โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network For Change : UNC)
โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network For Change : UNC)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 การออกแบบสื่อและการสื่อสาร...ร่วมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้น่าอยู่
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 : การออกแบบสื่อและการสื่อสาร...ร่วมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้น่าอยู่ โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network for Change : UNC)
วันที่ 27 มีนาคม 2559 ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วัตถุประสงค์

­เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการผลิตสื่อสร้างสรรค์โดยมีกรอบการนำเสนอดังนี้


1.กระบวนการได้มาซึ่ง “หัวเรื่อง” ในการสื่อสาร

  ·วิธีการศึกษาข้อมูล (ทำอย่างไร)

  ·ข้อมูลที่ได้ (ได้ข้อมูลอะไร)

  ·วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและ สรุปเป็น “หัวเรื่อง” ในการสื่อสาร (ทำอย่างไร)

2.เป้าหมายในการสื่อสาร

    ·หัวเรื่องในการสื่อสาร (เรื่องอะไร)

    ·เหตุผล (ทำไมถึงเลือกเรื่องนี้)

    ·กลุ่มเป้าหมาย (ต้องการสื่อสารเรื่องนี้กับใคร)

    ·ความคาดหวัง (ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้อะไร และนำสู่การเปลี่ยนแปลงความคิด 

     หรือ พฤติกรรมอย่างไร)

3.รูปแบบและกลยุทธ์ในการสื่อสาร

   ·องค์ประกอบเรื่อง หรือ เนื้อหาที่จะสื่อ

   ·รูปแบบ/ประเภทสื่อทีเลือกใช้

   ·กลยุทธ์ในการสื่อสาร 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 : การออกแบบสื่อและการสื่อสาร...ร่วมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้น่าอยู่ วันที่ 27 มีนาคม 2559 ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเวทีเวิร์คช้อป 2 

“..ผมมีความเชื่อว่าสื่อมีพลังในการสร้างสรรค์สังคม พวกเราผลิตสื่อโดยตรง มีส่วนช่วยพัฒนาหรือผลักดันปัญหาของประเทศไทยได้... วันนี้จุฬาฯ ยินดีต้อนรับกรรมการ คณาจารย์ และนักศึกษา ทุกท่านในเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมฯ” กล่าวต้อนรับ โดย รศ. ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

­


Who am i?
“...นำเสนอคอนเซ็ปต์ให้เด็กรู้จักตนเอง หากรู้ว่าจะประกอบอาชีพอะไรที่ตนเองรัก ผลจะทำให้เกิดเคารพอาชีพและเกิดคุณค่ากับสังคมตาม ถ้าเด็กขาดความเข้าใจในตนเองและมีความรู้เรื่องอาชีพไม่เพียงพอ อาจจะทำให้น้องขาดความสุขในการเรียน และไม่พัฒนาตนเอง...กลุ่มเป้าหมายนักเรียน ม.3 และ ม.6 ”
นักศึกษาจากกลุ่มปรคนธรรพ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร กับประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กไทย
คณะกรรมการต่างชื่นชมแนวคิดในการนำเสนอที่ตรงกับปัญหาในปัจจุบันและใส่คุณค่าความเป็นมนุษย์เข้าไปในงาน
“....แนะนำเพิ่มเติม สัมภาษณ์คนที่มีอุดมคติแบบไหน แนวโน้มของคนอาชีพนั้นคิดอย่างไร สิ่งที่เราสนุกนั้นมีกี่ส่วนต้องไปหาrool model ในอาชีพนั้น ถ้าเด็กอยากเข้าอาชีพนี้ต้องมีมุมมองอย่างไร คุณวิมลศรี ศุษิลวรณ์ โรงเรียนเพลินพัฒนา ให้ข้อเสนอแนะ

­

 


การเรียนการสอนที่ดีมาจากครู

นักศึกษานำเสนอคอนเซ็ปต์ ฆูรู ที่เป็นคำสมาสระหว่าง ฆูรู + ครู ( ฆูรู แปลว่าครู) เพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นปัญหาในสังคม โดยมี Key massage การเรียนการสอนที่ดีมาจากครู

นักศึกษาได้นำเสนอการลงพื้นที่จริง ในพื้นที่ที่ห่างไกลและการศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอนเช่น เรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ให้เห็นภาพจริงของศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีว่าสามารถช่วยเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้จริงหรือเปล่า

นักศึกษาจากคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี กับการศึกษาไทยถึงเวลาต้องเปลี่ยน เรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

- ประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแก้ได้ด้วยเทคโนโลยี จริงหรือเปล่า และคำว่าคุณภาพการศึกษา แต่ละคนตีความเหมือนกันหรือไม่ -

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ตั้งคำถามทิ้งไว้ให้ขบคิด

­

ทักษะคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยต้องการ

นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม นำเสนอ 4 ประเด็น 1.ลูกเล่น - เรื่องการอ่านที่น้องๆ คิดว่าปัจจุบันมี ปัญหาเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง 2.Care คนชิด คิดก่อน Share การแชร์ในเฟสบุ๊คต้องคิดก่อนแชร์ออกไป 3.ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญต่อวัยรุ่นในปัจจุบัน และ 4.ทักษะการเรียนรู้จากการลงมือทำ นี่คือทักษะคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยต้องการจากวัยรุ่นยุคนี้ ที่น้องๆ ได้นำเสนอที่ให้วัยรุ่นรู้เท่าทันสื่อและการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เด็กๆ เรียกร้องจากผู้ปกครอง ที่น้องๆ..
นักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในประเด็นทักษะคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยต้องการ 

คุณมรกต เหรียญทอง บริษัทโอกิลวี่ เอเจนซี่ ให้ข้อเสนอแนะ
การตั้งเป้าหมายว่าต้องการเปลี่ยนทัศนคติของผู้รับสารนั้น แต่จุดคัดง้านแต่ละประเด็นยังไม่แข็งแรงพอ อยากให้น้องๆ กลับไปดูที่ จุดคัดง้านด้วยจะช่วยได้"

คุณภูริพงษ์ ลิมวนาทิพงษ์ บริษัทโอกิลวี่ เอเจนซี่ ให้ข้อเสนอแนะ
"..ผมคิดว่าน้องๆ ควรจะรวมทั้ง 4 เรื่อง เข้าด้วยกันด้วยการใช้ดีไซน์ เปลี่ยนคอนเทสเป็นรูปภาพจะทำให้การนำเสนอดูเข้าใจง่ายขึ้น..."

­

­


คิดก่อนแชร์

นำเสนอทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดก่อนแชร์
มองเห็นปัญหาในปัจจุบัน คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเร็วบางข้อมูลจริง บางข้อมูลเท็จ
เช่น การแชร์เรื่องสุขภาพที่เป็นข้อมูลเท็จ แต่คนยังแชร์ ทำให้ส่งผลต่อสังคม คาดหวังผลงานที่ทำออกไปจะส่งผล
ให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในความคิดก่อนที่จะแชร์อะไรในโซเชียล ใช้กิมมิกคล้ายจดหมายลูกโซ่มาเป็นตัวเล่นในงานของตนเอง

นักศึกษาจากคณะศิลปกรรม ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ในประเด็น ทักษะคนรุ่นใหม่ที่สังคมไทยต้องการ

คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) คณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะ

"...น่าจะเป็นการนำเสนอให้เกิดการสร้างพฤติกรรมใหม่ ในการโพสต์ น่าจะสร้างให้เกิดชุมชนการแชร์ที่ดี ทำเป็นไอเดีย นำเสนอภาพกราฟฟิค โค้ดคำพูด ให้ฉุกคิด น้องกำลังสร้างชุมชนร่วมรณรงค์คิดก่อนแชร์...หาผู้มีอิทธิพลในสังคมออนไลน์ มาเป็นกลุ่มด้วย เช่น 10 ข้อ ของการแชร์ที่ดี ที่คนสามารถนำไปใช้ต่อได้ทันที"

­

­

ฝันที่หายไป
นำเสนอสื่อในชื่อเรื่อง ความฝันที่หายไป เพื่อนำเสนอ ความต้องการของเด็กในปัจุจุบันคืออะไร และพ่อแม่ต้องการให้ทำอะไร นั่นคือสิ่งที่นักศึกษาได้ลงสำรวจความต้องการปรากฏว่ามีความต้องการสวนทางกัน
อยากให้ผู้ปกครองได้ฉุกคิดว่ามองข้ามความฝันของลูกไปหรือเปล่า
ภาพที่ต้องการสื่อ..
-การสะท้อนความฝันของเด็กและเราเคยมองข้ามความฝันของเด็กหรือเปล่า คือคำถามที่นักศึกษากลุ่มนี้จะสื่อไปถึงพ่อแม่

นักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร

คุณภูริพงษ์ ลิมวนาทิพงษ์ บริษัท โอกิลวี่ เอเจนซี่ คณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะ..

-สิ่งที่น้องใช้ massge ฝันที่หายไป จริงๆ ไม่ได้หายไป แต่เป็นปัญหาพ่อแม่กับลูกไม่เข้าใจกัน
-ฝันของพ่อแม่และลูกนำมาแชร์กันได้
-ถ้าเราทำข้อมูลฝันของพ่อ จะได้เข้าใจอินไซด์ของพ่อจริงๆ คืออะไร เพื่อมาแชร์ให้ลูกเห็น จะดีไหมการได้จูนกัน แชร์กัน สุดท้ายกลายเป็นความฝันของครอบครัวน่าจะเป็นความฝันที่มีความสุขก็ได้

­


ขอเป็นตัวกลาง...

นักศึกษากลุ่มบรรทัดทอง เลือกหัวข้อปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์และออกแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษา... อยากเป็นกระบอกเสียงให้เด็ก ผู้ปกครอง ครู เห็นทัศนคติทั้งสองด้านที่สะท้อนกันไปมา เหมือนเราเป็นตัวกลางของพวกเขา...
นักศึกษาจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร

คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) คณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะ

- เลือกโจทย์ที่เป็นไปได้ในการทำงาน
- นำงานด้านวิชาชีพมาแก้ไขปัญหาวิชาการ

­


หัวข้อ "ปัญหาป่าน่าน" จากคณะศิลปะกรรมศาสตร์ ม.บูรพา

"...จากการลงพื้นที่ทำให้เราได้ข้อมูลหลายอย่าง ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่
คือ ภูเขาจะโล้น เพราะป่าไม้ถูกทำลาย และมีผลจากการทำเกษตรกรรม
นั่นคือ ถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพดของชาวบ้านในพื้นที่ที่มีมากเกินไป..."
วัตถุประสงค์ในการศึกษา คือต้องการออกแบบสื่อเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนในอนาคต
เพื่อให้ชุมชนอยู่ได้ และคนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของตนเอง

ข้อเสนอแนะจากกรรมการ
1.ก่อนที่จะนำ"สาร" เพื่อสื่อความหมายไปสู่สาธารณะ ต้องแปรข้อมูลให้ชัดเจนและคำนึง ถึงกลุ่มเป้าหมายว่าเขาจะได้รับอะไร

2.ต้องกลับไปทบทวนว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราจะสื่อสารไปถึง...มีใครบ้าง

3.ใช้สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม

4.น้ำเสียงในการสื่อสารต้องเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อโน้มน้าว
ให้ผู้รับสารเกิดพฤติกรรมบางอย่างที่เราต้องการบอกไป เช่น ให้คนหันมาช่วยกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำที่สำคัญของจ.น่าน เป็นต้น

­

­

­"ผืนป่าห้วยขาแข้ง" 

จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (วิจิตรศิลป์) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

"...จากที่ฟัง อ.ศศินเล่าครั้งก่อน รู้สึกว่าอยากไปเห็นด้วยตา จึงตัดสินใจลงพื้นที่จริง ทำให้รู้ว่าความงามของป่าเป็นยังไง ความเป็นสำนึกของพลเมืองอยู่ตรงไหน...จนได้เจอพี่เอก เจ้าหน้าของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
และสนใจอยากนำเสนอเรื่องราวชีวิตของคนที่ต้องทำหน้าที่เป็นนักอนุรักษ์ป่า แต่อีกด้านนึงของชีวิตก็ได้ใช้ชีวิตแบบคนเมือง...ผ่านรูปแบบการทำหนังกึ่งสารคดี เพื่อสะท้อนให้เห็นมุมการใช้ชีวิตของนักอนุรักษ์ป่าไม้..."

ข้อเสนอแนะจากกรรมการ

1.ไอเดียในการนำเสนอน่าสนใจ แต่ต้องเพิ่มเติมในเรื่องของการเลือกพื้นที่ที่ในการจัดงาน เพราะคนจะต้องจดจ่อเนื้อหาของหนังที่เรานำเสนอ
2. กลยุทธ์ของการนำเสนอ อย่างเช่นเรื่องความรักไม่จำเป็นต้องเป็น ลักษณะคนกับคนก็ได้ อาจจะนำเสนอในมุมของสัตว์กับคน ป่ากับคน เพราะประเด็นเหล่านี้เป็นอะไรที่น่าสนใจ เพียงแต่ถ่ายทอดสื่อกลางที่เป็นคน อีกอย่างควรถอยการทำ gimmick ดูบ้าง จะทำให้เรามองเห็นเทคนิคมากขึ้นและจะทำให้งานของเราสัมฤทธิ์ผลได้

­

­FOR REST’S Life - ชีวิตของป่า(ตะวันตก)

จาก คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร

"...ที่ทำเรื่องนี้เพราะมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว...เรื่องการจัดการน้ำมีความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เนื่องจากมีความหลายหลากทางชีวภาพ... "

เป้าหมาย
1.ต้องการให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการจัดการน้ำและการสร้างเขื่อน
2.ตระหนักถึงความสำคัญและสร้างกระแสการอนุรักษ์ผืนป่า

ขอเสนอแนะจากกรรมการ
1.เรื่องการสร้าง attitude เพื่อโน้มน้าวใจคนที่คิดต่างให้มีมุมมอง
เหมือนเรา
2. เติม content เพื่อสร้าง network และแนวร่วมในการรณรงค์หรือการ
อนุรักษ์
3.ข้อควรระวัง คือ การเล่าเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะไปจะทำให้งานขาด
เสน่ห์ และความน่าสนใจ

­

­คิดด้วยมือ...เรียนรู้ด้วยใจ

ช่วงเย็นนักศึกษาทั้ง 18 กลุ่ม ได้ร่วมกิจกรรม Design Thinking : คิดด้วยมือ...เรียนรู้ด้วยใจ นักศึกษาส่วนหนึ่งได้ร่วมสะท้อนการเรียนรู้ที่เข้าร่วมโครงการ

- ตัวเราเหมือนเป็นหมีที่มาช่วยฟื้นฟูปัญหาโดยการช่วยกันแก้ไข
- การเดินทางของฉันคือการเรียนรู้ ได้ดีที่สุดคือตัวเรา ได้สัมพันธ์
กับเพื่อนในการทำงาน ก่อนร่วมงานบางทีเราไม่ถูกกันใน
มหาวิทยาลัย พอทำงานกลุ่มทำให้ถูกกันมากขึ้น
ความรู้ที่ตกผลึก ในการมาหาข้อมูลเป็นความรู้ที่อยากจะกลั่น
ออกมาทั้งหมด

พบกันใหม่เวิร์คช้อปครั้งที่ 3 วันที่ 23 เมษายน ที่ ม.รังสิต

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ