มูลนิธิสิกขาเอเซีย
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิสิกขาเอเซีย ก่อตั้งในเมืองไทยเมื่อพ.ศ.2522 โดยกลุ่มอาสาสมัครที่เรียกตนเองว่า JSRC (Japan Sotoshu Relief Committee)ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคม SVA (Santi Volunteer Association)หรือสมาคมอาสาสมัครสันติ เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นได้ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวกัมพูชาที่เขาอีด่าง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม พุทธศาสนาและการฝึกอาชีพ
ต่อ มาได้ขยายงานไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามรอยตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชาแถบ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และให้ความช่วยเหลือนักเรียนยากจน เด็กกำพร้า เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา
หลังจากประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง สมาคมอาสาสมัครสันติ ได้เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนแออัดของ กรุงเทพมหานคร เริ่มจากชุมชนสวนพลู เขตสาทร เมื่อพ.ศ.2531โดยยึดหลักปฏิบัติเดียวกัน จนถึงปี พ.ศ.2534 จึงได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิในชื่อ “มูลนิธิสิกขาเอเซีย”

­

วิสัยทัศน์

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนทั้งในด้านการศึกษาและวัฒนธรรม รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส

­

พันธกิจ

ช่วยเหลือคนยากจนและด้อยโอกาส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • เพื่อ ช่วยเสริมสร้างโอกาสด้านการศึกษาแก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส โดยเชื่อมั่นว่าหากบุคลากรของชาติที่มีการศึกษามากเพียงใด ย่อมสามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ดียิ่งขึ้น
  • เพื่อร่วมพัฒนา จิตใจเยาวชนให้เปี่ยมด้วยไปด้วยคุณธรรมเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นพลัง สำคัญที่จะเผื่อแผ่ความรู้ความสามารถของตนสู่สมาชิกครอบครัว ชุมชนและสังคมในวงกว้างต่อไป

­

ผู้บริหารองค์กร

  • ครูประทีป อึ้งทรงธรรม (ฮาตะ) ประธานกรรมการ
  • คุณสุคนธ์ ทองอยู่ รองประธานกรรมการ
  • คุณขานทอง ดาลาด กรรมการ
  • คุณวัณรบ หิริกุล กรรมการ
  • คุณทัตสุยะ ฮาตะ กรรมการ
  • คุณคัตสึมาสะ ยากิซาว่า กรรมการ
  • คุณธีระพล สุลินทาบูรณ์ กรรมการ
  • คุณอรุณี พรหมมา เลขาธิการ

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

มูลนิธิสิกขาเอเซีย มีโครงสร้างการทำงานรูปของคณะกรามการที่มีประธานมูลนิธิฯคือ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม และคณะกรรมการซึ่งคัดเลือกจากคนในชุมชนคลองเตย และองค์กรแม่ซึ่งมาจากสมาคมอาสาสมัครสันติ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนมูลนิธิสิกขาเอเชียตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง การบริหารงานขององค์กรนี้จึงมีทั้งคณะกรรมการที่เป็นคนไทยและชาวญี่ปุ่นร่วม ด้วย

โดยประธานมูลนิธิ และคณะกรรมการจะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายการทำงานและให้คำปรึกษาแนะนำ ส่วนเลขาธิการของมูลนิธิ จะทำหน้าที่รับนโยบายและบริหารจัดการต่อจากประธานและคณะกรรมการ และมีผู้จัดการมูลนิธิทำหน้าที่บริหารจัดการภายใน โดยมีการแบ่งการทำงานภายในมูลนิธิออกเป็น 3 ฝ่ายหลักดังนี้

  • ฝ่ายทุนการศึกษา ประกอบ ด้วยผู้ประสานงานฝ่ายและผู้ช่วยผู้ประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานในกรุงเทพฯและศูนย์ต่างจังหวัดได้แก่ จ. พะเยา เลย สุรินทร์ และ พังงา โดยในศูนย์ต่างจังหวัดจะมีผู้ประสานงานภายในศูนย์ทำหน้าที่บริหารจัดการการ ทำงาน โดยมูลนิธิสิกขาเอเซียมีการให้ทุนการศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
  • 1.ทุนการศึกษาประจำ ปีละ 500 ทุน

    2.ทุน บ้านพักสำหรับนักเรียนที่บ้านอยู่ไกลสถานที่เรียน จำนวน 100 ทุน โดยจะมีบ้านพักประจำและมีเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ดูแลใน 2 ศูนย์คือ จ.พะเยา และ จ.เลย

  • ฝ่ายห้องสมุด ซึ่ง มูลนิธิสิกขาเอเซียจะมีทั้งห้องสมุดประจำและห้องสมุดเคลื่อนที่ทั้งหมด 9 แห่งโดยมีผู้ประสานงานฝ่ายและผู้ช่วยผู้ประสานงานเป็นผู้ดูแล
  • ฝ่ายอำนวยการทั่วไป ประกอบ ด้วย 4 ส่วนได้แก่ ส่วนของสำนักงานและบัญชี ทำหน้าที่ดูแลการทำงานภายในสำนักงานและประสานงานกับศูนย์ต่างจังหวัด ส่วนต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่ประสานงานกับองค์กรแม่คือสมาคมอาสาสมัครสันติ ประเทศญี่ปุ่น และศูนย์ฝึกอาชีพซึ่งทำหน้าที่ฝึกอาชีพคนในชุมชนคลองเตยเพื่อให้มีอาชีพ หัตถกรรมและนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไปจำหน่ายแก่แขกผู้มาเยี่ยมชมมูลนิธิฯซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่น และรับออเดอร์การสั่งสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนใน ชุมชนคลองเตย

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งองค์กรในมูลนิธิสิกขาเอเชีย
  • เกิด จากการฝึกฝนและเตรียมงานก่อนออกปฏิบัติงานทุกครั้ง เช่น ก่อนออกแสดงละครให้เด็กๆ ดูจะมีการประชุมซักซ้อม แม้จะเป็นการแสดงเรื่องเดิมๆ แต่บุคลากรในองค์กรจะมีการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
  • เกิดจากความเสียสละในการทำงานของบุคลากรในองค์กร เนื่องจากบางกิจกรรมต้องมีการลงพื้นที่ในชนบทหรือในถิ่นทุรกันดาร

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

การ ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือนั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการและต้อง อาศัยกระบวนการทำงานเชิงรุก ที่มูลนิธิสิกขาเอเชียดำเนินการอยู่ทั้งการสร้างห้องสมุดถาวรในพื้นที่ หรือรถห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุดนั้น ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดหมวดหมู่หนังสือ การจัดหาหนังสือที่เหมาะสมกับช่วงวัย หรือแม้แต่การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ขึ้นในห้องสมุดเพื่อให้เด็กรู้สึก สนุกสนาน และที่สำคัญคือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ต้องมีความเป็นกันเองกับ เด็ก เข้าถึงจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกเด็กด้วยว่าเด็กวัยไหนต้องการอ่านหนังสือประเภทไหน อย่างไร ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนทำให้การดำเนินงานห้องสมุดของมูลนิธิสิกขาเอเชียประสบผลสำเร็จ และยั่งยืนยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้

­

รางวัลความสำเร็จ

  • รายการคนดีคู่สังคม ทางสถานีโทรทัศน์ UBC
  • รางวัล World Habitat Day 2007
  • รางวัล จากความภาคภูมิใจของมูลนิธิสิกขาเอเชียคือ สามารถสร้างเด็ก และเยาวชนที่มีคุณภาพทั้งจากการสนับสนุนทุนการศึกษาหรือการปลูกฝังความคิดใน การรักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้เด็กๆและเยาวชนเหล่านั้น มีโอกาสการศึกษาต่อและจบออกไปทำงานที่ดี พวกเขาเหล่านั้นยังกลับมาช่วยงานของมูลนิธิสิกขาเอเชียทุกครั้งที่มีโอกาส

โครงการขององค์กร
  • โครงการห้องสมุด กรณี ของห้องสมุดบ้านนิทาน ชุมชน 70 ไร่ คลองเตย กรุงเทพฯ นับเป็นบ้านหลังที่สามของเด็กๆ ก็ว่าได้ เพราะหลังเลิกเรียนเด็กๆ จะมาห้องที่ห้องสมุดโดย เด็กทุกคนจะมีเหตุผลของตัวเองว่ามาทำอะไรที่ห้องสมุด หลายคนมาอ่านหนังสือบ้างก็นั่งอ่าน บ้างก็นอนอ่าน บางคนมายืมหนังสือไปอ่านที่บ้าน บางคนมาเพื่อฟังนิทานเพราะที่บ้านไม่เคยมีใครเล่านิทานให้ฟังเลย บางคนมาช่วยทำงาน บางคนมาซ้อมรำ มาวาดรูป มาเล่นของเล่นเพราะที่บ้านไม่มีของเล่นดีดี มาวิ่งเล่นเพราะในชุมชนไม่มีที่ให้เด็กเล่น มาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เพราะที่บ้านไม่มีใครอยู่ ผู้ปกครองจะรู้สึกว่าลูกปลอดภัย ถ้าหลังเลิกเรียนแล้วลูกมาอยู่ที่ห้องสมุด
  • โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่(Books for All Child) รถ ห้องสมุดเคลื่อนที่ใน “โครงการหนังสือเพื่อเด็กทุกคน” พยายามนำหนังสือการเล่านิทาน การแสดงละครหุ่น เกม-เพลงหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน เพื่อดึงเด็กเยาชนเข้ามาใช้ห้องสมุดให้รักการอ่านหนังสือ โดยตั้งไว้จำนวน 250-300 รอบต่อปีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
  • โดย แต่ละที่ที่ไปจะเปิดรถห้องสมุดให้เด็กและเยาวชนมาใช้บริการพื้นที่ละ 2 ชั่วโมง มีการแนะนำหนังสือดีๆ ให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง ครู โดยแต่ละครั้งที่ไปจะมีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มาใช้บริการด้วย อาทิ เล่านิทานให้ฟัง เล่นละครหุ่นให้ดู 1 เรื่อง (ปัจจุบันมี 6 เรื่อง หนูน้อยหมวกแดง, มิตรภาพและความรัก, จ๊ะเอ๋อยากมีเพื่อน,แพะ 3 ตัว, กระต่ายกับเต่า, ขนมปัง) รวมทั้งมีกิจกรรมนำเด็กเล่นเกม วาดรูประบายสี เป็นต้น
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

ต้องการการสนับสนุนการ ทางด้านงบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานในโครงการต่างๆ ของมูลนิธิสิกขาเอเซีย ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็ก

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิสิกขาเอเซีย
ที่อยู่: 100/14-20 เคหะคลองเตย 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์: 0-2249-7567-8
โทรสาร: 0-2249-0055