โครงการเยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน(กลุ่มเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี)
โครงการเยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน(กลุ่มเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน

กลุ่มเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี

­

เครือข่ายเยาวชนรักบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี ทำงานกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี และในแต่ละปี อบจ. จะมีการจัดค่ายสำหรับเยาวชนจังหวัดอุทัยธานี เป็นโอกาสที่ดีของเด็กและเยาวชน จะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย และเป็นโอกาสให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ได้ร่วมตัวกันและเข้าร่วมทำงานช่วยเหลือในกลุ่มต่อไปรุ่นสู่รุ่น

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวจิราภัทร เล่าปิ่นกาญจน์ (เมย์) ประธาน

2.นายอนุชา ป้อมคำ (นุ๊ก) รองประธาน

3.นางสาวจิดาภา ดีเทียน (เจน) เลขานุการ

4.นายนริศ พรหมสูตร เหรัญญิก

5.นายวิรัตน์ เอี่ยมอินทร์ กรรมการ

6.นายพงศกร เพชรอินทร์ กรรมการ

7.ดช.สมศักดิ์ สังข์วงศ์ กรรมการ

8.ดช. สุราวุฒิ ชักนำ กรรมการ

­

ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ

พื้นที่ป่าชุมชนของหมู่บ้านสวนพลู หมู่ที่ 5 และบ้านพุต่อ หมู่ที่ 15 เนื้อที่ 6,300 ไร่ อยู่ในตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เคยเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแมลงต่างๆ เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และที่หาของป่าของคนในชุมชน และคนในชุมชนทั้งสองหมู่บ้านใช้อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่านี้ในการอุปโภค บริโภค

­

กลุ่มเป้าหมาย

เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนหมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 15 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบันจำนวนคนในชุมชนทั้งสองมีมากขึ้น ความต้องการใช้ประโยชน์จากป่ามีมากตามมา จึงทำให้เกิดการบุกรุกทำลายผืนป่า โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การใช้น้ำของคนในชุมชนจะเปลี่ยนไป จากที่เคยใช้น้ำร่วมกันตลอดเวลา กลับต้องผลัดกันใช้น้ำจากป่านี้ เนื่องจากน้ำภายในอ่างเก็บน้ำมีลดลง สองหมู่บ้านต้องสลับกันใช้น้ำเพื่อให้เพียงพอต่อคนในชุมชน

­

ครูอนงค์ ครูประจำโรงเรียนบ้านพุต่อ ผู้เคยสอนให้เด็กๆ ในชุมชนรู้จักการใช้ชีวิตและการใช้ประโยชน์จากป่า และช่วยฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกป่าอากาศยานให้กับผืนป่าแห่งนี้ หลังจากท่านเสียชีวิตไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว กิจกรรมที่ครูอนงค์เคยชวนเด็กๆ ทำก็หยุดชะงักลง เพราะไม่มีใครสืบทอดเจตนาของครู กลุ่มอาสาพัฒนาบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี จึงคิดจะชวนเด็กๆ ในพื้นที่ช่วยกันฟื้นฟูป่า ในแบบที่ครูอนงค์เคยได้ทำมา

­

เป้าหมายของโครงการ

เยาวชนและคนในชุมชนให้ความสนใจอนุรักษ์ผืนป่าชุมชนมากขึ้น ตระหนักถึงความความสำคัญของป่าชุมชน เกิดแกนนำเยาวชนขึ้นในพื้นที่ และช่วยกันพื้นฟูป่าที่ถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ ตัดไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน


กลุ่มเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี

­

เครือข่ายเยาวชนรักบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี ทำงานกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี และในแต่ละปี อบจ. จะมีการจัดค่ายสำหรับเยาวชนจังหวัดอุทัยธานี เป็นโอกาสที่ดีของเด็กและเยาวชน จะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย และเป็นโอกาสให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ได้ร่วมตัวกันและเข้าร่วมทำงานช่วยเหลือในกลุ่มต่อไปรุ่นสู่รุ่น

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวจิราภัทร เล่าปิ่นกาญจน์ (เมย์)      ประธาน

2.นายอนุชา ป้อมคำ (นุ๊ก)                          รองประธาน

3.นางสาวจิดาภา ดีเทียน (เจน)                  เลขานุการ

4.นายนริศ พรหมสูตร                                เหรัญญิก

5.นายวิรัตน์ เอี่ยมอินทร์                             กรรมการ

6.นายพงศกร เพชรอินทร์                           กรรมการ

7.ดช.สมศักดิ์ สังข์วงศ์                               กรรมการ

8.ดช. สุราวุฒิ ชักนำ                                  กรรมการ

­

ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ

พื้นที่ป่าชุมชนของหมู่บ้านสวนพลู หมู่ที่ 5 และบ้านพุต่อ หมู่ที่ 15 เนื้อที่ 6,300 ไร่ อยู่ในตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เคยเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแมลงต่างๆ เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และที่หาของป่าของคนในชุมชน และคนในชุมชนทั้งสองหมู่บ้านใช้อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่านี้ในการอุปโภค บริโภค

­

กลุ่มเป้าหมาย

เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนหมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 15 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบันจำนวนคนในชุมชนทั้งสองมีมากขึ้น ความต้องการใช้ประโยชน์จากป่ามีมากตามมา จึงทำให้เกิดการบุกรุกทำลายผืนป่า โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การใช้น้ำของคนในชุมชนจะเปลี่ยนไป จากที่เคยใช้น้ำร่วมกันตลอดเวลา กลับต้องผลัดกันใช้น้ำจากป่านี้ เนื่องจากน้ำภายในอ่างเก็บน้ำมีลดลง สองหมู่บ้านต้องสลับกันใช้น้ำเพื่อให้เพียงพอต่อคนในชุมชน

­

ครูอนงค์ ครูประจำโรงเรียนบ้านพุต่อ ผู้เคยสอนให้เด็กๆ ในชุมชนรู้จักการใช้ชีวิตและการใช้ประโยชน์จากป่า และช่วยฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกป่าอากาศยานให้กับผืนป่าแห่งนี้ หลังจากท่านเสียชีวิตไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว กิจกรรมที่ครูอนงค์เคยชวนเด็กๆ ทำก็หยุดชะงักลง เพราะไม่มีใครสืบทอดเจตนาของครู กลุ่มอาสาพัฒนาบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี จึงคิดจะชวนเด็กๆ ในพื้นที่ช่วยกันฟื้นฟูป่า ในแบบที่ครูอนงค์เคยได้ทำมา

­

เป้าหมายของโครงการ

เยาวชนและคนในชุมชนให้ความสนใจอนุรักษ์ผืนป่าชุมชนมากขึ้น ตระหนักถึงความความสำคัญของป่าชุมชน เกิดแกนนำเยาวชนขึ้นในพื้นที่ และช่วยกันพื้นฟูป่าที่ถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ ตัดไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

1. จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการเพื่อขอความร่วมมือจากคนในชุมชนทุกระดับในการทำโครงการของเยาวชน ซึ่งมีผู้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีผู้นำตามธรรมชาติ ที่ยังคงดูแลรักษาผืนป่าและมีความรู้เรื่องป่าผืนนี้

2. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสวนพูล- พุต่อ 

         – ได้รู้เส้นทางธรรมชาติและได้รู้เกี่ยวกับจุดศึกษาธรรมชาติ 

         – ได้พบเห็นแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ 

          - ได้เรียนรู้ ข้อมูลของป่าชุมน

3. ชวนน้องๆ สำรวจป่าชุมชน 

         - น้อง ๆ ให้ความสนใจกระตือรือร้นและอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ต่อเนื่องอีก 

         - น้อง ๆ ให้ความสนใจเรียนรู้และเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มมากขึ้น

4. เก็บเมล็ดพันธุ์ เรียนรู้เรื่องต้นไม้และวิธีการปลูกต้นไม้ เพื่อนำมาเพาะและนำกลับไปปลูกที่ป่าชุมชนละนำมาปั้นเป็นกระสุนเมล็ดพันธุ์ ประกอบด้วย เม็ดมะค่า 2 กิโล, เม็ดตะขบ 1 ถุง, เม็ดสัก 1 ถุง, เม็ดยาง 1 กระสอบ (50 กิโล)

5. กล้าไม้สร้างสัมพันธ์ (การเพาะเมล็ดพันธุ์) 

          – ผู้ปกครองของแกนนำเยาวชนมาช่วยเพาะกล้า เนื่องจากกลุ่มแกนนำเยาวชนต้องแยกย้ายกันทำงาน

          -  วิธีตัดจุกเม็ดมะค่า แล้วใช้มีดกะเทาะตรงเปลือกสีดำ ให้เกิดแผลเล็ก ๆ และนำไปแช่น้ำเปล่า จนเปลือกสีดำพองตัวขึ้นหรืออมน้ำเต็มที่แล้ว หลังจากนั้นนำมาแกะเปลือกสีดำออก แล้วนำลงถุงเพาะได้เลยวิธีนี้ 100% งอก 90 %ุ

6. ปลูกป่าอากาศยาน 

           - ได้รับความร่วมมือจากพระ ที่มาช่วยปลูกป่าอากาศยานและก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองที่อยากไปดูแลบุตรหลาน และช่วยดูแลเด็ก ๆ ในการทำกิจกรรม

7.ประชุมสรุปแผนการดำเนินงาน 

          – ได้รู้ถึงการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา, สรุปรายละเอียดและค่าใช้จ่าย, ได้รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน

­

กิจกรรมที่ทำนอกแผน

  1. ทำความสะอาดรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำพุกร่างเนื่องจากเป็นกิจกรรมของชุมชน ที่จะมีคนในชุมชนมาร่วมทำจำนวนมาก จึงเข้าไปช่วยเพราะเป็นเขตในพื้นที่ป่าชุมชนเหมือนกัน และจะได้พบผู้ปกครองของเด็ก ๆ ด้วย
  2. ล้างอ่างเก็บน้ำพุกร่าง เนื่องจากเป็นที่พักน้ำก่อนนำน้ำไปใช้ในชุมชน และอยากเห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน จึงขอเข้าไปช่วยในการทำกิจกรรม

­

ปัญหา / อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข

1.  ชุมชนหมู่ที่ 15 ยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือจากการเชิญเข้าร่วมกิจกรรม การแก้ไข ให้เด็กๆที่มาเข้าร่วมกิจกรรมนำไปบอกเล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง ให้เด็กเป็นตัวเชื่อมกับผู้ปกครอง

2.  กิจกรรมสำรวจป่าชุมชนเส้นทางเดินมีต้นไม้ขึ้นรก การแก้ไข ได้ขอความร่วมมือจากคนในชุมชนช่วยกันกำจัดสิ่งกีดขวางก่อนที่จะน้องๆเดินสำรวจ

3.  สมาชิกแกนนำบางคนยังไม่ค่อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม การแก้ไข ประชุมวางระบบการทำงานใหม่ เพื่อที่จะได้เข้าใจแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

4.  แกนนำเยาวชนยังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าชุมชนทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลกับน้องๆได้ การแก้ไข ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับป่าชุมชน และค้นหาคำตอบที่น้องๆถามเพื่อเติม เพื่อที่ครั้งหน้าจะได้มาบอกน้องๆ

5.  เพาะเมล็ดยาง และสักไม่ขึ้น การแก้ไข สอบถามจากผู้รู้ในชุมชนและค้นหาจากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม

6. แกนนำเยาวชนมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมไม่ตรงกัน การแก้ไข แบ่งงานกันทำที่บ้านและยังได้ผู้ปกครอง พี่ และน้องมาช่วยในการทำกิจกรรม

7. อบรมมัคคุเทศก์ ถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อน ๆ ในโรงเรียน

      - มีปัญหาในเรื่องการจัดทำเอกสารขออนุญาตการใช้สถานที่

      - มีปัญหาเรื่องของแกนนำเยาวชนที่มีเวลาว่างไม่พร้อมกัน

8. กิจกรรมร่วมฟื้นฟูป่าไม่ได้ทำเนื่องจากสภาพอากาศยังไม่เหมาะต่อการปลูกกล้าไม้ เพราะอากาศร้อนมาก และยังมีฝนตกไม่ต่อเนื่องหากนำกล้าไม้ไปปลูก อาจจะทำให้กล้าที่ปลูกตายได้

9.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมดูแลป่าชุมชนบ้านสวนพลู – พุต่อ ยังไม่สามารถทำได้

     - เนื่องจากเรายังไม่สามารถรวบรวมกลุ่มเยาวชนได้จึงไม่สามารถจัดตั้งเยาวชนที่มาร่วมดูแลป่าชุมชนกับคณะกรรมการป่าชุมชนได้

     - การดูแลป่าชุมชนอันตรายเกินไปจึงไม่เหมาะที่จะให้เด็กขึ้นไปด้วยเวลาที่ออกลาดตระเวน หรือสำรวจป่า

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

1.ผลต่อกลุ่มเยาวชน (กระบวนการทำงาน, การขยายเครือข่าย, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น)

  • แกนนำเยาวชนได้รู้จักการวางแผนกระบวนการทำงานเอง
  • แกนนำเยาวชนได้ออกแบบการทำกิจกรรมต่าง ๆ เอง
  • ได้มีกลุ่มแกนนำเยาวชนเพิ่มมากขึ้น จากการทำกิจกรรม
  • แกนนำเยาวชนได้มีโอกาสในการติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่เอง
  • แกนนำเยาวชนได้รู้จักการทำงานร่วมกับบุคคลที่หลายรุ่น หลายวัย และต่างความคิด
  • เมื่อเจอกับปัญหาเวลาว่างไม่ตรงกันบ่อยครั้ง เยาวชนจึงเลือกวิธีต่างคนต่างเอากลับไปทำเองบ้านใครบ้านมัน และแต่ละคนก็ได้การเรียนรู้ที่แตกต่างกันกัน เช่น นุ๊กได้ทำงานร่วมกับครอบครัว แต๋ว สา ทำงานร่วมกัน แต่ได้วิธีการใหม่ๆในการเพาะเมล็ดพันธุ์ จากการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ตและทดลองทำกันอย่างจริงจัง

­

2.ผลต่อแกนนำเยาวชน (การพัฒนาศักยภาพ: มีทักษะ ความรู้ อย่างไรบ้าง) ยกตัวอย่างประกอบ

  • เยาวชนมีความกล้าแสดงออกในการสอบถามเกี่ยวกับป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  • เด็กในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งต้นน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน

­

3.ผลต่อชุมชนเป้าหมาย / ชุมชน (คุณภาพชีวิต, กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน, ความร่วมมือ, การสนับสนุน เป็นต้น)

  • เด็ก ๆได้เรียนรู้จุดเรียนรู้ที่สำคัญในป่าชุมชน เช่น บอนยักษ์ ต้นตะเคียนทอง ต้นยางใหญ่ที่มีการเผาเอาขี้ใต้มาใช้ในชีวิตประจำวันในสมัยก่อน
  • ชาวบ้านมาช่วยในการนำทางขึ้นไปปลูกป่าอากาศยานและยังให้ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งเขตเรียกชื่อป่า เช่น ป่าจะค้าน ป่าอู เป็นต้น
  • ผู้ปกครองของเด็ก ๆ มาช่วยในการดูแลความปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ

­

4.ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • เด็กในชุมชนรู้จักการใช้ทรัพยากรป่าชุมชนอย่างประหยัด
  • เด็กในชุมชนให้ความสำคัญกับป่าชุมชนและอยากอนุรักษ์ป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น

­

บทเรียน และข้อค้นพบ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

  1. การติดต่อประสานหากเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีการทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม และการส่งหนังสือเชิญต้องการล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 15 วัน
  2. ได้เรียนรู้วิถีการใช้ป่าชุมชนของชาวบ้าน
  3. ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเมล็ดพันธุ์ ที่หลากหลายวิธี โดยเฉพาะการเพาะเม็ดมะค่ามีหลากหลายวิธีมาก เราต้องมีการทดลองว่าวิธีไหนเพาะแล้วงอกมากที่สุด และเราก็รู้ว่า การตัดจุกเม็ดมะค่า แล้วทำแผลรอบ ๆ เปลือกสีดำ จากนั้นนำไปแช่น้ำจนพอง แกะเปลือกสีดำออก แล้วนำลงถุงเพาะ จะขึ้นมากกว่าวิธีอื่น ๆ
  4. เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง ได้เรียนรู้การทำงานเองโดยไม่มีผู้ใหญ่วางแผนการทำงานให้ และได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ทำเองรู้จักแก้ปัญหาเอง

­

อนาคตที่อยากทำต่อ

  • ตอนนี้ยังไม่มีแผนในการทำงานต่อเพราะต้องรีบทำโครงงานเพื่อจะเรียนจบ แต่มีความสนใจในงานแบบที่พี่ๆ ปลูกใจรักษ์โลกทำอยู่ รวมทั้งได้เห็นเพื่อนบางกลุ่มในปลูกใจรักษ์โลกปี2 ทำแล้วอยากเข้าไปในพื้นที่ของเขาและช่วยเหลือ เรียนรู้บ้าง อยากลองออกไปเรียนรู้พื้นที่อื่นบ้าง
  • บางคนอยากทำค่ายให้กับเด็กในชุมชนของตน ได้มีความรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมต่อๆ ไป

­

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน

­

­

นายอนุชา ป้อมคำ (นุ๊ก) อายุ 21 ปี

กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎนครสวรรค์

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“ทำด้วยใจ มีจิตอาสา มีใจสำนึกรักบ้านเกิด”


บทบาทหน้าที่

  • ผู้ช่วยวิทยากรกระบวนการ
  • ถ่ายรูปกิจกรรมการทำงาน
  • คณะกรรมการของเครือข่าย
  • เป็นคนขับรถซื้อของการทำงานและกิจกรรมต่างๆ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

“เมื่อก่อนไม่เคยคิดและออกแบบกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรม, ไม่เคยทำงานด้านการประสานงาน, ไม่เคยเล่นสันทนาการ แต่ตอนนี้เราได้ร่วมคิดออกแบบกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรม, ถ่ายรูปการทำกิจกรรม และเตรียมอาหาร, เล่นสันทนาการ”

­



น.ส.จิดาภา ดีเทียน (เจน) อายุ 18 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนหนองฉางวิทยา

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

ตอนหนูอยู่ ป.6 ได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนไปเข้าค่ายสิ่งแวดล้อมที่ห้วยขาแข้ง ทำให้หนูตระหนักถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ตอนนั้น ต้นไม้ ต้นน้ำ สิ่งแวดล้อมต่างๆกำลังถูกทำลาย สัตว์ป่า สัตว์ต่างๆกำลังจะหายไป หากมนุษย์ยังทำลายธรรมชาติกันอยู่แบบนี้คงไม่ดีแน่ และหนูก็เลยเริ่มที่ตัวหนูเอง ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ที่บ้าน ดูแลมันดีๆ ให้มันเติมโตมาได้อย่างสมบูรณ์ แล้วก็ไปค่ายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

­

จากนั้นตอนประมาณ ม.3 หนูก็ได้เข้าร่วมกับเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จากการจัดกิจกรรมวันเด็ก และหนูก็ทำงานกับเครือข่ายเรื่อยมา จากตอนนั้นจนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 3 ปีแล้ว และหนูก็จะทำตลอดไป ทั้งกิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่ทำกับเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี

­

เจน เป็นพี่เลี้ยงชุดเล็กในเครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี ปล.พี่เลี้ยงชุดเล็กคือคนที่ทำงานกับเครือข่ายเยาวชนอาสามาประมาณ 1-5 ปี ส่วนชุดใหญ่ก็ประมาณ 5-10 ปี

­



น.ส. จิราภัทร เล่าปิ่นกาญจน์ (เมย์) อายุ 21 ปี

กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

­

บทบาทหน้าที่

  • การลงทะเบียน เอกสารการเงิน
  • การประสานงาน
  • การทำตัวอย่างที่ดีเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องๆ
  • เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในการเตรียมอุปกรณ์
  • เป็นผู้ช่วยทีมสันทนาการ
  • อื่นๆ เพราะแต่ละหน้าที่ทุกคนย่อมมีส่วนร่วมในการทำงานไม่ว่าจะเป็นความคิดและการกระทำ
  • ออกแบบกิจกรรมค่าย, ประสานงาน, ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • ได้ร่วมคิดและวางแผนในการทำงานและทำกิจกรรมต่างๆ
  • ได้ฝึกการสังเกตเวลาลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลชุมชน
  • ได้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่และคนในชุมชนให้มาร่วมงานในโครงการ
  • ช่วยบันทึกข้อมูลในระหว่างการทำงาน
  • ลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนตัวเองมากขึ้น

­

แต้ว “ได้เข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่เก็บเมล็ดพันธุ์, ค้นคว้าหาวิธีเพาะเมล็ดพันธุ์, ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาป่าชุมชน, ลงพื้นที่ปลูกป่าชุมชน ทำให้แต้วได้เรียนรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาปลูกว่าเมล็ดพันธุ์ชนิดใดควรปลูกอย่างไร หรือดินแบบไหน”

­

ที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน

­

นาย ธนาคิม ดีเทียน (ม่อน) อายุ 28 ปี

­

บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน

  • ให้คำปรึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหา เวลาดำเนินงานในการทำงานเกี่ยวกับเยาวชน หรือทีมเวลาเจอปัญหาให้แก้ไข
  • การให้กำลังใจในการทำงานเพราะทีมบางที่เจอหนักก็ท้อต่อการทำงานเราต้องประคับประคองทีมไปให้ถึงที่หมาย
  • การนำอย่างเป็นรูปแบบเพื่อตัวอย่างที่ดี ต้องให้ใจเขาก่อน แล้วจึงจะได้ใจเขากลับมา
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ