กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียนโครงการโตไปไม่ว่างงาน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการโตไปไม่ว่างงาน


โจทย์ปัญหา

เนื่องจากชุมชนบ้านบ่อทรัพย์เป็นชุมชนที่ทุรกันดาร และคนในชุมชนมีฐานะยากจน หาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่มีรายได้ส่งลูกเรียนหนังสือทำให้เพื่อนในโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์บางคนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทางกลุ่มมองว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว เราและเพื่อนในโรงเรียนจะขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะไม่มีเงินมาส่งเสียในด้านการเรียนและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนไม่พอ

ดังนั้นทางกลุ่ม “เด็กไทยใจกตัญญู” จึงได้จัดทำโครงการโตไปไม่ว่างงาน โดยมีแนวคิดที่จะทำการฝึกทักษะการแปรรูปอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนวัดบ่อทรัพย์ โดยมีกิจกรรม ดังนี้

ศึกษาอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการทำอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการแปรรูปอาหารโดยใช้วัตถุดิบในชุมชน จัดจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชนแล้วนำรายได้มาแบ่งปันกันไว้ใช้จ่ายในการเล่าเรียน



เป้าหมาย :

ต้องการฝึกทักษะการแปรรูปอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนวัดบ่อทรัพย์ โดยศึกษาอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการทำอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการแปรรูปอาหารโดยใช้วัตถุดิบในชุมชน จัดจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชนแล้วนำรายได้มาแบ่งปันกันไว้ใช้จ่ายในการเล่าเรียน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการโตไปไม่ว่างงาน


แกนนำ : กลุ่ม เด็กไทยใจกตัญญู

โรงเรียนโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ จ.สงขลา ดังนี้

  1. เด็กหญิงศิริรัตน์ คงเพ็ชรดิษฐ์ (ยา)     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  2. เด็กหญิงศลิษา มธุโรรส (แอม)          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  3. เด็กหญิงศศิวิมล ช้างดำ (กิ๊บ)            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  4. เด็กหญิงพรชิตา หมานระโต๊ะ (ฟ๊ะ)     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  5. นางสาวสุชานาถ ชัยสุวรรณ (เจน)      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  6. เด็กหญิงวรพรรณ สันตะโร (เมย์)        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  7. นางสาววราภรณ์ อำพะสุโร (กุ๊กไก่)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  8. นางสาวสุกันยา ศิติยามาส (เจน)        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  9. นางสาวลลิตา สว่าง (มาย)                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 


ที่ปรึกษาโครงการ    นางศลิษา มานะศิริ (สา) 

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสงขลา 


พี่เลี้ยงกลุ่ม   นางสาวนูรอามีนี   สาและ 

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม  หัวหน้างานปฏิบัติการ



โจทย์ปัญหา

เนื่องจากชุมชนบ้านบ่อทรัพย์เป็นชุมชนที่ทุรกันดาร และคนในชุมชนมีฐานะยากจน หาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่มีรายได้ส่งลูกเรียนหนังสือทำให้เพื่อนในโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์บางคนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทางกลุ่มมองว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว เราและเพื่อนในโรงเรียนจะขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะไม่มีเงินมาส่งเสียในด้านการเรียนและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนไม่พอ


ดังนั้นทางกลุ่ม “เด็กไทยใจกตัญญู” จึงได้จัดทำโครงการโตไปไม่ว่างงาน โดยมีแนวคิดที่จะทำการฝึกทักษะการแปรรูปอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนวัดบ่อทรัพย์ โดยมีกิจกรรม  ดังนี้


ศึกษาอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการทำอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการแปรรูปอาหารโดยใช้วัตถุดิบในชุมชน จัดจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชนแล้วนำรายได้มาแบ่งปันกันไว้ใช้จ่ายในการเล่าเรียน


เป้าหมาย :

ต้องการฝึกทักษะการแปรรูปอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนวัดบ่อทรัพย์ โดยศึกษาอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการทำอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการแปรรูปอาหารโดยใช้วัตถุดิบในชุมชน จัดจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชนแล้วนำรายได้มาแบ่งปันกันไว้ใช้จ่ายในการเล่าเรียน



กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1    ศึกษาอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม 2    สำรวจครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้การแปรรูปอาหาร

กิจกรรม 3    ฝึกการทำอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม 4    ฝึกการแปรรูปอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน

กิจกรรม 5    จัดจำหน่ายอาหารในโรงเรียนและชุมชน

กิจกรรม 6    จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีปันผล/กำไร

กิจกรรม 7    สรุปและประเมินผลการทำโครงการ



กระบวนการทำงานของกลุ่ม

แกนนำเยาวชนอาศัยอยู่ในชุมชนบ่อทรัพย์ ฝังหัวเขาแดงซึ่งเป็นชุมชนที่ทุรกันดาร และคนในชุมชนมีฐานะยากจน หาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่มีรายได้ส่งลูกเรียนหนังสือ จึงทำให้เพื่อนในโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์บางคนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทางกลุ่มมองว่าถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าว ตัวเองและเพื่อนในโรงเรียนจะขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะไม่มีเงินมาส่งเสียในด้านการเรียนและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนไม่พอ


ด้วยความรักและห่วงใยเพื่อนๆแกนนำเยาวชนโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ จึงรวมตัวกัน 5 คน จัดทำโครงการโตไปไม่ว่างงาน โดยมีแนวคิดที่จะฝึกทักษะการแปรรูปและประกอบอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนวัดบ่อทรัพย์ กิจกรรมจะประกอบด้วย การศึกษาอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการทำอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกการแปรรูปอาหารโดยใช้วัตถุดิบในชุมชน จัดจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชน แล้วนำรายได้มาแบ่งปันกันไว้ใช้จ่ายในการเล่าแกนนำเยาวชนคาดหวังว่าถ้าได้ดำเนินโครงการดังกล่าวแล้ว จะทำให้เพื่อนๆในโรงเรียนรวมถึงตนเองมีรายได้ระหว่างเรียน ช่วยแบ่งเบาภาระของคนในครอบครัว มีทักษะการแปรรูปอาหารที่สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ อีกทั้งยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป


การทำงาน แกนนำเยาวชนมีการทำงานแบบผลัดรุ่นต่อรุ่น โดยรุ่นที่ 1 จะดำเนินงานในส่วนการศึกษาการแปรรูปอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้แกนนำเยาวชนพร้อมเพื่อนๆในชั้นเรียนจะลงพื้นที่สำรวจและศึกษาการแปรรูปอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งพบว่าในชุมชนมีการทำไข่ครอบ ปลาหวาน ถุงทอง ทองพับ และกุ้งแก้ว หลังจากที่สำรวจเสร็จแล้วแกนนำเยาวชนได้ประสานผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการแปรรูปอาหารดังกล่าว ให้มาถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติต่อไป แกนนำเยาวชนเล่าว่าในขั้นตอนนี้ เขาได้รู้จักอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาไม่เคยรู้มาก่อน เขาทั้ง 5 คนและเพื่อนๆในชั้นเรียนได้ฝึกแปรรูปอาหารดังกล่าวจนตนเองสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และเยาวชนยังเล่าอีกว่าการเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เขาและชุมชนได้รู้จักการมากขึ้น ครูภูมิปัญญาถึงกับปลื้มปีติที่มีเด็กๆในโรงเรียนที่มีความสนใจภูมิปัญญาการแปรรูปอาหารทำให้คุณครูไม่เหล่านั้นถ่ายทอดความรู้อย่างไม่หวงวิชา สำหรับอาหารที่ได้จากการฝึกปฏิบัติแกนนำเยาวชนจะนำไปขายให้กับคุณครูในโรงเรียน ส่วนที่เหลือก็แบ่งให้กับเพื่อนๆไปฝากผู้ปกครองที่บ้าน และเนื่องจากแกนนำเยาวชนรุ่นนี้ได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้ต้องออกไปศึกษาต่อข้างนอกและไม่สามารถดำเนินโครงการให้เสร็จตามแผนที่วางไว้ แต่ทั้งนี้แกนนำเยาวชนและครูที่ปรึกษาได้มีการชักชวนน้องๆในโรงเรียนมาร่วมโครงกิจกรรมในการฝึกปฏิบัติการแปรรูปอาหาร ทำให้น้องๆที่เข้าร่วมกิจกรรมสนใจจนเกิดการสานต่อโครงการต่อไป


การดำเนินงานโครงการของเยาวชนในรุ่นที่ 2 คุณครูที่ปรึกษาโครงการเล่าว่า เนื่องจากน้องๆแกนนำเยาวชนรุ่นที่ 2 ที่เข้ามาใหม่ยังเด็ก ยังไม่มีทักษะในการแปรรูปอาหาร ให้คุณครูต้องเริ่มกิจกรรมในขั้นตอนฝึกปฏิบัติการแปรรูปอาหาร ทำให้การดำเนินงานไปอย่างล่าช้า แต่แกนนำเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาทักษะการแปรรูปอาหาร และสามารถแปรรูปอาหารได้ด้วยตนเองได้โดยเฉพาะไข่ครอบและถุงทอง หลังจากที่แกนนำเยาวชนแปรรูปอาหารเป็นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนในการจัดจำหน่าย โดยทางกลุ่มจะทำไข่ครอบขายตามที่ลูกค้าสั่ง


คุณค่าของการดำเนินโครงการแกนนำเยาวชนสะท้อนว่า   จากการดำเนินงานโครงการทำให้แกนนำเยาวชนได้ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกกระบวนการการทำงานเป็นทีม การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว และยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาอาหารในท้องถิ่น และเราได้ฝึกการถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำไข่ครอบเวลาใครถามว่าทำไข่ครอบทำอย่างไร เราก็สามารถอธิบายได้ นอกจากนี้แล้วยังเกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน


จากการสังเกตและลงพื้นที่ติดตามแกนนำเยาวชนกลุ่มนี้ จะสังเกตได้ว่าการดำเนินงานโครงการของกลุ่มเยาวชนจะเป็นคุณครูที่ปรึกษาที่คอยควบคุมแผนการดำเนินงานในทุกเรื่อง คุณครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกและกำหนดวันทำกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน เนื่องจากแกนนำเยาวชนจะเป็นเด็ก เวลาว่าต้องคอยช่วยเหลือพ่อแม่ ตั้งแต่รับจ้างคัดกุ้งและเลี้ยงดูน้อง ทำให้แกนนำเยาวชนไม่สามารถทำอะไรด้วยตนเอง เวลาจะทำกิจกรรมคุณครูจะต้องใช้ชั่วโมงเรียนมาจัดกิจกรรม ถ้าจะจัดในวันหยุดเรียน คุณครูต้องขออนุญาตผู้ปกครอง ซึ่งในการติดตามโครงการแต่ละครั้งไม่เคยเจอแกนนำเยาวชนอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ทุกครั้งที่ไปคุณครูก็จะพูดถึงปัญหาในการทำงานกับแกนนำเยาวชน เช่นบางคนก็ออกจากโรงเรียนกลางคัน บางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ทำให้ยากต่อการมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแกนนำเยาวชน แต่ครั้งแรกที่ลงพื้นที่ที่ไปติดตามแกนนำเยาวชนรุ่นที่ 1 ซึ่งได้ไปพบแค่บางส่วน จะสัมผัสได้ถึงความสุขที่แกนนำเยาวชนเล่าว่าตอนที่ลงพื้นที่เรียนรู้อาหารที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือความสุขที่เขาได้พูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ตอนที่เขาลงไปศึกษาข้อมูล และทักษะการแปรรูปอาหารที่เขาได้เรียนรู้และสามารถทำได้จริง เขาจะนำเสนอได้ว่าเขาทำขนม ทองพับ ปลาหวาน ซูชิ ไข่ครอบเป็น การดำเนินงานโครงการเยาวชนน้องจากที่ต้องมีครูที่ปรึกษาควบคุมการดำเนินงานแล้ว พี่เลี้ยงประจำโครงการก็ต้องคอยกระตุ้นให้ทั้งแกนนำเยาวชนและคุณครูดำเนินงานไปตามแผน ซึ่งในช่วงแรกแกนนำเยาวชนจะดำเนินกิจกรรมแค่ในส่วนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแปรรูปอาหารเท่านั้น เขาไม่สามารถไปถึงกิจกรรมที่เรียนรู้การจัดทำตลาดหรือจำหน่ายสินค้า ทำให้พี่เลี้ยงกลุ่มต้องลงพื้นที่ไปพูดคุยและเสนอแนวทางการดำเนินโครงการให้จัด รวมถึงออกแบบวิธีการจำหน่ายและการทำกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ แต่การพูดคุยไม่ใช่เรื่องยากเพราะทั้งแกนนำเยาวชนและครูที่ปรึกษาโครงการจะรับฟังความคิดเห็นและร่วมแลกเปลี่ยนวีธีการดำเนินงานจึงทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน ซึ่งพี่เลี้ยงกลุ่มและสงขลาฟอรั่มต้องคอยให้คำแนะนำและติดตามการดำเนินงานอย่างอย่างใกล้ชิด ส่วนแกนนำเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นในลักษณะปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่สามารถสร้างสรรค์งานและดำเนินงานเองได้ เว้นแต่เรื่องการแปรรูปอาหารที่แกนนำเยาวชนสามารถปฏิบัติเองได้


สำหรับความเป็นพลเมืองที่มองเห็นจากน้องๆกลุ่มนี้เรื่องความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค หรือลูกค้าที่สั่งซื้อไข่ครอบ คือการปรุงอาหารที่สะอาด สด และถูกหลักอนามัย ไม่ว่าจะเป็นไข่ที่จะใช้ต้องเป็นไข่เป็ดที่ใหม่สด มีขนาดใหญ่ ใส่ใจเรื่องรสชาติ ความสะอาดของอาหารในทุกขั้นตอน การคืนกำไรให้กับลูกค้าด้วยฉลากสินค้าที่ประกอบด้วยประโยชน์ของการบริโภคไข่ที่ลูกค้าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำโครงการตามศักยภาพที่ตนเองมี เช่นแกนนำเยาวชนจะไม่ค่อยพูด ไม่กล้านำเสนอความคิดเห็นแต่แกนนำเยาวชนมีความตั้งใจที่จะฝึกฝนและพยายามนำเสนอความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ