โครงการเยาวชนวัยใส  ปลูกต้นไม้  ทำฝาย  สร้างเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที(กลุ่มเยาวชนเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที จ.ชุมพร)
โครงการเยาวชนวัยใส ปลูกต้นไม้ ทำฝาย สร้างเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที(กลุ่มเยาวชนเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที จ.ชุมพร)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนวัยใส ปลูกต้นไม้ ทำฝาย สร้างเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการเยาวชนวัยใส ปลูกต้นไม้ ทำฝาย สร้างเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที


กลุ่มเยาวชนเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที จ.ชุมพร


เมื่อพ่อแม่อยู่ในเครือข่าย “ธนาคารต้นไม้” เยาวชนเองได้มีส่วนร่วมช่วยโครงการต่างๆ และได้เข้าอบรมในโครงการเที่ยวไปปลูกไป อ.พะโต๊ะ จนต่อมาปี 2555 ได้เข้าร่วมอบรมผู้นำเยาวชน และจัดทำโครงการฝายและปลูกต้นไม้ ในพื้นที่บ้านห้วยทรายขาว ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร โดยมีเยาวชนในหมู่บ้านมาร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แม้จะมีอุปสรรคในการทำโครงการปลูกต้นไม้ในชุมชนโดยขัดแย้งกับนโยบายผู้นำท้องถิ่นบางท่าน แต่กลุ่มเยาวชนก็มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนกลุ่มเยาวชนจึงมีความสนใจที่จะต่อยอดจากโครงการเดิมจึงสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกใจรักษ์โลก

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวสิรินยา น่วมยิ้มประธานกลุ่ม

2.นางสาวสุทธิดา ถนนทองเลขานุการ

3.นายณรงค์ศักดิ์ โปช่วยเหรัญญิก

4.นายสราวุฒิ ถนนทอง

5.นายชาญณรงค์ เรืองคง

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ทำกิจกรรมของโครงการหมู่ที่ 13 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนนอกฤดูเป็นอาชีพหลัก รองลงมาเป็นสวนยางพารา และสวนปาล์ม พื้นที่ส่วนใหญ่ซ้อนทับเขตป่าอนุรักษ์คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว คนในชุมชนส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ต่างถิ่นทั้งจากจังหวัดต่างๆในภาคใต้และรวมถึงจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน บ้านเรือนในชุมชนอยู่ติดลำห้วยและจำเป็นต้องใช้น้ำจากลำห้วย ทั้งการอุปโภคบริโภค และการเกษตร รวมถึงการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำมากกว่า 200 หลังคาเรือน

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

เกษตรกรในพื้นที่เน้นการทำเกษตรสวนผลไม้หลักคือทุเรียน โดยเฉพาะทำทุเรียนนอกฤดูที่ต้องใช้สารเคมีมาก ทำให้มีสารเคมีตกค้างลงในลำน้ำ สัตว์น้ำมีจำนวนน้อยลง บางบ้านไม่สามารถใช้น้ำต้องซื้อน้ำกินและใช้ ทั้งที่ต้นน้ำที่มาจากป่ายังใสสะอาดแต่พอผ่านสวนทุเรียน และสวนเกษตรมีสารเคมีลงในน้ำ เห็นได้จากขยะบรรจุสารเคมี เช่นขวดสารเคมี ขวดยาฆ่าแมลงต่างๆในน้ำเป็นจำนวนมาก

­

เป้าหมายของโครงการ

เยาวชนพื้นที่มีจิตสำนึกเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ห้วยทรายขาวและร่วมช่วยในการอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต

­

กลุ่มเป้าหมาย

แกนนำเยาวชน, นักเรียน, ชาวบ้านในบ้านห้วยทรายขาว ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการเยาวชนวัยใส ปลูกต้นไม้ ทำฝาย สร้างเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที


กลุ่มเยาวชนเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที จ.ชุมพร


เมื่อพ่อแม่อยู่ในเครือข่าย “ธนาคารต้นไม้” เยาวชนเองได้มีส่วนร่วมช่วยโครงการต่างๆ และได้เข้าอบรมในโครงการเที่ยวไปปลูกไป อ.พะโต๊ะ จนต่อมาปี 2555 ได้เข้าร่วมอบรมผู้นำเยาวชน และจัดทำโครงการฝายและปลูกต้นไม้ ในพื้นที่บ้านห้วยทรายขาว ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร โดยมีเยาวชนในหมู่บ้านมาร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี แม้จะมีอุปสรรคในการทำโครงการปลูกต้นไม้ในชุมชนโดยขัดแย้งกับนโยบายผู้นำท้องถิ่นบางท่าน แต่กลุ่มเยาวชนก็มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนกลุ่มเยาวชนจึงมีความสนใจที่จะต่อยอดจากโครงการเดิมจึงสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกใจรักษ์โลก


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวสิรินยา น่วมยิ้มประธานกลุ่ม

2.นางสาวสุทธิดา ถนนทองเลขานุการ

3.นายณรงค์ศักดิ์ โปช่วยเหรัญญิก

4.นายสราวุฒิ ถนนทอง

5.นายชาญณรงค์ เรืองคง

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ทำกิจกรรมของโครงการหมู่ที่ 13 ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนนอกฤดูเป็นอาชีพหลัก รองลงมาเป็นสวนยางพารา และสวนปาล์ม พื้นที่ส่วนใหญ่ซ้อนทับเขตป่าอนุรักษ์คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว คนในชุมชนส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ต่างถิ่นทั้งจากจังหวัดต่างๆในภาคใต้และรวมถึงจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน บ้านเรือนในชุมชนอยู่ติดลำห้วยและจำเป็นต้องใช้น้ำจากลำห้วย ทั้งการอุปโภคบริโภค และการเกษตร รวมถึงการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำมากกว่า 200 หลังคาเรือน

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

เกษตรกรในพื้นที่เน้นการทำเกษตรสวนผลไม้หลักคือทุเรียน โดยเฉพาะทำทุเรียนนอกฤดูที่ต้องใช้สารเคมีมาก ทำให้มีสารเคมีตกค้างลงในลำน้ำ สัตว์น้ำมีจำนวนน้อยลง บางบ้านไม่สามารถใช้น้ำต้องซื้อน้ำกินและใช้ ทั้งที่ต้นน้ำที่มาจากป่ายังใสสะอาดแต่พอผ่านสวนทุเรียน และสวนเกษตรมีสารเคมีลงในน้ำ เห็นได้จากขยะบรรจุสารเคมี เช่นขวดสารเคมี ขวดยาฆ่าแมลงต่างๆในน้ำเป็นจำนวนมาก

­

เป้าหมายของโครงการ

เยาวชนพื้นที่มีจิตสำนึกเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ห้วยทรายขาวและร่วมช่วยในการอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต

­

กลุ่มเป้าหมาย

แกนนำเยาวชน, นักเรียน, ชาวบ้านในบ้านห้วยทรายขาว ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

จากแผนงานเดิมของโครงการ คือสำรวจสภาพคุณภาพน้ำในพื้นที่ในแต่ละลำน้ำย่อย สัมภาษณ์สถานการณ์ ผลกระทบ ปัญหา ทำการรวบรวมเป็นฐานข้อมูล และเผยแพร่สู่ชุมชน

กิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงคือจัดค่ายเยาวชนอนุรักษ์น้ำในพื้นที่ห้วยทรายขาว

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

  • ผู้ใหญ่ในชุมชนได้รับรู้โครงการที่เยาวชนตั้งใจจะทำ จากการติดตามในพื้นที่พบมีผู้ใหญ่และผู้ปกครองของแกนนำรับรู้การวางแผนงานของเยาวชนพร้อมให้การสนับสนุน

­

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว

  • ความสำเร็จจากการทำค่าย มีความร่วมมือจาก โรงเรียน ตชด. มีความช่วยเหลือจากเครือข่ายในอำเภอพะโต๊ะ (หน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ) มาช่วยเป็นวิทยากรในการจัดค่าย เยาวชนที่เป็นแกนนำมีความตั้งใจในการเป็นพี่เลี้ยงค่ายได้อย่างดี
  • ความล้มเหลวของกิจกรรมที่วางแผนไว้ แต่ไม่ได้ทำกิจกรรมตามแผนงานมาจาก มีภารกิจส่วนตัวของแกนนำแต่ละคน

น.ส.สุทธิตา ถนนทอง (กัส) มีภารกิจส่วนตัวที่ดึงความสนใจในทางอื่นจนไม่มีเวลาทำกิจกรรม มีความท้อใจไม่อยากทำ (จากการสอบถามกับน้องชาย(น้องเณร)ที่มาค่ายที่สอง)

น.ส.สิรินยา น่วมยิ้ม (เมย์) มีภารกิจเรื่องการเรียนที่ต้องเรียนพิเศษอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวไปเรียนต่อที่ประเทศจีน(จากการสอบถามคุณพ่อ (พี่ยา))

­

นายณรงค์ศักดิ์ โปช่วย (รักษ์) มีสวนทุเรียนที่ทำนอกฤดูที่ครอบครัวยกให้ทำเองจึงต้องรับผิดชอบทำอย่างต่อเนื่องจึงไม่มีเวลา (จากการเล่าของกัส กัส: สมรักษ์ มีสวนทำทุเรียนนอกฤดูมีรายได้ปีละหลายแสนรถกระบะก็ซื้อเอง)

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน



นางสาวสิรินยา น่วมยิ้ม (เมย์) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนศรีวิทยา

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“เนื่องด้วยหมู่บ้านที่อาศัยเป็นหมู่บ้านที่ติดกับป่าของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้ฟังมาจากบิดามารดาคร่าวๆว่า ที่ชาวบ้านสามารถอยู่บนป่าต้นน้ำนี้ได้เพราะมีการตกลงกันว่าจะปลูกป่าทดแทนใช้ไม้ในการทำบ้านเรือนเท่านั้น แต่นั้นเป็นเรื่องราวที่ไม่ค่อยมีใครตระหนักถึง จึงมีคนเปิดป่ามากมายแล้วไม่ปลูกทดแทน ปัจจุบันป่าเริ่มหมดความอุดมสมบูรณ์เริ่มไม่เหมือนเก่า มีโอกาสได้ดูรายการคนค้นคนเขาเล่าถึงลุงคนหนึ่งที่มีบ้านอยู่ในเขตอุทยานแบบเดียวกับหมู่บ้านของดิฉันได้โดนยึดที่ดินคืน เพราะเขาถางป่าปลูกต้นยางพารา จึงทำให้ดิฉันกลัว กลัวว่าสักวันถ้าหมู่บ้านยังเป็นแบบเดิมอยู่ กลัวว่าจะโดนยึดที่ทำกินเดิมเหมือนกับในรายการแล้วถ้าเป็นเช่นนั้น ครอบครัว พี่น้อง จะอยู่กันอย่างไร อยู่ที่ไหนถ้าที่ดินโดนยึดให้เป็นป่าเหมือนเดิม”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์น้ำ
  • หลังจากผ่านการอบรมค่ายที่1 การเขียนโครงการน้องเมย์กล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้นทั้งจากการลงพื้นที่ติดตามโครงการและจากการพบเจอในค่ายที่ 2 (แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพการทำโครงการ)
  • การเรียนรู้และการออกแบบกิจกรรมของเยาวชนไม่สามารถในห้องฝึกอบรมได้แต่เมื่อลงพื้นที่ในชุมชนของตนเองพบเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในลำน้ำจึงสามารถออกแบบกิจกรรมตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ของโครงการได้

­


นางสาวสุทธิตา ถนนทอง (กัส) อายุ 19 ปี

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“ลุงพงษา ชูแนม เป็นแรงบันดาลใจให้เข้าร่วมกับกลุ่มเยาวชนเพราะเคยเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้และมีใจรักษ์ในการปลูกต้นไม้ จึงเริ่มเข้ามาอยู่ในกลุ่มเยาวชน หลังจากนั้นก็ได้ทำกิจกรรมต่างๆมาเรื่อยๆ”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

“การเรียนรู้ที่ได้เยอะจากค่ายแรก เราได้เรียนรู้เรื่องการเขียนโครงการ จากที่ไม่รู้ก็ได้รู้และเก็บข้อมูลกลับไปได้เยอะ สามารถนำไปทำต่อในชุมชน เรื่องการวางแผน กระบวนการ ความสำเร็จคือเราได้เข้าร่วมในค่ายบ่อยๆ ทำให้มีความสำเร็จ เป้าหมายจะติดอยู่ที่การทำงานที่มีอุปสรรค คือวางแผนการทำงานไว้แล้วแล้วทำไม่ได้ตามที่วางแผนไว้”

­


นายณรงค์ศักดิ์ โปช่วย (สมรัก) อายุ 17 ปี

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“ครอบครัวมีความสนับสนุนในการเข้าร่วมโครงการและผมก็มีใจรักในการปลูกป่า และได้มีโอกาสได้เข้าร่วมกลุ่ม เพราะเคยเข้าอบรม ลุงพงษา ชูแนม จึงชักชวนเข้ากลุ่ม หลังจากนั้นก็ได้ทำกิจกรรมต่างๆมาเรื่อยๆ”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

จากที่เห็น เมื่อผ่านการอบรมในค่ายที่ 1 (การเขียนโครงการ), พี่ลงพื้นที่ติดตาม และเมื่อผ่านการอบรมในค่ายที่ 2 (แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพ) สามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงในค่ายที่ 3 พบว่าสนใจในกิจกรรมมากขึ้น(จากเดิมจะสนใจแต่โทรศัพท์มือถือทุกครั้งที่ว่างจะต้องหยิบมาเล่น) กล้าแสดงออกมากขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆกลุ่มเยาวชนอื่นๆมากยิ่งขึ้น กล้าพูดและแสดงความคิดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ที่ผ่านมาถามคำถามหรือให้แสดงความคิดใดๆยากมาก ไม่กล้าแสดงออก)

­

สมรักษ์ “กล้าพูดกล้านำเสนอโครงการ รู้จักหลักการและวิธีการเขียนโครงการ ได้ความรู้ และได้ร่วมคิดกระบวนการ มีความสุข มีความภูมิใจ และอยากทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้นหลังจากทำกิจกรรมค่าย”

­

พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา

นายธนชัย น่วมยิ้ม (ญา) อายุ 46 ปี

บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน “ประสานงานกับกลุ่มเยาวชน ให้กำลังใจ และติดตามเยาวชนในการทำกิจกรรม ประสานงานทีมวิทยากรจัดค่าย”

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ