเสื่อมโทรม ฝนตกไม่ตามฤดูกาล สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ขาดแคลนทุนทรัพย์ส่งเสริมเยาวชน ชาวบ้านอาจยังไม่เข้าใจเยาวชน จึงอยากจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้ใหญ่และพัฒนาชุมชนดูแลรักษ์โลก รักษาป่าและร่วมบวชป่าสร้างฝายปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน ครอบครัว และชุมชน”


ความถนัด/ความสามารถพิเศษที่น้องนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ

มีลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี มีความสามารถในการพูดหน้าชั้น สามารถนำกิจกรรมกับน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการพูด สามารถเป็นพิธีกรได้

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • สามารถทราบปัญหาและการแก้ปัญหา
  • สำนึกต่อป่าและเก็บขยะ
  • การแสดงออก และการอธิบายให้เข้าใจ
  • ได้รับความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์ของป่า การดูแลรักษาป่า
  • ได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของชุมชน
  • เห็นความร่วมมือจากชาวบ้านในการช่วยกันดูแลป่า
  • ได้รู้จักพืชสมุนไพรจากป่าในชุมชน รู้จักทรัพยากรของป่า
  • รู้สึกดีที่ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาป่าของเยาวชน

**********************

­

นายสมัชญ์ เก่งแท้ (น๊อต) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา

ตำแหน่ง รองประธาน


แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

  • ป่าไม้ถูกทำลาย
  • ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและมลภาวะทางอากาศ
  • ปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • รู้จักป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ
  • เพิ่มความรู้ให้กับตนเองเรื่อง....
  • กล้าแสดงออกมาขึ้น
  • ได้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
  • ชาวบ้านให้ความรู้และความร่วมมือดี
  • ทำฝายเพื่อชะลอน้ำ

*******************

นาย อนุพล ปราณีต (มัด) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา

ตำแหน่ง เหรัญญิก


แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

ทางชมรมของเราได้แรงบันดาลใจมาจาก พระ ผู้ใหญ่บ้าน ครู SCG และแกนนำเยาวชนตำบลของเรา ที่จะช่วยพัฒนาฟื้นฟูผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • มีทักษะการวางแผนการทำงาน
  • ทำงานร่วมกับเยาวชน, ชาวบ้านและพระที่อยู่ในชุมชน
  • ไม่กล้าที่จะเป็นผู้นำเพราะไม่กล้าที่จะแสดงออก
  • กล้าแสดงอออกมาขึ้น
  • มีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • ได้แนวคิดที่ดีๆ เกี่ยวกับการทำงานในชุมชนเพิ่มขึ้น
  • เป็นแกนนำกลุ่มเยาวชนในพื้นที่เพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงานให้แต่ละคนรับผิดชอบทำงานได้
  • ได้ฝึกการประชาสัมพันธ์จากการทำโครงการ
  • ได้ฝึกการกล้าที่จะแสดงออกต่อชุมชนโดนเป็นพิธีกรให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการที่ทำ

*********************

พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน


นายคงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง (ลุงบุญ) อายุ 48 ปี

จบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6

บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน คือ ให้ความปรึกษาทุกๆเรื่องที่เยาวชนทำดี

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“ธรรมชาติหายไป อยากเห็นเยาวชนรัก หวงแหน ธรรมชาติ”









*******************



โครงการเยาวชนร่วมฟื้นฟูผืนป่าม่อนต้นลาน

กลุ่มเยาวชนฮักบ้านเกิด จ.ลำปาง

ผู้ประสานงาน วัชรพงษ์ สุขพรรณ์

ทรศัพท์ 08-9759-2946    อีเมล์ Suk_14834@thaimail.com


ดาวน์โหลด  เอกสารรายงานสรุปโครงการ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ