กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน โครงการสร้างคลอง สร้างฅน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการสร้างคลองสร้างคน


โจทย์ปัญหา

เนื่องจากขยะในชุมชนบ้านหนองบัวมีขยะเป็นจำนวนมากซึ่งเกิดจากแหล่งต่างๆเช่น ขยะที่มาจากคูน้ำหน้าบ้านใกล้ถนนในชุมชนที่ผู้คนมักจะใช้คูน้ำเป็นที่ทิ้งขยะ ดังนั้นเมื่อฝนตกจึงทำให้ขยะไหลลงสู่ลำคลองส่งผลให้คลองสกปรกเน่าเสียน้ำไม่สะอาดและไม่สามารถนำมาทำการเกษตรได้รวมทั้งระบบนิเวศในลำคลองเสียอีกด้วย เช่น สัตว์น้ำในคลองลดน้อยลง ดังนั้นทางกลุ่มรักษ์หนองบัวจึงคิดที่จะศึกษาข้อมูลเส้นทางของขยะรวมทั้งสร้างฝายดักขยะและชวนเด็กๆมาร่วมรณรงค์เรียนรู้จากการเก็บขยะและตั้งศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า

ทั้งนี้ผลที่ทางกลุ่มคาดหวังจะเกิดขึ้นเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จคือเด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ซึ่งทำให้ขยะในชุมชนบ้านหนองบัว ลดน้อยลง ส่งผลให้ระบบนิเวศดีขึ้น ทำให้แกนนำและเยาวชนในชุมชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งมีจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด


เป้าหมาย :

เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ซึ่งทำให้ขยะในชุมชนบ้านหนองบัว ลดน้อยลง ส่งผลให้ระบบนิเวศดีขึ้น ทำให้แกนนำและเยาวชนในชุมชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งมีจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการสร้างคลองสร้างคน


โจทย์ปัญหา

เนื่องจากขยะในชุมชนบ้านหนองบัวมีขยะเป็นจำนวนมากซึ่งเกิดจากแหล่งต่างๆเช่น ขยะที่มาจากคูน้ำหน้าบ้านใกล้ถนนในชุมชนที่ผู้คนมักจะใช้คูน้ำเป็นที่ทิ้งขยะ ดังนั้นเมื่อฝนตกจึงทำให้ขยะไหลลงสู่ลำคลองส่งผลให้คลองสกปรกเน่าเสียน้ำไม่สะอาดและไม่สามารถนำมาทำการเกษตรได้รวมทั้งระบบนิเวศในลำคลองเสียอีกด้วย เช่น สัตว์น้ำในคลองลดน้อยลง ดังนั้นทางกลุ่มรักษ์หนองบัวจึงคิดที่จะศึกษาข้อมูลเส้นทางของขยะรวมทั้งสร้างฝายดักขยะและชวนเด็กๆมาร่วมรณรงค์เรียนรู้จากการเก็บขยะและตั้งศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า

ทั้งนี้ผลที่ทางกลุ่มคาดหวังจะเกิดขึ้นเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จคือเด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ซึ่งทำให้ขยะในชุมชนบ้านหนองบัว ลดน้อยลง ส่งผลให้ระบบนิเวศดีขึ้น ทำให้แกนนำและเยาวชนในชุมชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งมีจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด


เป้าหมาย :

เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ซึ่งทำให้ขยะในชุมชนบ้านหนองบัว ลดน้อยลง ส่งผลให้ระบบนิเวศดีขึ้น ทำให้แกนนำและเยาวชนในชุมชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งมีจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1 ศึกษาข้อมูลเส้นทางขยะ

1.1  นัดประชุมกนนำ

1.2  ลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางขยะในชุมชน (แผนที่ - เส้นทางขยะ)

กิจกรรม 2 การจัดการขยะจัดตั้งศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า

2.1  ประชุมแกนนำเพื่อวางแผนแนวทางในการจัดตั้งศูนย์ เช่นการทำฝายดักขยะ แบ่งงานและหน้าที่ของแต่ละคน

-  รูปแบบการให้บริการของศูนย์/ขั้นตอนการดำเนินงาน

2.2  ลงมือปฏิบัติตามมติที่ประชุม

กิจกรรม 3 จัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน

3.1  การรณรงค์ เช่น แบบปากต่อปาก , ป้ายคำคม เป็นต้น

3.2  การปลูกป่าบริเวณคลองในชุมชน

3.3  การสำรวจระบบนิเวศที่อยู่รอบๆคลอง

3.4  การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงในคลองชุมชน

กิจกรรม 4 สรุปและประเมินผลโครงการ


กระบวนการทำงานกลุ่ม

คลองต้นตะเคียนในอดีตเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในหมู่บ้านหนองบัวมาช้านาน เช่นการทำอาชีพเกษตรกร หาปลาเพื่อยังชีพ เป็นต้นแต่มาวันนี้คลองต้นตะเคียนกลับกลายเป็นฝันร้ายของคนในหมู่บ้าน สายน้ำที่เคยใสสะอาดและใช้เพื่อการเกษตรกลับเต็มไปด้วยขยะ ทำให้แกนนำทั้ง 5 คน ที่เป็นเด็กในชุมชนหนองบัว หมู่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านเป็นสิ่งที่จุดประกายความคิดให้แกนนำมองเห็นว่าขยะในชุมชนบ้านหนองบัวมีขยะเป็นจำนวนมากซึ่งเกิดจากแหล่งต่างๆเช่น ขยะที่มาจากคูน้ำหน้าบ้านใกล้ถนนในชุมชนที่ผู้คนมักจะใช้คูน้ำเป็นที่ทิ้งขยะ เมื่อฝนตกจึงทำให้ขยะไหลลงสู่ลำคลอง ซึ่งส่งผลให้คลองสกปรกเน่าเสีย น้ำไม่สะอาดและไม่สามารถนำมาทำการเกษตรได้รวมทั้งระบบนิเวศในลำคลองเสียอีกด้วย เช่น สัตว์น้ำในคลองลดน้อยลง ดังนั้นทางกลุ่มรักษ์หนองบัว จึงได้สร้างสรรค์โครงการสร้างคลอง สร้างฅน ขึ้นเพื่อรวมพลังคนในชุมชนให้ช่วยกันฟื้นฟูคลองแห่งนี้ โดยมีกิจกรรมเป็นเครื่องมือช่วยในการรวมเด็กและคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง กิจกรรมที่กลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัวจัดขึ้นมี 3 กิจกรรม ดังนี้


กิจกรรมแรก ศึกษาข้อมูลเส้นทางขยะ ในกิจกรรมนี้แกนนำได้นัดประชุมเพื่อให้แกนนำทุกคนเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโครงการในปีนี้ คือ ต้องการแก้ไขปัญหาขยะในคูคลองซึ่งแกนนำทั้ง๕คนรวมตัวกันเพื่อที่จะสำรวจเส้นทางขยะก่อนเพื่อที่จะได้นำทางให้กับกลุ่มเป้าหมายที่จะพามาสำรวจโดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนในชุมชน 20 คน ทางแกนนำและเครือข่ายจึงแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 5 คน เพื่อสำรวจเส้นทางขยะก่อนที่พาเด็กและเยาวชนในชุมชนมาทำกิจกรรม ในกระบวนการสำรวจเส้นทางขยะแกนนำยังประสบกับปัญหาในการสำรวจเส้นทางขยะคือแต่ละกลุ่มยังไม่เข้าใจงานไม่ตรงกัน ทางแกนนำจึงแก้ปัญหาโดยแบ่งตามอายุและแบ่งตามความถนัดของแต่ละกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน ต่อมาทางแกนนำและเครือข่ายได้นัดเด็กและเยาวชนในชุมชนเพื่อออกเดินทางสำรวจเส้นทางขยะโดยการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ซึ่งพบว่าต้นเหตุของขยะที่มีอยู่ในคลองนั้นซึ่งมาจากคูบริเวณหน้าบ้าน ที่มีรอยต่อระหว่างท่อไปสู่คลอง มีทั้งหมด 4 สาย คือ

สายที่ 1 อยู่ด้านทิศตะวันออกของชุมชน

สายที่ 2 อยู่ข้างมัสยิดบ้านหนองบัว

สายที่ 3 อยู่ทางทิศเหนือของชุมชน

สายที่ 4 อยู่ด้านทิศตะวันตกของชุมชน


จากการทำกิจกรรมแกนนำมองเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายมีความสามัคคีในการทำงาน ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายและแกนนำรู้ถึงเส้นทางขยะที่แท้จริง เพื่อสะดวดต่อกระบวนการกำจัดขยะในชุมชน รวมถึงแกนนำและสมาชิกเครือข่าย ยังได้มีการพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นด้านการวางแผนงาน การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันเป็นทีมและมีทักษะในวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางขยะออกมาเป็นสื่อในรูปแบบ แผนที่ (ไวนิล) อีกด้วย และเสียงสะท้อนจากแกนนำบางส่วนที่ทำกิจกรรมสำรวจเส้นทางขยะและเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรม นัสยา (บี้) กล่าวว่า ในกิจกรรมสำรวจเส้นทางขยะทำให้ตนเองรู้สาเหตุและแหล่งที่มาของขยะในชุมชนได้ชัดเจนมากขึ้นและสามารถคิดที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ศักดริน (ซิล) กล่าวว่า ทำให้ตนเองได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่ต้องรับผิดชอบและความถนัดของแต่ละคนในการทำงาน


กิจกรรมที่สอง การจัดตั้งศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า ในกิจกรรมนี้แกนนำได้ประชุมแกนนำทั้ง 5 คนและเครือข่าย เพื่อชี้แจงให้ทุกคนได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคือ เพื่อใช้เป็นสถานที่ (ศูนย์) รับซื้อขยะในชุมชน โดยให้น้องๆนำขยะหลังจากการเดินเก็บในหมู่บ้านสัปดาห์ละ 1 ครั้งและให้ชาวบ้านในชุมชนนำขยะที่แยกไว้ในครัวเรือนของตนเองมาขายที่ศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า และวางแผนการปฏิบัติงาน โดยในกิจกรรมนี้กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนในชุมชน 45 คน แกนนำและเครือข่ายได้นัดกันประชุมเพื่อแบ่งงานให้แกนนำแต่ละคนรับผิดชอบในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า เด็กๆและเยาวชนในชุมชนหนองบัวช่วยกันทำความสะอาดศูนย์และตกแต่งศูนย์ เช่น ทาสีใหม่ ปรับภูมิทัศน์รอบศูนย์ให้ดูสวยงาม ฯลฯ ผลจากการทำกิจกรรมครั้งนี้ได้ศูนย์เปลี่ยนขยะเป็นมูลค่าที่เป็นที่น่าพอใจของทุกคน เด็กและเยาวชนต่างมีความสนุกสนานกับกิจกรรมครั้งนี้ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายมีจิตสาธารณะรักษ์บ้านเกิด มีจิตสาธารณะ และยังเป็นที่น่าประทับใจของทุกๆคนที่ช่วยกันพัฒนาสถานที่รับซื้อขยะ (ศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า) ให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้แกนนำและสมาชิกเครือข่ายมีทักษะในด้านการทำงานเป็นทีมด้านการวางแผนงานได้ดี เมื่อผู้ใหญ่ในชุมชนเห็นสิ่งที่แกนนำและเด็กๆได้ร่วมกันทำเพื่อชุมชนท่านจะให้การสนับสนุนและคอยให้กำลังชื่นชมเพื่อให้แกนนำมีกำลังใจทำสิ่งดีๆเพื่อชุมชน เสียงสะท้อนจากแกนนำบางส่วนที่ทำกิจกรรมสำรวจเส้นทางขยะและเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรม ณรงค์ (บัง) กล่าวว่า ทำให้ตนเองมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายและได้รู้ถึงเจตนารมณ์ของน้องๆที่มาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วยจิตอาสา อัสมา (มา) กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจในผลงานของตนเองที่ทำประโยชน์ให้กับหมู่บ้านหนองบัว


กิจกรรมที่สาม กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ในกิจกรรมนี้แกนนำได้ประชุมสมาชิกเครือข่ายเยาวชนรักษ์หนองบัว เพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานแกนนำอธิบายเกี่ยวกับจุดประสงค์ของกิจกรรมคือ ต้องการให้ผู้คนในชุมชนบ้านหนองบัว ตระหนักในเรื่องของขยะ ไม่ทิ้งขยะลงในคูน้ำ โดยมีกระบวนการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อให้คนในหมู่บ้านนำขยะที่แยกไว้ไปขายที่ศูนย์เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่า มีการรณรงค์แบบปากต่อปาก ป้ายคำคม ฯลฯ กิจกรรมที่น้องๆแกนนำเยาวชนได้ชวนเด็กๆในชุมชนหนองบัวมาร่วมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ศูนย์เปลี่ยนขยะเป็นมูลค่า และมีการแจกใบปลิวและประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง มาเผยแผ่ให้คนในหมู่บ้าน ในกิจกรรมนี้คนในชุมชนรู้สึกดีใจกับสิ่งที่เยาวชนและเด็กๆในชุมชนทำสิ่งดีๆให้กับชุมชน ซึ่งคุณป้าคนหนึ่งพูดขึ้นว่าเมื่อไรจะเปิดศูนย์เปลี่ยนขยะเป็นมูลค่า ป้าจะได้นำกาแฟและปลาปลากระป๋องไปให้ เป็นเสียงสะท้อนจากป้าคนหนึ่งที่อยู่ในชุมชนที่อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของแกนนำ กิจกรรมที่น้องๆแกนนำทำและมีเด็กๆตัวเล็กเข้าร่วมกิจกรรมดูแล้วเป็นภาพบรรยากาศที่น่ารัก ในกิจกรรมครั้งนี้เด็กๆที่ร่วมกิจกรรมเป็นเด็กตัวเล็กๆที่มีความซุกซนตามประสาเด็กๆทำให้แกนนำต้องใช้พลังอย่างมากในการควบคุมเด็กๆไม่ให้ซุกซนและเกิดอันตรายกับเด็กๆ และกิจกรรมปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและพัฒนาคูคลอง เป็นส่วนหนึ่งของของค่ายเยาวชนรักษ์หนองบัว ครั้งที 4 ประจำปี 2557 ซึงกิจกรรมนี้จัดโดยแกนนำเยาวชนและเครือข่ายโครงการสร้างคลอง สร้างคน ได้นัดประชุมแกนนำและเครือข่ายเพื่อวางแผนงานและแบ่งบทหน้าที่ในการทำงานเพื่อให้งานเป็นระบบ โดยแกนนำและเครือข่ายได้นัดเด็กและเยาวชนในชุมชนขึ้นเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับค่ายเยาวชนรักษ์หนองบัว ครั้งที่ 4 และได้มอบใบขออนุญาตผู้ปกครองให้กับเด็กๆและเยาวชนเพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบ เด็กและเยาวชนในชุมชน จำนวน 50 คนเข้าร่วมค่ายเยาวชนรักษ์หนองบัว ครั้งที 4 ประจำปี 2557 ซึ้งเป็นค่ายแบบพักแรม โดยกิจกรรมสันทนาการและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆให้เด็กๆและเยาวชนได้ร่วมเรียนรู้ เช่น กิจกรรมปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและพัฒนาคูคลอง โดยแกนนำมองเห็นว่าในแต่ละกระบวนของกิจกรรมแกนนำจะใช้หลักศาสนาอิสลามเข้ามาเป็นตัวช่วยในการให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันที่ค่ายอยู่กันอย่างไรให้สงบสุข มีการทำข้อตกลงกันระหว่างเด็กๆโดยแกนนำให้เด็กๆเป็นผู้เสนอข้อตกลงและทุกคนต้องยอมรับข้อตกลงที่เพื่อนเสนอด้วย ในกิจกรรมช่วยกันปลูกป่า ซึ่งต้นไม้ที่ใช้ในการปลูกนั้น คือ ต้นตะเคียนและต้นหมาก โดยให้เด็กๆแต่ละคนรับผิดชอบและดูแลรดน้ำต้นไม้๑คนต่อ๑ต้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกอนุรักษ์คูคลองและรักษ์บ้านเกิดอยู่เคียงคู่ธรรมชาติ และเพิ่มความรับผิดชอบให้กับตัวเองอีกทั้งยังช่วยให้ระบบนิเวศบริเวณคลองดีขึ้น ต่อมาจะเป็นกิจกรรมขุดลอกคูคลองกิจกรรมนี้แกนนำและเครือข่ายรวมทั้งเด็กๆและเยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาคูบริเวณตามหน้าบ้านของแต่ละบ้าน ซึ่งกิจกรรมนี้ทุกคนช่วยกันทำจนมีชาวบ้านในหมู่บ้านออกมาพูดกับแกนนำว่าไม่ต้องทำหรอกลูกหน้าบ้านป้าเดี่ยวป้าทำเอง หลังจากนั้นคุณป้าที่พูดก็เดินเข้าไปในบ้านพร้อมกับหยิบจอบมาขุดลอกคูหน้าบ้านตัวเอง เป็นภาพที่ทำให้ทุกคนยิ้มพร้อมกับบอกว่าพลังตัวเล็กๆแบบเราทำให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาทำแบบนี้ได้มันเป็นเรื่องที่ภูมิใจและยังคงอยู่ในความทรงจำของทุกคนๆ ตลอดเส้นทางการขุดลอกคูคลองมีเสียงให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ในชุมชุนเมื่อเด็กๆเดินผ่านชาวบ้านก็จะยิ้มแบบดีใจที่ลูกหลานทำสิ่งดีให้กับชุมชนแทนที่จะไปทำอย่างอื่นที่เป็นสิ่งไม่ดี


กิจกรรมที่ 4 แกนนำนัดประชุมสมาชิกเครือข่ายเยาวชนรักษ์หนองบัว เพื่อชี้แจงการปรับเปลี่ยนแผนงานเนื่องจา เดิมเป็นกิจกรรมทำฝายดักขยะเนื่องจากสถานในการดำเนินโครงการไม่เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมซึ่งในขณะนั้นตรงกับช่วงฤดูร้อน/แล้ง ทำให้น้ำในคูและคลองแห้งจึงเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมนี้ โดยแกนนำได้เล็งเห็นว่าหากทำกิจกรรมฝายดักขยะอาจทำให้ไม่เกิดประโยชน์หรือไม่เห็นผลเท่าที่ควร ดังนั้นทางแกนนำจึงได้ทำการประชุมและมีมติในที่ประชุมให้เปลี่ยนจากการทำฝายดักขยะเป็นกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคูคลองให้สมาชิกเครือข่ายเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ 4 นี้คือ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคูคลอง เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับแกนนำและกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาคูคลองในชุมชน ซึ่งคูเป็นสาเหตุหลักที่เป็นจุดเกิดขยะมาจากคนในครอบครัวที่นำขยะมาทิ้งไว้ในคูบริเวณหน้าบ้าน โดยทางแกนนำจึงจัดกิจกรรมนี้ขึ้นโดยให้แกนนำและกลุ่มเป้าหมายช่วยกันเอาขยะขึ้นออกจากคูและคลอง เพื่อเอาขยะนั้นมาแยกไว้เพื่อจำหน่ายต่อไป รวมทั้งช่วยกันถากหญ้าข้างๆคูและคลองอีกด้วย เพื่อทำให้คูและคลองในชุมชนสะอาดมากขึ้น รวมทั้งช่วยทำให้ขยะลดน้อยลงตามบริเวณดังกล่าวอีกด้วย จากที่แกนนำกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัวได้จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคูคลอง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนในชุมชน จำนวน 50 คน ในกิจกรรมนี้กลุ่มเป้าหมายมีความสามัคคีในการขุดลอกคูคลอง และตระหนักถึงเรื่องขยะ/สิ่งสกปรกในชุมชนมากขึ้น เด็กและเยาวชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าถ้าไม่มีพวกพี่ๆมาช่วยกันทำงานเพื่อชุมชนกันแบบนี้ น้องๆก็ไม่มีโอกาสที่จะมาช่วยชุมชนอย่างนี้ได้ น้องๆรู้สึกประทับใจ ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของคนในชุมชนได้ออกมาช่วยกันขุดลอกคูคลองกันแบบนี้กันอย่างสนุกสนาน และในขณะทำกิจกรรมมีคนในชุมชนบางคนก็ออกมาด้วยความสมัครใจที่มาช่วยกันนำขยะ / สิ่งสกปรกออกจากคู คลอง ทำให้เกิดความประทับใจของของแกนนำและการทำงานของเด็กๆรวมทั้งทำให้แกนนำและสมาชิกเครือข่ายมีทักษะในด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการวางแผนงาน และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้ดียิ่งขึ้น


เสียงสะท้อนจากแกนนำบางส่วนที่ทำกิจกรรมสำรวจเส้นทางขยะและเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมณรงค์ (บัง) กล่าวว่า ทำให้ผมมีทักษะในการวางแผนก่อนการทำกิจกรรม เช่น ในกิจกรรมรณรงค์การคัดแยกขยะ แกนนำจะต้องแบ่งหน้าที่กันว่าใครจะรับผิดชอบในส่วนไหนผมเองต้องวางแผนในสิ่งที่ต้องรับผิดชอบเพื่อให้งานในส่วนของผมออกมาดีและไม่มีอุปสรรค


คุณค่าของการเรียนรู้

จากการลงมือทำโครงการครั้งนี้ แกนนำเยาวชนเล่าว่าการดำเนินโครงการทำให้ตนเองเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น น้องซิล บอกว่า ก่อนหน้าทำโครงการตัวเองรู้สึกว่างานทั้งหมดตัวเองต้องเป็นคนจัดการและรู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยกับงานที่แบกรับไว้ แต่พอทำโครงการไปทำให้ตัวเองมองเห็นว่าการเป็น one man show ไม่ได้ทำให้ตัวเองมีความสุขกับสิ่งที่ทำเลย น้องซิลจึงคิดที่จะให้คนอื่นที่เป็นแกนนำเป็นผู้นำบ้างเพราะคิดว่าทุกคนเก่งแต่แค่เก่งกันคนละด้าน สิ่งที่ตัวเองเรียนรู้การทำงานทุกครั้งการประชุมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นออกมาเพื่อนำไปสู่กิจกรรมที่จะจัดขึ้น การเรียนรู้การออกเสียงแบบประชาธิปไตยทำให้ตัวเองยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและทำให้ตัวเองรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเองได้ดี รู้สึกว่าเวลาตัวเองทำกิจกรรมจะภูมิใจและมีความสุข น้องมา ก่อนหน้านี้ตัวเองเป็นคนไม่กล้าแสดงออกไม่กล้าพูดหรือแสดงความคิดเห็น แต่พอทำโครงการทำให้รู้ว่าตัวเองพัฒนาขึ้นกล้าที่พูดกล้าที่แสดงความคิดเห็น และมีความรับผิดชอบมากขึ้นจากงานที่ส่วนรวมและส่วนตน งานที่ทำสอนให้ตัวเองอดทนและใจเย็นขึ้น งานทำให้ตัวเองเคารพผู้อื่น ไม่เอาเปรียบกันผู้อื่น และรู้สึกตื้นตันมากคือเมื่อเห็นเด็กๆและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมทำให้ตัวเองมีกำลังใจ น้องบี้ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเลยที่จะกล้าพูด กล้านำเสนอผลงาน จะเป็นผู้ตามมากกว่าที่จะเป็นผู้นำแต่ตอนนี้งานที่ทำมันสอนให้ตัวเองกล้ามากขึ้น ในบางครั้งเราต้องเป็นผู้นำบ้างแม้จะทำได้ไม่ดีแต่จะมีเพื่อนค่อยมาเสริมทำให้ตัวเองรู้สึกอุ่นใจเมื่อมีเพื่อนอยู่ข้างๆ ตัวเองรู้สึกว่ามีความรับผิดชอบมากขึ้น ยอมเสียสละเวลาว่างมาทำกิจกรรมเพื่อชุมชนของตัวเองรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบ้านเกิด น้องป๊ะ แต่ก่อนเป็นขี้เกียจ ไม่ชอบทำอะไร แต่พอทำโครงการนี้ทำให้ตัวเองรู้ว่าตัวเองเหมาะที่จะทำงานแบบไหนได้ดี เช่น การประสานงาน งานฝีมือเช่น ทาสี วาดตัวอักษร นอกจากนี้แล้วตนเองยังเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มที่ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นมากขึ้น เห็นความสามัคคีของเพื่อนๆจนทำให้ตัวเองต้องลงมือช่วยเพื่อนๆอย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้วการดำเนินงานโครงการ ทำให้แกนนำเยาวชนและสมาชิกในโครงการ ได้พูดคุยกันมากขึ้นจนทำให้เข้าใจกันมากขึ้น น้องบัง ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยสนใจอะไรเกี่ยวกับชุมชน แต่พอทำกิจกรรมในโครงการทำให้เราได้ฝึกความอดทน อดกลั้น จากที่เป็นคนชอบอยู่เฉยๆ แต่ตอนนี้ต้องออกมาทำสิ่งดีๆให้กับชุมชนของตัวเอง รู้จักวางแผนงานเป็นระบบ เช่น ก่อนทำกิจกรรมเราจะมีการประชุมกันทุกครั้ง และที่ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปเยอะคือเมื่อก่อนจะไม่ค่อยกล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็นต่อเพื่อน แต่พอทำโครงการทำให้กล้ามาขึ้นเวลามีประชุมเมื่อตัวเองคิดอะไรได้ก็จะขอแชร์ขอเสนอเพื่อน เมื่อเพื่อนเห็นด้วยเพื่อนๆก็จะให้เราเป็นผู้นำในเรื่องนั้น ผมก็จะมีความสุข คนอื่นก็มีความสุขที่ได้ทำสิ่งดีๆกับบ้านเกิดทำให้ผมและเพื่อนๆทุกคนรักบ้านเกิดของตัวเองมากขึ้น


การทำงานเป็นทีม

ทางกลุ่มยังสะท้อนออกมาว่าแกนนำและเครือข่ายประมาณ ๒๐ คน ทุกคนทำงานกันแบบพี่น้องมีเรื่องอะไรก็จะปรึกษากันในที่ประชุม ทุกคนเคารพในทุกความคิดเห็นของเพื่อนๆแม้ความคิดเห็นจะแตกต่างแต่ทุกความคิดเห็นนั่นก็มีค่า ควรจะเปิดโอกาสให้ทุกคนเสนอความคิดเห็น การทำงานเพื่อพัฒนาบ้านเกิดทำให้ทุกคนยอมเสียสละเวลาของตัวเองมาทำเพื่อส่วนรวม นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า จิตสาธารณะ


การเปลี่ยนแปลงของแกนนำเยาวชนที่ค่อยๆเติบโตและพวกเขาได้ซึมซับสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะที่น้องๆต้องกลับไปบอกที่บ้านของตัวเองว่าถ้าจะทิ้งขยะให้ใส่ถุงหรือถังขยะอย่าทิ้งลงคูเพราะจะทำให้เป็นปัญหาคือคลองของหมู่บ้านจะสกปรกและน้ำเน่า ที่แกนนำได้ดำเนินการโครงการสร้างคลอง สร้างฅน เป็นโครงการที่สามารถทำให้แกนนำเยาวชนและเครือข่ายอีกทั้งคนในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเกิดตัวเองให้ดีขึ้นจากปัญหาขยะที่ทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดขึ้นมาวันนี้โครงการที่ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำส่งผลให้ขยะในลำคลองลดลง ตัวโครงการเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้แกนนำพัฒนาศักยภาพของตัวเอง สร้างให้แกนนำเรียนรู้ และยังจะสร้างให้คลองที่มีความสำคัญกับหมู่บ้านกับชุมชนกลับมามีสภาพที่ดีขึ้น และยังสร้างให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง สร้างให้คนในแต่ละวัยเป็นโลกใบเดียวกันช่วยเหลือกัน สมกับชื่อโครงการที่แกนนำได้ให้ชื่อไว้ว่า โครงการสร้างคลอง สร้างฅน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ