กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียนโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา ปี 2


โจทย์ปัญหา

เนื่องจากปัจจุบันชาวสงขลาไม่เห็นคุณค่าทางมรดกประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลาที่กำลังจะเลือนหายไปกับคนรุ่นเก่า เป็นสาเหตุทำให้ผู้คนขาดจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด เกิดการปล่อยประละเลยไม่หวงแหนไม่ช่วยรักษา ดังนั้นจากโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลาปีที่ 1 ได้ทำกิจกรรมปลุกจิตสำนึกให้คนสงขลาหวงแหนบ้านเกิด โดยการนำภาพถ่ายมาเป็นสื่อในการปลุกจิตสำนึกของคน อีกทั้งการลงพื้นที่สัมภาษณ์และนำเสนอภาพพร้อมข้อมูลผ่านทาง Facebook ในเพจชื่อว่า "ภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา"

­

ในโครงการปีที่ 2 ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดต่อยอดจากโครงการปีที่ 1 ที่จะเปิดมุมมองเมืองสงขลาให้กว้างขึ้นโดยขยายพื้นที่ในการทำโครงการจากย่านเมืองเก่าถนน๓สาย (ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนนางงาม) มาเป็นชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา จนมาถึงตำบลบ่อยาง (เมืองสงขลาปัจจุบัน) เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวจุดกำเนิดเมืองสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการนำ Idea การถ่ายภาพจากเพจ BigBangkok ซึ่งเป็นการนำตุ๊กตามาสื่ออารมณ์และให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้นและนอกจากนั้นแกนนำจะเปลี่ยนรูปแบบเพจเพื่อการดึงดูดชาวสังคมออนไลน์ที่อยู่ในจังหวัดสงขลาและต่างจังหวัด ให้เห็นถึงความน่าสนใจและพัฒนาการของจังหวัดสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต การประกอบอาชีพและอื่นๆ รวมทั้งทางเพจก็จะแชร์เรื่องราวดีๆที่เกี่ยวข้องกับเมืองสงขลา

ดังนั้น ถ้าดำเนินโครงการแล้วเสร็จทางกลุ่มแกนนำเยาวชนคาดหวังว่าชาวสงขลาส่วนหนึ่งจะได้รับรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาผ่านทางภาพถ่ายข้อมูล เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ควรอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ไว้ ทำให้ทางแกนนำเกิดการเรียนรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์เมืองสงขลาที่แท้จริง มีจิตสำนึกรักและหวงแหนบ้านเกิด การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การทำงานร่วมกันเป็นทีมและมีใจรักและหวงแหนเมือง

­

เป้าหมาย :

ต้องการให้คนสงขลารู้ความเป็นมาของเมืองสงขลาเกิดความรู้สึกรักและอยากดูแลบ้านเกิดของตนเอง

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา ปี 2


แกนนำเยาวชนกลุ่มต้นคิดมี 5 คน เป็นนักเรียน โรงเรียนมหาวชิราวุธ  มีรายชื่อดังนี้

  1. เด็กชายฟาอิส จินเดหวา (ฟาอิส)           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      โรงเรียนมหาวชิราวุธ 
  2. นางสาวกุลสินี บำรุงศักดิ์ (อิ๊ฟ)               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     โรงเรียนมหาวชิราวุธ 
  3. นางสาวพิมพ์ชนก พงษ์กาญจน์ (มุก)      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4     โรงเรียนมหาวชิราวุธ 
  4. นายธีรภัทร    สุวรรณโณ (เบส)               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    โรงเรียนมหาวชิราวุธ 
  5. นางสาวปิญชาน์ ทองเจือเพชร (มายด์)   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3     โรงเรียนมหาวชิราวุธ 

­

ที่ปรึกษาโครงการ:  อาจารย์ศิษฐวุฒิ จันทรกรานต์ (ครูอุ๋ย) 

อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมต้นคิด  โรงเรียนมหาวชิราวุธ   Email : artmorvor@yahoo.com 

­

พี่เลี้ยงกลุ่ม   นางสาวปรมัตถ์ ศิริยอด 

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่มฝ่ายจัดการข้อมูล และวิทยากรกลุ่มย่อย

­

โจทย์ปัญหา

เนื่องจากปัจจุบันชาวสงขลาไม่เห็นคุณค่าทางมรดกประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลาที่กำลังจะเลือนหายไปกับคนรุ่นเก่า เป็นสาเหตุทำให้ผู้คนขาดจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด เกิดการปล่อยประละเลยไม่หวงแหนไม่ช่วยรักษา ดังนั้นจากโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลาปีที่ 1 ได้ทำกิจกรรมปลุกจิตสำนึกให้คนสงขลาหวงแหนบ้านเกิด โดยการนำภาพถ่ายมาเป็นสื่อในการปลุกจิตสำนึกของคน อีกทั้งการลงพื้นที่สัมภาษณ์และนำเสนอภาพพร้อมข้อมูลผ่านทาง Facebook ในเพจชื่อว่า "ภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา"

­

ในโครงการปีที่ 2 ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดต่อยอดจากโครงการปีที่ 1 ที่จะเปิดมุมมองเมืองสงขลาให้กว้างขึ้นโดยขยายพื้นที่ในการทำโครงการจากย่านเมืองเก่าถนน๓สาย (ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนนางงาม) มาเป็นชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา จนมาถึงตำบลบ่อยาง (เมืองสงขลาปัจจุบัน) เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวจุดกำเนิดเมืองสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการนำ Idea การถ่ายภาพจากเพจ BigBangkok ซึ่งเป็นการนำตุ๊กตามาสื่ออารมณ์และให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้นและนอกจากนั้นแกนนำจะเปลี่ยนรูปแบบเพจเพื่อการดึงดูดชาวสังคมออนไลน์ที่อยู่ในจังหวัดสงขลาและต่างจังหวัด ให้เห็นถึงความน่าสนใจและพัฒนาการของจังหวัดสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต การประกอบอาชีพและอื่นๆ รวมทั้งทางเพจก็จะแชร์เรื่องราวดีๆที่เกี่ยวข้องกับเมืองสงขลา


ดังนั้น  ถ้าดำเนินโครงการแล้วเสร็จทางกลุ่มแกนนำเยาวชนคาดหวังว่าชาวสงขลาส่วนหนึ่งจะได้รับรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาผ่านทางภาพถ่ายข้อมูล เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ควรอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ไว้ ทำให้ทางแกนนำเกิดการเรียนรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์เมืองสงขลาที่แท้จริง มีจิตสำนึกรักและหวงแหนบ้านเกิด การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การทำงานร่วมกันเป็นทีมและมีใจรักและหวงแหนเมือง

­

เป้าหมาย :

ต้องการให้คนสงขลารู้ความเป็นมาของเมืองสงขลาเกิดความรู้สึกรักและอยากดูแลบ้านเกิดของตนเอง

­

กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1   ศึกษาประวัติเมืองสงขลา

1.1  ประชุมสมาชิกในชมรมต้นคิด+แกนนำ

1.2  วางแผนปฏิบัติงาน

1.3  ชี้แจงการปฏิบัติงาน

1.4  แกนนำ+ชมรมต้นคิดร่วมกันศึกษาข้อมูลประวัติเมืองสงขลา

1.5  ลงพื้นที่ถ่ายภาพ จุดเริ่มต้นเมืองสงขลา

-  สิงหนคร “บ่อทรัพย์”

-  แหลมสนอ่อน/บ่อยา

-  ถนน 3 สาย (ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนนางงาม)

กิจกรรม 2   ปรับปรุงเพจ

2.1  คิดคำ เชิญชวนให้เพจน่าสนใจ

2.2  เปิดเพจรูปแบบใหม่ season ๒

2.3  เริ่มลงภาพในเพจตามกลุ่มที่แบ่งไว้แล้ว

-  ภาพประวัติของเมือง

-  วิถีชีวิต

-  สถานที่ท่องเที่ยว

-  ปัญหา

กิจกรรม 3   ติดตามกลุ่มพลังพลเมือง

กิจกรรม 4   สนุกกับเพจภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา

4.1  วางแผนกิจกรรมในเพจ

-  แสดงความคิดเห็น

-  โหวตรูปในเพจ

-  ฉลองเพจครบ 3,000 ไลค์

-  ประชาสัมพันธ์ทาง Facebook

กิจกรรม 5  นักคิดเปลี่ยนเมืองสงขลา

5.1  ประชุม วางแผนและเตรียมงานการจัดนิทรรศการ

5.2  ประชาสัมพันธ์สงขลา ผ่านทาง Facebook ใบปลิว บอร์ดประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียน

5.3  จัดเตรียมนิทรรศการ

5.4  จัดนิทรรศการ

กิจกรรม 6   จัดนิทรรศการ “กว่าจะเป็นเมืองสงขลา”

กิจกรรม 7   สรุปและประเมินผลโครงการ

­

­

กระบวนการทำงานของกลุ่ม

แกนนำเก่ากลุ่มต้นคิด รุ่นที่ 1 ได้แตะมือกับแกนนำใหม่กลุ่มต้นคิด รุ่นที่ 2ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยกลุ่มต้นคิดรุ่นที่ 2 มองเห็นสภาพปัญหาปัจจุบันของชาวสงขลาไม่เห็นคุณค่าทางมรดกประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลาที่กำลังจะเลือนหายไปกับคนรุ่นเก่า เป็นสาเหตุทำให้ผู้คนขาดจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด เกิดการปล่อยประละเลยไม่หวงแหนไม่ช่วยรักษาดังนั้นจากโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลาปีที่ 1 ได้ทำกิจกรรมปลุกจิตสำนึกให้คนสงขลาหวงแหนบ้านเกิด โดยการนำภาพถ่ายมาเป็นสื่อในการปลุกจิตสำนึกของคน อีกทั้งการลงพื้นที่สัมภาษณ์และนำเสนอภาพพร้อมข้อมูลผ่านทาง Facebook ในเพจชื่อว่า "ภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา"

­

ในโครงการปีที่ 2 ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดต่อยอดจากโครงการปีที่ 1 ที่จะเปิดมุมมองเมืองสงขลาให้กว้างขึ้นโดยขยายพื้นที่ในการทำโครงการจากย่านเมืองเก่าถนน 3 สาย (ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนนางงาม) มาเป็นชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา จนมาถึงตำบลบ่อยาง (เมืองสงขลาปัจจุบัน) เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวจุดกำเนิดเมืองสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการนำ Ideaการถ่ายภาพจากเพจ BigBangkok ซึ่งเป็นการนำตุ๊กตามาสื่ออารมณ์และให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้นและนอกจากนั้นแกนนำจะเปลี่ยนรูปแบบเพจเพื่อการดึงดูดชาวสังคมออนไลน์ที่อยู่ในจังหวัดสงขลาและต่างจังหวัด ให้เห็นถึงความน่าสนใจและพัฒนาการของจังหวัดสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต การประกอบอาชีพและอื่นๆ รวมทั้งทางเพจก็จะแชร์เรื่องราวดีๆที่เกี่ยวข้องกับเมืองสงขลา กิจกรรมที่แกนนำได้เริ่มทำเป็นลงมือปฏิบัติ มีดังนี้

­

กิจกรรมแรก ศึกษาการประวัติเมืองสงขลา แกนนำได้นัดประชุมกันเพื่อชี้แจงการวางแผนการปฏิบัติงานและแบ่งกลุ่มในการทำงาน ในกระบวนการขั้นตอนการทำงานแกนนำอธิบายงานของโครงการปีที่ 2 ให้สมาชิกในชมรมสมาชิกชมรมต้นคิด โรงเรียนมหาวชิราวุธจำนวน 20 คน ให้เข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับจุดประสงค์ของโครงการในปีนี้ คือ ต้องการในผู้คนทราบถึงประวัติของเมืองสงขลาโดยย่อ และสถานที่เก่าสำคัญๆของเมือง โดยจะมีการนำรูปเก่าของเมืองสงขลา รูปสถานที่เก่าสำคัญๆของเมือง และวิถีชีวิต มาเผยแผ่ในเพจ แกนนำมองเห็นถึงปัญหาที่พบในกิจกรรมนี้ คือ การประชุมชี้แจงงานของแกนนำล้าช้า เนื่องจากโรงเรียนหยุดหลายวัน ซึ่งตามปกติจะสามารถนัดประชุมสมาชิกได้ครบทุกคนในวันพฤหัสบดี เพราะมีคาบของชุมนม ในส่วนของขั้นตอนการวางแผนการปฏิบัติงาน แกนนำแบ่งสมาชิกในชมรมต้นคิดเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน เกิดปัญหาขึ้นระหว่างทำงาน คือ ในแต่ละกลุ่มยังเข้าใจงานไม่ตรงกัน ทางแกนนำจึงแก้ปัญหาโดยวิธีการจับฉลาก เพื่อกระจายงานให้แต่ละกลุ่มร่วมกันทำ ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกที่เป็นแกนนำอยู่ทุกกลุ่ม เพื่อจะได้อธิบายงานแค่สมาชิกในชมรมได้อย่างทั่วถึง ในการศึกษาประวัติเมืองสงขลาในช่วงแรกแกนนำได้หาข้อมูลและภาพเก่าจากเว็บไซต์ทำให้ได้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงไปบ้าง แกนนำจึงร่วมประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาและมีพี่ในชมรมแนะนำคุณครูภายในโรงเรียนมหาวชิราวุธ คือ คุณครูจรัส จันทร์พรหมรัตน์ ซึ่งคุณครูได้ทำหนังสือเกี่ยวกับเมืองสงขลาให้แก่โรงเรียนหลายเล่ม จึงมีข้อมูลและรูปภาพเก่าของเมืองสงขลา หลังจากนั้นแกนนำได้เข้าไปพุดคุยกับคุณครุเพื่อขอข้อมูลและรูปเก่าของเมืองสงขลามาเผยแพร่ในเพจ และได้ลงพื้นที่ถ่ายภาพจุดเริ่มต้นของเมืองสงขลาแกนนำเริ่มลงพื้นที่ฝั่งหัวเขาแดงและแหลมสนก่อนบ่อยางเพราะเป็นบริเวณใกล้เคียงกัน ในการลงพื้นที่ครั้งแรกซึ่งมีแค่แกนนำ ทำให้พบปัญหาคือ บริเวณฝั่งหัวเขาแดง และแหลมสนนั้น ไม่มีรถโดยสารเหมือนในเมือง และโบราณสถานต่างๆที่ต้องการถ่ายอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่สามารถนำสมาชิกทั้งชมรมมาร่วมกันถ่ายภาพได้ แกนนำจึงแก้ไขโดยให้การถ่ายภาพบริเวณหัวเขาแดงและแหลมสนนั้นเป็นหน้าที่ของแกนนำ ส่วนสมาชิกชมรมที่เหลือให้ลงพื้นที่บริเวณฝั่งบ่อยาง ในกิจกรรมนี้ถึงแม้แกนนำพบเจออุปสรรคแต่แกนนำก็สามารถแก้ไขปัญหาที่พบเจอไปได้

­

กิจกรรมที่สอง แกนนำร่วมกันคิดคำบรรยายเพจให้น่าสนใจ เพื่อนำภาพมาลงเพจ และเพื่อให้ผู้คนรู้ประวัติของเมืองสงขลา โดยสมาชิกชมรมต้นคิดช่วยกันคิดคำบรรยายเพจ โดยช่วยกันแสดงความคิดเห็นในเฟสกลุ่มภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลา และได้คำบรรยายเพจ คือ “สร้างสรรค์ "ภาพถ่าย" สะท้อนเรื่องราวๆดีใน "สงขลา" ผ่านมุมมองเล็กๆ” ปัญหาที่แกนนำพบเจอในการคำคำบรรยายเพจ คือ สมาชิกร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้น้อย เพราะ มีเวลาออนเฟสไม่ตรงกัน หลังจากนั้นแกนนำและสมาชิกชมรมร่วมกันเปิดเพจรูปแบบใหม่ season 2 การเปิดเพจเป็นไปตามตามแผนที่ตั้งไว้จะมีการเปลี่ยนคำบรรยายเพจ และภาพหน้าปก ซึ่งคำบรรยายเพจ คือ “สร้างสรรค์ "ภาพถ่าย" สะท้อนเรื่องราวๆดีใน "สงขลา" ผ่านมุมมองเล็กๆ” ส่วนภาพหน้าปก แกนนำและสมาชิกในชมรมบางส่วนได้ขึ้นไปถ่ายภาพบนเขาตังกวนเพื่อไปเก็บภาพมุมกว้างของเมืองสงขลามาตั้งเป็นภาพหน้าปกของเพจ โดยในภาพได้มีการใส่ไอเดียการถ่ายแบบใหม่ คือ การใช้ตุ๊กตาเป็นตัวละครในภาพเพื่อเป็นตัวสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราวของสถานที่นั้น ปัญหาที่พบคือ การถ่ายภาพหน้าปกของเพจ ซึ่งมีการใช้ตุ๊กตา เวลาถ่ายภาพจะมีปัญหาเกี่ยวกับลม ที่ทำให้ตุ๊กตาล้ม แกนนำจึงคิดหาวิธีแก้ไขโดยการใช้เทปกาวช่วย พยุงตุ๊กตาไว้ และภาพ cover ภาพแรก ไฟล์เล็กและทำให้ภาพแตก แกนนำจึงแก้ไขโดยปรับขนาดภาพให้ใหญ่ขึ้น แกนนำจึงนำภาพลงในเพจแกนนำเริ่มลงภาพเก่าก่อน โดยเริ่มจากภาพเก่าของฝั่งหัวเขาแดงพร้อมกับบรรยายประวัติของเมืองสงขลาบริเวณนั้น และลงภาพสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของฝั่งหัวเขาแดง จากนั้นได้ลงภาพเก่าของฝั่งแหลมสนพร้อมบรรยายประวัติของเมือง และได้ลงภาพเก่าบริเวณฝั่งบ่อยางซึ่งเป็นบริเวณที่มีข้อมูลมากที่สุดพร้อมกับบรรยายประวัติของการตั้งเมืองบริเวณนี้ และลงภาพเก่าของสถานที่สำคัญต่างๆในบ่อยาง นอกจากถ่ายภาพเพื่อลงเพจแล้วแกนนำยังนำภาพที่ได้มาทำเป็นวีดีโออีกด้วย ผลจากการทำกิจกรรมลงภาพในเพจมีคนให้ความสนใจเพจมากขึ้นและคนยังร่วมแสดงความคิดเห็นกับภาพที่ได้ลงเพจ แกนนำกล่าวว่าถึงแม้ความคิดเห็นจะดีหรือไม่ ทุกความคิดเห็นที่เป็นข้อเสนอแนะแกนนำจะนำมาปรังปรุงและทุกความคิดเห็นที่ให้กำลังใจแกนนำก็ได้นำสิ่งเหล่านี้มาเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองเติบโตขึ้น พยายามมากขึ้นและเรียนรู้ในสิ่งที่ผิดพลาด

­

กิจกรรมที่สาม เป็นกิจกรรม ติดตามกลุ่มพลเมือง เพื่อเก็บภาพการทำงานของกลุ่ม CD Power ,Beach for life ,RN Mix ,จิตอาสาบ่อทรัพย์ แกนนำได้ลงไปพื้นที่ของโครงการ Beach for life และRN Mix เนื่องจากที่ได้ลงแค่สองโครงการแกนนำพบเจอปัญหาคือแกนนำแต่ละคนไม่มีเวลาว่างตรงกันและมีกิจกรรมเข้าค่ายกับทางโรงเรียน จึงทำให้แกนนำลงพื้นที่ได้แค่สองโครงการ ในขั้นตอนการทำงานแกนนำได้แชร์ภาพจากเพจของกลุ่มพลังพลเมืองใน facebook เพื่อต้องการให้สื่อให้สาธารณะได้เห็นว่าพลังของเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งดีๆให้กับสังคมได้ ในกิจกรรมนี้แกนนำมองเห็นว่าการลงพื้นที่ทำกิจกรรมถ้าเจอว่าคนไม่ค่อยให้ความสนใจเราจะต้องขยันลงพื้นที่ให้เยอะเพื่อว่าสักวันคนที่ไม่สนใจจะได้กลับมาถามว่าลูกๆทำอะไร และให้ความสนใจในสิ่งที่พลังตัวเล็กๆได้ทำ

­

กิจกรรมที่สี่ เป็นกิจกรรมนักคิดเปลี่ยนเมืองสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของค่าย Creative Camp ของชมรมศิลปะ ในกิจกรรมนี้เพื่อแนะนำโครงการให้น้องๆในค่ายได้รู้จักกัน เพื่อให้น้องได้รู้เกี่ยวกับประวัติ, สถานที่สำคัญและปัญหาเมืองสงขลาและเพื่อให้ได้รู้แนวคิดวิธีแก้ปัญหาจากน้องๆในค่ายคิดอย่างไรเกี่ยวกับสงขลา ในขั้นตอนการทำงานแกนนำได้นัดประชุมวางแผนงานเพื่อคิดกิจกรรมต่างๆ แบ่งพี่เลี้ยงประจำฐาน 4 ฐาน ซึ่งกิจกรรมนี้จัดโดยแกนนำโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลาและสมาชิกชมรมต้นคิด ชมรมศิลปะ โดยมีกิจกรรมแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงที่แรก เป็นกิจกรรมฐาน แบ่งออกเป็นสี่ ฐาน ซึ่งแต่ละฐานจะมีกิจกรรมให้น้องๆร่วมสนุกและยังสอดแทรกการให้ความรู้เกี่ยวกับเมืองสงขลาโดยแกนนำได้ทำสื่อประกอบการอธิบาย ช่วงที่สอง เป็นกิจกรรมบทบาทสมมติ ซึ่งให้น้องๆแต่ละกลุ่ม สมมติตัวเองว่ากลุ่มของตัวเองเป็นพรรคการเมืองต่างๆ โดยให้คิดนโยบายและออกมาปราศรัยเกี่ยวกับประเด็น ประวัติเมือง ปัญหาของเมือง และวิธีแก้ปัญหาให้กับเมือง เมื่อปราศรัยเสร็จจะให้พี่ๆและเพื่อนๆลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกพรรคที่มีนโยบายที่ดีที่สุด ปัญหา/อุปสรรคที่แกนนำมองเห็นคืออุปกรณ์ในฐานหายบางส่วน วิธีแก้ไขคือแกนนำต้องทำอุปกรณ์เพิ่มเติมในช่วงเวลานั้น ปัญหาอีกอย่างคือน้องไม่รู้จักสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาเลยทำให้กิจกรรมขัดข้องและล่าช้า วิธีแก้ไขคือแกนนำต้องทำกระดาษคำใบ้เพิ่มเติมเพื่อให้น้องสามารถคิดได้และอธิบายได้ว่าคือที่ไหน ผลของกิจกรรมน้องๆ มีความสนใจกับปัญหาของเมืองสงขลามากขึ้นน้องให้ความสนใจกับประวัติเมืองสงขลาและน้องพยายามหาวิธีแก้ปัญหาให้กับเมืองสงขลา สิ่งที่แกนนำเรียนรู้จากกิจกรรมนักคิดเปลี่ยนเมืองการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดการปะทะคำพูดในการปราศรัยของพรรคการเมืองในเรื่องของป่าสน คนที่มีความรู้ในเรื่องของป่าสนเยอะจะพูดข่มคนที่มีความรู้ในเรื่องของป่าสนน้อย แกนนำจึงต้องรีบเข้าไปพูดคุยเอให้ทุกคนยุติการพูดจาข่มคนอื่น กิจกรรมในครั้งนี้ทำให้แกนนำ เห็นน้องๆที่มีแวว มีความเป็นผู้นำที่สามารถคัดมาเป็นแกนนำภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลารุ่นต่อไป รวมถึงแกนนำยังได้มีการพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นด้านการพูด การวางแผนงาน การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันเป็นทีม

­

กิจกรรมที่ห้า เป็นกิจกรรมนิทรรศการกว่าจะเป็นเมืองสงขลา เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ชมรูปภาพรวมถึงนักท่องเที่ยวอยากมาเที่ยวสงขลาและร่วมกันอนุรักษ์เมืองสงขลา นิทรรศการครั้งที่ 1 ณ หอประชุมเปรม 100 ปี โรงเรียนมหาวชิราวุธ ในขั้นตอนการทำงานแกนนำได้ประชุมวางแผนการจัดนิทรรศการมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook หลังจากนั้นแกนนำได้จัดเตรียมนิทรรศการรูปภาพและสถานที่ ในวันงานแกนนำรู้สึกภูมิใจมากเมื่อมีคนในงานชื่นชมในสิ่งที่ทำและยังทำให้คนเหล่านั้นหวนคิดกลับมาบ้านเกิด คิดอยากที่จะทำให้บ้านเกิดน่าอยู่มากขึ้น แกนนำรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวแกนนำทำแม้จะเป็นเพียงพลังของเด็กตัวน้อยๆแต่พลังของเด็กตัวน้อยไปสะกิดใจให้ผู้ใหญ่รักบ้านเกิดมากขึ้น เสียงตอบรับที่ดีจากคนสงขลาทำให้แกนนำมีกำลังใจที่จะสู้ต่อกับงานดีๆเพื่อสงขลาบ้านเกิดของตัวเอง ต่อมาเป็น นิทรรศการครั้งที่สองโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลาได้จับมือกับโครงการ Beach for life ในการร่วมกันจัดนิทรรศการแลเลแลหาด ครั้งที่ 4 วันที่ 8 มิถุนายน 2557 ณ ป่าสนตรงข้ามมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย ฝั่งชายทะเล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานแกนนำประชุมวางแผนร่วมกับ Beach for life เพื่อวางผังนิทรรศการ และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook แกนนำได้เตรียมงานนิทรรศการของโครงการภาพเล่าเรื่องเมืองสงขลาและยังเตรียมของที่ระลึก เช่น พวงกุญแจ เข็มกลัด สมุดโน้ต โปสการ์ด จัดจำหน่ายสำหรับผู้คนเข้าร่วมงานพร้อมทั้งมีกิจกรรมมากมายให้ได้ร่วมสนุก การทำงานครั้งนี้มีการแตะมือกันกับการช่วยเหลือของเพื่อนๆโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลากลุ่มอื่นๆอีกด้วย ปัญหาที่พบเจอคือป้ายโครงการเมื่อลมพัดแรงทำให้ป้ายล้มแกนนำจึงต้องรีบหาวิธีการแก้ไขอย่างรวดเร็ว แกนนำจะต้องบริหารจัดการเวลาให้สอดคล้องเป็นไปตามกำหนดการของนิทรรสการแลเล แลหาดของกลุ่ม Beach for life ผลของกิจกรรมมีคนให้ความสนใจภาพและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี แกนนำเรียนรู้จากกิจกรรมครั้งนี้คือการทำงานเป็นทีมที่ต้องคอยช่วยเหลือกันตลอดเวลาและการควบคุมสติอารมณ์เมื่อเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความหงุดหงิดหรือไม่พอใจ

­

ดังนั้น  เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จทางกลุ่มแกนนำเยาวชนคาดหวังว่าชาวสงขลาส่วนหนึ่งจะได้รับรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาผ่านทางภาพถ่ายข้อมูลเพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ควรอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ไว้ ทำให้ทางแกนนำเกิดการเรียนรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์เมืองสงขลาที่แท้จริง มีจิตสำนึกรักและหวงแหนบ้านเกิด การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การทำงานร่วมกันเป็นทีมและมีใจรักและหวงแหนเมือง

­

­

คุณค่าของการเรียนรู้

จากการลงมือทำโครงการครั้งนี้ แกนนำเยาวชนเล่าว่าการดำเนินโครงการทำให้ตนเองเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น น้องฟาอิส บอกว่า ก่อนหน้าทำโครงการตัวเองรู้สึกว่าเป็นคนสมาธิสั้นและมักจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดไม่พอใจ แต่พอทำโครงการไปทำให้ตัวเองมองเห็นว่าเป็นคนมีสมาธิขึ้น มีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น รู้จักวางแผนงานก่อนทุกครั้ง ควบคุมอารมณ์ได้ดีและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำให้ตนเองอยากที่จะทำอะไรเพื่อบ้านเกิดตัวเองรักบ้านเกิดตัวเองมากขึ้น กล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้น 


น้องอิ๊ฟ ก่อนหน้านี้ตัวเองเป็นคนขี้น้อยใจ ทำงานจะไม่เป็นระบบ ไม่กล้าเป็นผู้นำ แต่พอทำโครงการทำให้รู้ว่าตัวเองพัฒนาขึ้นกล้าที่พูดกล้าที่แสดงความคิดเห็น และมีความรับผิดชอบมาก บางครั้งงานก็สอนให้เราเป็นผู้นำ งานที่ทำสอนให้ตัวเองอดทนและใจเย็นขึ้น รู้จักเคารพผู้อื่น ไม่เอาเปรียบผู้อื่น น้องจิว ก่อนหน้านี้ไม่เคยเลยที่จะกล้าพูด กล้านำเสนอผลงาน จะเป็นผู้ตามมากกว่าที่จะเป็นผู้นำแต่ตอนนี้ทำให้ตัวเองกล้าพูดมากขึ้น คิดก่อนพูดเสมอ งานการเงินทำให้ตัวเองต้องฝึกความระเอียดรอบคอบมีความรับผิดชอบสูงขึ้น 


น้องมุก แต่ก่อนเป็นคน ไม่ค่อยรับรู้ปัญหาผู้อื่น คิดไม่รอบคอบ ไม่มีความมั่นใจตัวเองในการที่จะพูดกับคนอื่น แต่พอทำโครงการนี้ทำให้ตัวเองรู้ว่าตัวเองมั่นใจที่จะพูดกับคนอื่นมากขึ้น ทำอะไรเพื่อส่วนรวมมากขึ้น ก่อนจะทำอะไรจะคิดให้รอบคอยก่อนเสมอ มีการจัดการอารมณ์เมื่อรู้สึกไม่พอใจ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนมากขึ้น 


น้องมาย ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยสนใจอะไรเกี่ยวปัญหาต่างๆ เป็นคนไม่ค่อยรอบคอบ แต่พอทำกิจกรรมในโครงการทำให้เราได้ฝึกที่จะสนใจปัญหาบ้านเมืองยิ่งขึ้น ก่อนจะทำอะไรตัวเองจะคิดทบทวนก่อนเสมอ เป็นคนพูดเก่งร่าเริง มักจะเข้าใจเพื่อนๆมากขึ้นเวลาเจอปัญหาการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำร่วมกันกับเพื่อนๆ 


น้องเบส ก่อนหน้าจะเป็นคนคิดฟุ้ง สมาธิสั้น เวลาทำงานตนเองจะมักไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น แต่หลังจากทำโครงการทำให้ตนเองคิดอย่างเป็นระบบ มีสมาธิดีขึ้นในระดับหนึ่ง เวลามีประชุมการทำงานจะเสนอความคิดเห็นต่อเพื่อนๆ งานโครงการทำให้ตัวเองค้นพบว่าชอบศิลปะ ชอบการแต่งภาพ

­

การทำงานเป็นทีม

ทางกลุ่มยังสะท้อนออกมาว่าแกนนำ ทุกคนทำงานกันแบบครอบครัวโดยจะแบ่งงานตามความถนัดเมื่อมีปัญหาจะพูดคุยกันเสมอ การทำงานจะนัดประชุมกันบ่อยเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน เราจะคอยตักเตือนกันและกันเสมอ เมื่อทำงานทุกคนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

­

การทำงานเพื่อเติมเต็มความสุขและความหวังให้กับคนเฒ่าคนแก่กับเรื่องราวในอดีตที่ถูกถ่ายทอดต่อรุ่นลูกรุ่นหลานทำให้น้องๆกลุ่มต้นคิดรู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้เป็นผู้เก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆมาถ่ายทอดผ่านสื่อภาพถ่ายและเรื่องราวต่อสาธารณะ ให้คนได้รับรู้ว่าสงขลาคือเมืองแห่งประวัติศาสตร์ เมืองที่มีวิถีชีวิตของสองศาสนาและสามเชื้อชาติที่อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข 

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ