กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน โครงการเด็กดีเพื่อชุมชน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการเด็กดีเพื่อชุมชน


โจทย์ปัญหา

ด้วยบริบทของอำเภอเทพา มีความหลากหลายในศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขมาอย่างช้านาน ด้วยคนในสมัยนั้นมีกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมทางสังคมที่ปฏิบัติร่วมกันดูแลซึ่งกันและอย่างฉันมิตร แต่ในปัจจุบันสภาพทางสังคมได้เปลี่ยนไปเมื่อต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำงาน มุ่งหาปัจจัยภายนอกมาใส่ตน ปัจจัยภายในคือความรัก ความเอื้ออาทรที่มีต่อกันนั้นไม่มีทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหายาเสพติด เด็กติดเกมออนไลน์ ขยะตามสถานที่ต่างๆ ผู้คนขาดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทางกลุ่มมองเห็นว่าถ้าไม่แก้ปัญหาดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบให้เยาวชนในชุมชนเสียการเรียน สุขภาพทรุดโทรม ในชุมชนเต็มไปด้วยคนติดยาเสพติดทำให้นำไปสู่การสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน นอกจากนี้แล้วสถานที่มีขยะ มีสภาพทรุดโทรมขาดความน่าเลื่อมใส ทำให้คนในชุมชนเกิดความขัดแยงกัน

ดังนั้นทางกลุ่มพลังปลิงจึงคิดที่จะดำเนินโครงการเด็กดีเพื่อชุมชนซึ่งมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชนโดยการชักชวนเพื่อนมาจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หากโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จะเป็นการจุดประกายให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาของยาเสพติด เกมออนไลน์ ขยะ และความสมานฉันท์

เป้าหมาย :

เป็นการจุดประกายความคิดให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาของยาเสพติด เกมออนไลน์ ขยะ และความสมานฉันท์จึงร่วมกันพัฒนาชุมชนโดยการลดขยะที่มีในชุมชนให้มีจำนวนลดลง

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการเด็กดีเพื่อชุมชน


แกนนำ  กลุ่มพลังปลิง

แกนนำเยาวชนมี 4 คน โรงเรียนเทพา  ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา มีรายชื่อดังนี้

  1. เด็กหญิงกนกวรรณ     พูลเพิ่ม           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนเทพา
  2. เด็กหญิงนภารัตน์   นวลมณี   (แพง)   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนเทพา
  3. เด็กหญิงมยุรี        ศรีเทพ      (มาย)   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนเทพา
  4. เด็กหญิงสุนันทา   สังข์แก้ว   (แพรว)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนเทพา


ที่ปรึกษาโครงการ : นายมงคล ทองเป็นไชย (มง) อายุ 47 ปี 

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สถาบันการศึกษาวิทยาลัยครูภูเก็ต เ


เลี้ยงกลุ่ม   นายกรกช มณีสว่าง ปริญญาตรีคณะพาณิชยศาสตร์ และการจัดการ การจัดการสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง 

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม  ฝ่ายปฏิบัติการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสาธารณะและวิทยากรกลุ่มย่อย



โจทย์ปัญหา

ด้วยบริบทของอำเภอเทพา มีความหลากหลายในศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขมาอย่างช้านาน ด้วยคนในสมัยนั้นมีกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมทางสังคมที่ปฏิบัติร่วมกันดูแลซึ่งกันและอย่างฉันมิตร แต่ในปัจจุบันสภาพทางสังคมได้เปลี่ยนไปเมื่อต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำงาน มุ่งหาปัจจัยภายนอกมาใส่ตน ปัจจัยภายในคือความรัก ความเอื้ออาทรที่มีต่อกันนั้นไม่มีทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหายาเสพติด เด็กติดเกมออนไลน์ ขยะตามสถานที่ต่างๆ ผู้คนขาดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทางกลุ่มมองเห็นว่าถ้าไม่แก้ปัญหาดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบให้เยาวชนในชุมชนเสียการเรียน สุขภาพทรุดโทรม ในชุมชนเต็มไปด้วยคนติดยาเสพติดทำให้นำไปสู่การสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน นอกจากนี้แล้วสถานที่มีขยะ มีสภาพทรุดโทรมขาดความน่าเลื่อมใส ทำให้คนในชุมชนเกิดความขัดแยงกัน


ดังนั้นทางกลุ่มพลังปลิงจึงคิดที่จะดำเนินโครงการเด็กดีเพื่อชุมชนซึ่งมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชนโดยการชักชวนเพื่อนมาจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หากโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จะเป็นการจุดประกายให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาของยาเสพติด เกมออนไลน์ ขยะ และความสมานฉันท์



เป้าหมาย :

เป็นการจุดประกายความคิดให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาของยาเสพติด เกมออนไลน์ ขยะ และความสมานฉันท์จึงร่วมกันพัฒนาชุมชนโดยการลดขยะที่มีในชุมชนให้มีจำนวนลดลง


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1 ประชุมกลุ่มแกนนำ

กิจกรรม 2 ชวนเพื่อนมาอาสา

กิจกรรม 3 ทำสื่อรณรงค์(ยาเสพติด,เกม,ขยะ)

กิจกรรม 4 จัดกิจกรรมเดินรณรงค์

4.1  ประชุมวางแผนการเดินรณรงค์และร่างกำหนดการ

4.2  การมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ

4.3  ปฏิบัติการเดินรณรงค์โดยแบ่งเป็น 4 กิจกรรมดังนี้

-  กิจกรรมรณรงค์การเก็บขยะโดยมีอาสาสมัครแต่งกายด้วยชุดรีไซเคิลถืออุปกรณ์ทำความสะอาด (ไม้กวาดก้านมะพร้าว) ลงมือทำความสะอาดแจกถุงดำกับแม่ค้าและแนะนำการใช้เข่งหรือถุงดำ เพื่อใช้ในการทิ้งขยะ

-  กิจกรรมรณรงค์เรื่องยาเสพติดโดยทำสื่อรณรงค์เกี่ยวกับโทษของบุหรี่

-  กิจกรรมรณรงค์เรื่องเกมโดยทำสื่อ โดยบอกทั้งข้อดีและข้อเสียของเกม

-  กิจกรรมรณรงค์เรื่องสมานฉันท์ โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของทั้ง 2 ศาสนา

กิจกรรม 5 สรุปโครงการ



กระบวนการทำงานกลุ่มเยาวชน

“พลังปลิง” กลุ่มเยาวชนแกนนำโรงเรียนเทพา ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา ๙๐๑๕๐ ตัวเล็กแต่หัวใจไม่เล็ก ที่มีความฝันอยากจะเห็นชุมชนบ้านเกิดของตน สะอาด สดใส น่าอยู่ และอยากเห็นเยาวชนรวมถึงคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพวกเขาเหล่าเยาวชนตัวน้อยผู้ซึ่งไม่เคยเกรงกลัวต่อปัญหาอุปสรรค์จึงลุกขึ้นมาทำสิ่งดีๆเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โครงการ “เด็กดีเพื่อชุมชน” จึงเกิดขึ้นมาจากแรงและพลังความศรัทธาคุณงามความดีที่มีอยู่ในตัวตนของพวกเขา เยาวชนตัวน้อยกลุ่มนี้ มีการทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีอะไรก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีกระบวนการทำงานอย่างเรียบง่าย และน่ารัก


กิจกรรมแรก เยาวชนแกนนำเริ่มจากกิจกรรมการประชุมวางแผนในการทำกิจกรรม ในครั้งแรกพวกเขาพบว่ากิจกรรมที่พวกเขาคิดนั้นมีเยอะและเกินกำลังความสามารถกับศักยภาพของพวกเขาเอง เนื่องจากพวกเขาเห็นถึงสภาพปัญหาที่เยอะ และต้องการที่จะนำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองดึงออกมาแก้ปัญหาต่างๆให้หมด ไม่ว่าจะเป็น ปัญหายาเสพติด เด็กติดเกมออนไลน์ ขยะตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงผู้คนขาดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ซึ่งแต่ละเรื่องถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงสำหรับเยาวชนอายุเพียงแค่ ๑๔ ปี และที่สำคัญพวกเขาคิดว่าการที่จะทำอะไรเยอะๆในครั้งๆเดียวนั้น ทำให้งานนั้นๆออกมาไม่ดีเท่าที่ควร และไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นพวกเขาได้ตัดสินใจเลือกหัวข้อปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้กันคนในชุมชนเพียงเรื่องเดียวเพื่อให้เหมาะกับศักยภาพที่มีอยู่ คือ การแก้ไขปัญหาในเรื่องขยะที่มีจำนวนเยอะ และพวกเขาได้เลือกบริเวณในการจัดการคือพื้นที่ตลาดเทพา ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา ๙๐๑๕๐ เพราะพวกเขาคิดว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของขยะในชุมชน หลังจากนั้นพวกเขามีการแบ่งบทบาทหน้าการทำงานระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อให้การทำงานเป็นระบบชัดเจนมากขึ้นดังนี้


  1.  ด.ญ.นภารัตน์นวลมณี(น้องแพง) ทำหน้าที่ในตำแหน่ง หัวหน้าโครงการ
  2.  ด.ญ.มยุรีศรีเทพ(น้องมาย) ทำหน้าที่ในตำแหน่ง เหรัญญิก ดูแลรายรับ-รายจ่ายของโครงการ
  3. ด.ญ.สุนันทาสังข์แก้ว(น้องแพรว) ทำหน้าที่ในตำแหน่ง สืบค้นและรวบรวมข้อมูลในการดำเนินงาน
  4. ด.ญ.อริสาสุกหอม (น้องอิง) ทำหน้าที่ในตำแหน่ง ประสานงานทั่วไป
  5. ด.ญ.กนกวรรณพูลเพิ่ม(น้องเดือน) ทำหน้าที่ในตำแหน่ง เลขานุการ

จากกิจกรรมนี้สิ่งที่เยาวชนแกนนำได้เรียนรู้จากคำบอกเล่าคือ ทำให้พวกเขารู้จักการประเมินสถานการณ์งานกับศักยภาพของตัวพวกเขาเองว่าสามารถจะทำงานนั้นสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และที่สำคัญรู้จักการแบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ทำงานอย่างเป็นระบบต่อไปในข้างหน้า


กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการชวนเพื่อนมาอาสา(ประชาสัมพันธ์)และทำสื่อรณรงค์ สำหรับกิจกรรมนี้พวกเขาได้ทำคือการเชิญชวนเพื่อนๆในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพัฒนาเพื่อชุมชนบ้านเกิดของพวกเขาเอง สำหรับในกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ถือได้ว่ามีความน่ารักและน่าสนใจพอสมควร นอกจากจากมีการเชิญชวนเพื่อนแบบพูดคุยแบบปากต่อปากแล้ว พวกเขายังมีการแต่งเพลงเกี่ยวกับโครงการเพื่อเป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับพวกเขาเอง หลังจากที่พวกเขามีเพื่อนๆเข้ามาเป็นแนวร่วมแล้ว เหล่าพลังปลิงตัวน้อยได้เริ่มปฏิบัติการต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ โดยการให้เพื่อนๆเข้ามามีส่วนร่วมในการแต่งคำขวัญในการรณรงค์การรักษาความสะอาด เพื่อที่จะนำคำขวัญดังกล่าวมาเขียนถ่ายทอดความห่วงใย ลงบนผืนผ้าสีขาวเป็นสื่อในการรณรงค์ เพื่อนำไปบอกเหล่าความห่วงใยจากเยาวชนตัวน้อยสู่ชุมชนเทพา


กิจกรรมนี้เยาวชนแกนนำเล่าให้ฟังว่า เป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนานมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้พวกเขาเหล่าเยาวชนตัวน้อยได้รู้จักการคิด สร้างสรรค์ ในการแต่งเพลงออกมาเป็นเนื้อร้องที่ถ่ายทอดบอกเล่าเกี่ยวโครงการที่พวกเขาทำ และรู้จักการคิด สร้างสรรค์ ในการฝึกการแต่งคำขวัญที่แฝงด้วยความห่วงใยและหัวใจอยากเห็นชุมชนมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นต่อไป


กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเดินรณรงค์ หลังจากที่พวกเขามีสื่อในการรณรงค์แล้ว พวกเขาได้มีการประชุมปรึกษาหารือว่าจะทำยังไงต่อไป ในการลงไปในชุมชนมีวิธีการอย่างไรบ้าง พวกเขาจึงได้ข้อสรุปว่าน่าจะมีการประสานงานกับหน่วยงานราชการเพื่อช่วยเหลือในเรื่องการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน แต่ในตอนนั้นพวกเขาไม่รู้ว่าจะไปติดต่อใครเพราะเขาเองก็ถือได้ว่ายังเป็นเยาวชนตัวเล็กๆคนหนึ่ง จึงนำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษาหารือกับคุณครูที่ปรึกษาประจำกลุ่มซึ่งท่านได้แนะนำให้เยาวชนแกนนำไปประสานกับทางเทศบาลดู หลังจากนั้นเหล่าพลังปลิงตัวน้อยได้เข้าไปเจรจาพร้อมกับบอกเล่าที่มาของโครงการให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องส่วนงานเทศบาลได้รับทราบ จากนั้นพวกเขาเองก็ได้รับคำตอบรับในการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดี(นายกเทศบาลตำบลเทพา) ในการช่วยอำนวยความสะดวกความปลอดภัยบนถนนในการเดินรณรงค์และมีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายบอกเล่าที่มาของโครงการกลุ่มเยาวชนอีกด้วย


หลังจากกลุ่มเยาวชนแกนนำกลับจากเทศบาล พวกเขาไม่รอช้า รีบนัดเพื่อนๆสมาชิกในกลุ่มมาวางแผน ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ควรจะทำอย่างไร ให้การรณรงค์ครั้งนี้ ได้สะเทือนเข้าไปถึงหัวใจของคุณลุงคุณป้ารวมถึงเยาวชนรุ่นราวคราวเดียวกับพวกเขาในชุมชน ให้เข้ามาตระหนักถึงปัญหาในเรื่องการรักษาความสะอาดในชุมชน พวกเขาบอกว่า การที่พวกจะไปถือป้ายรณรงค์ครั้งเดียวจบมันก็น่าจะไม่เกิดผลอะไรต่อชุมชนเลย พวกเขาเริ่มคิดถึงความยั่งยืนโดยพวกเขาออกแบบกระบวนการเดินรณรงค์อย่างง่ายๆ เริ่มจากคิดก่อนว่าพวกเขาเองจะเดินรณรงค์กี่ครั้ง และจะทำอย่างไรบ้าง เมื่อกลุ่มเยาวชนแกนนำได้มีการปรึกษาหารือก็มีข้อตกลงร่วมกันภายในกลุ่ม ในการเดินรณรงค์พบว่าการจัดรณรงค์ควรจัดอย่างน้อย ๒ ครั้งเพราะสามารถนำขยะมาเปรียบเทียบปริมาณได้ว่าลดลงหรือไม่ และการจัดขบวนเดินรณรงค์นั้น จะต้องมีพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เดินนำหน้าขบวน เพราะพวกเขาบอกว่า พวกเขาจะทำความดีเพื่อแผ่นดินเกิดและจะนำความดีนั้นถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยทุกคน ในขบวนของพวกเขาก็จะมีคนถือป้ายคำขวัญรณรงค์ นอกจากนี้แล้วพวกเขายังแบ่งทีมเพื่อนที่เป็นคนอัธยาศัยดี พูดจาเป็นมิตร ค่อยเดินแจกใบปลิวพร้อมกับบอกคุณลุงคุณป้าด้วยถ้อยคำและภาษาน้ำเสียงที่น่ารัก ในการรณรงค์ให้คนในชุมชนทิ้งขยะเป็นที่และแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้คนในชุมชนเห็นอกเห็นใจกับเยาวชนลูกหลานกลุ่มนี้เป็นพิเศษ และสมาชิกที่เหลือก็จะถือถุงดำเดินในขบวนเมื่อเดินไปเห็นขยะที่ไหนก็เก็บใส่ถุงทันที และเมื่อเดินรณรงค์เสร็จพวกเขาก็จะนำขยะที่ได้มาแยกประเภท และชั่งน้ำหนักรวมว่ามีน้ำหนักเท่าไรเพื่อที่สามารถนำมาเปรียบเทียบในครั้งต่อไปได้ ว่าปริมาณขยะนั้นลดลงหรือไม่


การทำงานของเยาวชนแกนนำกลุ่ม “พลังปลิง”หากลองมองเข้าไปดูในทักษะชีวิตและความเป็นพลเมือง หลังจากการทำโครงการเยาวชนแกนนำ ได้สะท้อนถึงคุณค่าของการเรียนรู้การทำงานจากคำบอกเล่าของเยาวชนพบว่า เยาวชนแกนนำสามารถเป็นตัวกลางในการจุดประกายให้เด็กเยาวชนและคนในชุมชนมีความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามีจิตใจเพื่อส่วนรวมและทำให้พวกเขารักและหวงแหนผูกพันกับชุมชนมากขึ้นรวมถึงเยาวชนแกนนำทั้ง 5 คน


มีทักษะในการทำงานอย่างเป็นระบบ มีทักษะในการคิดเป็นเหตุเป็นผล เช่น ในการทำกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมพวกเขา จะต้องมีการประชุมวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้งานนั้นออกมาดูดีที่สุด นอกจากนี้พวกเขายังรู้จักการนำทุนทางสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของพวกเขาเอง อาทิ การที่พวกเขาได้ไปประสานงานติดต่อขอความช่วยเหลือจากเทศบาลตำบลเทพาในเรื่องการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน


มีทักษะในการทำงานเป็นทีม มีความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะ มีความเพียรพยายามในการทำงานไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น มีความรับผิดชอบต่อตนเองต่องานที่ได้รับมอบหมายเช่น เมื่อเยาวชนแกนนำมีกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ สมาชิกในกลุ่มทุกคนก็จะเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ในการทำกิจกรรมโครงการเสมอมา ไม่มีใครที่จะทิ้งให้เพื่อนคนหนึ่งคนใดทำอยู่ฝ่ายเดียว ซึ่งทุกคนจะมีส่วนร่วมด้วยในทุกๆกิจกรรม ทำให้งานนั้นๆออกมาดี ทำให้พวกเขาเกิดความภูมิใจและมั่นใจในตนเอง เป็นต้น


มีทักษะในการพูดแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม มีใจที่เปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นจากที่แตกต่าง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่น การประชุมระหว่างเยาวชนแกนนำเองในการปรึกษาหารือ เมื่อมีการเสนอความคิดเห็นใดๆก็ตาม เยาวชนแกนนำกลุ่มนี้บอกว่า ทุกความคิดเห็นในที่ประชุมนั้นมีค่า ไม่ควรเอาตนเองและอารมณ์คนหนึ่งคนใดเป็นที่ตั้ง ควรใช้เหตุผลเป็นตัวตัดสิน ปรับทัศนคติให้เป็นกลางมากที่สุด อย่าอคติตั้งแต่แรกเป็นต้น


ซึ่งทักษะชีวิตเหล่านี้ ที่กล่าวมาได้เกิดขึ้นหลังจาก เหล่าเยาวชนแกนนำได้ออกไปเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจากการทำงานจริง ชีวิตจริง โดยผ่านโครงการของพวกเขาเอง ซึ่งทำให้ทักษะเหล่านั้นเองจะหล่อหลอมรวมตัว และติดลงไปในหัวใจของพวกเขาเหล่าเยาวชนตัวน้อย คือความเป็นพลเมืองที่มีหัวใจแข็งแกร่งที่ค่อยเป็นพละกำลังในการขับเคลื่อนบ้านเมืองให้ดีต่อไปได้ในอนาคต

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ