กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน โครงการหมอน้อย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการหมอน้อย


โจทย์ปัญหา

ชุมชนบ้านทุ่งจังมีผู้สูงอายุร้อยละ 80 เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง-ต่ำ โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึงโรคมะเร็ง สาเหตุมาจากผู้สูงอายุเหล่านี้ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันสูงจากเนื้อสัตว์ อาหารที่มีรสจัด พืชผักที่มีสารพิษเจือปน ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ปัญหาเหล่านี้ ผู้สูงอายุก็จะประสบปัญหาภาวะแทรกซ้อน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และเป็นภาระต่อลูกหลาน เช่น ต้องหยุดเรียนเพื่อพาคุณยายไปรักษาโรค

ดังนั้นทางกลุ่ม “เยาวชนรักสุขภาพ” จึงได้จัดทำโครงการหมอน้อย โดยมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น จัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ซึ่งหมอน้อยจะทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค วิธีการป้องกันและแนะนำสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จทางกลุ่มคาดว่าผู้สูงอายุในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ดีขึ้น คุณตา คุณยาย อยู่กับลูกหลานได้นานๆไม่เพิ่มภาระให้กับลูกหลาน และตัวแกนนำเยาวชนได้พัฒนาทักษะชีวิต เช่น การทำงาน การสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชน


เป้าหมาย :

ลดพฤติกรรมเสี่ยงการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการหมอน้อย


โจทย์ปัญหา

ชุมชนบ้านทุ่งจังมีผู้สูงอายุร้อยละ 80 เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง-ต่ำ โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึงโรคมะเร็ง สาเหตุมาจากผู้สูงอายุเหล่านี้ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันสูงจากเนื้อสัตว์ อาหารที่มีรสจัด พืชผักที่มีสารพิษเจือปน ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ปัญหาเหล่านี้ ผู้สูงอายุก็จะประสบปัญหาภาวะแทรกซ้อน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และเป็นภาระต่อลูกหลาน เช่น ต้องหยุดเรียนเพื่อพาคุณยายไปรักษาโรค


ดังนั้นทางกลุ่ม “เยาวชนรักสุขภาพ” จึงได้จัดทำโครงการหมอน้อย โดยมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น จัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ซึ่งหมอน้อยจะทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค วิธีการป้องกันและแนะนำสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จทางกลุ่มคาดว่าผู้สูงอายุในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ดีขึ้น คุณตา คุณยาย อยู่กับลูกหลานได้นานๆไม่เพิ่มภาระให้กับลูกหลาน และตัวแกนนำเยาวชนได้พัฒนาทักษะชีวิต เช่น การทำงาน การสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชน


เป้าหมาย :

ลดพฤติกรรมเสี่ยงการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1 จัดตั้งศูนย์บริการชุมชน

กิจกรรม 2 จัดทำแปลง พืช ผัก สมุนไพร

กิจกรรม 3 ศึกษาค้นคว้า หาข้อมูลความรู้ต่างๆ

3.1 ศึกษาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคเบาหวา ความดันโลหิต โรคอ้วน โรคมะเร็ง

3.2 ศึกษาข้อมูลวิธีการป้องกันโรคต่างๆ

3.3 ศึกษาข้อมูลสูตรอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถช่วยรักษาโรคต่างๆ

3.4 ศึกษาข้อมูลเรื่องพืชผัก สมุนไพรที่สามารถรักษาโรคได้

กิจกรรม 4 ประชาสัมพันธ์

กิจกรรม 5 จัดทำสื่อให้ความรู้โดยเอาข้อมูลจากข้อ 2

กิจกรรม 6 ประสานงาน อสม.ในหมู่บ้าน

6.1 ติดต่อ อสม.ขอความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ความรู้ เรื่องการวัดความดันที่ถูกต้อง และการใช้เครื่องมือต่างๆ

6.2 นำข้อมูลที่ได้จากการฟื้นฟูมาพัฒนา ปรับปรุง ทัศนียภาพให้ดีขึ้น

กิจกรรม 7 เปิดศูนย์บริการสุขภาพชุมชน

7.1 เชิญผู้สูงอายุในชุมชนเข้ามาเยี่ยมชม

7.2 หมอน้อยสาธิตสื่อต่างๆที่มีอยู่ในศูนย์

กิจกรรม 8 ลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการบริโภคที่ถูกวิธีตามบ้านที่มีผู้สูงอายุ

8.1 ให้คำแนะนำเรื่องศูนย์บริการสุขภาพชุมชน

8.2 เชิญผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการของหมอน้อยและนัดวันทำข้อตกลง คำชี้แจงในการเข้าร่วมโครงการ

กิจกรรม 9 นัดพบผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการหลังจาก๒เดือน

9.1 หมอน้อยจัดกิจกรรมอธิบายสาธิตสิ่งที่อยู่ในศูนย์บริการสุขภาพให้ผู้สูงอายุเข้าใจและพาไปสาธิตการปลูกผักโดยปลอดสารเคมีรวมทั้งข้อดีและข้อเสียของการกินผักที่ซื้อ ร่วมทำข้อตกลงเช่น ยายต้องกินผัก ลดเนื้อ ควรบริโภคให้ถูกวิธี

9.2 ก่อนกลับบ้านแลกสมุดจดบันทึกกลับบ้านโดยสมุดบันทึกสุขภาพจะมีการจดบันทึกทดลองแบบที่ 1 บันทึกเรื่องการวัดสุขภาพ 2 บันทึกความรู้สึกของคุณยายที่มีต่อค่ายหมอน้อย และในสมุดบันทึกจะเขียนสูตรอาหารเพื่อสุขภาพและก่อนกลับบ้านตรวจสุขภาพแล้วนัดหมายมาตรวจอีก 2 เดือน โดยเรามีข้อตกลงว่าถ้าใครมาตรวจสุขภาพดีขึ้นกว่าเดิมจะมีรางวัลให้

กิจกรรม 10 มีการบริการให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกมาบริการของเรา

กิจกรรม 11 นัดพบผู้สูงอายุครั้งที่ 2

11.1 ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

11.2. จัดกิจกรรมประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

กิจกรรม 12 สรุปผลการดำเนินโครงการ



กระบวนการทำงานของกลุ่ม

หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม ต้องพาคุณยายไปรับยาและวัดความดันโลหิตที่อนามัยเป็นประจำ ทำให้ได้เห็นคุณตาคุณยายในชุมชนอีกหลายๆคนเกือบร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในชุมชน มีโรคประจำตัวไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง/ต่ำ เบาหวาน ไขมันอุดตัน ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม จึงมีความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยคุณตา คุณยาย ด้วยเหตุนี้เยาวชนจึงรวมตัวกับเพื่อนๆในชุมชน จัดทำโครงการหมอน้อย โดยมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น จัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ซึ่งหมอน้อยจะทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค วิธีการป้องกันและแนะนำสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ ทางกลุ่มคาดหวังว่าถ้าผู้สูงอายุในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ดีขึ้น การเป็นโรคก็จะลดลงและคุณตา คุณยาย ก็จะอยู่กับลูกหลานได้นานๆไม่เพิ่มภาระให้กับลูกหลาน และตัวแกนนำเยาวชนได้พัฒนาทักษะชีวิต เช่น การทำงาน การสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชนอีกด้วย


การดำเนินงานโครงการเยาวชนในช่วงแรกมีปรับเปลี่ยนแกนนำเยาวชน เนื่องจากบางคนย้ายไปอยู่บ้านยายที่ต่างอำเภอ แกนนำเยาวชนบางคนไม่มีเวลาทำกิจกรรมเพราะติดกิจกรรมของโรงเรียน ทำให้การดำเนินงานจะมีครูที่ปรึกษาต้องคอยควบคุมและกระตุ้นการทำงานอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้แล้วการดำเนินงานก็เป็นไปตามแผน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่รกร้างมาจัดทำเป็นศูนย์สุขภาพของโครงการ มีการปรับปรุงอาคาร เช่นทาสี ถางหญ้า ปลูกพืชผัก สมุนไพรที่สามารถนำมารักษาโรคได้ จัดทำบอร์ดแนะนำพืชผักสมุนไพร แนะนำสรรพคุณและการนำไปรับประทานเป็นยารักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กิจกรรมรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ ซึ่งในกิจกรรมนี้จะเห็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.ของหมู่บ้าน ที่เยาวชนต้องไปขอประวัติผู้สูงอายุที่เป็นโรค ขอความอนุเคราะห์อุปกรณ์การวัดความดัน และความรู้เกี่ยวกับการวัดความดัน ซึ่งเขาให้ความร่วมมือและคำแนะนำได้เป็นอย่างดี และมีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 คน กิจกรรมการบริการและดูแลผู้สูงอายุในโครงการไม่ว่าจะเป็นการแจกจ่ายพืชผักที่ปลูกไว้ให้กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ การบริการน้ำดื่มที่สามารถป้องกันและรักษาโรคเบาหวานและความดันได้ สำหรับการทำงานภายในกลุ่ม ส่วนมากจะมีคนนำโครงการอยู่คนเดียว ซึ่งเป็นน้องลำไยที่เข้ามาเป็นสมาชิกในตอนหลัง เนื่องจากน้องเป็นคนที่กระตือรือร้น เข้าใจง่ายทำให้ได้รับความไว้วางใจจากครูที่ปรึกษาและสมาชิกกลุ่ม สำหรับสมาชิกคนอื่นๆแล้วจะถนัดในงานปฏิบัติตามคำสั่งของครูที่ปรึกษาหรือของผู้นำกลุ่มเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นน้องลำไยที่รับผิดชอบงานทุกอย่างของโครงการรองจากครูที่ปรึกษา


คุณค่าจากการดำเนินโครงการแกนนำเยาวชนได้สะท้อนว่า จากการดำเนินงานโครงการทำให้เขาได้รู้จักและเข้าใจชุมชนและรักชุมชนมากขึ้น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักการพูดจาให้กำลังใจผู้สูงอายุ เช่นแกนนำเยาวชนเล่าว่า มีผู้สูงอายุบางท่านกลัวว่าจะเป็นภาระแก่ลูกหลาน แล้วเราก็ให้กำลังใจกับผู้สูงอายุ ก็บอกว่ายายไม่ต้องห่วงนะ เพราะว่าโรคที่ยายเป็นมันจะต้องหาย ถ้ายายตั้งใจที่จะดูแลตนเอง การทำโครงการทำให้รู้จักการทำงานมากขึ้น ซึ่งบางครั้งการทำงานก็มีการขัดแย้ง แต่แกนนำเยาวชนจะใช้วิธีพูดคุยและปรับปรุงใหม่ โดยการเปิดโอกาสและรับฟังความคิดเห็น ถ้าของใครดีก็จะเอาของคนนั้น และนอกจากนี้แล้วทำให้มีจิตสาธารณะ รู้จักหวงแหนและรักบ้านเกิด มีการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ชุมชนมากขึ้น และคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น


จากการสังเกตทักษะการทำงานของแกนนำเยาวชนกลุ่มนี้ ไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นัก เนื่องจากแกนนำเยาวชนมีการเปลี่ยนตัว บางคนเวลาพูดหรือถามอะไรจะไม่ค่อยพูด เช่นน้องแหม่ม น้องกิ๊บ น้องตอง และน้องบาส ต้องเค้นให้พูด น้องก็จะพูดและเล่าสิ่งที่ดำเนินงาน แต่ก็พูดสั้นๆ แต่การดำเนินงานครั้งนี้น้อง ทั้งสี่คนก็ได้สะท้อนว่าตัวเขาเองก็ยังทำงานไม่เต็มที่จะมาทำก็ต่อเมื่อมีเวลาว่างมากๆ ตอนที่ไม่มีการบ้านเพราะห่วงเรื่องเรียน คนที่จะพูดส่วนมากจะเป็นครูที่ปรึกษา และน้องลำไยซึ่งน้องลำไยก็พึ่งเข้าในช่วงเวลาที่จะปิดโครงการ แต่น้องก็เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น เข้าใจการทำโครงการและมีหัวใจที่อยากทำโครงการนี้จริงๆ สังเกตได้จากพอพี่เลี้ยงแนะนำกิจกรรมว่าเป็นอย่างไร น้องก็สามารถไปชักชวนน้องๆในโครงการมาทำกิจกรรมได้ และสิ่งที่น้องลำไยได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมครั้งนี้คือการเสียสละ น้องเล่าว่าถ้าน้องต้องรอคนอื่นๆในกลุ่มมาทำงานพร้อมกันโครงการนี้จะไม่เสร็จ ถ้าเราว่างหรือสะดวกเราต้องรีบทำงาน รีรอใครไม่ได้เพราะมันจะยิ่งช้า และการทำโครงการนี้ทำให้น้องได้เรียนรู้ว่าพืชผักสมุนไพรหลายอย่างที่มีอยู่ในชุมชนสามารถนำมารับประทานเป็นยารักษาโรคได้ และน้องรู้สึกมีความสุขมากเวลาลงพื้นที่ตามบ้านผู้สูงอายุเพราะได้เห็นรอยยิ้ม ของคุณตาคุณยายในชุมชน ดีใจทีคุณตา คุณยายให้พรเวลาลงพื้นที่วัดความดันและบริการน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ได้พี่เลี้ยงเห็นทุกครั้งเวลาลงพื้นที่คือ คนในชุมชนทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่จะเข้ามาช่วยน้องๆจัดกิจกรรม บางคนก็นำของกินมาให้ บางคนก็จัดทำอาหารเลี้ยงและยิ้มต้อนรับทีมงานอย่างเป็นมิตรทุกครั้งที่ลงพื้นที่ติดตามโครงการ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ