ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปร่วมประชุม การเปลี่ยนผ่านแนวคิดใหม่ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม สู่การบูรณาการในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Congress : Southeast Asia in Transition Re-thinking Education,Science and Culture for Regional Integration) เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกด ทั้งนี้ ในวันที่ 22 ตุลาคม 2557 ข้าพเจ้าและคุณศศินี ลิ้มพงษ์ ได้ร่วมกันนำเสนองานพัฒนาเยาวชน และการขับเคลื่อนการเรียนรู้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลัก (Gold Sponsor) ร่วมกับ สสส. และหน่วยงานอื่นๆ
การประชุม SEAMEO Congress ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. การระดมความคิดจากภาคการศึกษา อุตสาหกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงจากนานาชาติ ในการสนับสนุนการศึกษา และการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติ เพื่อเสริมหนุนส่วนต่างระหว่างประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
2. การกระตุ้นให้เกิดแรงกระเพื่อมในการค้นหานโยบายที่เหมาะสมทางด้านการศึกษา และประสิทธิภาพในการบูรณาการและความร่วมมือกันในประเทศอาเซียตะวันออกเฉียงใต้
3.การผลักดันให้เกิดกระบวนการทบทวนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา อุตสาหกรรม และองค์กรระหว่างประเทศ ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภูมิภาค
ความคาดหวังในการประชุมครั้งนี้ คือ การประสานความร่วมมือกันในการปรับปรุงบทบาทของภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม องค์กรระหว่างประเทศและภูมิภาค รวมทั้งองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ ทั้งนี้ ผลจากการประชุมนี้ จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ทรงพลัง ในการจูงใจให้เกิดการคิดใหม่ และปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการสนองตอบเป้าหมายการพัฒนา และบูรณาการร่วมกันของภูมิภาค
การนำเสนอหัวข้อในที่ประชุม จัดทำในลักษณะแก่นสาระของนโยบาย การปฏิรูปและการคิดสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน ความร่วมมือและการเชื่อมโยงในแต่ละภาคส่วนของการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยจัดเป็นกลุ่มประชุมย่อย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการหารือในเชิงลึกในแต่ละแก่นสาระ เช่น
(1) การปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่การหนุนเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ควรประกอบด้วยนโยบายใดบ้าง ที่คลอบคลุมในเรื่องการฝึกความชำนาญงาน ที่ต้องมีกฎระเบียบจากภาครัฐรองรับ ในการสนับสนุนการปฏิบัติในแนวทางที่ปรับปรุงให้ทันสมัยของทศวรรษที่ 21 ตลอดจนการเลือกวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เหมาะสมกับทุนสังคมของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายและการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานต่อไป
(2) ความคาดหวังและความเป็นไปได้ในการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในเชิงนโยบาย การสนับสนุนของภาครัฐร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยะภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
(3) ความรู้ด้านวัฒนธรรมและการศึกษา เพื่อนำไปสู่การบูรณาการ และพัฒนาร่วมกันของประเทศในภูมิภาค ซึ่งต้องกำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม และแสวงหาแนวทางร่วมกันอย่างกลมกลืนราบรื่น โดยไม่ขัดแย้งกับความเป็นดั้งเดิมของแต่ละประเทศ
abcd abcd
- 27 วันที่แล้ว
|
abcd abcd
- 27 วันที่แล้ว
|
rfrffrfr
- เดือนที่แล้ว
|
abcd abcd
- 27 วันที่แล้ว
|
akaradet rungsuwan
- 22 วันที่แล้ว
|