โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน


ผู้บริหาร
พ.ต.ท.สัมพันธ์ ปทุมธนรักษ์
โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๖๒-๑๘๘๔

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวนครู ๓๐ คน จำนวนนักเรียน ๕๖๕ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางสาวน้ำทิพย์ เจริญสุข
โทรศัพท์ ๐๘๙-๘๓๓-๓๙๒๙

­

เนื่องจาก การดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทศึกษา สงเคราะห์ไม่เก็บค่าเล่าเรียน จึงมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณค่อนข้างมาก โรงเรียนต้องใช้แนวความคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน กิจกรรมหนึ่งในหลายกิจกรรมของโรงเรียนก็คือ “กิจกรรมแปลงทฤษฎีใหม่” การจัดพื้นที่ตามแบบ ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้นแบบของครอบครัวขนาดเล็กที่มีพื้นที่น้อย แต่สามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นคง เป็นฐานการเรียนให้นักเรียนได้ปฏิบัติและสามารถนำไปใช้ในชุมชนของตนได้

­

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

๑.จัดพื้นที่บริเวณโรงเรียนจำนวน ๑๐ ไร่แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ๓: ๓:๓: คือเป็นพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน ๓ ไร่ บ่อน้ำ ๓ ไร่ แปลงไม้ผล ๓ ไร่ และพื้นที่ปลูกบ้าน ปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์จำนวน ๑ ไร่
๒.พื้นที่ปลูกข้าวจำนวน ๓ ไร่ เป็นฐานการเรียนเรื่องการทำนา ซึ่งหากเป็นครอบครัวขนาดเล็กก็จะมีข้าวพอกินตลอดปี เสร็จฤดูเก็บเกี่ยวปลูกพืชผักสวนครัวหรือทำนาปรังอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพอเพียงสำหรับบริโภคและยังเหลือขายอีกส่วนหนึ่ง
๓.พื้นที่บ่อน้ำ ๓ ไร่ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงปลาเลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่พอเพียงและสามารถขายได้เป็นบางส่วน

๔.พื้นที่แปลงไม้ผล ๓ ไร่ ใช้ปลูกไม้ผลทุกชนิดที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ เป็นแหล่งอาหารจำพวกผลไม้ ซึ่งครอบครัวสามารถมีรับประทานได้ทุกฤดูกาลของผลไม้ ส่วนที่เหลือรับประทานนำไปขาย

๕.พื้นที่ ปลูกบ้านจำนวน ๑ ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยปลูกพืชผักสวนครัวไว้ใช้รับประทานประจำวัน เช่น พริก มะเขือ มะกรูด มะนาว พืชผักอื่นๆ โดยไม่ต้องซื้อ สามารถเก็บมารับประทานได้ทุกเวลา ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ นอกจากนั้นยังใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ หมู เป็ด ไก่ ไว้บริโภคภายในครัวเรือน และถ้าเหลือก็ขาย เก็บไว้เป็นสินออมต่อไปได้

การจัดพื้นที่ดังกล่าวเป็นแบบการใช้ชีวิตของครอบครัวขนาดเล็กที่อยู่กันอย่างมี ความสุขและมีความมั่นคงบนพื้นฐานของความพอประมาณไม่ฟุ้งเฟ้อ ได้จริยธรรมของการใช้ชีวิต

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

๑.โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้อย่างพอเพียง และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
๒.นักเรียนประหยัดและมีความยั่งยืน ลดรายจ่ายได้เป็นอันมาก และสามารถนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งเป็นแบบอย่างไปถึงชุมชนด้วย

­

เงื่อนไขความสำเร็จ

๑. มีทีมงานที่แข็งแกร่ง มีความเข้าใจร่วมกัน
๒. มีการสนับสนุนจากภาคเอกชนและชุมชน
๓. ความขาดแคลนของชุมชน นักเรียน และข้อจำกัดด้านงบประมาณของโรงเรียนทำให้เกิดแรงบันดาลใจ
๔. มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

­