เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะที่ดีให้เด็ก

สถานการณ์เรื่องราวที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาเด็ก เริ่มจากมีนักเรียนชายในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวนหนึ่งเป็นนักเรียนที่มีปัญหาครอบครัว ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ เพราะความยากจนและไม่มีความรู้ พ่อแม่ต้องไปประกอบอาชีพค้าขายในต่างจังหวัด ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพขายน้ำเต้าหู้ทั่วประเทศไทยเด็กต้องอาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ไม่รู้หนังสือ การดูแลเอาใจใส่ จากผู้ปกครองไม่ดีเท่าที่ควรบางคนติดเกมส์ติดรุ่นพี่วัยรุ่นที่เกเรขาดเรียนบ่อยไม่อยากมาโรงเรียนรังแกเพื่อนไม่รู้เวลาไม่รู้หน้าที่ไม่รักเพื่อน ไม่มีความรับผิดชอบ ทำให้เสียเวลาในการอบรมในชั้นเรียนเพื่อนๆ และครู มีความรู้สึกไม่ดี ต่อนักเรียนกลุ่มนี้
ครูใช้กระบวนการพัฒนาปัญญาภายในโดยใช้กิจกรรมจิตศึกษาในการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก (เครื่องมือนวัตกรรม)มีองค์ประกอบ คือ การสร้างชุมชนสิ่งแวดล้อมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความร่มรื่นสะอาดเสียงเพลงกระตุ้นการเรียนเรียน เพลงคลื่นสมองต่ำการพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่เป็นมิตรระหว่างครูและนักเรียนบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นไปด้วยความอบอุ่น มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ความเคารพซึ่งกันและกันสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียนทำให้เป็นวิถีประจำและสม่ำเสมอใช้จิตวิทยาเชิงบวก เพื่อเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ไม่ดุด่าว่ากล่าวแต่จะใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนได้คิดว่าสิ่งที่ทำเป็นอย่างไร ผลดีอย่างไร ผลเสียอย่างไรไม่ใช้คำถามหรือคำตอบเพื่อเป็นการตัดสินว่าถูกหรือผิดดี หรือไม่ดีการเสริมแรงทางบวกเมื่อนักเรียนทำสิ่งเหมาะสมโดยการฝึกฝนกิจกรรมจิตศึกษาเป็นประจำทุกวันการใช้กิจกรรมจิตศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนาปัญญาภายในเห็นคุณค่าของตัวเอง และคุณค่าของทุกสรรพสิ่งกิจกรรมฝึกกำกับสติเพื่อให้เกิดสมาธิและให้เกิดการรู้ตัวและสามารถควบคุมตนเองได้รู้สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ สิ่งไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม โดยกิจกรรมเช่น กิจกรรมการส่งสิ่งของเช่น แก้วน้ำที่มีน้ำอยู่เต็มแก้วเทียนที่ติดไฟลอยในแก้วน้ำ แล้วให้นักเรียนคิดเรื่องราวดีๆ ที่ครูกำหนดโจทย์ให้ในวันนั้นๆ โดยนักเรียนแต่ละคนจะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ เป็นการฝึกกำกับสติ และได้ใช้ความคิด โดยผ่านกิจกรรมและได้ฝึกสติได้อย่างแยบยลกิจกรรมให้นักเรียนดูคลิป หรือรูปภาพคนที่อยู่อย่างยากลำบากกว่าเรา เช่น คลิปวีดีโอ การขาดแคลนอาหารในแอฟริกาใต้เมื่อดูแล้วให้ตั้งคำถามกับเด็ก ว่าเห็นอะไรกับคลิปนี้รู้สึกอย่างไรบ้างจะให้กำลังพวกเขาอย่างไรเป็นต้น โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดเพื่อให้เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Body scan ซึ่งทำในช่วงบ่ายก่อนเข้าเรียน ประมาณ 15 – 20 นาที โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมของสมองให้รู้สึกผ่อนคลาย และเตรียมพร้อมเรียนรู้ในช่วงบ่ายโดยให้นักเรียน นอนหงายในท่าที่สบาย ใช้เพลงคลื่นสมองต่ำเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย ระหว่างนั้นครู พูดให้นักเรียนกำหนดจิตให้ไปในอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ให้ผ่อนคลายทีละส่วนเพื่อให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย หลังจากนั้น เล่าเรื่อง หรืออ่านนิทาน สอดแทรกคุณธรรม ที่พึงประสงค์ และปลุกให้ตื่นโดยพูดให้กลับมารู้สึกตัว โดยกำหนดจิตไปที่อวัยวะทีละส่วนจากนั้นให้นักเรียนนั่งและทำ Brian gym2-3 ท่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือเกิดความเปลี่ยนแปลงกับเด็กอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนักเรียนรู้เวลา รู้หน้าที่ตั้งใจเรียน รักที่จะมาโรงเรียนมีความรับผิดชอบมีความกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นมีน้ำใจทำสิ่งต่างๆได้ตามศักยภาพของตนเองสามารถอธิบายถึงสิ่งที่ตนเองกระทำได้อย่างมีเหตุผลส่วนตัวครูก็ได้เรียนรู้จากการกิจกรรมดังกล่าว คือมีความเข้าใจเด็กมากขึ้นหากิจกรรมที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของเด็กรักเด็กและเห็นคุณค่าของทุกคน จัดกิจกรรมในการเรียนรู้ให้เหมาะกับนักเรียน แต่ละคนเป็นนักเรียนรู้พยายามเรียนรู้ไปพร้อมๆกับนักเรียน ในเรื่องใหม่ๆยอมรับความคิดเห็นของนักเรียนรู้จักการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักคิด เป็นครูที่ดีด้วยจิตวิญญาณรู้จักนักเรียนทุกคน รู้ปัญหาของนักเรียนและหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครองและครูคนอื่น เข้าอกเข้าใจผู้อื่น