เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เด็ก

วิธีการสอนคือหัวใจสำคัญของครู

โรงเรียนบ้านดวนบากน้อย อ.ค้อวัง จ.ยโสธร ถือเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัด สพฐ.ที่ทางโรงเรียนมีวิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีวิธีการจัดการเรียนการสอนของครูในระบบ ความรู้เชิงระบบ ร่วมกับความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เรียกว่าครูภูมิปัญญา บทบาทหน้าของครูในโรงเรียนคือการจัดกระบวนเรียนการสอนให้เด็กๆ กลับไปรู้จักเรื่องราวของท้องถิ่นตัวเอง ผ่านการทำกิจกรรมของเด็ก ขณะเดียวกันก็ออกแบบว่าความรู้เชิงระบบโรงเรียนตามหลักสูตรการเรียนการสอนจะทำอย่างไรให้เด็กเรียนอย่างไม่เบื่อ สนุกสนานด้วยวิธีการใหม่ ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้ ตัวครูผู้ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเองก็จะต้องเป็นคนที่ กล้าคิดออกกรอบ กล้าตัดสินใจ และกล้าลงมือปฏิบัติด้วย แล้วครูเองก็จะเป็นผู้ที่ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็กๆ พร้อมกับหมั่นสรุปบทเรียนสิ่งที่ได้ทำไปตลอดเวลาด้วย

วิธีการสอนที่ประสบผลสำเร็จที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒เป็นการจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลักโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลายและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือตัวนักเรียนเช่น

๑) การสอนซ้ำ ย้ำ ทวนเป็นวิธีการสอนที่มีความสำคัญเหมาะสมกับผู้เรียนในระดับชั้น ป.๑ และชั้น ป.๒เพราะเป็นรูปแบบการสอนที่เน้นซ้ำ ย้ำทวน ผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมายที่ครูผู้สอนจัดขึ้น เช่น การดูภาพจากเนื้อหาก่อนที่จะเรียนจากนั้นครูถามคำถามผู้เรียนจากการดูภาพ,ครูเล่าเรื่องจากเนื้อหาให้ผู้เรียนฟังก่อน,การดูภาพจากบัตรคำอ่านคำตามแผนภูมิการอ่านและอ่านหลายๆครั้งจนผู้เรียนรู้สึกคุ้นเคยและจดจำคำที่ต้องการฝึกนั้นได้

จากนั้นนำคำอ่านมาฝึกเขียนเป็นแผนที่ความคิดและให้ฝึกต่อยอดสร้างคำใหม่ๆ เขียนลงในแผนที่ความคิดซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากนั้นก็มาฝึกอ่านซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง ก่อนที่จะยุติการสอนในเนื้อหานี้ในชั่วโมงนั้นหรือจากการที่ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติจริงจากการเรียนรู้โดยใช้สื่อนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสื่อในรูปแบบนี้ผู้เรียนให้ความสนใจมีความกระตือรือร้นในการเรียนเพราะเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนและรู้ผลได้ทันทีและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้หลายๆ ครั้งในเนื้อหาที่ตนสนใจและต้องการจะฝึกทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและสามารถจดจำเนื้อหาที่เรียนนี้ได้อย่างยาวนาน(*หมายเหตุครูผู้สอนชั้น ป.๑ และ ป.๒ ต้องใจเย็นๆ โดยอย่าพึ่งคาดหวังว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้เต็มที่ในทันทีในชั่วโมงที่สอนในเนื้อหานั้นๆ ถ้าคิดแบบนั้นจะเกิดความท้อแท้ในชีวิตการสอน*) แต่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในอีกหลายๆ ชั่วโมงต่อมาหรือจะเกิดการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้นซึ่งครูผู้สอนจะสังเกตได้จากการที่ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นผู้เรียนมาถึงโรงเรียนแล้วเขาจะถือหนังสือมารอครูผู้สอน เพื่อจะอ่านเนื้อหาที่เขาได้เรียนไปเมื่อวานนี้มาอ่านให้ครูฟังครูผู้สอนก็จะสามารถประเมินผู้เรียนได้จาการอ่านว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่สอนมามากน้อยอย่างไรและมีผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กี่คนยังอ่านไม่ได้หรืออ่านไม่คล่องกี่คน จากนั้นครูผู้สอนหาทางแก้ไขต่อไป)

๒) การสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและสมองก่อนที่จะเรียนด้วยวิธีการสอนซ้ำ ย้ำทวนหรือวิธการเรียนแบบประสบผลสำเร็จเป็นทีมโดยการบริหารสมอง เบรนยิม (BrainGym) ก่อนที่จะเรียน เช่น การร้องเพลง,ท่าแตะสลับ ซ้าย-ขวาการเคลื่อนไหวแบบสลับข้างการยืดส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งทีทำให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมทางด้านสมองก่อนการเรียนรู้ต่อไป

๓) การสอนแบบประสบผลสำเร็จเป็นทีม (STAD)เป็นการนำขั้นตอนการสอนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนในการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้โดยใช้กระบวนการกลุ่มซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีทั้งคนเรียนเก่ง ปานกลาง และเรียนอ่อนคละกันเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกในกลุ่มโดยผู้เรียนเก่งช่วยเหลือผู้เรียนอ่อน หรือแนะนำผู้เรียนปานกลางที่อยู่ในกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันและได้ช่วยเหลือกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนในกลุ่มและในห้องวิธีการคือผู้เรียนในแต่ละกลุ่มเลือกตัวแทนของตนนำเสนอผลงาน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กล้าแสดงออกได้เต็มตามศักยภาพของตนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่งผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจช่วยเหลือกัน มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ มีความรักสามัคคีกัน เป็นต้นโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำในเนื้อหาที่ผู้เรียนยังไม่ขัดเจนและนอกจากวิธีการสอนที่กล่าวมาข้างต้นแล้วกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ทางโรงเรียนบ้านดวนบากน้อยได้จัดทำขึ้นโดยมีครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีกิจกรรมอยู่๙กิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ไปในทางที่ดี

จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นซึ่งยังมีอีกหลายๆวิธีการสอนหรือเทคนิควิธีอื่นๆ ที่สามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายและประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ได้

เด็กมีการเปลี่ยนอย่างไรคือ หัวใจสำคัญของประเทศชาติ

มองไปถึงด้านความเปลี่ยนแปลงของเด็ก ทั้งคุณธรรมคุณลักษณะต่างๆเช่น จิตสาธารณะทักษะต่างๆหรือด้านวิชาการทั้งที่เป็นรายบุคคลหรือหลายคนหรือรายกลุ่ม นั้นผ่านการจัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการสอนและสื่อนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอน(CAI)ที่กล่าวมาในข้อ ๑ส่งผลให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงด้งนี้

๑)ด้านคุณธรรมคุณลักษณะต่างๆผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงโดยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเกิดความรักสามัคคีกันมีน้ำใจรู้จักช่วยเหลือกันมีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ และมีภาวะเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดียอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนและของโรงเรียนได้เช่นผู้เรียนที่เรียนเก่งช่วยเหลือผู้เรียนที่เรียนอ่อนเป็นต้น

๒)ด้านวิชาการผู้เรียนมีการเปลี่ยนโดยผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละคนมีทักษะในการเรียนรู้และเกิดการเรียนรู้ที่คงทนจนส่งผลให้ผู้เรียนได้รับรางวัลในระดับต่างๆดังนี้