กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กิจกรรมพัฒนาครูแกนนำขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานตอนบน 5-6-7 กรกภาคม 2555
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ทีมขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานตอนบน จัดกิจกรรมพัฒนาครูแกนนำขับเคลื่อนเข้าข้น เพื่อฝึกทักษะกระบวนการการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่เพื่อนครูและนักเรียน ด้วยกระบวนการจัดการความ การถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูแกนนำขับเคลื่อนจากโรงเรียนที่กำลังพัฒนาสู่โรงเรียน ศูนย์ทั้ง 15 โรงเรียน โดยมีวิทยากรเป็น ครูแกนนำขับเคลื่อนจากโรงเรียนศูนย์ฯ ในพื้นที่ทั้ง 6 โรงเรียน 


วัตถุประสงค์


  1. เพื่อ พัฒนากระบวนการของครูแกนนำขับเคลื่อน หรือครูผู้อำนวย (facilitator) ให้เกิดการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่เพื่อนครูในโรงเรียน และนักเรียน
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการการณ์ขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียน
  3. เพื่อกำหนดแผนดำเนินงานการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่แต่ละโรงเรียน


เป้าหมาย


  1. ครู แกนนำขับเคลื่อนผู้เข้าร่วมรู้และเข้าใจ กระบวนการขับเคลื่อน ปศพพ.สู่โรงเรียน และได้เรียนรู้ ตัวอย่างกระบวนการ และวิธีการขับเคลื่อนฯ ของ โรงเรียนศูนย์ฯ
  2. ครูแกนนำขับเคลื่อนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ การขับเคลื่อน ปศพพ. ของกันและกัน
  3. ได้แผนการดำเนินงานและกำหนดปฏิทินการดำเนินการในระยะต่อไป

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ด้านการพัฒนากระบวนการของครูแกนนำขับเคลื่อน ปศพพ.


               กิจกรรมฝึกอบรมครูแกนนำขับเคลื่อน หรือครูฟา ปราถนาที่จะนำพากิจกรรมท้ัง เพื่อให้ครูเห็น "กระบวนการ" และ "ปัจจัยของความสำเร็จ" ของเพื่อนครู  นอกเหนือจากที่ส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยน "วิธีการ" และ "เทคนิค" ที่แลกเปลี่ยนกันโดยทั่วไป  สรุปกระบวนการที่ผู้ดำเนินการพยายามสื่อให้ครูรู้


1. เทคนิคและกระบวนการจัดการความรู้ที่ผู้ดำเนินการได้สอดแทรกให้ครูแกนนำได้เห็นตัวอย่างได้แก่


  • BAR (Before Action Review) แบบง่ายๆ ด้วยการให้เขียนลงคำตอบของคำถาม BAR ลงบนกระดาษโน๊ตแปะ 
  • "การฟัง" การฟัง 4 แบบ ได้แก่ การฟังอย่างมีสติ การฟังแต่ไม่ได้ยิน การฟังแล้วคิดดักหน้า การฟังแล้วจมเข้าไปในเรื่องราว
  • Story telling การเล่าเรื่อง
  • จิตศึกษา หรือ จิตตปัญญา เพื่อเตรียมนักเรียน เช่น เทียนแห่งสมาธิ สัมผัสสมาธิ การฝึกสมาธิตามแนวหลวงพ่อเทียน เป็นต้น
  • การสะท้อน (Reflect) หรือ การถอดบทเรียน หรือ ถอดประสบการณ์  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา ความเข้าใจ (ฝึกตีความ)
  • ความเชื่อมโยง การมองอย่างเป็นองค์รวม 
  • เทคนิคการจับประเด็น
  • การซักถาม
  • AAR (After Action Review) โดยการเขียนบนกระดาษ A4
 

2. เนื้อหาหรือองค์ความรู้ใหม่ในการอบรมนี้


  • กระบวนการ KM  (อาจไม่ใหม่)
  • ทักษะในศตวรรษที่ 21 
  • จิตตปัญญาศึกษา


3. ประสบการณ์ที่ได้ถ่ายทอดระหว่างกันใน 3 วันนี้


  • ครูแกนนำขับเคลื่อนคือใคร สำคัญอย่างไร 
  • ครูแกนนำขับเคลื่อนมีหน้าที่อะไร ต้องรู้อะไรบ้าง 
  • ครูแกนนำขับเคลื่อนมีคุณลักษณะอย่างไร 
  • Core Value ของแต่ละคน 
  • Share Value ร่วมกัน

4. ทักษะที่ได้ฝึกฝน หรือ ยกระดับความรู้ความเข้าใจ

  • ปศพพ. 
  • การถอดบทเรียน การถอดประสบการณ์ 
  • การซักถาม
  • การนำเสนอ การเล่าเรื่่อง 
  • การฟังอย่างมีสติ 
  • การตีความ
  • การจับประเด็น 
  • การถอดความ 
  • การควบคุมตนเอง

(องค์ความรู้หรือรายละเอียดการถอดบทเรียนจากกิจกรรม จะได้นำเสนอต่อไปครับ)

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ