โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network For Change : UNC)
โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม เพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ (University Network For Change : UNC)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ลงพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์



นักศึกษาจากสาขาวิชาจิตรกรรม และสาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

ที่สนใจประเด็นทรัพยากร 

ลงพื้นที่เรียนรู้เพื่อทำข้อมูลผลิตสื่อที่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี 

และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 18 – 21 มีนาคม 2559


เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network for Change : UNC) ภายใต้โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ปี 3

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

นักศึกษา ม.ลาดกระบัง ลงพื้นที่เรียนรู้จากโจทย์จริง


                             

นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กลุ่มเซอร์เรียลและกลุ่มเสือหมอก ที่สนใจประเด็นทรัพยากร หัวข้อผืนป่าตะวันตก ลงพื้นที่เรียนรู้ที่เขตพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และชุมชนบ้านธารมะยม ,อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ โดยมีมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะภาคประชาสังคม ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นนี้ ระหว่างวันที่ 18-21 มีนาคม เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network for Change : UNC) ภายใต้โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ปี 3

                         

เริ่มเรียนรู้เบื้องต้นกับศูนย์เรียนรู้เกษตรกรธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง ที่ ต.ระบำ จากราคาผักหวานป่ากิโลกรัมละ 200 บาท ทำให้ ชาวบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกิดกรณีเผาป่า ทางศูนย์เรียนรู้ฯ จึงได้ ส่งเสริมการเพาะผักหวานป่าเพื่อแจกให้ชาวบ้านกว่าร้อยชุมชนที่ประชิดผืนป่า จาก จ.กาญจนบุรี - จ.นครสวรรค์ กว่า 200 ก.ม.ไม่ต้องเข้าป่าเพื่อเก็บผักหวานเพื่อลดการเผาป่าลงการแพร่กระจายความรู้ให้ชาวบ้านเป็นหัวใจสำคัญของงานมูลนิธิสืบฯ และขยายแนวคิดเกษตรธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชาวบ้า "ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติ จะเข้าใจว่าพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเราต้องพึ่งพาธรรมชาติ" นายบุญเลิศ เทียนช้างเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรกล่าว

                                

                               

                              

จากนั้นได้ไปเรียนรู้พื้นที่มรดกโลกที่เขตพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เดินชมเส้นทางธรรมชาติ และฟังการบรรยายเกี่ยวกับเสือโคร่งจาก นายสมโภชน์ ดวงจันทราศิริ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ และทีม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทำไมต้องอนุรักษ์เสือโคร่ง

 “...เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร หากเสือโคร่งหมดไปจะทำให้สัตว์กินพืชมีจำนวนมาก เมื่อมีจำนวนมากก็จะกินพืชมากเกินพอดี ก็จะทำให้ป่าเกิดความเสื่อมโทรม และเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อสภาพป่าเปลี่ยนแปลงไป ป่าที่เป็นต้นน้ำก็ไม่สามารถผลิตน้ำได้เหมือนเดิม มนุษย์ก็จะเดือดร้อน ทั้งชาวเกษตรกรและคนเมือง นี่คือความเชื่อมโยงระหว่างคนกับสัตว์..”

                              

วันที่2 เดินขึ้นเขาเพื่อดูจุดชมวิว มออีหืด เพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์การสร้างเขื่อนแม่วงก์ กลุ่มนักศึกษาเดินเท้าแต่เช้าตรู่ ขึ้นสู่ จุดชมวิวมออีอืด เพื่อดูทิวเขาสบกก ลำน้ำแม่วงก์ หากเกิดเขื่อนพื้นที่ตรงนี้จะหายไป...แต่การเดินเท่าครั้งนี้ในหน้าร้อน ท่ามกลางควันไฟป่า ทำให้มองเห็นลำน้ำไม่ชัดเมื่อถึงบริเวณจุดชมวิว มออีหืดแล้วนักศึกษาล้อมวง ฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนะคะเสถียร ที่ให้ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ให้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

                           

หลังจากนั้นมาฟังการให้ข้อมูลป่าแม่วงก์แบบครบด้าน ทั้งสัตว์ที่มีเฉพาะพื้นที่ที่นักศึกษาตื่นตาตื่นใจ ท่ามกลางอากาศร้อนถึง 39 องศา..จากนายเอนก แก้วนิ่ม พนักงานพิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยตอนหนึ่งบอกนักศึกษาว่า"...เราอย่ามาถกเถียงกันว่าจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรแต่เราควรคุยกันดีกว่าว่าเราจะช่วยกันอนุรักษ์ไว้อย่างไร?"

                                 

จากนั้นมุ่งสู่ชุมชนบ้านธารมะยมเพื่อโมเดลชุมชนจัดการน้ำร่วมพูดคุยกับลุงณรงค์ แรงกสิกร ประธานเครือข่ายแม่วงก์ ชุมชนคนรักษ์ป่า พูดคุยให้นักศึกษาฟัง จากป่าหมด น้ำแล้ง สู่การดิ้นรนหาน้ำให้ชุมชน ลองผิด ลองถูก จนกลายเป็นชุมชนต้นแบบโมเดลการจัดการน้ำ จนปัจจุบันชุมชนสร้างฝายชะลอน้ำไม่ต่ำกว่า 180 ฝาย จนเกิดน้ำช่มทั้งเขา ชุมชนนี้ไม่ขาดแคลนน้ำเพราะอะไร นักศึกษาฟังอย่างตั้งใจ 

                                

                               

วันที่ 3และวันที่ 4 ลงถ่ายทำได้มีการสัมภาษณ์ชีวิตคนพิทักษ์ป่า โดยน้องๆ จากคณะวิจิตรศิลป์ ทั้ง 4 คน นะ แต้จิ๋ว อู๋ และแม็ก นั่งสัมภาษณ์ชีวิตของพี่เอนก แก้วนิ่ม พนักงานพิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่สำนักงาน ศูนย์บริการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติ เพื่อนำเรื่องราวในชีวิตไปเป็นข้อมูลในการสื่อสารหนังสารคดีที่น้องๆ ตกผลึกกันว่า จะนำเสนอชีวิตของคนที่พิทักษ์ป่า ซึ่งเป็นกลุ่มคนตัวแทนของคนที่รักษาป่าด้วยชีวิตอย่างไร และได้มาฟังการเล่าเรื่องของหัวใจคนรักป่านั่งล้อมวงคุยแบบสบายๆ กับพี่สมทราย ฤาชา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ระหว่างเก็บข้อมูลเพื่อทำสื่อต่อไป ร่วมรับฟังเรื่องราวชีวิตจริงของพี่แบบทึ่งในความรักที่มีให้กับป่าแบบหมดหัวใจ...จบการลงพื้นที่เรียนรูครั้งนี้อย่างได้ความรู้ครบถ้วน

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ