โครงการรู้รักถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก กลุ่ม DKL ไชโย
โครงการรู้รักถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก กลุ่ม DKL ไชโย
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน โครงการรู้รักษ์ถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการรู้รักษ์ถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก


โจทย์ปัญหา

ชุมชนดอนขี้เหล็ก หมู่ที่๕ ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสร้างรากฐานของชุมชนมาเป็นเวลานานกว่า ๘๐๐ ปี จนเกิดเป็นวิถีวัฒนธรรมภายในชุมชนที่น่าสนใจหลากหลานด้าน “วิถีการทูนพาน” นำอาหารไปทำบุญ พิธีกรรมทำบุญกุโบร์ ประวัติศาสตร์ที่น่าสนต่างๆของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก ความงดงามต่างๆเหล่านี้กำลังจะถูกกลืนหายไปพร้อมกับความทันสมัยของเทคโนโลยียุคโลกาภิวัตน์และจากไปพร้อมกับผู้รู้ในชุมชน ปัจจุบันเยาวชนไม่สนใจในความเป็นชุมชนของตน ขาดจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด มีพฤติกรรมทำลายชื่อเสียงและเกียรติประวัติของชุมชน เช่นการใช้ความรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่นที่เลื่องลือ ซึ่งต่างๆเหล่านี้มีปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในชุมชนบ้านดอนขี้เหล็กและยิ่งซ้ำทำลายชื่อเสียงของชุมชนอย่างไม่หยุดยั้ง

ดังนั้นทางกลุ่ม “DKL ไชโย” จึงคิดที่จะทำโรงการรู้รักถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก โดยมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมพี่จูงมือน้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด กลุ่มวัยรุ่นมนชุมชนมีพฤติกรรมดีงามพร้อมกู้ชื่อเสียงและเกียรติประวัติที่ดีงามของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็กมาเผยแพร่ให้สังคมได้รับรู้ต่อไป


เป้าหมาย :

ต้องการให้เด็กในหมู่บ้านมีจิตสำนึกรักบ้านเกิดและสามารถที่จะเล่าให้คนนอกพื้นที่ได้ทราบรากเหง้าชุมชน อีกทั้งเพื่ออยากให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับยาเสพติดและห่างไกลยาเสพติด

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการรู้รักษ์ถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก


โจทย์ปัญหา

ชุมชนดอนขี้เหล็ก หมู่ที่๕ ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสร้างรากฐานของชุมชนมาเป็นเวลานานกว่า ๘๐๐ ปี จนเกิดเป็นวิถีวัฒนธรรมภายในชุมชนที่น่าสนใจหลากหลานด้าน “วิถีการทูนพาน” นำอาหารไปทำบุญ พิธีกรรมทำบุญกุโบร์ ประวัติศาสตร์ที่น่าสนต่างๆของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก ความงดงามต่างๆเหล่านี้กำลังจะถูกกลืนหายไปพร้อมกับความทันสมัยของเทคโนโลยียุคโลกาภิวัตน์และจากไปพร้อมกับผู้รู้ในชุมชน ปัจจุบันเยาวชนไม่สนใจในความเป็นชุมชนของตน ขาดจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด มีพฤติกรรมทำลายชื่อเสียงและเกียรติประวัติของชุมชน เช่นการใช้ความรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่นที่เลื่องลือ ซึ่งต่างๆเหล่านี้มีปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในชุมชนบ้านดอนขี้เหล็กและยิ่งซ้ำทำลายชื่อเสียงของชุมชนอย่างไม่หยุดยั้ง

ดังนั้นทางกลุ่ม “DKL ไชโย” จึงคิดที่จะทำโรงการรู้รักถิ่นเกิด เปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก โดยมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมพี่จูงมือน้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด กลุ่มวัยรุ่นมนชุมชนมีพฤติกรรมดีงามพร้อมกู้ชื่อเสียงและเกียรติประวัติที่ดีงามของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็กมาเผยแพร่ให้สังคมได้รับรู้ต่อไป


เป้าหมาย :

ต้องการให้เด็กในหมู่บ้านมีจิตสำนึกรักบ้านเกิดและสามารถที่จะเล่าให้คนนอกพื้นที่ได้ทราบรากเหง้าชุมชน อีกทั้งเพื่ออยากให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับยาเสพติดและห่างไกลยาเสพติด


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม ๑ ประชุมเพื่อวางแผนดำเนินโครงการ

กิจกรรม ๒ ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและวัฒนธรรมชุมชน ประเพณีในชุมชน

๒.๑.สำรวจผู้รู้เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน

๒.๒.ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนวัฒนธรรม/ประเพณี

๒.๓.ทำแผนที่ประวัติศาสตร์ชุมชน (ชักชวนกลุ่มเยาวชน,กลุ่มเสี่ยงในชุมชน)

กิจกรรม ๓ จัดการข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี

๓.๑.จัดทำนิทานชุมชน (เล่ม)

๓.๒.จัดทำสื่อวิดีโอ

๓.๓.จัดทำป้ายสัญลักษณ์แหล่งเรียนรู้

กิจกรรม ๔ ปฏิบัติการสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน / ประเพณี วัฒนธรรม

๔.๑.จัดกิจกรรมเล่านิทานให้เด็กโรงเรียนบ้านกลาง  ประสาน ผอ.โรงเรียน / ปรึกษาหารือกำหนดวันจัดกิจกรรม

๔.๒.ปั่นจักรยานเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน  ติดป้ายสัญลักษณ์แหล่งเรียนรู้

กิจกรรม ๕ สรุปและประเมินผลโครงการ


กระบวนการทำงานของกลุ่ม

จุดเริ่มต้นของเยาวชนที่อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์บ้านเกิดของตนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องราววิถีชีวิตที่เก่าแก่ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลามมาช้านาน เยาวชนในชุมชนบางส่วนไม่เห็นความสำคัญประวัติศาสตร์ชุมชน และไม่มีผู้ถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้แก่เยาวชนหรือคนในชุมชนได้รับรู้ จนสิ่งสำคัญเหล่านี้เลือนหายไปกับสภาพปัจจุบัน ทำให้เยาวชนในชุมชนมีการรวมตัวกัน ๕ คน มีที่ปรึกษา ๑ ท่าน ต้องลุกขึ้นมาสร้างสรรค์โครงการรู้รักถิ่นเกิดเปิดประวัติศาสตร์ดอนขี้เหล็ก กลุ่ม DKL ไชโย


โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงการ  ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑ การดำเนินโครงการเริ่มจากการศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นมาของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก สืบค้นข้อมูลจากจากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน จากผู้รู้ในชุมชน เริ่มมีการบันทึกรวบรวมข้อมูล จัดทำเป็นวาระสาร ซึ่งได้รับคำแนะนำในการเขียนวาระสารจากพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาโครงการ จัดทำนำไปเผยแพร่ให้กับโรงเรียนในชุมชนซึ่งได้รับความร่วมมือจากครูและเด็กในโรงเรียนสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนเพราะครูและนักเรียนส่วนใหญ่เป็นมีภูมิลำเนาอาศัยในชุมชนดอนขี้เหล็ก

ขั้นตอนที่ ๒ ลงพื้นที่เรียนรู้แหล่งประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในชุมชน คือนายร่อเขต บินกะเส็ม (นักปราชญ์ชุมชน) ร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แต่ละสถานที่ให้แกนนำได้เรียนรู้ โดยมีแกนนำและพี่เลี้ยงโครงการลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้ ทำให้แกนนำและพี่เลี้ยงได้ทราบความเป็นมาในแต่ละสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนในชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก

ขั้นตอนที่ ๓ แกนนำได้นำความรู้มาจัดทำเป็นแผนที่ทางประวัติศาสตร์ชุมชน โดยมีนางสาวนูรอามีนี สาและ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการสงขลาฟอรั่ม ให้ความรู้ เทคนิค ในการวาดแผนที่ทางประวัติศาสตร์ ทำให้แกนนำมีความรู้ใหม่ในการวาดแผนที่เพิ่มขึ้น แกนนำร่วมมือกันวาดแผนที่ทางประวัติศาสตร์บ้านดอนขี้เหล็ก ออกมาเป็นเส้นทาง เริ่มจากจุดที่๑ คือ เตาเผาเหล็ก(กองขี้เหล็ก) ซึ่งเป็นที่มาของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก

จุดที่๒ คือ ศาลา ๑๐๐ ปี บริเวณกุโบร์บ้านดอนขี้เหล็ก และหลุมฝังศพ โต๊ะปราศรัย ซึ่งเป็นอิสลามชายคนแรกที่เข้ามาก่อตั้งชุมชนนี้ จุดที่๓ คือ ป่าแก่ ซึ่งเป็นป่าที่ชาวบ้านอพยพหนีไปหลบภัยในสงครามครั้งที่ ๒ โดยการขุดหลุมเข้าไปอาศัยอยู่ให้พ้นอาวุธทั้งหลาย จุดที่๔ คือ บ่อน้ำลูกแรกที่คนในชุมชนชวยกันขุดขึ้นมา เพื่อใช้อุปโภคและบริโภค จุดที่๕ คือ ส้วมหรือห้องน้ำ หลังแรกที่มีในชุมชน เพื่อใช้ถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งการวาดแผนที่จะต้องเน้นจุดเด่นของสถานที่สำคัญในชุมชน ใส่เนื้อหาให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย จัดทำขึ้นเป็นแผนที่ทางประวัติศาสตร์แผนแรกของชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก เพื่อนให้น้องๆเพื่อนๆ และชุมชนใกล้เคียงเข้ามาเรียนรู้ได้

ขั้นตอนที่ ๔ แกนนำต้องศึกษา ฝึกฝนความชำนาญเรื่องของข้อมูลให้ชัดเจน เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม “ปั่นจักยานพาน้องเรียนรู้ตามเส้นทางประวัติสาสตร์ดอนขี้เหล็ก” ซึ่งแกนนำต้องเป็นวิทยากรเล่าหรือถ่ายทอดความรู้แต่ละสถานที่สำคัญ มีครู นักเรียนโรงเรียนบ้านกลางเข้าร่วมจำนวน ๔๐ คน โดยการปั่นจักยานตามเส้นทางในแผนที่ทางประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก ทำให้เยาวชนได้มีความรู้ มีจิตสำนึกรักหวงแหนบ้านเกิด จากการลงพื้นที่ไปเห็นของจริง พื้นที่จริง และเยาวชนสามารถนำเรื่องราววิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของชุมชนถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานต่อไป

แกนนำเยาวชนกลุ่ม DKL ไชโย สะท้อนถึงผลการทำงานที่เกิดขึ้นว่า การทำงานที่ผ่านมาแกนนำได้มีความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในชุมชนตนเอง เกิดพื้นการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ในชุมชนบ้านดอนขี้เหล็ก มีพื้นที่ให้เยาวชนและคนในชุมชนได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เช่น บ่อน้ำลูกแรกในชุมชน ห้องน้ำ(ส้วม)หลังแรกของคนในชุมชน หลุมฝังศพคนแรกที่เข้ามาก่อตั้งชุมชน วิถีชีวิตการทำบุญกุโบร์แบบดั่งเดิม เป็นต้น การใช้พลังถ้อยคำในการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เช่น การนำเรื่องจริงที่เกิดขึ้นมาเล่าให้ฟัง เป็นต้นให้เยาวชนเกิดความสนใจ เกิดจิตสำนึก หวงแหนในบ้านเกิดตนเอง ทำให้มีเยาวชนและคนในชุมชนสนใจเป็นอย่างมากจนเกิดเครือข่ายครูโรงเรียนบ้านกลาง ผู้ใหญ่บ้านในชุมชน เห็นถึงความสำคัญของโครงการ ซึ่งการทำงานต้องอาศัยความเป็นทีม จะไม่สามารถทำคนเดียวได้ แกนนำทุกคนมีความภูมิใจที่สามารถเปิดประวัติศาสตร์ชุมชนดอนขี้เหล็กให้เยาวชนและคนในชุมชนได้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด สำหรับคุณค่าของโครงการที่มีต่อตัวเราคือ ทำให้แกนนำเกิดความสามัคคีในการทำงานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมขึ้น และมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณค่าต่อส่วนรวมคือ ทำให้คนในชุมชนได้รับรับรู้ข้อมูลที่ต้องถูกต้องเกี่ยวกับประวัติในชุมชน เพราะคนในชุมชนบางคนอาจจะไม่รู้มาก่อน ซึ่งคนในชุมชนสามารถถ่ายทอดเองได้ และทำให้คนในชุมชนอื่นได้รับรู้อีกด้วย


จาการทำงานที่ผ่านมาแกนนำทั้ง ๕ คน ได้สะท้อนพัฒนาการของแต่ละคนจากการทำงาน

๑. นายอับดุลกอเดร์ บิลหีม (กอเดร์) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองเป็นคนที่พูดช้า ยืดเยื้อมาก ค้อนข้างจะมีความมั่นใจสูงทำให้เพื่อนๆไว้วางใจทุกครั้งในการนำเสนอผลงานหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติสาสตร์ ทำให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น กล้าแสดงออกในสิ่งที่เหมาะที่ควร ทำให้เขารู้จักควบคุม กลั่นกรองคำพูดให้สั้นลง โดยการคิดก่อนพูดทุกครั้ง เป็นคนที่อดทน มุ่งมั่น รู้จักแบ่งเวลาระหว่างเรียนกับดำเนินโครงการได้อย่างเหมาะสม

๒. นายจักรินทร์ คงหัด (ก๊อต) สะท้อนให้เห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งใหม่จากความคิดเพื่อนๆที่แตกต่างจากความคิดของตนเอง เพราะการทำกิจกรรมทุกครั้งทางกลุ่มจะนัดประชุมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้ทุกคนในกลุ่มรวมทั้งตนเองกล้าแสดงออก และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวมในการเผยแพร่ประวัติศาสตร์ให้เยาวชนและคนในชุมชนได้รับรู้

๓. นายสาโรจน์ บินสัน (กิ๊ฟ) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองมีความรับผิดชอบมากขึ้น จากการไว้วางใจของเพื่อนๆให้เป็นผู้ประสานงานระหว่างพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาทุกครั้งที่ต้องจัดกิจกรรม ทำให้ตนเองรู้จักการสื่อสารระหว่างเพื่อนกันเอง ระหว่างพี่เลี้ยง ระหว่างที่ปรึกษาจะต้องสื่อสารอย่างไรจึงจะเหมาะสม ในการทำโครงการครั้งนี้ทำให้ตนเองได้รับความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ในชุมชนอย่างลึกซึ้งและสามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักต่อไปได้

๔. นางสาวสุฑามาศ สายสลำ (ฉะ) สะท้อนให้เห็นว่าจากเมื่อก่อนเป็นคนที่ไม่ชอบการจดบันทึกเรื่องราว ไม่ชอบการทำกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหรือในชุมชน แต่เมื่อเริ่มเข้ามามีส่วนหนึ่งในการทำโครงการเริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากที่ไม่ชอบจดบันทึกได้รับมอบหมายจากเพื่อนๆให้เป็นเลขาจดบันทึกก็ถือว่าเป็นความรับผิดชอบ ทำให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น สนุกกับการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และสามารถจดจำได้ดีผ่านการบันทึก ทุกครั้งที่เพื่อนๆจัดกิจกรรมให้ความมืออย่างเต็มที่ในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง เมื่อกิจกรรมสำเร็จ ทำให้ภูมิใจว่าตนเองและกลุ่มก็สามารถทำได้ ทุกครั้งที่มีกิจกรรมของชุมชน เช่น การแข่งขันกีฬาก็เข้าร่วมทุกครั้งโดยที่ผู้นำชุมชนไม่ต้องมาบอก และตนเองสามารถเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนให้ผู้อื่นรับรู้ได้

๕. นางสาวสุใบดะ สายสลำ (ใบ) สะท้อนให้ว่าจากเมื่อก่อนไม่สนใจการทำงานเพื่อส่วนรวม ใช้เวลาว่างส่วนใหญ่กับพักผ่อนอยู่บ้าน เมื่อได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทำให้ตนเองมีความรับผิด มีความเสียสละเวลาในการทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อชุมชน มากยิ่งขึ้น และเริ่มที่จะสนุกกับการทำงานในชุมชน

จากการร่วมตัวกัน เสียสละเวลามาทำงานเพื่อชุมชนเพื่อส่วนรวม ทำให้เยาวชนกลุ่มนี้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมรวมถึงประวัติศาสตร์ที่มีในชุมชนมาช้านาน พวกเขาสามารถเปิดพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งใหม่ที่พร้อมจะให้ชุมชนใกล้เคียงเข้าไปศึกษา ซึ่งพวกเขาเองจะเป็นผู้ให้ความรู้และร่วมพาศึกษาประวัติศาสตร์ในชุมชนของเขา ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีม ทำให้พวกเขารู้จักนิสัยใจคอของเพื่อนแกนนำได้ดีอีกด้วย

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ