กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
“เวทีเติมพลังเสริมความคิดสำนึกพลเมืองเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ” โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ความเป็นมา


          ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น)  ได้ดำเนินโครงการ พัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมาย คือ “เยาวชนพลเมืองศรีสะเกษ เป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์” เพราะเด็ก เยาวชนมีศักยภาพและเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น เพียงผู้ใหญ่เปิดโอกาส เปิดพื้นที่การ เรียนรู้ให้เด็กเยาวชนได้คิดเอง ทำเอง แสดงศักยภาพของตนเองที่สร้างสรรค์ในการคิดวิเคราะห์ ศึกษาความรู้ วางแผน ลงมือทำจริงบนฐานความรู้ และสรุปบทเรียนจากการลงมือทำจริงผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน (Community Based Project) เพราะเราเชื่อว่า “การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการคิดและลงมือทำจริงบน ฐานความรู้” กระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษเพื่อสร้างพลังเยาวชนพลเมืองศรีสะเกษ 1 ปีที่ผ่านมา เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมระหว่างเด็กเยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน พี่เลี้ยงหรือโค้ชในพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพี่เลี้ยงหรือโค้ชทำหน้าที่ในการหนุนเสริมจัดกระบวนการเรียนรู้ ตั้งคำถาม ชวนคิด ชวนคุย ชวนวิเคราะห์ ชวนสรุปบทเรียน เพื่อให้เยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นศรีสะเกษร่วมกันโดยมีกระบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติการ 6 ขั้นตอน คือ 

     1) การพัฒนาข้อเสนอ โครงการของกลุ่มแกนนำเด็กเยาวชน ชุมชน พี่เลี้ยงในพื้นที่

     2) การศึกษาข้อมูลความรู้ชุมชน 

     3) การเสริม ทักษะชีวิตและแรงบันดาลใจในการทำงาน 

     4) การลงมือทำปฏิบัติการจริงบนฐานความรู้ 

     5) การถอดบทเรียน 

     6) การสื่อสารสังคม/เทศกาลแห่งการเรียนรู้  

          ทั้งหมดนี้เป็นเส้นทางในการสร้างพลังพลเมืองเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ มีคุณภาพ โดยเน้นการสร้างคุณลักษณะเยาวชนพลเมืองที่ดี คือ สำนึกรักท้องถิ่น สำนึกความเป็นพลเมือง คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ใช้ข้อมูลความรู้ในการทำงาน รู้จักตนเอง มีทักษะการจัดการโครงการ มีการทำงาน ร่วมกันเป็นทีมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น กล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์รู้เท่าทันสื่อและเป็นแกนนำพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นแผ่นดินเกิดของตนเอง ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา สามารถเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชนได้คิดเอง ทำเอง และ ปฏิบัติการโครงการเพื่อชุมชนบนฐานความรู้ในพื้นที่ 4 อำเภอ จำนวน 10 โครงการ ผ่านกระบวนการเติมพลัง และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ ทำให้เกิดกลุ่มแกนนำเยาวชนในการ สืบทอด อนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น การเรียนรู้วิถีการหาอยู่หา กินบนฐานทรัพยากรในชุมชน การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ก่อเกิดเป็นพลังเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ (Active Citizen) ที่เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเอง ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันได้อย่างมีคุณค่า  

          การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2 จึงเป็นการออกแบบเพื่อสร้าง กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มแกนน าเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน พี่เลี้ยงหรือโค้ช เพื่อ เปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้กลุ่มแกนนำเด็กเยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ศรีสะเกษ โดยมีการดำเนินการประชาสัมพันธ์รับข้อเสนอโครงการ การค้นหาโจทย์ สิ่งที่กลุ่มแกนนำเด็ก เยาวชนอยากทำร่วมกันในพื้นที่ผ่านการหนุนเสริมเติมพลังจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน พี่เลี้ยงหรือโค้ชใน พื้นที่ โดยการตั้งคำถาม ชวนคิด ชวนคุย ชวนวิเคราะห์ปัญหา ผลกระทบที่มีต่อชุมชนตนเอง ทุนชุมชนหรือ ของดีที่มีในชุมชนตนเองแล้วนำมาออกแบบ พัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองจาก การดำเนินการดังกล่าวมีโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้น จำนวน 20 โครงการ  

          ดังนั้นศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จึงได้จัด “เวทีเติมพลัง เสริมความคิดสำนึกพลเมืองเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ” เพื่อให้เป็นเวทีใน การเติมเต็มพลังเสริมความคิดโดยกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสำนึกพลเมือง กลุ่มแกนนำเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นตนเองและโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2 ให้มีความชัดเจนมากขึ้น  

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อเติมเต็มเสริมพลังกลุ่มเยาวชนให้มีความชัดเจนในการดำเนินโครงการ

    เพื่อชุมชน 

2. เพื่อสร้างความเข้าใจทีมพี่เลี้ยงในการสร้างสำนึกพลเมืองผ่านการทำโครงการ เพื่อชุมชน 

3. เพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการร่วมกัน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ