โรงเรียนมกุฎเมือง ราชวิทยาลัย
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๒


ผู้บริหาร
นายนิยม บุญญานาม
โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๘๑-๐๓๘๕

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวนครู ๗๑ คน จำนวนนักเรียน ๘๕๐ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นายวิรัช กิมทรง
โทรศัพท์ ๐๘๖-๓๘๙-๘๘๖๘
Email : wiruchk@gmail.com

­

การ ที่โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่าน “โครงการศิลปะกับชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง” นั้น กลุ่มสาระศิลปะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนำมาบูรณาการ ได้อย่างเหมาะสม เพราะวิชาศิลปะเป็นเรื่องของความดี ความงาม ความมีสุนทรียภาพ และนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ เมื่อได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นความคิดหลักและสอดแทรกเนื้อหา กิจกรรมของวิชาศิลปะให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติงานตามความถนัด ความสนใจของนักเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ และศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม สถานที่ ให้มีความเหมาะสม สวยงาม ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทำให้นักเรียนนำความคิดที่ได้จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความรู้ทาง ด้านศิลปะที่ได้รับ ไปเป็นแนวทางประยุต์ใช้กับวิถีชีวิตของตนเองได้

­

­

ทั้งนี้การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ครูต้องเป็นตัวอย่างในการทำงาน โดยสร้างแนวทางความคิด จากหลักทฤษฎีให้ลงไปสู่การปฏิบัติที่เป็นของจริง มองเห็นและสัมผัสได้ ตลอดจนช่วยปรับแนวทางความคิดของนักเรียน ให้อยู่ในบรรยากาศของความงาม ความมีศิลปะ ที่จะทำให้จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ของนักเรียนมีความอ่อนโยน นุ่มนวล มีสติรอบคอบ มีเหตุผลในการทำงาน และมีความคิดสร้างสรรค์ ในเชิงบวกอยู่ตลอดเวลา เมื่อนักเรียนได้ลงมือเรียนรู้ ได้ปฏิบัติงานจริง

มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศิลปะแล้ว นักเรียนจะสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้ทุกเรื่องอย่างเป็น ธรรมชาติ ไม่มีการแบ่งแยกความคิดระหว่างเรื่องวิชาการและในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนจะมีความตระหนักในการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิต อยู่ในสังคมด้วยความไม่ประมาท มีความสุขกับการเรียนรู้ และมีแรงบันดาลใจในการคิด การทำงานอย่างสร้างสรรค์

­

วัตถุประสงค์

๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาบูรณาการ ใช้ในการเรียนรู้ การปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม มีการวางแผนการทำงานโดยใช้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายถึงเหตุ และผลของการทำงานได้
๒. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการเรียนรู้เรื่องศิลปะและสุนทรียภาพ เข้าถึงหลักของความงามเพื่อนำไปสู่ความสุขในชีวิต ด้วยวิธีการปฏิบัติงานทางด้านศิลปะกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. นักเรียนได้พัฒนาตนเอง ในการนำความรู้ความคิดและทักษะที่ตนเองมีอยู่มาใช้ในการทำงาน ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคมในลักษณะของจิตอาสา คือมีจิตสำนึกในการคิดและทำความดี โดยไม่ต้องมีใครบังคับหรือมีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนและกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

๑.ศึกษา องค์ความรู้ในด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าใจและชัดเจนทั้งทาง ด้านหลักคิด แนวทางการปฏิบัติและจุดมุ่งหมาย เพื่อนำมาเป็นแกนหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๒. ศึกษาและออกแบบหลักสูตรโดยการนำหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษา วิสัยทัศน์ของโรงเรียน วิสัยทัศน์ของสาระวิชามาวิเคราะห์ และจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ตามระดับช่วงชั้น
๓. นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นองค์ความรู้หลักในการสร้างแนวความคิดในการทำงานและปฏิบัติกิจกรรม และ ใช้เรื่องราวเนื้อหาในกลุ่มสาระเป็นตัวเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้กระบวนการสร้างองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนมีส่วนร่วม
๔. วิเคราะห์ผลการดำเนินการโดยใช้กระบวนการกลุ่มและการทำงานที่มีเป้าหมาย เน้นความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความสุขในการทำงาน

­

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑-๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

ครูเป็นตัวอย่างที่ดี มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำความรู้ที่มี ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีความภาคภูมิใจกับการทำงาน มีความสุขกับการที่ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในวิถี ชีวิตของตนเองและครอบครัว
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข เข้าใจถึงเหตุและผลของการทำงาน มีความตระหนักรับผิดชอบในการทำงานและเรียนรู้ มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน การปฏิบัติงานทางด้านศิลปะ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนวิชาอื่นๆตลอดจนนำไปใช้ในวิถีชีวิตของ ตนเองได้
ผู้ปกครองและชุมชนเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้การสนับสนุนกับทางโรงเรียนในการถ่ายทอดแนวทางความคิดที่ทำให้บุตรหลานของ ตนเอง ได้เป็นคนดี มีความพอเพียง รู้จักตนเอง มีระเบียบวินัย มีความประพฤติดี และเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง

­

เงื่อนไขความสำเร็จ

๑. เป็นโรงเรียนเทิดพระเกียรติฯสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมตามแนวพระราชดำริฯ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงมีต่อการจัดการศึกษา
๒. โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามศักยภาพของสาระวิชาที่ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่นักเรียนต้องได้รับตามมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิชา มีความยืดหยุ่นในหลักสูตรทั้งหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา
๓. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีความมั่นคงในด้านการคิดและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน โดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยสร้างขวัญ กำลังใจ ให้องค์ความรู้ และแนะนำแนวทางในการทำงานที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ให้ความรัก สามัคคี ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนทุกคนได้แสดงออกถึงศักยภาพ ความรู้ความสามารถและตามความถนัด
๔. ครูผู้สอน ได้รับความรู้ประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้า ได้เข้าร่วมอบรมสัมมนาและได้ลงมือปฏิบัติงานจริง มีขวัญ กำลังใจที่ดีในการทำงาน มีงบประมาณสนับสนุนจากโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ และมีความสุขกับการทำงาน
๕. นักเรียนเป็นคนดี มีความพร้อมที่จะรับข้อมูล องค์ความรู้ต่างๆจากครูไปสู่การปฏิบัติและยอมรับในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานเรื่องอื่นๆในการเรียนและการดำรงชีวิตต่อ ไป


กิจกรรมเด่นอื่น ๆ

โครงการ "นักสืบสายน้ำ" อนุรักษ์ลุ่มน้ำประแส เป็นโครงการที่โรงเรียนได้จัดขึ้นเป็นโรงเรียนแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ลุ่มน้ำประแส ที่ไหลผ่านชุมชนต่างๆมาถึงโรงเรียนและไหลลงสู่ทะเลที่ปากแม่น้ำประแส โครงการดังกล่าวมีการออกแบบกิจกรรมการเฝ้าระวัง โดยมีกลุ่มนักเรียนและชุมชนได้ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพของน้ำทั้งทางด้าน กายภาพและชีวภาพ ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน เพื่อทำเป็นตารางทางสถิติ สรุปหาค่าความเปลี่ยนแปลง และนำผลที่ได้รับนั้นไปสู่การเฝ้าระวัง วางแผนป้องกันและส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ตลอดจนการให้องค์ความรู้ในด้านการอนุรักษ์แหล่งน้ำให้กับชุมชนที่อาศัยอยู่ บริเวณลุ่มแม่น้ำ ให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ลุ่มน้ำประแส เพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทำประมงพื้นบ้านและใช้แหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภค โดยมีการตั้งจุดเฝ้าระวังตลอดแนวลุ่มน้ำที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน และขยายเครือข่ายเฝ้าระวังไปยังโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง ตลอดความยาวของลุ่มน้ำประแส

­