เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2555 ณ นกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล


โรงเรียนอนุบาลสตูล นำ “กระบวนการวิจัย” มาใช้พัฒนาการเรียนการสอน เพราะผู้บริหารเคยทำวิจัยกับ สกว.มาก่อน เมื่อโรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากล จึงต้องพัฒนาการเรียนการสอน โดยนำ “กระบวนการวิจัย” มาบูรณาการเข้ากับหลักสูตรมาตรฐานสากล  ขับเคลื่อนผ่านครูแกนนำ 12 คน  เหตุที่โรงเรียนอนุบาลสตูลประสบผลสำเร็จในการนำการวิจัยมาใช้พัฒนาผู้เรียน เพราะครู “เปิดใจ” ยอมรับกระบวนการใหม่ๆ เพราะเชื่อว่าน่าจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กเพิ่มขึ้นทุกด้าน แม้จะได้รับความกดดันจากผู้ปกครอง ที่คาดหวังว่าเด็กที่จบจากที่นี่ต้องเป็นเด็กเก่งและมีคุณธรรม สอบเข้าโรงเรียนดังได้ก็ตาม หลังการปรับเปลี่ยนแนวการสอนใหม่ สิ่งที่เกิดกับเด็กชัดเจนคือ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงออกมากขึ้น มีทักษะการจดบันทึก การศึกษาค้นคว้า กระบวนการคิดมากขึ้น ความเอื้อเฟื้อความมีน้ำใจ  มีการนำกระบวนการวิจัยไปใช้จัดการเรียนรู้ครบทุกชั้นปี ตั้งแต่อนุบาล – ป. 6 จากเดิมมีครูเข้าร่วมเพียง 12 คน ก็เพิ่มเป็น 36 คน
 

โรงเรียนอนุบาลสตูล เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียนเกือบ 2,000 คน มีครูประจำการ 78  คน  ผู้ปกครองมีความคาดหวังสูงว่าเด็กที่นี่ต้องเรียนดีและมีคุณธรรม เด็ก ป.6 จะต้องสามารถสอบเข้าโรงเรียนดังได้ ONET ต้องสูงนี่ เดิมทีโรงเรียนจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรแกนกลาง ครูทุกมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ดี การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีความสุข  จนเมื่อโรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงต้องมีการปรับการเรียนการสอนใหม่  ตอนนั้น ผอ. ชวนอาจารย์ 12 คน ที่สอนชั้น ป.1 – ป.6 ไปอบรมกับ สกว. เรื่องการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ใช้ การวิจัย ซึ่ง ผอ. ท่านมีประสบการณ์เรื่องกระบวนการวิจัย 10 ขั้นตอนอยู่แล้ว
 

เปิดใจยอมรับ “กระบวนการวิจัย” : หลังกลับจากอบรม ครูแต่ละคนมีภาระเยอะมาก ไหนจะต้องพัฒนางานเพื่อให้สอดรับกับโรงเรียนมาตรฐานสากล ไหนจะต้องนำ “กระบวนการวิจัย เข้ามาใช้  เราเป็นครูประจำชั้นรับผิดชอบนักเรียน 46 คน เป็นหัวหน้าสาระภาษาไทย ดูแลห้องสมุดด้วยภาระงานเยอะอยู่แล้ว ไม่ได้สอนห้องเดียว แต่เมื่อเป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่ท้าทาย ลองฟังดูแล้วคล้ายกับเรื่องที่เราทำอยู่แล้วเพียงแต่ว่า การทำของเรานั้นไม่หลากหลาย  จึงเริ่มปรับตัวด้วยการเปิดใจก่อน เพราะถ้าเราไม่เปิดใจ เราก็จะไม่เข้าใจแน่นอน จึงเริ่มศึกษากระบวนการวิจัย 10 ขั้นตอนที่ท่านผอ.แนะนำมา รู้สึกกดดันตัวเองมาก  เพราะภาระอื่นยังเท่าเดิม แต่ชั่วโมงเรียนเพิ่มขึ้นสอน 2 ห้อง 8 ชั่วโมง ทำงานเต็มที่ ก็ต้องทำใจให้ได้ แต่จะรับได้อย่างไรก็ต้องศึกษากระบวนการด้วย ไหนจะมาตรฐานสากล 4 วิชาอีกที่ต้องทำความเข้าใจให้ได้ เพราะตัวเองไม่ได้ไปอบรมมา ไม่ได้เรียนรู้มาก่อน ต้องใช้การทำความเข้าใจอย่างเดียว
 

จนเมื่อได้แนวทางการทำงานว่าน่าจะนำแนวทางมาตรฐานสากลมาปรับให้เข้ากับกระบวนการวิจัย 10 ขั้นตอน เริ่มจากการเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัว ซึ่งก็มีความคิดกันว่า คำว่าใกล้ตัวคือแบบไหน อย่างไร เราไปศึกษาแล้วคิดว่าน่าจะเป็นในแบบบริบทของโรงเรียน เราคิดว่าน่าจะเป็นปัจจัย 4 เช่น สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร อาชีพ ประเพณีวัฒนธรรม และขยายออกไปเรื่อย ๆ แล้วใครสนใจอะไรให้ใส่เหตุผลด้วยว่าเพราะอะไร แต่การกระตุ้นแบบนี้ ถ้าเราไปกระตุ้นเขาเลย เด็กกับครูก็จะห่าง เราจะใช้วิธีสร้างความคุ้นเคยผ่านเพลง อาจจะมีเกมมาเสริม แล้วเราอาจจะลดอายุตัวเอง จากที่หัวโขนของเราคือ ครูภาษาไทยที่ต้องระเบียบ ต้องโหด เราก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นนางสาวไทย รักเด็ก เต็มที่กับตรงนั้น เด็กก็เพลินไปกับเรา เรากระตุ้นเด็กไม่มีผิดไม่มีถูก ให้เด็กเขาได้คิด เราก็ชมไป เรียนรู้กับเขาไปด้วย เวลาที่เด็กเขานำเสนอจะแตกต่างกันไปตามบริบทของนักเรียนที่อาศัยอยู่ต่างพื้นที่ การนำเสนอจึงต่างกัน แต่ละคนไม่ซ้ำกัน
 

เราสอน 3 ห้องเด็ก100 กว่าคนก็ต่างกัน จึงให้แต่ละห้องจับกลุ่มที่คล้ายกัน เลือกหัวหน้ากลุ่ม แล้วหาเหตุผลเชิงลึกที่เขาสามารถจะหาความรู้ได้ จะไปหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองที่มีหลายอาชีพ จากอินเทอร์เน็ต จากครู แล้วมานำเสนอด้วยเหตุและผล ตรงกับประสบการณ์ที่เด็กเรียนแล้วใช้กระบวนการคิด ตรงนี้เราใช้ได้เยอะ เอากระบวนการคิดของเรา ประสบการณ์การเรียนการสอนของเราที่ให้เด็กได้พูด ได้ให้เหตุผล โดยเรียกวิธีการนี้ว่า “การแตกประเด็น” ให้กับเด็ก ไม่ใช่ว่าคิดวิเคราะห์เด็กจะไม่เข้าใจ พอเขาสรุปเรื่องคือสังเคราะห์มา แล้วมานำเสนอ การนำเสนอจะมีมุมมองที่ต่างกัน เราจะกระตุ้นอย่างไรให้ทุกคนมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ใช่ว่าคนใดคนหนึ่งเท่านั้น วิธีการกระตุ้นก็ผ่านคำถาม ให้เด็กมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้ ไม่มีถูกผิด เพราะว่าเราสามามารถมาเสริมเติมได้ในจุดที่เขาสนใจ เมื่อเด็กได้ความรู้จากจุดตรงนี้ เด็กจะมีความมั่นใจ
 

จากกลุ่มเรื่องที่เหมือนๆ กัน เด็กเขาจะค่อย ๆ โน้มน้าวคนอื่นได้ให้เพื่อนมาร่วมกลุ่มกับตัวเขา จากหลาย ๆ กลุ่มเอามาเป็นกลุ่มเล็กลง จะเหลือ 5 เรื่อง เริ่มไปเจาะลึกลงพื้นที่จริง ๆ เช่น นักเรียนเขาสนใจเรื่องตลาดนัดวันเสาร์ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล มีมานานแล้วแต่ทำไมไม่เจริญ เขาสงสัยก็ลงไปเจาะลึก อีกกลุ่มสนใจเรื่องปลาเค็ม เพราะอยู่ใกล้ทะเล อีกกลุ่มเรื่องงานสานซึ่งเป็นงานที่มีชื่อเสียงของจังหวัด อีกกลุ่มสนใจเรื่องดอกไม้จันทน์ในวันอำลาโลก แต่เด็กเขามีข้อมูลของเขามานำเสนอ เขาบอกว่าเป็นเรื่องของศาสนา เมื่อทำแล้วจะกระทบกับคนอื่นไหม เด็กเขาก็ตัดไป โดยเด็กเขาวิเคราะห์ของเขาออกมาเอง การจักรสานเด็กเราอยู่นิคมกันมาก แล้วจะเอาเวลาไหนไปเรียนรู้ เราใช้แค่สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมงคงไปศึกษายาก อีกกลุ่มเรื่องปลาเค็มแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในตัวเมือง ตอนนี้เจ้าของเปลี่ยนอาชีพแล้ว หรือว่าต้องอาศัยฤดูการอาศัยแดดลม เขาก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเลือกตลาดนัดวันเสาร์
 

อันนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวก็จริง ตอนที่เด็กเลือกเราก็ไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลมาจากไหน ถามเด็กว่าลูกจะทำอย่างไร เขาบอกว่าตลาดนัดวันเสาร์เป็นของเทศบาล เขาไปเชิญเทศบาลมาให้ความรู้ เมื่อได้ความรู้ แต่โจทย์ยังกว้างอยู่ เขาก็มาคิดกันใหม่โดยเราเองก็เรียนรู้ไปกับเขา เขาบอกว่าจะพัฒนาแล้วจะพัฒนาอย่างไร พัฒนาให้ยั่งยืน เขาออกไปหาข้อมูล ลงพื้นที่ครั้งแรกเริ่มได้โจทย์คือการพัฒนาตลาดนัดวันเสาร์ให้ยั่งยืน เราก็มาตั้งคำถาม ตั้งวัตถุประสงค์แล้ววางแผนการเรียนว่าจะไปเรียนอย่างไร เช่น การจัดโซนขายของ การจัดทางเดิน การจัดที่จอดรถ การวางผังเรื่องของการจัดห้องน้ำ ครูมีหน้าที่ให้กำลังใจ เชิญครูท่านอื่นไปด้วย เพราะว่าต้องไปในตอนกลางคืน เด็กเริ่มมาวางแผนการเรียน เมื่อเราได้ข้อมูลมาแล้วเราจะนำเสนออย่างไร เสนอกับใคร ศึกษาไปสำรวจออกแบบสอบถาม สรุปข้อมูลแล้วมานำเสนอ สุดท้ายก็เป็นการออกแบบเป็นโมเดลตลาดของเขา มาทำเป็นโมเดล เป็นแผ่นพับมาเผยแพร่ ทำเป็นเพลง ตอนนี้เทศบาลนำไปใช้ประโยชน์ เป็นงานของนักเรียนที่นักเรียนเขาสามารถนำเสนอได้ สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับเด็ก
 

ผลที่เกิดขึ้น : เด็กเปลี่ยนแปลงไปมาก เด็กสามารถออกแบบการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตัวเราเองก็เรียนรู้ไปกับเด็ก แต่ไม่ใช่ว่าการเรียนการสอนตรงนี้จะสวยหรู มีปัญหามากมายซึ่งเราสอนตรงนี้มาเป็นเวลานาน ไม่เคยรู้สึกว่าเราสอนแล้วเราหนักใจ ความกดดันไม่ได้อยู่ที่เด็ก ไม่ได้อยู่ที่การสอน แต่ความกดดันอยู่ที่ความคาดหวังตั้งแต่ต้น ครูมาทำอะไรอยู่เดือนสองเดือนแล้ว เด็กห้องนี้เป็นห้องเก่ง เด็กต้องไปสอบเรียนต่อโรงเรียนดัง โรงเรียนยอดนิยม ครูทำอะไรอยู่ให้เด็กทำอะไรอยู่ ให้เด็กนำเสนอแค่นี้หรือ แต่เราก็ไม่ท้อ เราบอกที่บ้านว่าแค่เราเห็นเด็กเปลี่ยนแปลง เห็นเด็กรู้จักทำ อย่างน้อยสื่อเทคโนโลยีก็ทำให้เราทำงานได้คล่องขึ้น ทำให้เราเรียนรู้งานไปกับเด็ก ถ้าเด็กเรียน PowerPoint เราก็ต้องเรียนรู้ไปกับเด็ก เด็กทำแผ่นพับเราก็เรียนแผ่นพับ แต่ก่อนเวลาเด็กทำอะไรจะมีฝ่ายคอมพิวเตอร์รับผิดชอบ แต่ต่อไปนี้เราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง แล้วปรับเปลี่ยน บอกกับตัวเองว่าใจเย็นนะ ผู้ปกครองก็กดดัน เราเต็มที่กับการเรียนการสอน ภาระงานเราหนักมาก เพราะเราต้องมานั่งจดอย่างละเอียดว่าเด็กแต่ละคนคิดอย่างไรบ้าง แล้วสุดท้ายเด็กกลุ่มนี้ก็สามารถสอบเข้าโรงเรียนดังได้
 

นอกจากนี้ความกดดันไม่ได้เกิดแค่จากนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ยังเกิดจากครูในโรงเรียนด้วย เพราะเราเป็นแกนนำของโรงเรียน เขาเห็นว่าเรามามัวทำอะไรอยู่ ทำไมไม่มุ่งตรงนั้น เราไม่สามารถอธิบายเขาได้เลยว่ามันเป็นอย่างไร แต่ในกลุ่มเราจะสะท้อนปัญหากัน เราต้องเตรียมจดงานอย่างละเอียดว่าเด็กเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่มันก็ต้องมีตัวรองรับว่าเด็กทำงานมีกระบวนการขึ้น เด็กมีความมั่นใจ เด็กทำอะไรได้มากขึ้น
 

ส่วนใหญ่มักกดดันที่ตัวเราเอง ที่เด็กสามารถทำแบบนั้นได้เป็นเพราะเราสอนเด็กเก่ง  เราก็เปลี่ยนใหม่ ปีต่อมาให้เราสอนห้อง 6/4 จากการประเมินแล้วเด็กห้องนี้อ่อนสุด ใครจะมาสะท้อนอะไร เราไม่โวยวาย เราลองดูว่าถ้าเราใช้วิธีการนี้ แต่ใช้กับเด็กที่ใคร ๆ ก็บอกว่าใช้ไม่ได้ เราอยากลอง เราบอกเด็กว่าลูกเป็นใครไม่สำคัญ ครูไม่สนใจเลยว่าลูกจะเป็นใคร เกเรอย่างไร ครูไม่สน ถ้าลูกมาเป็นลูกศิษย์ครู ครูรักทุกคนเท่ากัน ครูเชื่อว่าพวกเราทำได้ เชื่อเถอะว่าพวกเราทำได้ แต่ที่ผ่านมาลูกทำแล้วหรือยัง ลูกพยายามแล้วหรือยัง ลูกสนใจหรือยัง แล้วเวลาสอนเราจะเต็มที่กับเขา เรียนกับเขา สนุกไปกับเขา ให้เขาเรียนรู้ตามบริบทของเขา ได้มา 3 เรื่อง เรื่องแรกเรื่องมะพร้าวสารพัดประโยชน์ เด็กนิยมเยอะมาก อีกกลุ่มเรื่องนิทานพื้นบ้านสตูล และจักสานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สุดท้ายให้เขาไปเรียนรู้ที่อาคารเอนกประสงค์ อยากเรียนอะไรให้เขาไปเรียนรู้ หาข้อมูลกันมา ปรากฏว่าเขามีการแสดงละคร มีนิทรรศการ มีการโต้วาที เราเห็นเราก็แปลกใจ เด็กที่ใครเห็นว่าแย่ แต่เขาทำเต็มที่ เด็กเขาเลือกเรื่องจักสาน เพราะเขาเห็นว่าจักสานสามรถแสดงละครได้ สามารถนาเอามะพร้าวมาเล่นในเรืองนี้ สามารถพัฒนามาเป็นรูปแบบของตัวเองได้
 

กระบวนการในการหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต จากห้องธรรมดาเด็กสามารถใส่ขั้นตอนการเรียนได้อย่างละเอียดแสดงว่า การเขียนความเรียงขั้นสูงเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่ต้องใส่ นำเสนอได้อย่างชัดเจน ฉะฉาน มั่นใจ ตอบได้ แล้วบอกว่านี่หนูเรียนขั้นพื้นฐาน ถ้าหนูลงพื้นที่จะทำอย่างไร ขอรถจากกรมทหาร ขอชื่อวิทยากรท้องถิ่น เพราะว่ามีผู้ปกครองท่านหนึ่งเขาแนะนำ จากนั้นก็ไปแหล่งเรียนรู้ เขียนหนังสือในนามผู้อำนวยการถึงผู้ปกครอง ชวนคุณครูท่านอื่นไปด้วย เด็กไปเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เชิญวิทยากรจากท้องถิ่นอื่น ๆมาให้ความรู้เด็กก็เรียนรู้ไป กลับมาทำของตัวเอง ทำตะกร้าให้ครูได้ใช้ ให้ผู้ปกครองได้ใช้ ผู้ปกครองเห็นว่าเด็กมีสมาธิมากขึ้น ลูกเขามีกระบวนการในการเรียน สนใจการเรียนมากขึ้น ปรับเปลี่ยนไป แต่ที่ชัดเจนคือ เขานำเอาวิชาที่เราสอนไปปรับใช้กับรายวิชาอื่น เมื่อของตัวเองเสร็จเรียบร้อย เขาออกแบบของเขาเองเป็นของห้อง เขามีการตกลงกันว่าจะใช้ลายแบบไหน เขาเริ่มเผยแพร่ สามารถเขียนรายงานของตัวเองได้ เขียนแผ่นพับได้ เราแค่มาดูว่าเด็กเขาทำอย่างไรและพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ว่าเก่งหรืออ่อนไม่ได้เป็นอุปสรรค เด็กได้แสดงออก สอนให้เด็กเขาเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการ ถ้าเขาเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการ เราไม่ต้องกลัวเลยว่าเขาจะหาความรู้ไม่ได้ เขาจะมาเขียนรายงานไม่ได้ เมื่อเขาได้ปฏิบัติจริง เราไม่ต้องกลัวเลยว่าเขาจะพูดไม่ได้ เขาจะสะท้อนให้คนอื่นรู้ไม่ได้  ขึ้นอยู่กับครูต้องใจเย็นแล้วเปิดโอกาส ผู้ปกครองก็ให้ความสนับสนุนเมื่อเขาเรียนแล้วเขาได้ ส่วนกระบวนการสอนของครูคือ “ไร้กระบวนยุทธ์ แต่ยึดกระบวนการ” หลากหลายที่เราจะจับ กระบวนยุทธ์นั้นไม่แน่นอน แต่กระบวนการ 10 ขั้นตอนของโรงเรียนอนุบาลสตูลนั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจของโรงเรียนมาก
 

เสน่ห์ของงานวิจัยคือ เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาอยากจะเรียน ได้ใช้วิธีการเรียนที่ตนเองสนใจหลากหลายมากขึ้น ไม่ต้องมายึดในตำรา เด็กต้องทำแบบนี้เราก็ให้เด็กทำ แต่กลายเป็นว่าเรามาเตรียมกระบวนการที่เราจะกระตุ้นเด็กว่าเราจะให้เด็กเรียนอย่างไร ให้เด็กกลับไปบันทึกทีหลัง เด็กได้ปฏิบัติจริง คุณลักษณะอันพึงประสงค์เขาได้ สมรรถนะผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นทักษะชีวิต เทคโนโลยี เด็กได้หมด การสื่อสารก็สำคัญ ในคณะครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีปัญหาตรงไหน สกว.เป็นพี่เลี้ยงให้ในการพัฒนาโจทย์ บางครั้งคุณครูอาจจะมีปัญหาในการเลือกเรื่อง ทาง สกว.จะมาช่วยในระยะแรก ๆ ในส่วนตรงนี้ แต่การแลกเปลี่ยนกันของครูในการมาพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหากันช่วยได้เยอะมาก ประสบการณ์ตรงนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กำลังใจกัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนในปีแรกดำเนินไปได้ และขยายผลสู่น้องๆ อีก 11 โรงเรียน
 

บูรณาการกระบวนการวิจัย : สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ที่โรงเรียนใช้กระบวนการวิจัย  10 ขั้นตอน ซึ่งปรับให้เป็นแบบเฉพาะของโรงเรียนแล้ว นำไปใช้กับหลักสูตรมาตรฐานสากลคือทฤษฎีความรู้ การเขียนความเรียงขั้นสูงโครงงานสร้างสรรค์ และโลกศึกษา แล้วเชื่อมโยงจาก 4 วิชานี้ลงไปในวิชาอื่นได้ด้วย จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรมาตรฐานสากล ผอ.ท่านมีประสบการณ์ทำวิจัยอยู่แล้ว จึงจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการนำทั้ง 4 วิชานี้มาจัดด้วยกัน แต่แน่นอนว่าการจัดโครงสร้างหลักสูตรเราต้องมาช่วยกันวิเคราะห์ให้ได้ว่าหลักสูตร 4 วิชานี้สัมพันธ์และเชื่อมโยงอย่างไร ต้องวิเคราะห์หลักสูตรก่อน แล้วกำหนดตารางเรียนเพิ่มขึ้นคือสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง 4 วิชาหมายความว่า เรียนเพิ่ม 4 ชั่วโมง เป็นหลักสูตรที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรานำกระบวนการวิจัยไปลงตรงนั้น เราก็มาดูว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร ยกตัวอย่าง สิ่งแรกที่เราจะสอนคือ การวิเคราะห์โครงสร้างของหลักสูตร ทฤษฎีความรู้ การที่จะเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ  นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนว่า การเขียนความเรียงขั้นสูง เมื่อเราได้ความรู้มาแล้วนำมาเรียบเรียง เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ ทำอย่างไรให้เป็นหลักสูตรก็เจาะต่อไปอีกว่าของ ป.6 เด็กควรจะเรียนรู้ประมาณไหน แล้วเป็นของใหม่จะไปหาที่ไหนก็ยังไม่มี มีแต่ตัวทฤษฎีมาหนึ่งหน้า เราต้องมาดูอีกว่า 10 ขั้นตอนนั้นเรามาปรับเป็นของเรา
 

โชคดีตอนที่ปรับนั้น เรามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เรามาทำความเข้าใจว่าจะเชื่อมโยงอย่างไร จะลื่นไหลอย่างไรให้ต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ที่สำคัญการวัดผล จะวัดผลอย่างไรให้ได้ 4 วิชาในกิจกรรมเดียว หรือว่าใน 4 วิชานั้นบรรลุอะไรบ้าง แล้วเชื่อมโยงไปในคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างไร เชื่อมโยงไปที่กระบวนการคิดได้อย่างไร ต้องมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อน พอเข้าไปที่ห้องเรียนเด็กยังไม่คุ้นชิน  ถามว่าลูกเรียนวิชาอะไร เขาตอบว่าเรียนวิชาบูฯ เด็กไม่เข้าใจหรอกว่า 4 วิชาคืออะไร แล้วนำมาใส่ทีเดียว เด็กก็ยังไม่เข้าใจ แต่เรียนรู้ไป ให้เขาค่อย ๆ ซึมซับไป กระบวนการก็ใหม่ วิธีการก็ใหม่ เด็กมีความคาดหวังที่จะสอบเรียนต่อ ผู้ปกครองหวังว่าลูกต้องสอบได้โรงเรียนดัง แล้วสอนก็เพิ่มด้วย ภาระงานครูก็เพิ่มมากขึ้น
 

จึงเริ่มจากการสร้างความคุ้นเคยให้มากยิ่งขึ้น อาจจะมีการนำเสนอให้คิด แทนที่จะให้เขาเลือกเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่เราใช้วิธีการชวนคุยก่อนว่าในสิ่งรอบตัวที่นักเรียนผ่านมาก่อนเข้าเรียนเป็นอย่างไร ให้เขารู้สึกว่าเขามองเห็นว่ารอบๆ เขาเห็นอะไร เขาคิดถึงอะไรบ้าง ปล่อยให้เขาคิดไป ต่อไปให้เขาลองไปเดินรอบ ๆ โรงเรียน แล้วให้เขามองว่าสนใจอะไรบ้าง แล้วเดี๋ยวกลับมาเจอกันที่นัดไว้ ปล่อยเขาไปตามอิสระแต่เราจะกำหนดเวลาให้เขาเลือกว่าเขาจะใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วมาบอกครูว่าเขาสนใจอะไรบ้าง แล้วเขามานำเสนอ ซึ่งเด็กเขาจะมีมุมคิดต่าง เห็นขยะเหมือนกันแต่มีมุมมองความคิดที่ต่าง เห็นใบไม้เหมือนกันแต่มีมุมมองความคิดที่ต่าง เขาเริ่มเห็นเทศบาล เห็นมัสยิด รอบ ๆ โรงเรียน ห้องต่าง ๆ เริ่มเห็นความต่าง ต่อไปเราจะกลับบ้าน รอบๆ บ้านนักเรียนหรือว่าเวลาเดินทางไปมาเห็นอะไรบ้าง ในสิ่งใกล้ตัวที่กระตุ้น แล้วให้เขานำเสนอออกมา เขานำเสนอมาในจุดนี้ แต่แทนที่เขาจะบอกเฉย ๆ ให้นักเรียนบอกว่าสิ่งที่ลูกสนใจนั้นมีเหตุผลอะไร อธิบายเพิ่มมานิด จะได้เข้าใจว่าสนใจเพราะอะไร
 

ตรงนี้เป็นโอกาสที่เราจะฝึกให้เด็กกล้าพูด ฝึกเขียนเล็กๆ น้อย ช่วงแรกๆ ความมั่นใจอาจจะยังไม่ค่อยมี เขาจะยังไม่ค่อยกล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก พอมาพูดแล้ว เพื่อนมองว่าไม่น่าสนใจเลย แต่ครูมองว่าดี เด็กนักเรียนพูดได้ เป็นมุมมองที่ดีที่ครูนึกไม่ถึง เขาเริ่มคิดว่าต่อไปถ้าเรารู้จักมองอะไรที่กว้างขึ้น เราลองไปเจาะอีก ต่อมาเด็กก็จะได้มุมมองที่หลากหลาย เรามาดูว่าหลากหลายนี้เรามาดูด้านปัจจัย สิ่งแวดล้อม แล้วมาจับกลุ่มว่าควรจะเป็นอะไร ควรจะอยู่กลุ่มเดียวกับอะไรบ้าง เด็กจะจับกลุ่มในกระดาษปรู๊ฟ ใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน ถ้าเมื่อไรเด็กไม่เนียน เขาจะไม่เข้าใจ เด็กเขาก็เริ่มที่จะมานำเสนอ และจัดกลุ่ม อาจจะมีกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยไม่เกี่ยง เพราะว่าจัดตามเรื่องที่เขาสนใจ
 

จากกระบวนการตรงนี้เริ่มมีการจัดกลุ่มเกิดขึ้น เราจะไม่วางกลุ่มตามใจเรา แต่ให้เขาจับกลุ่มตามที่เขาสนใจ แล้วแตกประเด็นที่เขาสนใจได้มา 15 กลุ่ม เด็กเขาจะไปศึกษา เลือกประธานกลุ่ม เลขากลุ่ม ให้เขาคิดเองว่าประธานมีหน้าที่อย่างไร เลขาควรมีหน้าที่อย่างไร แล้วคนอื่นควรจะมีส่วนร่วมอย่างไร แล้วไปหาข้อมูลเพิ่ม ในเรื่องที่สนใจจากไหนได้บ้าง เพื่อมานำเสนอเป็นแผนภูมิความคิด พอนำเสนอก็ต้องนำเสนอด้วยเหตุผล เด็กเขาได้ฟังจากลุ่มอื่นด้วย ก็เริ่มคิดแล้วว่าประเด็นไหนจะเป็นไปได้บ้าง ตอนต่อไปอาจจะเพิ่มหลักในการเลือกเรื่อง ถามเขาก่อน เราไม่ต้องกำหนดเอง เกิดจากเขาสนใจ แล้วเรื่องที่เขาสนใจอยู่ตรงไหน ไปทำได้สะดวกไหม เขาจะตอบเรา แล้วสามารถทำจริงได้ไหม มีแหล่งข้อมูลหรือเปล่า เกิดประโยชน์ต่อตัวเราและคนรอบข้างหรือไม่ สังคมชุมชน เขาจะค่อย ๆ ตัดไปเอง กลายเป็นว่าเหลือตลาดนัดวันเสาร์ ปลาเค็ม และดอกไม้จันทน์ ปลาเค็มเขาออกแบบบรรจุภัณฑ์ไว้อย่างดี ติดตราอนุบาลสตูล  แต่พอจะทำจริง ๆ ก็เกี่ยวข้องกับฤดูกาล สถานที่ สุดท้ายเรื่องที่ไม่มีใครสนใจคือ ตลาดวันเสาร์ มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า หนูเห็นว่าตลาดนัดนี้มีมาตั้งนานแล้วแต่ยังไม่พัฒนา เราให้นักเรียนลงพื้นที่จริง ๆ จากนั้นก็มาเลือกกัน ตลาดนัดวันเสาร์เป็นเรื่องที่เขาเลือกกันเป็นเอกฉันท์ เป็นเรื่องกว้างและใหญ่มากจะหาข้อมูลอย่างไร เขาไปลงพื้นที่แล้วบอกว่าตลาดนัดวันเสาร์ที่เขาไปดูมาทางเดินแคบ บางที่ก็มืด ที่ทิ้งขยะไม่มี ที่จอดรถไม่มี อันตราย เขาไปเชิญเทศบาลที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ทางเทศบาลส่งคนที่รับผิดชอบทางเรื่องนี้กับรองมานำเสนอนักเรียน เด็กเขาจดแล้วก็ตั้งคำถาม แล้วก็บอกว่าเขาสนใจจะเรียน พอลงไปเขาเริ่มศึกษา เริ่มวางแผนว่าทำไมเขาอยากรู้เรื่องนี้ ในแต่ละกลุ่มย่อย
 

ตัวครูมีหน้าที่ในการกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด เราต้องมีทิศทางที่จะไปกระตุ้นแต่ไม่ชี้แนะ การชี้แนะเด็กเขาจะทำตามที่เราชี้แนะ แสดงว่าทั้งปีเราต้องชี้แนะ ภาระก็อยู่ที่เรา แต่ถ้าเมื่อไหร่เรากระตุ้นแล้วเด็กคิด เด็กทำ เราเรียนไปกับเด็ก นั่นแหละเขาเรียนอย่างสนุก เพราะเขาได้คิดได้ทำ เขาเพลิดเพลินท้ายที่สุดพอเขาวางแผนลงมือปฏิบัติจริง
 

ตลาดนัดวันเสาร์จัดเวลากลางคืน ผู้ปกครองมาร่วมด้วยช่วยกัน มาสรุปงานว่าจากที่เขาไปศึกษามาเขาจะนำเสนอเทศบาลว่าอย่างไร การจัดโซนสินค้า เรื่องทางเดิน ความสว่าง เรื่องขยะ เรื่องลานจอดรถ เขาทำโมเดลนำเสนอ เชิญชวนอย่างไรให้เป็นที่รู้จัก ทำเพลงเผยแพร่อย่างไร ทำเป็นแผ่นพับ  เวลาใครไปใครมาเขาสามารถที่จะอธิบายเขาทำได้ เป็นงานที่สำเร็จ
 

ส่วนครูจะมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน  ช่วงตอนเย็นจะมีการแลกเปลี่ยนกันว่าที่สอนไป เราเจอปัญหาอะไร หรือวิธีใดที่ทำแล้วได้ผลดี มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าติดขัดจริง ๆ ก็จะไปปรึกษา ผอ. ซึ่งท่านก็เป็นกำลังใจให้เราได้เดินต่อไป เวลามีปัญหาก็ช่วยดูแล ทีมสกว.มาช่วยคลี่คลายให้เราสามารถดำเนินงานต่อได้
 

อย่างกรณีที่ต้องลงไปสำรวจพื้นที่ช่วงกลางคืน เรามีวิธีการคือจะถามเด็กนักเรียนก่อนว่าเราจะไปกันตอนกลางคืน เราจะมากันอย่างไร  นักเรียนเขาก็เขียนจดหมายถึงผู้ปกครอง บอกให้รู้ว่าตอนนี้เราเรียนวิชาบูรณาการโดยใช้กระบวนการวิจัยมาบูรณาการในหลักสูตรมาตรฐานสากล จำเป็นต้องลงปฏิบัติจริง แล้วต้องใช้เวลาช่วงนี้ แล้วเขียนจดหมายถึงผู้ปกครอง ขอความกรุณาผู้ปกครองมาส่ง ให้เด็กคิดเอง เราคอยเติมเต็ม เอาจดหมายนี้ไปให้ผู้บริหาร แล้ววางแผนว่าที่เขาได้ข้อมูลเรื่องอะไรบ้าง ใครทำหน้าที่อะไร แบ่งบทบาทหน้าที่กัน ครูจะทำหน้าที่กระตุ้น แล้วมาคุยกันก่อนว่าถ้าทำแบบนี้คนอื่นมีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อเด็กวางแผนกันเสร็จแล้วนัดกันหน้าโรงเรียนว่าเวลานี้พร้อมกันนะ เขาจะมีการแบ่งหน้าที่ว่าทีมเขามีใครบ้างรับผิดชอบอะไร กล้องถ่ายรูปมีหรือไม่ ประเด็นคำถามเตรียมหรือยัง จะถามอย่างไร ใครจะเป็นคนถาม ใครจะเป็นคนอัดเทป ใครจะเป็นคนถ่ายรูป รับผิดชอบกันไปกระจายไปตามกลุ่ม อยากให้ครูคนไหนช่วย เพราะครูคนเดียวดูแลไม่ได้คนเยอะ กลางคืนอีกใครจะเช็คสถิติว่าใครมาใช้ตลาดเท่าไหร่ เด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ความปลอดภัยเป็นอย่างไร ประสานงานอย่างไร การจราจรเราจะจัดอย่างไร ไปกันเยอะ ๆ  จะข้ามถนนอย่างไร เขาวางแผนกันถึงเวลาเขาก็จะเชิญคุณครูท่านนั้นมาดูแล เชิญพี่คนนั้นมาดูแล เจ้าหน้าที่ สกว. เชิญมาด้วย พอถึงเวลานัดหมายมาพร้อมกันที่จุดที่เรานัดไว้ ผู้ปกครองก็มารับลูกกลับ  พออีกครั้งก็มาสรุปงานว่างานที่ได้มานั้นได้อะไรมาบ้าง กลุ่มไหนได้อย่างไรให้นำมาเสนอ ฉายขึ้นจอเลยในแต่ละกลุ่ม ใครสมัครเป็นมือพิมพ์ ถ้าเพื่อนพูดแบบนี้เราจะจดอย่างไร ใครเป็นซักถาม ตัวเราก็เป็นนักเรียนคอยจดไปกับเขาด้วย เลขาใครจะเป็นเลขาคอยจดไปกับเรา บางทีเราก็มองมุมมองของเด็กด้วยได้ด้วยว่าเขาจดอะไรไป แล้วก็สรุปงานออกมา
 

การประชุมช่วงแรก ๆ จะบ่อยมาก  ครูทั้ง 12 คน จะคุยกันเต็มที่ ตั้งแต่ ป. 1 เลย อะไรที่เป็นปัญหาให้บอกมาเผื่อว่าเราจะช่วยกันแก้ไข ผู้บริหารจะรับรู้ตลอด เพราะท่านเป็นคนดึงเรื่องนี้มาใช้ ท่านก็จะเป็นพี่เลี้ยงเรา และก็เป็นกำลังใจ ส่วนที่ยากที่สุดคือโจทย์ของการวิจัย เดือนสองเดือนก็แล้ว  เด็กยังหาเรื่องไม่ได้  ห้องเราที่ได้มามันยังไม่เจาะลึกไม่แหลมคม ตลาดนัดวันเสาร์แล้วเด็กถามว่า ศึกษาแล้วไปทำอะไร เด็กนักเรียนเขาก็ส่งเมลมาให้เรา จากที่เราไม่เป็นเรื่องนี้ แต่ก่อนเรามีหน้าที่แค่คิดแล้วร่าง แล้วจะมีเจ้าหน้าที่คอยทำให้ แต่เดี๋ยวนี้เราต้องฝึก  เด็กเขาบอกว่าเรียนแล้วรู้เฉย ๆ แล้วถ้าเรานำไปให้เทศบาลดู ชั่วโมงต่อไปเราจะสร้างโจทย์ใหม่แล้วคุณครู นักเรียนเขาบอกว่าพวกเราจะสร้างโจทย์ใหม่ เขาถามกันว่าที่อยากรู้นั่นอยากรู้เพราะอะไร เขาบอกว่าเมื่อเราพัฒนาแล้วให้อยู่ยั่งยืนนาน  เรานึกไปไม่ถึง เพราะเราไม่ได้เรียนวิจัย แต่เราชอบอ่าน พัฒนาตลาดนัดวันเสาร์ให้ยั่งยืน ช่วงแรกก็กลัวว่าเทศบาลจะว่า ว่ามายุ่งอะไรกับเขา แต่พอเด็กเขานำเสนออะไรเทศบาลก็รับฟัง ปัจจุบันตลาดนัดวันเสาร์คึกคัก เพราะเราไปช่วยกระตุ้น
 

ปัญหาอุปสรรค : อันดับแรกคือตัวเรา คือเราก็อายุมากแล้ว จนกระทั่งคนในสตูลเห็นเรา เขาบอกว่ามาแล้วครูภาษาไทย  เราเป็นวิทยากรมาเยอะหัวโขนติดอยู่ในตัวเราเยอะมาก เราต้องปรับตรงนี้ให้ได้ก่อน ปรับตัวเองให้ได้ก่อน แต่อาจจะเพราะว่าเราชอบการเรียนรู้ ชอบอ่าน ชอบค้นคว้า พอเขาบอกให้เราสอนแบบนี้ เราก็ศึกษาเลย จากทั้ง 2 หลักสูตร เราไม่ได้ไปอบรม หลักสูตรแกนกลางเราก็ไม่ได้ไปอบรม เราไม่รู้เรื่องนี้เลย แต่เรากลับมาอ่าน การอ่านทำให้เราเข้าใจ พอมาถึงตรงนี้เราต้องปรับตัวเองให้เข้าใจกระบวนการการวิจัย  10 ขั้นตอนทำอย่างไร เกิดแน่นอนอุปสรรค เมื่อเราปรับใจของเราได้แล้วแน่นอนคือการยอมรับ ไม่ได้สอนแบบแกน ๆ ถ้าสอนแบบแกนเราก็เครียดไปทั้งปี เรายอมรับการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะใช้หนังสือเพียงเล่มเดียว หรือว่า PowerPoint อย่างเดียว เราเป็นคนชอบทำแผนการสอน เพราะว่าเราอาจจะกลัวก็ได้ เพราะต้องสอนหลายวิชา ผู้ปกครองก็ตามงานของเราตลอด เราเองก็กลัวหลงเตรียมมาก่อนเสมอว่า ถ้าเราสอนอย่างนี้เป้าคืออะไร คะแนนวัดผลมาจากไหน แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าเราเตรียมกระบวนการ เรียนอย่างไรขึ้นอยู่กับเด็ก แล้วกลับไปจดบันทึกอย่างละเอียด วัดผลอย่างไรให้ครอบคลุม 4 รายวิชา กระบวนการคิดมา คุณลักษณะเกิด เราต้องทำอย่างไร เราต้องปรับวิธีการของเรา
 

นอกจากตัวเองแล้ว ครูในโรงเรียนก็มีความคาดหวัง เรารับผิดชอบ 3 ห้อง แล้วครูที่สอนวิชาหลัก ๆ เขาก็คาดหวังกับเราว่า เด็กจะสอบเข้าโรงเรียนดังๆ ได้ไหม ตัวเด็กเองก็มองว่าต้องไปเรียนพิเศษไม่มีเวลา ผู้ปกครองก็เห็นว่าเราทำอะไร ไปเรียนทำไมขยะ ไปเรียนทำไมห้องน้ำ นี่เป็นความกดดันที่เป็นความคาดหวัง ทางเดียวที่จะทำให้เขายอมรับได้คือ เราต้องทำงานของเราให้ดีให้ละเอียดให้บรรลุในเป้าที่เด็กควรจะได้ไป โดยที่เด็กเป็นคนเกิดเองเราเป็นคนให้กระบวนการ สิ่งที่เกิดกับเด็กชัดเจนคือ มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงออกมากขึ้น มีทักษะการจดบันทึก การศึกษาค้นคว้า กระบวนการคิดมากขึ้น ความเอื้อเฟื้อความมีน้ำใจ
 

คุณครูท่านอื่นมองว่าเราทำอะไรกัน จะได้แค่ไหน ถ้าเราบอกว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า แต่พอทำงานไปก็จะเกิดตามมา กระบวนการคิดกระบวนการค้นคว้าการสืบหาข้อมูล การช่างสังเกต และการใช้สื่อทางอินเทอร์เน็ต ทักษะชีวิตการแก้ปัญหา การปรับตัวการยอมรับ เด็กพัฒนาขึ้น เราก็มาคิดว่าเป็นไปได้ไหมที่เด็กรู้จักที่จะละเอียดในการอ่านข้อสอบมากขึ้น เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ ความนิ่งความมีสมาธิของเขา เด็กที่จบจากโรงเรียนเรา ผู้ปกครองมาสะท้อนให้เราฟังว่าเขามีความเป็นผู้นำมากขึ้น
 

จากครู 12 ท่าน ปัจจุบันมี 36 คน เพิ่มเด็กอนุบาลด้วย ป.1 - ป.6 .ใช้จัดการเรียนรู้แบบวิจัยทุกระดับชั้นซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของโรงเรียนเรา