โครงการปลูกต้นกล้าพัฒนาป่าชายเลน(กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน  จ.ชุมพร)
โครงการปลูกต้นกล้าพัฒนาป่าชายเลน(กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน จ.ชุมพร)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการปลูกต้นกล้าพัฒนาป่าชายเลน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการปลูกกล้า พัฒนาป่าชายเลน


กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน จ.ชุมพร


กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน เดิมทีโรงเรียนปะทิววิทยามีศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพรตั้งอยู่ภายในโรงเรียน และในการเรียนวิชาชุมนุมของโรงเรียนได้มีการจัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ในชุมนุมก็ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายเรื่องรวมถึงเรื่องป่าชายเลนด้วย แต่เดิมจะเป็นแค่การลงพื้นที่ไปปลูกป่าอย่างเดียว ซึ่งในปี 2556 ที่ผ่านมา พวกเราก็อยากจะทำโครงการขึ้นมาสักหนึ่งโครงการ โดยเลือกการทำงานเกี่ยวกับป่าชายเลน เพราะพวกเราคิดว่าการที่พาน้องๆ ลงพื้นที่ไปปลูกอย่างเดียว น้องๆ เขาไม่ค่อยได้ความรู้อะไรมากนัก เราจึงคิดที่จะทำโครงการที่เน้นไปในเรื่องของการสร้างแกนนำ สร้างศูนย์การเรียนรู้ จึงจัดตั้งกลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสนขึ้นมา เพื่อให้ความรู้แก่น้องๆ และผู้ที่สนใจ

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นายจีรวัฒน์ โพธิ์คีรี (โอ๊ต)         หัวหน้าโครงการ

2.นายพีรวิชญ์ เอมโอษฐ์ (พีร์)      รองหัวหน้าโครงการ

3.นางสาวอธิฐาน คธาชาติ (นุ่น)   เลขานุการโครงการ

4.นายสิทธิศักดิ์ พูลโพธิ์

5.นางสาวอัจจิมา เหล่าชัย

6.นางสาวนิภาภัทร สุขสวัสดิ์

7.นางสาวหนึ่งฤทัย ปลั่งดี

8.นางสาวกฤติมา จอมวัน

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงาน

ป่าชายเลนคลองบางสนเป็นพื้นที่สาธารณะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ริมป่าชายเลนและละแวกใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็กประมาณ 785 ครัวเรือนโดยประกอบอาชีพประมงชายฝั่งและประมงขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในปี พ.ศ. 2532 อำเภอปะทิวประสบกับปัญหาภัยพิบัติพายุไต้ฝุ่นเกย์อย่างรุนแรง ส่งผลให้ ป่าชายเลนคลองบางสนโดนทำลายเสียหายไปอย่างมาก ทำให้สภาพของป่าชายเลนคลองบางสนมีความเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ความหนาแน่นของป่าชายเลนลดน้อยลง สังเกตจากต้นไม้ในป่าชายเลนมีจำนวนค่อนข้างน้อยหากเทียบกับพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด บริเวณชายฝั่งป่าชายเลนและลำคลองเลียบป่าชายเลนคลองบางสนซึ่งเคยเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำถูกทำลาย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่มีจำนวนลดน้อย ประกอบกับมีนายทุนเข้ามาทำนากุ้งชายฝั่งทะเลและปล่อยน้ำเสียลงพื้นที่ป่าชายเลนทำให้สภาพน้ำมีกลิ่นเหม็น มีเศษขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเกาะติดอยู่กับรากของต้นโกงกางและพืชในป่าชายเลนชนิดอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพและการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งของชุมชนในบริเวณนั้น

­

โจทย์ปัญหา

ที่ผ่านมาป่าชายเลนคลองบางสนได้รับการฟื้นฟูมาบ้างแล้วจากชุมชน โรงเรียนในเครือข่ายและจากกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนปะทิววิทยา แต่พื้นที่ป่ายังขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าสมควรที่จะได้รับการดูแลและฟื้นฟูให้ดีขึ้น

­

ทำไมถึงสนใจทำโครงการ

จากปัญหาที่เกิดขึ้น กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน โรงเรียนปะทิววิทยาและชุมชน จึงร่วมกันจัดทำโครงการปลูกกล้า พัฒนาป่าชายเลนนี้ขึ้นมา โดยการร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนคลองบางสน ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางสน และร่วมกันปลูกป่าขึ้นมาใหม่รวมถึงปรับปรุงสภาพพื้นที่ป่าเดิมให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเพื่อให้ชุมชนมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่พักพิงของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารและการประกอบอาชีพให้กับชุมชนเหมือนในอดีต

­

เป้าหมาย

เพื่อให้ป่าชายเลนคลองบางสนมีระบบนิเวศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายไปด้วยสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเช่นอดีตที่ผ่านมา


กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  • สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเก็บข้อมูลทั้งในด้านความหลากหลาย กิจกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อไป
  • ทำสื่อให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทรัพยากรป่าชายเลนและนำไปสู่การดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาศักยภาพของแกนนำ ทั้งในด้านการศึกษาเก็บข้อมูลธรรมชาติ และการเป็นนักสื่อสาร เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ศึกษาไปบอกต่อกับคนอื่นๆ ในชุมชนได้
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการปลูกกล้า พัฒนาป่าชายเลน


กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน จ.ชุมพร


กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน เดิมทีโรงเรียนปะทิววิทยามีศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพรตั้งอยู่ภายในโรงเรียน และในการเรียนวิชาชุมนุมของโรงเรียนได้มีการจัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ในชุมนุมก็ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายเรื่องรวมถึงเรื่องป่าชายเลนด้วย แต่เดิมจะเป็นแค่การลงพื้นที่ไปปลูกป่าอย่างเดียว ซึ่งในปี 2556 ที่ผ่านมา พวกเราก็อยากจะทำโครงการขึ้นมาสักหนึ่งโครงการ โดยเลือกการทำงานเกี่ยวกับป่าชายเลน เพราะพวกเราคิดว่าการที่พาน้องๆ ลงพื้นที่ไปปลูกอย่างเดียว น้องๆ เขาไม่ค่อยได้ความรู้อะไรมากนัก เราจึงคิดที่จะทำโครงการที่เน้นไปในเรื่องของการสร้างแกนนำ สร้างศูนย์การเรียนรู้ จึงจัดตั้งกลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสนขึ้นมา เพื่อให้ความรู้แก่น้องๆ และผู้ที่สนใจ

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นายจีรวัฒน์ โพธิ์คีรี (โอ๊ต)            หัวหน้าโครงการ

2.นายพีรวิชญ์ เอมโอษฐ์ (พีร์)         รองหัวหน้าโครงการ

3.นางสาวอธิฐาน คธาชาติ (นุ่น)      เลขานุการโครงการ

4.นายสิทธิศักดิ์ พูลโพธิ์

5.นางสาวอัจจิมา เหล่าชัย

6.นางสาวนิภาภัทร สุขสวัสดิ์

7.นางสาวหนึ่งฤทัย ปลั่งดี

8.นางสาวกฤติมา จอมวัน

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงาน

ป่าชายเลนคลองบางสนเป็นพื้นที่สาธารณะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ริมป่าชายเลนและละแวกใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็กประมาณ 785 ครัวเรือนโดยประกอบอาชีพประมงชายฝั่งและประมงขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในปี พ.ศ. 2532 อำเภอปะทิวประสบกับปัญหาภัยพิบัติพายุไต้ฝุ่นเกย์อย่างรุนแรง ส่งผลให้ ป่าชายเลนคลองบางสนโดนทำลายเสียหายไปอย่างมาก ทำให้สภาพของป่าชายเลนคลองบางสนมีความเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ความหนาแน่นของป่าชายเลนลดน้อยลง สังเกตจากต้นไม้ในป่าชายเลนมีจำนวนค่อนข้างน้อยหากเทียบกับพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด บริเวณชายฝั่งป่าชายเลนและลำคลองเลียบป่าชายเลนคลองบางสนซึ่งเคยเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำถูกทำลาย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่มีจำนวนลดน้อย ประกอบกับมีนายทุนเข้ามาทำนากุ้งชายฝั่งทะเลและปล่อยน้ำเสียลงพื้นที่ป่าชายเลนทำให้สภาพน้ำมีกลิ่นเหม็น มีเศษขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเกาะติดอยู่กับรากของต้นโกงกางและพืชในป่าชายเลนชนิดอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพและการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งของชุมชนในบริเวณนั้น

­

โจทย์ปัญหา

ที่ผ่านมาป่าชายเลนคลองบางสนได้รับการฟื้นฟูมาบ้างแล้วจากชุมชน โรงเรียนในเครือข่ายและจากกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนปะทิววิทยา แต่พื้นที่ป่ายังขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าสมควรที่จะได้รับการดูแลและฟื้นฟูให้ดีขึ้น

­

ทำไมถึงสนใจทำโครงการ

จากปัญหาที่เกิดขึ้น กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน โรงเรียนปะทิววิทยาและชุมชน จึงร่วมกันจัดทำโครงการปลูกกล้า พัฒนาป่าชายเลนนี้ขึ้นมา โดยการร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนคลองบางสน ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางสน และร่วมกันปลูกป่าขึ้นมาใหม่รวมถึงปรับปรุงสภาพพื้นที่ป่าเดิมให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเพื่อให้ชุมชนมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่พักพิงของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารและการประกอบอาชีพให้กับชุมชนเหมือนในอดีต

­

เป้าหมาย

เพื่อให้ป่าชายเลนคลองบางสนมีระบบนิเวศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายไปด้วยสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเช่นอดีตที่ผ่านมา


กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  • สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเก็บข้อมูลทั้งในด้านความหลากหลาย กิจกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อไป
  • ทำสื่อให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทรัพยากรป่าชายเลนและนำไปสู่การดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาศักยภาพของแกนนำ ทั้งในด้านการศึกษาเก็บข้อมูลธรรมชาติ และการเป็นนักสื่อสาร เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ศึกษาไปบอกต่อกับคนอื่นๆ ในชุมชนได้

­

ต้นทุนเดิม (เครือข่าย, ความรู้, ทักษะ) ของกลุ่มเยาวชน

เป็นกลุ่มที่มีการทำงาน ทำกิจกรรมกับชุมชนในเรื่องการดูแลป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่นการปลูกป่าชายเลน ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ในการสนับสนุนค่าอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญต่างๆ เช่นการปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

ผลที่เกิดขึ้นกับตนเอง

  • การที่ได้ลงมือทำค่ายเอง ทำให้ได้พัฒนาศักยภาพของทีมงานในการออกแบบกระบวนการ
  • เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลนมากขึ้น และสามารถบอกต่อและสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้อีกด้วย
  • เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความชัดเจนมากขึ้นในการทำโครงการ เรียนรู้ที่จะตรวจสอบเป้าหมายในระหว่างทำโครงการเพื่อที่จะทำงานได้โดยไม่หลุดจากเป้าหมาย ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • เห็นคุณค่าในศักยภาพของตนเอง มีทักษะการเป็นผู้นำ เกิดความรู้ใหม่ๆ ความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำ ได้เห็นสิ่งที่ตนเองยังขาดและต้องการพัฒนา

­

ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน

  • จากการให้ข้อมูลสื่อประชาสัมพันธ์เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับป่าชายเลน ทั้งกับชาวบ้าน เด็กๆ และเยาวชนในชุมชนผ่านสื่อวิดีทัศน์ อีกทั้งยังพาเด็กๆ มาเข้าค่ายทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น นำพาไปสู่การร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรต่อไป
  • เกิดศูนย์การเรียนรู้ ให้ข้อมูลกับชาวบ้านและผู้ที่สนใจ สามารถมาศึกษาข้อมูลได้ แม้ยังมีข้อมูลไม่มากนักแต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต่อไป
  • ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนมากขึ้น

­

ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม

  • เมื่อชาวบ้านและเยาวชนเกิดความเข้าใจในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน ช่วยให้กระตุกคิดและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน และร่วมกันอนุรักษ์ให้ทรัพยากรป่าชายเลนดำรงอยู่ต่อไป

­

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว

  • การตอบรับหนังสือเชิญร่วมค่ายของโรงเรียนเครือข่ายมีความล่าช้าและไม่ครบถ้วน แก้ไขโดยการติดตามประสานงานพร้อมทั้งสอบถามสาเหตุที่มาร่วมค่ายไม่ได้และเพิ่มจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมในโรงเรียนแกนนำ
  • ในการจัดค่ายบางกิจกรรมสมาชิกค่ายไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากสมาชิกค่ายโดยส่วนใหญ่เป็นเด็ก แก้ไขโดยการนำเข้ากิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจ
  • ความพร้อมในการจัดค่ายค่อนข้างน้อย เช่น บางกิจกรรมมีการลืมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำกิจกรรม แก้ไขโดยการแบ่งพี่เลี้ยงส่วนหนึ่งไปหาอุปกรณ์เพิ่มเติมและมีการวางแผนให้ละเอียดถี่ถ้วนขึ้นเพื่อไม่ให้มีการผิดพลาดในกิจกรรมอื่นๆ
  • ในการจัดค่ายมีรายการโทรทัศน์เข้ามาขอร่วมถ่ายทำรายการ ทำให้แกนนำหลักไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

­

คุณค่าจากการทำโครงการ

เยาวชนในพื้นที่ สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบบ้านตนเองและลุกขึ้นมาตั้งกลุ่มเพื่อศึกษาข้อมูล ทำสื่อรณรงค์เผยแพร่จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลกับคนในชุมชน เพื่อการดูแลและใช้ทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชนสืบไป

­

การดึงให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมีแค่ไหน / มุมมองของชุมชนต่อกลุ่มเยาวชน

  • เนื่องจากโครงการมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่การสร้างแกนนำเด็ก ให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เพื่อนๆ และคนในชุมชนได้ ดังนั้นชุมชนจึงมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสื่อ ซึ่งก็มีชาวบ้านส่วนหนึ่งที่เข้าใจในเนื้อหาที่เยาวชนนำเสนอและร่วมสนับสนุน ความร่วมมือในการให้ข้อมูล และกลุ่มชาวประมงที่สนใจให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่จะมีชุมชนบางส่วนยังไม่ค่อยตระหนักกับประโยชน์ที่ได้รับในพื้นที่
  • มุมมองของคนในชุมชนต่อกลุ่มเยาวชน มีการให้การสนับสนุน ในเรื่องต่างๆ สนใจมาร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชน สื่อที่เผยแพร่ รณรงค์กับชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่ เข้าใจและเห็นด้วยนำไปสู่แนวทางการขยายเครือข่ายสู่ชุมชน

­

การสนับสนุนกลุ่มเยาวชน (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกลุ่มเยาวชน)

  • พี่สมโชค พันธุรัตน์ แกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบางสน : เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ มีบ้านพักติดกับป่าชายเลน มีแนวคิดเรื่องการพัฒนาศักยภาพเยาวชนและการดูแล ฟื้นฟูป่าชายเลน รู้จักกับครูนงคราญเป็นอย่างดี สามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆได้, สามารถสนับสนุนการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนได้, รู้จักและทำงานด้านสื่อท้องถิ่นและมีช่องทางในการเผยแพร่งานของเยาวชนได้
  • สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร (สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร) สามารถสนับสนุนเทคโนโลยี ความรู้ โดยการประสานผ่านพี่สมโชค

­

อนาคตที่อยากทำต่อ

  • ขยายพื้นที่ไปสู่ชุมชน จากเดิมจะเป็นการทำงานร่วมกับน้องๆ จากโรงเรียนเครือข่าย ซึ่งได้มีการประสานงานเบื้องต้นกับทางผู้นำชุมชนไปแล้ว ซึ่งผู้นำชุมชนก็เห็นด้วย
  • พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้มีความรู้ครบถ้วน

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน

­

­

นายจีรวัฒน์ โพธิ์คีรี (โอ๊ต) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนปะทิววิทยา

ทำหน้าที่ หัวหน้าโครงการ / เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม /คิดกระบวนการค่ายโดยรวม, นำกิจกรรมในค่าย, เก็บข้อมูลชุมชน

­

แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม

“ที่แรกผมไม่ได้ตั้งใจทำอย่างจริงจังคิดแค่ว่าสนุกแต่เมื่อเราได้มาลงทำกิจกรรม เราได้ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานทำให้เกิดจิตสำนึกรักในสิ่งแวดล้อมไปโดยไม่รู้ตัวและหลังจากนั้นก็หันมาทำงานอย่างจริงจัง”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

ได้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนมากขึ้น ทั้งชนิดพันธุ์ไม้ ประโยชน์ของพันธุ์ไม้ต่างๆ และพันธุ์สัตว์ในป่าชายเลน เกิดทักษะการทำโครงการมากขึ้นในเรื่องของการเขียนโครงการ กระบวนการจัดค่าย ตั้งแต่การวางแผนการเตรียมค่าย การดำเนินกิจกรรมในค่าย การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ฝึกกระบวนการคิด การพูด สามารถพูดหรือนำเสนอได้ดีขึ้น

­



นายพีรวิชญ์ เอมโอษฐ์ (พีร์) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนปะทิววิทยา

ทำหน้าที่ รองหัวหน้าโครงการ / เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม /ประสานงาน, นำกิจกรรมเกี่ยวกับป่าชายเลน, ออกแบบกิจกรรมในค่าย


แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม

“เมื่อตอนอยู่ ป.6 โรงเรียนได้เลือกผมเป็นตัวแทนมาเข้าร่วมทำกิจกรรมกับพี่สิ่งแวดล้อม โรงเรียนปะทิววิทยา ครั้งนั้นที่ผมได้ทำอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผมรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่สนุกมากและเมื่อผมย้ายมาอยู่โรงเรียนปะทิว ตอนชั้น ม.1 ผมก็เลือกที่จะอยู่ชุมนุมสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเลย”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

ได้มีการพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มมากขึ้น เมื่อก่อนผมเองก็เคยทำโครงการโดยที่ตนเองเป็นแกนนำมาบ้าง ซึ่งก็จะพอมีความรู้เกี่ยวกับการทำโครงการบ้าง แต่การที่มาทำโครงการนี้และได้เข้าค่ายเสริมศักยภาพกับปลูกใจรักษ์โลก ก็ได้รับความรู้เชิงลึกมากขึ้น หมายถึงขั้นตอนการทำโครงการทั้งหมด ซึ่งทำให้เราสามารถนำไปทำโครงการใหม่ๆ ของเราและพัฒนาโครงการอื่นๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ได้ และมีทักษะการทำงานกลุ่ม การเป็นพิธีกร และการนำสันทนาการด้วย เมื่อก่อนผมเองจะทำงานอยู่เบื้องหลังเสียส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้มีโอกาสจับไมค์ หรือทำงานหน้างาน แต่ตอนนี้ผมรู้สึกว่าผมสามรถทำงานเหล่านี้ได้ และจากการทำงานในครั้งนี้ ผมเองได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่เพิ่มขึ้นมากครับ

­


นางสาวอธิฐาน คธาชาติ (นุ่น) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนปะทิววิทยา

ทำหน้าที่ เลขานุการโครงการ / เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม / เก็บข้อมูล, วางแผนการทำงาน, เขียนและคิดงาน/ กิจกรรม, ประชาสัมพันธ์ประจำค่าย, สันทนาการในค่าย, พี่เลี้ยงค่าย

­

แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม

“หนูเป็นคนในพื้นที่ต้องการให้พื้นที่ของตัวเองมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ชีวิตความเป็นอยู่จะได้ดีขึ้น อีกอย่างหนึ่งหนูอยู่ในโรงเรียนที่เป็นศูนย์สิ่งแวดล้อมและโดนปลูกฝังให้รักษ์สิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียนแห่งนี้ เมื่อเห็นคุณครูที่ได้ทำโครงการอยู่จึงได้คิดว่าครูได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้สวยงามน่าอยู่ หนูจึงมีแรงบันดาลใจว่าอยากจะทำสังคมที่บ้านของหนูเองให้ดีขึ้นเลยเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

ที่เห็นอย่างชัดเจนในตัวเอง คือการเข้าสังคม การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขการใช้ชีวิตร่วมกับคนในชุมชน การทำงานที่เป็นระเบียบแบบแผน รักคลองบางสนที่หนูทำงานมากขึ้น ในการทำงานแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นงานที่ทำในห้องเรียนหรืองานสิ่งแวดล้อม จะมีการวางแผนงานก่อน เขียนเอาไว้เป็นข้อๆ งานไหนทำก่อนงานไหนทำหลัง งานไหนใครรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยในตัวเองมากขึ้น รู้จักการแก้ปัญหาในงานแต่ละชิ้นเพื่อทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ มีความกล้าแสดงออก จะทำงานอะไรไม่รั้งรอรีบทำให้สำเร็จ การยื่นเอกสารกับผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่เมื่อก่อนครูจะเป็นคนยื่นเอกสารให้ รู้จักการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้กับค่ายที่เราไปและค่ายที่เราจัดได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นทำให้หนูอยากทำงานสิ่งแวดล้อมต่อไปและชอบเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ทางโรงเรียนเสนอมาให้

­

พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา



นางนงคราญ คล้ายชูช่วย (ครูแอ๋) อายุ 59 ปี

ตำแหน่ง/อาชีพ ครู คศ.2 โรงเรียนปะทิววิทยา

­

บทบาท การหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน / กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ

  • สนับสนุนให้กลุ่มเด็กและเยาวชนทำโครงการอนุรักษ์ป่าพรุตาอ้ายร่วมกับชุมชนในโครงการฟื้นน้ำ อาหาร บ้าน ยา ผืนป่า พรุตาอ้าย” ร่วมปลูกป่า
  • สนับสนุนเด็กให้ทำโครงการ “เยาวชนคืนถิ่นแผ่นดินแม่ ข้าวเหลืองปะทิว” นำเด็กลงทำนาข้าวเหลืองปะทิวที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความรู้

­

แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม

“อำเภอปะทิวมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย ตัวเองเช้ามาเป็นครูในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2516 ต้องการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดให้มีในจิตใจของเด็กๆ ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมแล้วสนุกมีความสุข ดีใจเมื่องานที่ร่วมทำประสบผลสำเร็จ”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

ได้ แนวคิดการทำงานโดยให้เด็กระดมสมอง เพียงแต่เราเป็นผู้ชี้แนะ คอยให้คำแนะนำอยู่ห่างๆ สามารถทำงานได้อย่างมีระบบขั้นตอนที่ชัดเจน รู้จักสรุปบทเรียนหลังจากการทำงานผ่านไปแล้วทุกครั้ง รวมถึงได้ประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มงานต่างๆ มีกระบวนการ การทำงานเป็นขั้นเป็นตอน มีการวางแผนที่การทำงานที่ชัดเจน มีเหตุมีผล เข้าใจพื้นที่มากขึ้นคือรู้ปัญหาและความต้องการของพื้นที่ สุดท้ายมีความสนุกและความสุขจากการทำงาน

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ