โรงเรียนบ้านคูขาด
จัดตั้ง: 8 พ.ย. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔


ผู้บริหาร
นายนุกูล เวศสุวรรณ์
โทรศัพท์ ๐๘๑-๓๖๐-๕๔๒๘

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
ปฐมวัย – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวนครู ๒๒ คน จำนวนนักเรียน ๓๐๑ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางพิสมัย อรุณโน
โทรศัพท์ ๐๘๕-๗๖๖-๕๖๑๒

­

เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ทางโรงเรียนจึงกำหนด “กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประสบการณ์ในโรงเรียนไปใช้จริงที่บ้าน ด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานที่บ้านเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว หากมีผักเหลือจากการบริโภคสามารถแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน หรือจำหน่ายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการปลูกผักเป็นการสร้างสมดุลสู่สิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง

­

­

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้นักเรียนมีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีคุณธรรมกำกับความรู้ สามารถปลูกผักปลอดสารพิษได้ถูกต้อง ประหยัด ปลอดภัย ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. เพื่อเป็นการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้
๔. เพื่อส่งเสริมนักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดในทุกขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
๕. เพื่อให้นักเรียน และทุกคนในครอบครัวมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

๑. เตรียมการและวางแผนดำเนินงาน (แต่งตั้งคณะกรรมการ วิเคราะห์สภาพความพร้อมของโรงเรียน และจัดทำแผนปฏิบัติงาน)
๒. ปฏิบัติตามแผน สร้างความตระหนักและความเข้าใจกับบุคลากร (ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน) ดำเนินการตามโครงการ
๓. กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน

­

­

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

ตลอดปีการศึกษา

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

ครูตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเข้าใจบทบาท ภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการร่วมมือ ร่วมใจด้วยความยินดี ในการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงให้ยั่งยืน ร่วมกับนักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต

นักเรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน มีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปลูกผักปลอดสารพิษได้ถูกต้อง ประหยัด ปลอดภัย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวและชุมชน ตลอดจนภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ

­

­

เงื่อนไขความสำเร็จ

นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน เห็นประโยชน์ และตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาตนเอง โรงเรียน ชุมชน และพัฒนาสังคมโดยรวม

­

กิจกรรมเด่นอื่น ๆ

1. โครงการทำน้ำสกัดชีวภาพ
2. โครงการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

­