กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียนโครงการปลูกต้นน้ำคืนชีวิต
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการปลูกต้นน้ำคืนชีวิต


โจทย์ปัญหา

ในปีที่ 1 กลุ่ม CD Power ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพื้นที่ป่าต้นน้ำของบ้านต้นปริง และได้พบว่าฤดูแล้งไม่มีน้ำใช้ ฤดูฝนมีน้ำแต่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และมีการพังทลายของหน้าดิน แกนนำจึงได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนคือการปลูกหญ้าแฝกและการสร้างฝาย หลังจากได้ทำกิจกรรมเสร็จ แกนนำก็ลงไปติดตามผล พบว่าหญ้าแฝกที่ปลูกขึ้นแค่บางจุด และฝายที่สร้างไว้แทนที่จะเก็บน้ำกลับกลายเป็นที่เก็บทราย และยังขาดการเอาใจใส่ดูแลของชาวบ้าน


จากการลงไปติดตามผลทางกลุ่มได้กลับมาประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยในปีที่ 2 กระบวนการที่ทางกลุ่มได้วางไว้จะถูกถ่ายโอนให้เป็นหน้าที่ของชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มแกนนำในระดับผู้ใหญ่และกลุ่มเยาวชนในชุมชน ซึ่งมีการสืบค้นข้อมูลและการจัดการข้อมูล เพื่อใช้ในการสร้างความรู้แก่ชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นหากโครงการดำเนินแล้วเสร็จ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับคือ มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน


เป้าหมาย :

เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ และเพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการปลูกต้นน้ำคืนชีวิต


กลุ่ม CD power

แกนนำเยาวชนมี 5 คน เป็นนักศึกษาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มีรายชื่อดังนี้

  1. นางสาวจุรีรัตน์   ประหลาดมานิต (กิ่ง)    กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
  2. นางสาววาสนา พรมนุ้ย (ปู)   กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน   มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
  3. นายเกรียงไกร      สองไทย (หนุ่ม)  กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  
  4. นายสุทธิพงษ์   จูเอ้ง (บอย)  กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน   มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
  5. นายอภิวัฒน์   เทอดเกียรติ (ซัน)  กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา



ที่ปรึกษาโครงการ   อาจารย์กัลยาภัสร์   อภิโชติเดชาสกุล 

อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 

E-mail : Sumalee_2556@hotmail.co.th 


พี่เลี้ยงกลุ่ม   นายสมศักดิ์ ชูช่วยคำ ปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช 

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม  ฝ่ายวิชาการและงานปฏิบัติการ




โจทย์ปัญหา

ในปีที่ 1 กลุ่ม CD Power ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพื้นที่ป่าต้นน้ำของบ้านต้นปริง และได้พบว่าฤดูแล้งไม่มีน้ำใช้ ฤดูฝนมีน้ำแต่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และมีการพังทลายของหน้าดิน แกนนำจึงได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนคือการปลูกหญ้าแฝกและการสร้างฝาย หลังจากได้ทำกิจกรรมเสร็จ แกนนำก็ลงไปติดตามผล พบว่าหญ้าแฝกที่ปลูกขึ้นแค่บางจุด และฝายที่สร้างไว้แทนที่จะเก็บน้ำกลับกลายเป็นที่เก็บทราย และยังขาดการเอาใจใส่ดูแลของชาวบ้าน


จากการลงไปติดตามผลทางกลุ่มได้กลับมาประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยในปีที่ 2 กระบวนการที่ทางกลุ่มได้วางไว้จะถูกถ่ายโอนให้เป็นหน้าที่ของชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มแกนนำในระดับผู้ใหญ่และกลุ่มเยาวชนในชุมชน ซึ่งมีการสืบค้นข้อมูลและการจัดการข้อมูล เพื่อใช้ในการสร้างความรู้แก่ชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นหากโครงการดำเนินแล้วเสร็จ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับคือ มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน



เป้าหมาย :

เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ และเพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน



กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1  ศึกษาและจัดการข้อมูล ป่าต้นน้ำ บ้านต้นปริง

1.1  รวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ จากการศึกษาข้อมูลในปีที่  1

1.2  ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆในชุมชน

1.3  บรรยายสภาพโดยรวมของป่า

1.4  วาดรูปป่าในฝัน

กิจกรรม 2  จัดกิจกรรมสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านต้นปริง

2.1  ออกแบบกิจกรรมและประชุมเตรียมงาน

2.2  ประสานงานประชาสัมพันธ์

2.3  ฉาย VDO สภาพปัญหาเกี่ยวกับป่าต้นน้ำในชุมชน

2.4  ต่อจิกซอสภาพปัญหา (สันทนาการ)

2.5  เดินรณรงค์ปลูกจิตสำนึก

2.6 จัดทำ AAR

กิจกรรม 3  ปฏิบัติการแสดงพลังในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ บ้านต้นปริง

3.1 ดำเนินการตามที่ชุมชนได้ออกแบบร่วมกับแกนนำ

3.2  ศึกษาดูงานคลองแดน

3.3  จัดกิจกรรมบวชป่า ปลูกต้นไม้วันเด็ก ปลูกต้นไม้วันสำคัญ

กิจกรรม 4  สรุปผลการดำเนินงานโครงการ



กระบวนการทำงานของกลุ่ม

“การบุกลุกทำลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สวนยางพาราของคนในชุมชนป่าต้นน้ำบ้านต้นปลิง” ต.คลองหรัง อ. นาหม่อม จ. สงขลา คือประเด็นปัญหาที่แกนนำเยาวชนกลุ่ม CD Power ใช้เป็นโจทย์สร้างเรียนรู้ทักษะชีวิต การทำงานเป็นทีมและสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับตนเอง โดยกระบวนการดำเนินงานของโครงการปลูกต้นน้ำ คืนชีวิต เริ่มจากการ ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบจากการบุกลุกทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เด็กเยาวชนและคนในชุมชน จัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำร่วมกับคนในชุมชน สุดท้ายคือการทบทวนบทเรียนที่ได้จากการทำงาน (AAR) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2557 กว่า 2 ปีที่นักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิชาเอกการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่ม CD Power ได้ฝึกฝนตนอยู่กับสภาพปัญหาที่แม้หน่วยงานระดับนโยบายเองก็ยังแก้ไขอะไรได้ไม่มากนัก ซึ่งการได้เรียนรู้อยู่กับความจริงบนพื้นที่ของชุมชน จะสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ ให้มีหัวใจพลเมืองได้หรือไม่ อย่างไร


แกนนำเยาวชนกลุ่ม CD Power เล่าประสบการณ์ทำงานให้ฟังว่า จากการลงศึกษาชุมชน บ้านต้นปลิง พบว่า มีลำคลองที่ตัดผ่านชุมชนและสวนยางของชาวบ้าน ซึ่งในอดีตมีความสำคัญต่อวิถีของผู้คนในชุมชน เช่น ใช้ในการอุปโภค บริโภค ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ปัจจุบันเมื่อมีระบบนำประปาทำให้คลองเสื่อมโทรมเพราะชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคลองและยังเกิดปัญหาการกัดเซาะตลิ่งทั้ง 2 ฝั่งคลองทำให้ชาวบ้านสูญเสียพื้นที่กำกิน ช่วงปีที่ 1 ของโครงการ ทางกลุ่มเลยเลือกการทำฝายชะลอน้ำและปลูกหญ้าแฝกป้องกันตลิ่งพัง แต่ก็พบว่า ฝายไม่สามารถทำให้น้ำอยู่ในคลองได้ตลอด และหญ้าแฝกที่ปลูกไว้ส่วนใหญ่ตายเกือบหมด ซึ่งอาจเกิดจากขาดคนดูแลอย่างต่อเนื่องรวมถึงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ดังนั้นการดำเนินงานโครงการในปีที่ 2 จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าเกิดจากอะไร จนพบว่า การที่ชาวบ้านเข้าไปบุกลุกและทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อปลูกยางพาราทำให้สูญเสียระบบนิเวศน์ป่าจนส่งผลให้มาสู่คลองและพื้นที่ชุมชนปลายน้ำอื่นๆ เช่น หน้าฝนกระแสน้ำไหลแรงทำให้ตลิ่งพังเพราะไม่มีต้นไม้ใหญ่และนิเวศน์อื่นชะลอแรงน้ำได้ หน้าแร้งก็เช่นกันไม่มีน้ำเพราะไม้มีต้นไม้ใหญ่และระบบนิเวศน์อื่นซึ่งเป็นแหล่งกำเกิดน้ำ และกระแสน้ำหลากได้ชะล้างความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินพร้อมกับพัดพาตะกอนทรายไปทับทมไว้ในพื้นที่คลอง อีกทั้งอาจมีการป่นเปื้อนของสารเคมีจากสวนยางปะปนไปกับกระแสน้ำที่ไหลลงสู่พื้นที่ปลายน้ำอีกด้วยนอกจากนี้ยังทำให้ชุมชนสูญเสียพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนเพราะอดีตชุมชนเคยมีน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปีแต่ตอนนี้จะมีน้ำเฉพาะตอนฤดูฝนเท่านั้นฯลฯ หลังจากรับทราบสาเหตุและผลกระทบแล้ว ทางกลุ่มได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน จากนั้นก็จัดกิจกรรมวาดภาพป่าในฝันกับเด็กๆในชุมชน ต่อมา จัดกิจกรรมบวชป่าเพื่อป้องกันการตัดต้นไม่ใหญ่รวมถึงปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมกับคนในชุมชน เป็นต้น


การได้ทำงานโครงการฯที่ผ่านมาได้ฝึกฝนทักษะในการทำกระบวนการกลุ่ม รู้จักนำสิ่งที่ได้เรียนในภาคทฤษฎีไปเชื่อมโยงกับการทำงานจริงในชุมชน ทำให้เข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม การได้ทำงานกับชุมชนจริงๆยังทำให้รู้ว่าการทำโครงการพัฒนาอะไรสักอย่างต้องศึกษาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน พอเรารับรู้ผลกระทบของชาวบ้านในชุมชนมันก็เหมือนกับการค้นพบแรงบันดาลในการทำงาน ทำให้เราฮึดสู้ และมีความมุ่งมั่นในการที่จะร่วมแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และทำให้มีจิตสำนึกที่จะเสียสละผลประโยชน์ของตนเพื่อส่วนรวม นางสาววาสนา พรมนุ้ย (ปู) อายุ 22 ปี สะท้อนความรู้ถึงสิ่งที่รับจากโครงการฯ และนางสาวจุรีรัตน์ ประหลาดมานิต (กิ่ง) อายุ 20 ปี เป็นแกนนำอีกคนที่สะท้อนสิ่งที่ได้รับว่าจากการทำงานในโครงการ ด้วยว่า การเป็นนักศึกษาที่อยู่แต่ในห้องเรียนนั้น ไม่สามารถจะทำประโยชน์อะไรให้กับใครได้เลย แล้วชีวิตจะมีความหมายหรือคุณค่าได้อย่างไร แต่หากเราใช้กำลังความสามารถของการเป็นนักศึกษาช่วยเหลือคนอื่นได้ ตัวเราเองจะรู้สึกว่าชีวิตนั้นมีคุณค่าและมีความหมาย รู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้กำลังความสามารถของตนเองในการช่วยเหลือสังคม การได้ลงชุมชนไม่ใช่แค่ไปทำโครงการแต่ทำให้เราไปสัมผัสกับความจริงที่สร้างประสบการณ์ สัมผัสกับบางชีวิตที่กำลังลำบาก แม้มันจะอยู่นอกเส้นทางของการทำงาน แต่การได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชีวิตของคนเพียงหนึ่งคน นั้นอาจนำมาซึ่งการได้รับความไว้วางใจจากคนอีกจำนวนมาก ซึ่งเมื่อได้รับความไว้วางใจเราจะทำอะไรเขาก็ช่วยเหลือ ด้าน นายเกรียงไกร สองไทย (หนุ่ม) อายุ 20 ปี แกนนำเยาวชนที่ได้ร่วมสะท้อนประสบการณ์จากการทำงานที่ผ่านมาว่า การทำงานที่ผ่านมาได้พัฒนากระบวนการคิดใหม่ คิดอะไรเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนการแก้ปัญหาในการทำงานต้องรอให้อาจารย์หรือใครสั่งก่อนถึงจะทำ แต่การทำงานโครงการสอนให้คิดใหม่ว่า ต้องแก้ปัญหาต่างๆทันทีโดยไม่ต้องรอใครมาสั่ง สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ การทำงานที่ผ่านมาทำให้มีประสบการณ์ ในด้านกระบวนการคิด กระบวนการทำงาน เราสามารถเริ่มได้จากเรื่องใกล้ตัวทำจากเรื่องเล็กๆแล้วเรื่องเล็กๆจะนำเราไปเรียนรู้และเข้าใจเรื่องที่ใหญ่กว่า


นอกจากนี้สมาชิกกลุ่ม CD Power ยังได้ร่วมกันสรุปคุณค่าจากการดำเนินงานโครงการ ปลูกต้นน้ำ คืนชีวิต เอาไว้ว่า ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากการดำเนินงาน คือ คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาและผลกระทบจากการบุกลุกทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำ เด็ก เยาวชนและคนในชุมชนเกิดจิตสำนึก หันมาใส่ใจและมีส่วนร่วมต่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ในอนาคตจากการทำกิจกรรมของโครงการอาจช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าได้จำนวนมากหากคนในชุมชนติดตามดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้และไม่ทำลายต้นไม้ใหญ่ที่ได้ทำพิธีกรรมบวชป่าเอาไว้ ในส่วนคุณค่าที่เกิดขึ้นกับแกนนำเยาวชน คือ แกนนำรู้สึกผูกพันกับป่าเพราะได้ทำงานอยู่กับป่า รู้สึกผูกพันกับคนในชุมชนเพราะเขาก็รักและเอ็นดูเราเหมือนกับลูกหลานของเขาเอง เพิ่มศักยภาพในการทำงานให้กับแกนนำ เราสามารถนำประสบการณ์จากตรงนี้ไปใช้ในชีวิตการทำงานได้จริงเพราะพวกเราเรียนวิชาเอก การพัฒนาชุมชน การทำงานฝึกให้เรากระตือรือร้นและมุ้งมั่น เอาจริงเอาจังกับการทำงานที่ได้รับมอบหมาย รู้สึกห่วงแหนทรัพยากรธรรมชาติ แม้ทรัพยากรเหล่านั้นจะไม่ได้อยู่ที่บ้านของเราแต่ก็เป็นทรัพยากรของชาติที่เขาควรช่วยกันรักษา

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ