เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เด็ก

ครูผู้สร้างลักษณะนิสัยที่ดีของเด็กจากเรื่องเล่าของครู

เวทีสะท้อนการเรียนรู้ของครูดีในศตวรรษที่ 21

  1. สถานการณ์เรื่องราวจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเด็ก

พฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่ง (ซน)ของนักเรียนคนหนึ่งชั้นประถมศึกษาปีที่ 1มีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน และมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย เมื่อเกิดพฤติกรรมเกิดขึ้นเช่นนี้แล้วความเข้าใจในการที่จะทำให้นักเรียนเกิดสมาธิจึงเข้าใจว่าจะต้องนั่งสมาธินั่งนิ่งๆซึ่งการกระทำดังกล่าวจะทำให้เด็กเกิดความเครียดและในวัยนั้นๆยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าสมาธิจึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควร

2.ใช้กระบวนการใดในการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก

กิจกรรมตัดปะกิจกรรมเดินจงกรม

กิจกรรมการกอดกิจกรรมส่งลูกปิงปอง

การจัดกิจกรรมจิตศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กคนนี้ ครูจึงจัดให้มีการทำจิตศึกษาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของ

ร่างกายแต่สอดแทรกจิตศึกษาเข้าไปในกิจกรรมด้วยโดยหลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติในช่วงเช้าครูจะพานักเรียนทำจิตศึกษา การตัดปะกระดาษการเดินจงกรมการส่งแก้วน้ำการส่งลูกปิงปองการเรียงลูกปัดการทำ(Brain gym)ฯลฯเป็นการฝึกจิตศึกษาโดยให้เด็กใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายมือนิ้วให้มีความสัมพันธ์กับสมองเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งที่เด็กสามารถทำได้และเด็กจะไม่ฝืนหรือไม่เครียดกับการทำกิจกรรมดังกล่าวซึ่งจะทำให้เด็กมีภาวะคลื่นสมองต่ำสามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพเพราะเด็กแต่ละคนก่อนที่จะมาโรงเรียนจะมีภาวะอารมณ์และสมองที่ไม่เท่ากันหากไม่ทำจิตศึกษาดังกล่าวเด็กอาจจะไม่พร้อมที่จะทำการเรียนการสอน

3.ความสำเร็จและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเด็ก

เมื่อโรงเรียนได้นำเอากิจกรรมดังกล่าวมาใช้ผลปรากฏว่าเด็กคนนี้มีภาวะที่พร้อมจะเรียนรู้ดีมากขึ้นและ

สามารถเข้าใจหรือสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนได้เต็มศักยภาพ ซึ่งเมื่อดำเนินการเรียนการสอนเด็กจะมีความพร้อมและสนใจเรียนหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับเพื่อนๆได้เป็นอย่างดี

4.สิ่งที่ครูได้เรียนรู้จากการสร้างการเรียนรู้เช่นนี้

สิ่งที่ครูได้จากการการนำกิจกรรมนี้มาใช้คือครูได้เข้าใจเด็กนักเรียนได้เข้าใจปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหา

ได้ถูกจุด ซึ่งนำไปสู่ความรักที่มีต่อเด็กและเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ตลอดจนเกิดจิตวิญญาณเห็นความสำคัญของการเรียนรู้เข้าอกเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น