เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เด็ก

สถานการณ์เรื่องราวที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาเด็ก

โรงเรียนบ้านปะทาย ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาส และอยู่ภายใต้การเปลี่ยนทางการศึกษาไทยในแต่ละยุคจนกระทั่งถึงในยุคปัจจุบันท่ามกลางกระแสแห่งการแข่งขันและความเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ในแนวปฏิบัติหลายๆปีที่ผ่านมามักจะเชื่อว่าความรู้ที่แท้จริงที่จะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในชีวิตได้คือความรู้จาก ตำราเรียนเท่านั้นและให้ความสำคัญกับเนื้อหาในตำรา ครูจะพยายามบอกความรู้ให้กับผู้เรียนเนื้อหาที่ต้องเรียนนั้นมีมากมายและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เวลาที่มีจึงไม่ เพียงพอสำหรับกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องลงมือปฏิบัติ ครูไม่เห็นความสำคัญของเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการฝึกฝนทักษะหลายๆ อย่างของผู้เรียน เช่น ทักษะทางร่างกาย ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด และทักษะทางอารมณ์ จึงพบเห็นปัญหา คือ เด็กไม่อยากมาโรงเรียน เด็กรังแกเพื่อนไม่รักเพื่อนไม่ตรงเวลาไม่รับผิดชอบไม่ส่งงาน ฯลฯตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทุกเช้าจะมีการตรวจดูว่าใครไม่มาเรียน ครูจะถามเพื่อนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะได้ยินตอบว่า “เขาไม่อยากมาค่ะ”“เขาไปร้านเกมค่ะ”หรือช่วงเรียนอยู่ก็จะมีการฟ้องว่า “พี่เติ้ลเขาเอาไม้บรรทัดตีหนูค่ะ” “คุณครูพี่เขาไม่ทำงานช่วยค่ะ”

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4มีจำนวนนักเรียนทังหมด21คนได้ข้อมูลการชอบขาดเรียนของ เด็กชายปรัชญาร้อยชิน ,เด็กชายพงษ์ศักดิ์กุลหอม ,เด็กชายวัชราภรณ์ศรีสังข์และเด็กชายนัทธพงศ์ยอดแก่น ที่ได้ มาจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 3และจากการออกไปเยี่ยมบ้านปัญหาที่พบอาจเกิดขึ้นจากหลายๆ สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่อยากมาโรงเรียนเช่นเด็กชายปรัชญาร้อยชิน คุณพ่อคุณแม่ไปทำงานต่างจังหวัดทิ้งให้ลูกอยู่กับคุณตาคุณยายคุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยกลับมาเยี่ยมบ้าน ทำให้พี่เติ้ลขาดเรียนไม่รับผิดชอบต่อตัวเองในการทำงานและติดเกมส์มีนิสัยชอบรังแกเพื่อน ทั้งชายและหญิงถ้าพี่เติ้ลทำอะไรผิดคุณตาก็จะตี (จากข้อมูลเดิมป.1 – ป. 3)คุณตาคุณยายจะพาพี่เติ้ลไปอยู่ที่นาซึ่งห่างไกลหมู่บ้านพอสมควรแต่พี่เติ้ลจะมีจิตอาสาช่วยงานกิจกรรมของโรงเรียนช่วยทำงานที่ใช้กำลังมากกว่าการคิด พี่เติ้ลจะรักน้องและช่วยดูแลน้องชายเวลามาโรงเรียนเป็นอย่างดี , เด็กชายนัทธพงศ์ยอดแก่นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ซึ่งแม่กับพ่อจะต้องดูแลน้องเล็ก2คน ดูแลหลานสาวที่เรียนอยู่ ป. 5 อีก2คนและดูแลคุณยายที่ตาบอดอีกหนึ่งแทนญาติคนอื่นๆ ที่ไปทำงานที่กรุงเทพฯแล้วส่งเงินมาซื้อข้าวสารพี่ก้องจะอยู่บ้านที่เป็นกระต๊อบเวลาครูไปเยี่ยมบ้านพี่ก้องจะไม่อยู่บ้านเพราะอายจะไปดักรอบ้านเพื่อนพี่ก้องจะไม่ค่อยได้ห่อข้าวสารมาโรงเรียน พี่ก้องติดเกมจึงไม่อยากมาโรงเรียน , เด็กชายพงษ์ศักดิ์กุลหอม อาศัยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่แต่เป็นเด็กขาดสารอาหารไม่ชอบดื่มนมของโรงเรียนติดเกมบางทีไม่ได้เล่นเกม ก็ขาดเล่นอยู่บ้านไม่ให้เกียรติ หรือรู้คุณค่าของตนเอง คุณพ่อคุณแม่จะตักเตือนก็ไม่ใส่ใจ, เด็กชายวัชราภรณ์ศรีสังข์จะเป็นเด็กที่เรียนช้าแต่เป็นคนที่มีจิตอาสาเป็นเลิศช่วยกิจกรรมของโรงเรียนช่วยงานครูดูแลต้นไม้ แต่ชอบขาดโรงเรียนบ่อย

หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือช่วงปิดภาคเรียนเป็นเวลานานเด็กๆในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4จะมีเวลาว่างเยอะจากการที่ไม่ได้ไปโรงเรียนเด็กๆก็จะขอเงินจากคุณตาคุณยายคุณพ่อ คุณแม่ไปเล่นเกมซึ่งร้านเกมก็มีอยู่ในหมู่บ้านความรักการเอาอกเอาใจของคุณแม่คุณพ่อภาวะปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัวสภาพแวดล้อมทางสังคมทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลลูกให้ใส่ใจในเรื่องของการเรียนทำให้เด็กขาดการควบคุมตนเองและยับยั้งชั่งใจ หรือไม่รู้กาลเทศะไม่มีสัมมาคารวะ ไม่ขยันหมั่นเพียร สร้างนิสัยที่จะเอาชนะเพื่อให้ได้ตามใจของตนเองเด็กกลัวการแยกจากพ่อแม่ผู้ปกครองบางครั้งปัญหาก็เกิดจากความกลัวที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น กลัวถูกเรียกถามในชั้นเรียน กลัวครูตำหนิกลัวการโดนแกล้ง เมื่อเริ่มภาคเรียนใหม่การที่จะต้องแยกห่างบุคคลอันเป็นที่รักสิ่งที่ชอบการเอาอกเอาใจ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กปฏิเสธไม่อยากไปโรงเรียนแล้วก็จะบอกผู้ปกครองว่าไม่สบายเด็กจะรู้สึกเครียดกับภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวก็จะทำให้เด็กประสบปัญหาในเรื่องการตัดสินใจระหว่างบ้านกับโรงเรียนเด็กจะผัดวันประกันพรุ่งในเรื่องการไปโรงเรียน จนทำให้เด็กไปเรียนไม่ทัน การให้เด็กได้อยู่บ้าน อาจเป็นทางเลือกที่ดี ของผู้ปกครองที่มีอายุมากแล้วจึงทำให้เด็กไปโรงเรียนได้ยากขึ้นในวันถัดไปด้วยเหตุนี้ครูประจำชั้นจึงแก้ปัญหาโดยใช้ได้กระบวนการหรือเครื่องมือที่เรียกว่า “จิตศึกษา” เป็นการพัฒนาปัญญาภายในของผู้เรียน


กระบวนการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก

ผู้บริหารได้ให้คณะครูมีโอกาสไปเรียนรู้ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาในเรื่อง “จิตศึกษา” จึงได้นำแนวคิดและกระบวนการ “จิตศึกษา” มาพัฒนาเด็ก และครู ให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านความฉลาดทางด้านอารมณ์ความฉลาดด้านจิตวิญญาณการเรียนรู้ตามแนวทาง “จิตศึกษา” สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในตัวเด็กครูผู้ปกครอง และนำไปสู่การบ่มเพาะคุณลักษณะเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างถาวรยั่งยืน

องค์ประกอบของ “จิตศึกษา” มีสามประการคือ1) การใช้จิตวิทยาเชิงบวก2) การสร้างชุมชนและวิถีชุมชน 3) การจัดกระทำผ่านกิจกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของจิตศึกษา

การใช้จิตวิทยาเชิงบวกกรอบคิดทางจิตวิทยาเชิงบวกคือศรัทธาในความดีงามของมนุษย์และบ่มเพาะผู้เรียนให้มีคุณค่าที่ดีงามซึ่งมีอยู่แล้วให้งอกงามยิ่งขึ้น ปฏิบัติต่อผู้เรียน ต่อเพื่อนร่วมงานอย่างมนุษย์ที่มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน โดยมีหลักอยู่สองประการ คือ การกระทำที่ควรลด หรือเลิกและการกระทำที่ควรเพิ่มสำหรับจิตวิทยาเชิงบวก การกระทำที่ควรลดหรือเลิก ได้แก่ลดการเปรียบเทียบครูไม่ควรเปรียบเทียบเด็กๆ เปรียบเทียบตนเองกับเพื่อนร่วมงานไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ ครูต้องรู้และคอยแนะนำว่ายังเหลือส่วนใดบ้างที่เด็กแต่ละคนยังไม่เข้าใจ เพื่อจะได้ช่วยยกระดับเรื่องนั้นให้สูงขึ้นลดการสร้างภาพของความกลัวเพื่อการควบคุม ความกลัวทำให้เด็กหลบหลีกสิ่งที่จะทำให้เจ็บปวด สิ่งที่คุกคาม หรือภัยอันตรายอันเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้เพราะทำให้เด็กไม่กล้าเผชิญกับสิ่งนั้น ลดคำพูดด้านลบการเย้ยหยันดุด่ากดดัน คาดคั้นการตั้งฉายาล้อเลียนถึงปมด้อยล้วนแต่เป็นคำที่ให้อาหารหล่อเลี้ยงเมล็ดพันธุ์ไม่ดีในจิตให้เติบโต เช่นภาพความกลัวเพื่อให้เกิดการควบคุมความเกลียดความเศร้าหมอง ความรู้สึกด้อยค่าเป็นต้นและเลิกใช้ความรุนแรงความรุนแรง สิ่งที่ควรทำได้แก่การสร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับผู้เรียนทุกคน โดยการให้ความรักให้เกียรติรับฟังแสดงความคิดเห็น ชื่นชมเมื่อมีโอกาส สร้างโอกาสให้เด็กได้ทำงานให้เสร็จด้วยตนเองเสมอ เพื่อให้เด็กทุกคนรู้สึกได้ว่าตนเองมีคุณค่า ได้รับความรักและมีความสามารถ การปรับพฤติกรรมเชิงบวก

- การสร้างความเป็นชุมชนและวิถีชุมชน เริ่มจากการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในห้องเรียนให้เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนครูที่เป็นกัลยามิตรที่คอยเกื้อหนุนให้คำแนะนำและให้ความรักความเมตตาการให้เกียรติกันความเสมอภาค เด็กมีความรู้สึกปลอดภัย มีแรงจูงใจเชิงบวก ทุกอย่างต้องทำให้เป็นวิถีการสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเกื้อกูลต่อความก้าวหน้าของเด็ก จะช่วยให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาในเชิงจิตวิญญาณซึ่งเป็นนามธรรม ผู้ปกครองสามารถนำกลับไปใช้กับลูกหลานที่บ้านได้วิถีเป็นการกระทำซ้ำๆที่จะช่วยในการบ่มเพาะปัญญาภายในความมีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ซึ่งเป็นเครื่องมือกำกับตนเองจากด้านในกลายเป็นอุปนิสัยจิตของเด็กจะไม่ขัดขืนครูต้องอยู่ในวิถีด้วย

- การจัดกระทำผ่านกิจกรรมจิตศึกษา ทุกวันที่เด็กมาโรงเรียนก็จะพบกับคุณครูที่เป็นครูเวรประจำวันยืนรอรับด้วยท่าทีที่เป็นกัลยาณมิตร ยิ้ม ไหว้ทักทายกันกับคุณครูผู้ปกครองที่มาส่งเมื่อเอากระเป๋าเก็บเรียบร้อยแล้ว เด็กๆจะแบ่งหน้าที่กันทำความสะอาดห้องเรียนทำความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบ เข้าแถวทำกิจกรรมหน้าเสาธงอย่างมีสติ รู้คุณค่าของตนเองและสรรพสิ่ง คาบเวลาของ “จิตศึกษา” หลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว เด็กจะเดินแถวเข้าชั้นเรียน หรือสถานที่ภายในโรงเรียนที่เหมาะกับกิจกรรม“จิตศึกษา” ที่มุ่งเสริมสร้างพลังสงบ ให้เกิดความสงบภายในและการผ่อนคลายกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดสติเพื่อให้เด็กมีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอ ถ้าอยู่ในชั้นเรียนจะนั่งเป็นวงกลมขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีเบาๆเพื่อให้เกิดลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำลง เพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของเด็กให้มีความถี่ต่ำลง การทำโยคะเพื่อบริหารอวัยวะภายในและบริหารลมหายใจ ให้อยู่กับลมหายใจ หรือแม้กระทั่งการนวดตัวเองหรือนวดกันและกันเพื่อส่งความรู้สึกที่ดีต่อกันการโอบกอดครูบอกรักเด็กโดยครูจะเอ่ยชื่อนักเรียนทุกคนที่เข้ามาให้โอบกอดแล้วบอกว่าเราจะมาโรงเรียนทุกวันและจะเรียนรู้ไปด้วยกันนะคะ กิจกรรมจะปรับเปลี่ยนไปเพื่อไม่ให้เด็กเกิดความเบื่อในแต่ละวันจะใช้เวลาในการทำกิจกรรมประมาณ20นาที

จากนั้นเรียนวิชาหลัก คณิตศาสตร์ภาษาไทยภาษาอังกฤษก่อนเรียนก็จะทำ Brian Gymเป็นการ เตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กรู้ตัวทำได้ทุกช่วงเวลาที่เห็นว่าเด็กวุ่นวายไม่มีสติ หรือที่เรียกว่าเก็บเด็กให้มีสติกลับมาอยู่กับตัวเองแต่ละวันคุณครูจะอยู่กับนักเรียนตลอดเวลาเรียนรู้ด้วยกัน มีปัญหาอะไรช่วยกันแก้ไข จะดูแล ทำกิจกรรมร่วมกันไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนให้เกียรติให้ความเสมอภาคให้ความรักความเมตตา ความอบอุ่นกับเด็กทุกคน ครูทำตนเป็นแบบอย่างใช้จิตวิทยาเชิงบวกไม่ดุไมด่า ไม่โมโห พูดเสียงเบาใจเย็นให้โอกาสนักเรียนและรับฟังความคิดเห็น คอยคำตอบ ให้กำลังใจชื่นชมให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคนจิตวิทยาเชิงบวกใช้ได้ตลอดเวลา

ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มจะทำงานกลุ่มหรือเดี่ยวครูจะคอยดูแลช่วยเหลือ เช่น การสืบค้นข้อมูลครูคอยแนะนำ นักเรียนสามารถสืบค้นได้ในแต่กลุ่มช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกันในกลุ่มต้องรักสามัคคีกัน ช่วยแสดงความคิดเห็น รู้จักฟังผู้อื่นรู้จักการรอคอย ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดและค้นหาคำตอบ ก่อนตอบนักเรียนต้องยกมือก่อน สำหรับนักเรียนไม่ตอบคำถามครูจะต้องให้กำลังใจ รอคอย ชื่นชมพยายามให้เขาร่วมกิจกรรมให้ได้ เมื่อนักเรียนตอบแล้วครูจะไม่ชี้ว่าผิด หรือถูกใช้คำว่าขอบคุณเยี่ยมมาก แล้วสรุปเรื่องที่ได้ศึกษาค้นคว้าร่วมกัน การที่ครูให้นักเรียนทำงานไม่ว่าจะเป็นงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวจะต้องกำหนดเวลาให้ด้วย งานจะเสร็จหรือไม่เสร็จไม่เป็นไรให้เก็บก่อน ต้องฝึกให้นักเรียนตรงต่อเวลาและใช้เวลาว่างมาทำงานชิ้นนั้นให้เสร็จก่อนกลับบ้าน การทำบอดี้แสกน ( Body Scan) เพื่อผ่อนคลายแบบลึกและบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึก ผ่านการเล่านิทานก่อนนอนการอ่านนิทานก่อนนอน ให้นักเรียนนอนราบกับพื้น นอนหลับตา ส่วนต่างๆของร่างกายไม่ให้สัมผัสกับผู้อื่นหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาว รู้สึกที่ลมหายใจทีละจุด ขอบคุณสิ่งที่อยู่รอบตัวทำให้เป็นวิถีขอบคุณตัวเองขอบคุณคนที่รักเช่น คุณแม่คุณพ่อคุณครู หรือขอบคุณทุกสรรพที่มีคุณค่าจะอ่านนิทานเล่านิทานส่งเสริมคุณธรรมนิทานที่มีคติสอนใจให้ฟัง

เรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL(ProblemBasedLearning) เวลา13.00 -15.00บูรณาการ 5วิชา คือวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปศึกษาให้นักเรียนเลือกเรื่องที่จะเรียนด้วยตนเองโดยสร้างแรงบันดาลใจ พานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกสถานที่ เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้ด้วยการกระทำลงมือปฏิบัตินักเรียนจะเกิดทักษะในการทำงานมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จะได้ช่วยดูแลกัน ให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นได้ออกแบบการเรียนรู้และ ได้นำเสนองานร่วมกัน ระหว่างที่จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ใช้จิตวิทยาเชิงบวกกับนักเรียน เช่นชื่นชมพูดเสียงเบาให้คำชมเชย เก่งมากค่ะ ยอดเยี่ยม ขอบคุณนะคะ/ค่ะครูกับเพื่อนจะคอยช่วยแนะนำ ให้กำลังใจให้เหตุผลเพื่อช่วยให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับเพื่อนๆ

ช่วงเวลา 15.00 –16.00 นเด็กจะทำความสะอาดห้องเรียนทำความสะอาดบริเวณเขตที่ชั้นเรียนรับผิดชอบ นักเรียนจะนั่งวงกลมmeBrian Gym1 -2ท่าเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนรู้ตัว ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำนับกล่องนมเท่ากับจำนวนเพื่อนในห้องแล้วมานั่งข้างคุณครูขอบคุณนักเรียนที่ตั้งใจ AAR ถอดบทเรียนจากเรื่องที่เรียนมาตั้งแต่เช้าว่าทำอะไรบ้างสิ่งไหนที่ดีแล้วสิ่งไหนควรปรับปรุง เป็นการพูดคุยแสดงความคิดเห็น ครูชื่นชมขอบคุณ ให้กำลังใจต่อด้วยพิธีนมตัวแทนนักเรียนนับนมเท่ากับจำนวนนักเรียนที่มาวันนั้น แจกนมไหว้ขอบคุณ กล่าวคำขอบคุณสิ่งที่อยู่รอบตัวขอบคุณพี่กอหญ้า ขอบคุณแม่วัว ขอบคุณพี่นม ดื่มแล้วเก็บกล่องนมให้เรียบร้อยไหว้พระ ไหว้ ขอบคุณครู ขอบคุณเพื่อนๆ แล้วกลับบ้าน ในวันอังคารเวลา16.00น.คุณครูทุกคนในโรงเรียนจะร่วมวงPLCแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้นจากแนวปฏิบัติที่เป็นวิถีการเรียนรู้ของโรงเรียนว่ารู้อะไรเห็นอะไรทำอย่างไรผลเกิดกับผู้เรียนอย่างไรต่อไปจะทำอย่างไรอีก


เกิดความสำเร็จและความเปลี่ยนแปลงกับเด็กอย่างไรอย่างเป็นรูปธรรม

โรงเรียนบ้านปะทายได้นำ “จิตศึกษา” มาสร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็กตั้งแต่ปีการศึกษา2555 – 2557รู้สึกประทับใจเห็นความเปลี่ยนแปลงเด็กมีความรักเพื่อนรักคุณครูเข้าใจคนในครอบครัวรู้หน้าที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองมากขึ้น คือไม่ขาดเรียนไม่ไปเล่นเกมเด็ก ครูมีความใจเย็นกล้าแสดงออกมีจิตอาสาไม่รังแกเพื่อนรู้จักการรอคอย คำพูดที่ก้องอยู่ในหูของพี่อ๋อมแอ๋มว่า “หนูอยากมาโรงเรียนค่ะมันสนุกได้มีเพื่อนเล่นได้ทำอะไรหลายๆอย่างกับเพื่อนกับคุณครูเช่นการปลูกผักบุ้งเด็กมีความสุขได้ลงทุน10บาทเก็บไปขายได้กำไรได้จัดทำบัญชี”เด็กจะมีความเสียสละมีจิตอาสาใส่ใจเอื้ออาทรมีความสามัคคีซึ่งคุณครูเห็นความเปลี่ยนแปลงก็จะมีกำลังใจและภูมิใจ

สำหรับพี่เติ้ล พี่ก้องพี่กี้และพี่เบสที่เคยขาดโรงเรียนชอบไปเล่นเกม หลังที่ใช้กิจกรรม “จิตศึกษา” ผลที่ได้คือพี่ๆทั้ งสี่คนไม่ขาดเรียน การไปเล่นเกมลดลงหรือแทบจะไม่ไปเล่นเลยครูแนะนำให้ทุกคนในชั้นไปทำกิจกรรมกับครอบครัวคือปลูกผักไว้กินเองพูดคุยสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลที่พ่อแม่ต้องไปทำงานที่ไกลๆ เราอยู่ที่บ้านที่โรงเรียนทำอะไรบ้างคุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ไกลก็จะรู้จะเห็นและชื่นชมผ่านface bookของโรงเรียน ทำให้พี่ๆ ป.4จำนวน 21คนมาโรงเรียนทุกวัน และเรียนรู้ด้วยกันอย่างมีความสุข คุณครูก็มีความสุขและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง


สิ่งที่ครูได้เรียนรู้จากการสร้างการเรียนรู้เช่นนี้

ครูมีความสุข ไม่เครียดเพราะการจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปํญหาเป็นPBL แต่ก่อนเดิมแยกส่วนมีอยู่5วิชาคือ วิทยาศาสตร์สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสุขศึกษาการงานอาชีพและเทคโนโลยีและศิลปศึกษา สามารถนำมาออกแบบการจัดการเรียนการสอนได้จบครบ5 วิชาใน 4Quarter สอนได้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ของหลักสูตรแกนกลางปี 2551มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงดีกว่าเดิมเดิมต้องแยกครูสอนวิชาถึง 5 วิชา ส่วนมากโรงเรียนห่างไกลครูไม่พอ เพราะสืบเนื่องมาจากอัตรากำลังครูต่อผู้เรียนครูประถมสอนประจำห้องจะต้องสอนให้ครบ8 วิชา กับอีก 2 กิจกรรมตามโครงสร้างของหลักสูตรการนำ “จิตศึกษา” มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ทำให้เด็กมีการพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างถาวรและยั่งยืนครูมีความสุขเห็นเด็กๆ มีความตั้งใจความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรม ความมีน้ำใจความห่วงใยมีจิตอาสาอดทนรอคอยมีความรับผิดชอบกล้าแสดงออกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซื่อตรง รู้ให้เกียรติตัวเองและผู้อื่นเน้นความเสมอภาคเด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน เมื่อเด็กได้แสดงความสามารถ ออกมาให้เพื่อนๆได้รู้ และมีครูคอยให้คำชื่นชม ให้กำลังใจเขาก็มีความภูมิใจ และมั่นใจในตัวเองและจะเรียนรู้อย่างมีความสุขการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันทั้งคุณครูและผู้เรียน เพื่อประโยชน์สุขของสังคมและประเทศชาติต่อไป