โครงการสานสายใยเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่ม พลังคนหัวรั้นเพื่อสังคม
โครงการสานสายใยเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่ม พลังคนหัวรั้นเพื่อสังคม
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียนโครงการสานสายใย เพื่อนช่วยเพื่อน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการสานสายใยเพื่อนช่วยเพื่อน


โจทย์ปัญหา

เยาวชนในศูนย์ฝึก เขต 9 จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนใน 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนล่าง จึงทำให้เยาวชนที่เข้ามาฝึกอบรมมีบุคลิกที่หลากหลายและมีความคิดที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดการแบ่งพรรค แบ่งพวก และการฝึกอบรมในแต่ละวันมีเวลาว่างมากเกินไป ทำให้เยาวชนมีเวลาที่จะคิดฟุ้งซ่าน หมกมุ่น ทำให้เกิดความหวาดระแวง เครียด จนนำไปสู่การทำผิดกฎระเบียบของศูนย์ฝึก เช่น การสัก การหลบหนี การทะเลาะวิวาทระหว่างเยาวชนเอง ฯลฯ


ในขณะเดียวกันก็มีเยาวชนในศูนย์ฝึกบางส่วนมีฐานนะที่ยากลำบากทำให้ไม่มีญาติมาเยี่ยม เยาวชนดังกล่าวจึงไม่มีของใช้ส่วนตัวทำให้มีการลักขโมยของเพื่อน ทางกลุ่มมองว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว เยาวชนในศูนย์ฝึกมีโอกาสที่จะกระผิดเพิ่มมากขึ้นและถูกตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆเช่น ลาเยี่ยมบ้าน โครงการบวชและดาวะฮ์ ตลอดจนมีโอกาสที่จะถูกส่งตัวไปเรือนจำถ้าหากทำผิดกฎขั้นรุนแรง


ดังนั้นทางกลุ่ม “พลังคนหัวรั้นเพื่อสังคม” จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำโครงการ จักสาน สายใย เพื่อนช่วยเพื่อน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจักสานพลาสติก การจัดจำหน่ายและนำรายได้มาเป็นทุนให้เพื่อนที่ไม่ญาติมาเยี่ยมเพื่อให้เพื่อนมีเงินซื้อของใช้ส่วนตัวและให้เพื่อนที่มีระยะเวลาใกล้ปล่อยตัว ได้มีเงินทุนไปประกอบอาชีพเมื่อได้รับการปล่อยตัว หากโครงการดำเนินแล้วเสร็จ แกนนำเยาวชนคาดหวังว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการจักสานเส้นพลาสติกที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ มีเงินทุนในการช่วยเหลือเพื่อนที่ไม่มีญาติเยี่ยมและเพื่อนที่ได้รับการปล่อยตัวมีเงินทุนที่จะไปประกอบอาชีพ รวมทั้งแกนนำเยาวชนได้พัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์ของตนเองอีกด้วย


เป้าหมาย :

โครงการ จักสาน สายใย เพื่อนช่วยเพื่อน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจักสานพลาสติก การจัดจำหน่ายและนำรายได้มาเป็นทุนให้เพื่อนที่ไม่ญาติมาเยี่ยมเพื่อให้เพื่อนมีเงินซื้อของใช้ส่วนตัวและให้เพื่อนที่มีระยะเวลาใกล้ปล่อยตัว ได้มีเงินทุนไปประกอบอาชีพเมื่อได้รับการปล่อยตัว

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการสานสายใยเพื่อนช่วยเพื่อน


โจทย์ปัญหา

เยาวชนในศูนย์ฝึก เขต 9 จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนใน 7 จังหวัด ภาคใต้ตอนล่าง จึงทำให้เยาวชนที่เข้ามาฝึกอบรมมีบุคลิกที่หลากหลายและมีความคิดที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดการแบ่งพรรค แบ่งพวก และการฝึกอบรมในแต่ละวันมีเวลาว่างมากเกินไป ทำให้เยาวชนมีเวลาที่จะคิดฟุ้งซ่าน หมกมุ่น ทำให้เกิดความหวาดระแวง เครียด จนนำไปสู่การทำผิดกฎระเบียบของศูนย์ฝึก เช่น การสัก การหลบหนี การทะเลาะวิวาทระหว่างเยาวชนเอง ฯลฯ


ในขณะเดียวกันก็มีเยาวชนในศูนย์ฝึกบางส่วนมีฐานนะที่ยากลำบากทำให้ไม่มีญาติมาเยี่ยม เยาวชนดังกล่าวจึงไม่มีของใช้ส่วนตัวทำให้มีการลักขโมยของเพื่อน ทางกลุ่มมองว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว เยาวชนในศูนย์ฝึกมีโอกาสที่จะกระผิดเพิ่มมากขึ้นและถูกตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆเช่น ลาเยี่ยมบ้าน โครงการบวชและดาวะฮ์ ตลอดจนมีโอกาสที่จะถูกส่งตัวไปเรือนจำถ้าหากทำผิดกฎขั้นรุนแรง


ดังนั้นทางกลุ่ม “พลังคนหัวรั้นเพื่อสังคม” จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำโครงการ จักสาน สายใย เพื่อนช่วยเพื่อน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจักสานพลาสติก การจัดจำหน่ายและนำรายได้มาเป็นทุนให้เพื่อนที่ไม่ญาติมาเยี่ยมเพื่อให้เพื่อนมีเงินซื้อของใช้ส่วนตัวและให้เพื่อนที่มีระยะเวลาใกล้ปล่อยตัว ได้มีเงินทุนไปประกอบอาชีพเมื่อได้รับการปล่อยตัว หากโครงการดำเนินแล้วเสร็จ แกนนำเยาวชนคาดหวังว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการจักสานเส้นพลาสติกที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ มีเงินทุนในการช่วยเหลือเพื่อนที่ไม่มีญาติเยี่ยมและเพื่อนที่ได้รับการปล่อยตัวมีเงินทุนที่จะไปประกอบอาชีพ รวมทั้งแกนนำเยาวชนได้พัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์ของตนเองอีกด้วย


เป้าหมาย :

โครงการ จักสาน สายใย เพื่อนช่วยเพื่อน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจักสานพลาสติก การจัดจำหน่ายและนำรายได้มาเป็นทุนให้เพื่อนที่ไม่ญาติมาเยี่ยมเพื่อให้เพื่อนมีเงินซื้อของใช้ส่วนตัวและให้เพื่อนที่มีระยะเวลาใกล้ปล่อยตัว ได้มีเงินทุนไปประกอบอาชีพเมื่อได้รับการปล่อยตัว



กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1   รับสมัครแกนนำเข้าร่วมโครงการ

กิจกรรม 2   จัดกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติการจักสาน

2.1  เชิญวิทยากรมาฝึกอบรมให้กับเยาวชนที่เข้าโครงการ โดยแบ่งเยาวชนในการฝึกจักสานออกเป็น 2 กลุ่ม คือเยาวชนที่ญาติไม่มาเยี่ยม จำนวน15 คนและเยาวชนที่ใกล้รับการปล่อยตัว จำนวน 15 คน

2.2  จัดกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติการจักสานพลาสติก ใน 1 สัปดาห์ แบ่งสอนการจักสาน 3 วันต่อรุ่น

กิจกรรม 3 ปฏิบัติการจักสานผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆและจัดจำหน่าย

กิจกรรม 4 บริหารจัดการเงินทุน

4.1  แบ่งสัดส่วนเงินเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ ๑ ไว้บริหารจัดการโครงการ

ส่วนที่ ๒ ทุนช่วยเหลือเพื่อนไม่มีญาติเยี่ยม

ส่วนที่ ๓ ทุนสำหรับเพื่อนที่มีระยะฝึกอบรมไม่เกิน ๕ เดือน

กิจกรรม 5 สรุปผลการดำเนินงานทั้งหมดตลอดทำกิจกรรม



กระบวนการทำงานของกลุ่ม

วัยรุ่นชายกลุ่มหนึ่งใช้เวลาว่างของช่วงชีวิตที่อยู่กับการจักรสานเส้นใยพลาสติกให้เป็น กระเป๋าสตางค์ ตระกล้าใส่ของ กล่องใส่กระดาษชำระ ดอกไม้ ฯลฯ ทำให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับชิ้นงาน เงยหน้ามายิ้มแกมหยอกกับเพื่อนบ้างเป็นบางครั้ง เสมือนหนึ่งกำลังปลดปล่อยให้เวลาไหลผ่าน โดยมิให้ความบอบช้ำของชีวิตเข้ามาเกาะกุมจิตใจ และภูมิใจที่ชิ้นงานซึ่งพวกเขาสร้างสรรค์ขึ้นนั้น ยังนำรายได้มาให้เก็บออมหรือใช้สอยในช่วงที่ชีวิตถูกจำกัดอิสรภาพ และช่วยเพื่อนที่มีระยะเวลาใกล้ได้รับการปล่อยตัวสามารถนำไปเป็นอาชีพได้ นั้นคือบรรยากาศการทำงานของ โครงการสานใยเพื่อนช่วยเพื่อน โดยกลุ่มพลังคนหัวรั้นเพื่อสังคม ที่แกนนำเยาวชนชาย จำนวน 5 คนกับครูที่ปรึกษา 1 ท่านของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลาสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานโครงการเริ่มจาก


ขั้นตอนที่ 1 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเพื่อน ที่ใกล้จะได้รับการปล่อยตัวจำนวน 15 คน (รุ่นที่1) ประชาสัมพันธ์โครงการหน้าเสาธงในช่วงที่เพื่อนๆเข้าแถวตอนเช้า ให้เพื่อนๆได้ทราบถึงโครงการที่แกนนำกำลังจะทำ และระหว่างประชาสัมพันธ์มีการรับสมัครสมาชิกร่วมโครงการจำนวน 15  คน ในรุ่นที่ 1 ในการประชาสัมพันธ์แกนนำหมุนเวียนกันขึ้นประชาสัมพันธ์ ครั้งแรกที่ขึ้นไปประชาสัมพันธ์รู้สึกตื่นเต้น พูดไม่ค่อยออก เขินเพื่อนๆ แต่เมื่อประชาสัมพันธ์บ่อยๆทำให้ทราบว่าการเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าเราพูดโดยไม่เตรียมข้อมูลมาก่อนจะทำให้พูดผิดและอายเพื่อนๆได้ และยังได้ฝึกเรื่องของการวางตัวในการขึ้นประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง เราต้องมีความมั่นใจในการพูด ต้องรู้จักการชักชวนให้เพื่อนเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกโครงการ ซึ่งผลของการประชาสัมพันธ์ ทำให้เพื่อนๆมีความสนใจในโครงการ สมัครร่วมโครงการเยอะมาก แกนนำต้องแบ่งให้เพื่อนๆที่สมัครเข้ามาในรุ่นที่ 1 อยู่ในรุ่นที่ 2 อีก 15 คน ทำให้แกนนำรู้สึกดีใจที่เพื่อนๆอยากเข้าร่วมและเห็นความสำคัญของโครงการ ในส่วนของการเปิดเพจโครงการที่ปรึกษาจะเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ เนื่องจากมีข้อจำกัด เช่น ห้ามใช้คอมพิวเตอร์ สื่อต่างๆ เป็นต้น


ขั้นตอนที่ 2 ที่ปรึกษาเบิกตัวแกนนำทั้ง 5 คน ไปเข้ารับการอบรมฝึกทักษะการจักรสานเส้นใยพลาสติกจากครูภูมิปัญญา คือ นางระภีย์ ทองมาก บ้านเลขที่ 469 อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง และกลับมาฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ซึ่งที่ปรึกษาโครงการ(ครูประชิด ตรงจิต)ได้นำแกนนำทั้ง 5 คน ออกไปอบรมที่จังหวัดพัทลุง เป็นเวลา 1 วัน ทำให้แกนนำได้ออกมาเรียนรู้ข้างนอก ซึ่งแกนนำดีใจมากที่ได้ออกมาเรียนรู้การสานเส้นพลาสติก จากเมื่อก่อนแกนนำมีความรู้มาบ้างแต่ก็ไม่ได้มีทักษะที่แน่นเกี่ยวกับการจักสาน เมื่อได้ไปอบรมทำให้แกนนำได้มีความรู้ มีทักษะใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น เช่น การเลือกลวดลายของเส้นพลาสติก การสานลายใหม่ๆเทคนิคการสานให้เร็วขึ้น รวมถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้แก่ กระเป๋ามีสายสะพาย ตะกร้ามีที่จับ เป็นต้น หลังจากนั้นแกนนำกลับมาที่ศูนย์ฝึกได้มาถ่ายทอดการสานเส้นพลาสติกให้กับสมาชิกโครงการในรุ่นที่ 1 ได้ลงมือปฏิบัติการจักสานเส้นใยพลาสติก ซึ่งแกนนำมีการวางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่กัน โดยแกนนำ 2 คน เป็นผู้ให้ความรู้เบื้องต้นในการจักสานเส้นพลาสติก พร้อมทั้งบอกเทคนิคในการสานแบบง่ายๆให้กับสมาชิกโครงการ เช่น นายชีวภัทธ กว้องมิ่ง  และนายกฤษศิลา ชัยลังกา การสานเส้นใยพลาสติกถ้าทำกระเป๋า ควรเริ่มจากฐานของกระเป๋าแล้วสานที่ละข้างของตัวกระเป๋าขึ้นมา จะต้องมีสมาธิและจดจ่อในการสาน จะทำให้เราสามารถสานได้เร็วขึ้นและมีรูปแบบที่สายงาม นี่คือเทคนิคง่ายๆ เป็นต้น เริ่มกระบวนการเพื่อนสอนเพื่อนในรุ่นที่ 1 โดยแกนนำ 1 คนจะต้องรับผิดชอบสอนเพื่อน 3 คน จนทุกคนสามารถสร้างสรรค์ให้มีคุณภาพ โดยให้จับกลุ่ม แกนนำ 1 คน ต่อสมาชิกร่วมโครงการ 3 คน ทำการสอนสานเส้นพลาสติกใช้เวลา 1 เดือน เมื่อสมาชิกโครงการในรุ่นที่ 1 มีความรู้ ความชำนาญในการสานใยพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงานแล้ว แกนนำก็ทำการสอนเพื่อนรุ่นที่ 2 ต่อไป แกนนำเล่าว่า ระหว่างการสอน ทำให้มีการพูดคุยกัน สนิทสนมกัน ที่สำคัญลดช่องว่างของการแบ่งพรรคแบ่งพวกได้ และผลที่เกิดขึ้นคือ สมาชิกร่วมโครงการมีความรู้ มีทักษะ สามารถสานเส้นพลาสติกออกมาเป็นผลิภัณฑ์ เช่น กระเป๋ามีสายสะพาย ตะกร้ามีที่จับ เป็นต้น จากเมื่อก่อนเพื่อนๆจะมาจากต่างจังหวัดมีการแบ่งพวกกัน ทำให้ตอนนี้เพื่อนๆที่ร่วมโครงการมีการพูดคุยกัน มีสมาธิในการสานเส้นพลาสติก และเมื่อก่อนเพื่อนจะใช้เวลาว่างส่วนใหญ่รวมตัวกันแอบสักตามร่างกายใต้ต้นไม้ ก็รู้จักใช้เวลาว่างมาสานเส้นพลาสติก รวมถึงการฝึกความรับผิดชอบ เพราะในแต่ละครั้งที่มีการสอนสานเส้นพลาสติก สมาชิกและแกนนำจะทราบได้เลยว่าถึงเวลาที่จะมาสานเส้นพลาสติกแล้ว ไม่ต้องให้มีการประกาศบอก แกนนำและสมาชิกก็จะมาทำการสานเส้นใยพลาสติกเองได้เลย


ขั้นตอนที่ 3 ครูที่ปรึกษาจึงจะขอเบิกตัวเยาวชนชายที่เป็นแกนนำ ออกมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายนอกสถานควบคุม เช่น ถนนคนเดิน งานสานสัมพันธ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งสิ้นค้าสวนใหญ่ จะเป็นสิ้นค้าจำพวก กระเป๋า ตะกร้า มีทั้งใบเล็กและใหญ่ เป็นต้น ในการนำไปจำหน่าย จะได้รับการอุดหนุน จากผู้ปกครองเยาวชน ที่มาเยี่ยมบุตรหลานและกลุ่มคนทั่วไป


ขั้นตอนที่ 4 รายได้จากการขายเยาวชนแกนนำจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  คือ 1) ต้นทุน 2) หักเข้ากองทุนช่วยเพื่อน เช่น ซื้อของใช้ส่วนตัวให้กับเพื่อนเยาวชนที่ญาติไม่เยี่ยมหรือให้เพื่อนที่ปล่อยตัวแต่ไม่มีเงินกลับบ้าน เป็นต้น 3) กำไรที่ปั่นผลให้กับเจ้าของชิ้นงาน


ขั้นตอนที่ 5  ทางกลุ่มยังมีกิจกรรมไปจัดอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุในชุมชนใกล้เคียงกับสถานที่ควบคุม คือ ศูนย์ 3 วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว เกาะยอ จังหวัดสงขลา ซึ่งแกนนำได้มีโอกาสไปทำการสอนการจักสานเส้นใยพลาสติกให้กับผู้สูงอายุ ทำให้แกนนำได้เรียนรู้ว่า เทคนิคในการสอนสานเส้นใยพลาสติกกับผู้สูงอายุต่างกับการสอนเพื่อนๆในศูนย์ฝึกฯสำหรับผู้สูงอายุจะต้องสอนแบบตัวต่อตัว การใช้ภาษาต้องเป็นกันเอง ที่สำคัญต้องถ่ายทอดเทคนิค การสาน ความรู้ให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากพอสมควร แต่แกนนำก็สามารถทำได้ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกซาบซึ้งใจในเจตนาดี ความมีน้ำใจและปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อลูกหลานที่ก้าวพลาดเหล่านี้


แกนนำเยาวชนกลุ่ม พลังคนหัวรั้นเพื่อสังคม สะท้อนถึงคุณค่า และผลการทำงานที่เกิดขึ้นว่า การทำงานที่ผ่านมาได้สร้างพื้นที่ชีวิตให้กับเพื่อนที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายสับสนในสถานควบคุม หลีกหนีจากการไปรวมกลุ่มกันแล้วทำผิดกฎระเบียบวินัยที่ยื้ออิสรภาพเอาไว้ และสร้างความหวังในการพึ่งพาตนเองภายหลังจากอิสรภาพกลับคืนมา รวมถึงสร้างรายได้ให้เพื่อนมีเงินซื้อของใช้ส่วนตัวหรือเก็บออม ที่สำคัญ คือการพัฒนาตนเองเพราะรู้สึกว่า การเป็นครูที่ต้องสอนเพื่อนทำให้ต้องฝึกที่จะสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจด้วยการพูดหรือการทำให้ดู และต้องจัดการกับอารมณ์เมื่อเพื่อนไม่เข้าใจหรือทำไม่ได้ดั่งใจ ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นเพราะต้องมาเปิด-ปิด ชั้นเรียน ซึ่งปกติก่อนจะใช้ช่วงเวลาว่างพักผ่อนหรือไปรวมกลุ่มกับเพื่อน แต่ตอนนี้ต้องรับผิดชอบห้องเรียน เพื่อสอนและดูแลเพื่อนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์โดยเฉพาะสิ่งของมีคมที่ต้องเข้มงวดเป็นพิเศษ การจัดการตรงนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้เพื่อนรู้สึกว่าไม่ไว้ใจเขา เพราะเดี๋ยวเขาไม่พอใจ ก็จะทำให้ทะเลาะกัน ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ก็จะไม่ไว้ใจอาจทำให้โครงการถูกสั่งให้เลิกได้ง่ายๆ ที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่างคือเรื่องของสมาธิ การที่เราและเพื่อนมีใจจดจ่ออยู่กับชิ้นงานนั้นทำให้รู้สึกว่าใจเย็นลงมีสมาธิมากขึ้น รวมถึง มีความสุขและภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เขาลำบากกว่าเรา


จากการทำงานผ่านมาแกนนำชายทั้ง 5 คน ได้สะท้อนพัฒนาการของแต่ละคนจากการทำงาน

1.นายชีวภัทธ กว้องมิ่ง สะท้อนให้เห็นว่าการใช้ชีวิตที่ถูกจำกัดอิสภาพ ทำให้ความคิดไม่หยุดนิ่ง ฟุ้งซ่าน เครียด ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้เลย เขาใช้เวลาว่างส่วนใหญ่กับการพักผ่อน เมื่อเขาผ่านกิจกรรมโครงการระยะหนึ่ง ทำให้มีวิธีจัดการกับอารมณ์โดยใช้เวลาว่างที่มีอยู่กับการจดจ่อสร้างสรรค์เส้นใยพลาสติกออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยความภาคภูมิใจ


2.นายอาทิตย์ หลักเพชร สะท้อนเรื่องราวของชีวิต ให้เห็นว่าหลังจากนี้ไปชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรยังไม่รู้ เขาต้องถูกย้ายไปควบคุมในที่ที่เขาไม่รุว่าเป็นอย่างไร (เรือนจำ)แต่เขาได้ทำงานเพื่อส่วนรวมทำให้เพื่อนๆที่ยากลำบากกว่าได้มีของใช้ เขารู้สึกมีความสุขมากกับการได้เข้ามาร่วมสานเส้นใยพลาสติกกับเพื่อนๆการจักสานเส้นใยพลาสติกทำให้เขามีความรับผิดมากขึ้น เช่น เมื่อถึงเวลาของทุกวัน พุธ พฤหัสบดี และศุกร์ จะต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมสานเส้นใยพลาสติก เป็นต้น มีสมาธิในการอยู่กับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อจำหน่าย นำเงินมาช่วยเหลือตัวเขาและเพื่อนๆ


3. นายอดิเทพ เสนธนู สะท้อนให้เห็นว่าการใช้ชีวิตที่ถูกจำกัดอิสภาพ เขาใช้ชีวิตแต่ละวันให้เวลาผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ ซึ่งในสถานที่แห่งนี้จะมีกฎระเบียบบังคับมากมาย ทำให้เขาต้องทำผิดกฎระเบียบอยู่บ่อยครั้ง เมื่อได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจักสานเส้นใยพลาสติกทำให้เขาใช้เวลาส่วนใหญ่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยใช้พื้นที่ในการสานเส้นใยพลาสติกเป็นพื้นที่สำหรับหลีกหนีการทำผิดกฎระเบียบต่างๆได้


4. นายกฤษศิลา ชัยลังกา สะท้อนให้เห็นว่าเขามีโลกส่วนตัวสูงไม่ยุ่งเกี่ยวกับเพื่อน เมื่อเข้ามาร่วมจักสานเส้นใยพลาสติก ทำให้เขารูจักปรับตัวเข้ากับเพื่อน เช่น กล้าพูดคุย กล้าสอนเพื่อนๆ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นต้น มีความรับผิดชอบในการดูแลตรวจสอบอุปกรณ์โดยเฉพาะของมีคมต่างๆเช่น กรรไกร ไม้บรรทัดเหล็ก เป็นต้น เพื่อไม่เกิดอันตรายต่อเพื่อนๆเขารู้จักที่จะสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจในเทคนิคการสร้างสรรค์เส้นใยพลาสติกให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามได้ เช่น พูดคุยแบบเป็นกันเอง ไม่เครียด ทำให้เพื่อนเกิดความไว้วางใจ และรักใคร่ เป็นต้น


­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ