เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะที่ดีให้เด็ก

จุดเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาเด็กคือ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไม่ค่อยรู้คุณค่าของสิ่งของ มีการใช้ทรัพยากรของฟุ่มเฟือย ทั้งในด้านของไฟฟ้า อาหาร และสิ่งของอื่น ๆอีกทั้งไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน ไม่มีความอดทนและพยายามรังแกเพื่อน และไม่อยากมาโรงเรียนและครูใช้กระบวนการในการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็กคือใช้ในกิจกรรมจิตศึกษาเป็นการพัฒนาปัญญาภายใน ในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียนและใช้ในการทำ Body scanในช่วงบ่าย ส่วนจิตวิทยาเชิงบวกใช้ตลอดเวลารูปแบบของกิจกรรมที่ใช้ คือ กิจกรรมการเล่าเรื่องและเรื่องเล่าที่ครูต้องสะท้อนในการแก้และปรับพฤติกรรมของเด็กเช่นเรื่องไล้ตงจิ้นลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิตเมื่อครูใช้กระบวนการเล่าเรื่องแล้ว ครูจะใช้คำถาม กระตุ้นการคิดว่ามีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นบ้าง และถ้าลูกเป็นตัวละครดังกล่าวลูกจะแก้ปัญหาอย่างไร คิดอย่างไรกับการแก้ปัญหาของตัวละครดังกล่าว และได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้ ซึ่งหลังจากใช้กิจกรรมนี้ ทำให้เห็นเกิดความสำเร็จความเปลี่ยนแปลงกับเด็กคือ การมีสติ รู้ตัวและยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นมีวันหนึ่งที่พี่ปลาและพี่ฟลุ๊กทะเลากัน เช่นวันต่อมา ครูได้ทำกิจกรรมจิตศึกษาและถามพี่ป.6 ว่า ทำอย่างไรเมื่อคนอื่นมาพูดไม่ดีกับเรา ทำไม่ดีกับเราๆถึงจะไม่ไปมีเรื่องเขา พี่ๆป.6 ตอบว่า เราต้องมีสติมีความอดทน ครูก็เลยพูดว่าถ้าอย่างนั้นอีกหนึ่งอาทิตย์เราลองทดสอบสิว่าเราจะทำได้ไหมอาทิตย์ต่อมาครูก็ถามนักเรียนใครมีเหตุการณ์ที่เราทำสำเร็จในการกำกับสติมาเล่าให้ฟังพี่ปลาเล่าว่า มีคนเมาเดินมาทุบขวดอยู่หน้าบ้านเขาไม่ออกไปด่าไปต่อว่าเพราะกลัวจะมีเรื่องและน้องบาสหลานพี่ปลาอยู่ชั้นอนุบาลไม่อยากมาโรงเรียนด่ายาย พี่ปลาไปบอกก็ดาพี่ปลา ถ้าปกติพี่ปลาต้องตีน้องแล้ว แต่พี่ปลาก็บอกน้องจนน้องรู้สึกผิดและขอโทษยายนอกจากนั้นพี่ป.6 ยังตั้งใจเรียนรักที่จะมาโรงเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้นกล้าแสดงออกมีน้ำใจอดทน และ พยายามทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นกล้าหาญและรู้คุณค่าของบุคคลสิ่งของและสิ่งรอบตัวมากขึ้นสิ่งที่ครูได้เรียนรู้จากการสร้างการเรียนรู้เช่นนี้เกิดความเข้าใจเด็กมากขึ้นรักเด็กและให้คุณค่าทุกคนเป็นนักเรียนรู้เป็นครูที่ดีด้วยจิตวิญญาณเห็นนักเรียนรู้จักนักเรียนทุกคนเข้าอกเข้าใจผู้อื่น

วันที่7พฤษภาคม2558