เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เด็ก

เรื่องเล่าของครู

โรงเรียนบ้านนางแดดเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

1.สถานการณ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาเด็ก

เนื่องจากคุณครูยังคุ้นเคยกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ ครูเป็นผู้หาและให้ข้อมูลแก่นักเรียน นักเรียนเป็นเพียงผู้รับข้อมูลจากครูเพียงด้านเดียว เน้นการท่องจำ ฝึกทำบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างทัศนคติในการเรียนแก่นักเรียน นั่นคือ ครูจะไม่รู้จักนักเรียนของตนอย่างแท้จริง วัดไอคิว(IQ)หรือความฉลาดในการเรียนรู้จากผลการเรียนและตัดสินนักเรียนว่าเก่งไม่เก่ง ดีหรือไม่ดี ทำให้นักเรียนที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ครูพึงพอใจถูกมองข้ามไป ทำให้นักเรียนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน มองว่าตัวเองถูกลดคุณค่าหรือไม่มีความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้ของครู จึงทำให้เกิดปัญหาตามมานั่นคือการสร้างตนเองให้เป็นที่สนใจในด้านลบ เช่น ไม่ตั้งใจเรียน รังแกเพื่อน สร้างความวุ่นวายในชั้นเรียน หรือแม้แต่การไม่เข้าเรียน เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับครูที่ถูกเรียกว่า “ครูมืออาชีพ” เพราะครูไม่ใช่แค่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพชั้นสูงเท่านั้น แต่ครูมืออาชีพจะต้องมีฉันทะคือความพอใจต่ออาชีพ มีเมตตาต่อเด็กและบุคคลรอบข้างและมีกัลยาณมิตรนั่นคือพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจอย่างนักเรียน

จากปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันจึงทำให้ทางโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของนักเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ได้เลือกพัฒนาที่คนเก่งเพียงบางคนแต่เป็นการพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความสุขในการเรียนรู้ไปด้วยกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ต่อครู หรือแม้แต่เพื่อนร่วมชั้น ดังนั้นการจัดกิจกรรมของครูจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะปรับทัศนคติดังกล่าวตั้งแต่นักเรียนเดินเข้ามายังโรงเรียน การใช้ชีวิตในโรงเรียนจนกระทั่งเดินออกจากโรงเรียนแล้วกลับเข้ามาอีกครั้งด้วยความสุข โดยโรงเรียนไม่ได้มองการพัฒนาไอคิวของนักเรียนเพียงอย่างเดียวแต่จำเป็นต้องพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ความฉลาดทางจริยธรรม (MQ)และความสามารถในการฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรค (AQ) ควบคู่ไปด้วย

2.กระบวนการในการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก

จากการที่ครูได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์ของผู้เรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนรู้ที่เรียกว่า Active Learning มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ปฏิสัมพันธ์ที่มี ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวางมีการสื่อสารโดยการพูด หรือการเขียน เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ คุณครูมีความต้องการที่จะให้นักเรียนเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขและแก้ปัญหาเป็นนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่คณะครูได้ปรึกษาหารือร่วมกันว่าควรเริ่มที่จุดใด จนทุกคนได้ลงความเห็นว่าหากนักเรียนมีความสุขแล้วการพัฒนาด้านอื่นๆย่อมตามมา นั่นคือการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ซึ่งเคยมีผู้ทำวิจัยไว้และพบว่า EQ มีความสำคัญมากกว่า IQ ประมาณ 4 เท่า ในการกำหนดความสำเร็จ ในอาชีพ ความมีชื่อเสียงและสถานภาพเป็นที่ยอมรับแก่สังคมของบุคคล ดังนั้นเครื่องมือที่โรงเรียนบ้านนางแดดเหนือได้นำมาในการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนคือ กิจกรรมจิตศึกษา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โดยจิตศึกษามีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ หนึ่ง สร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนที่เอื้อต่อความงอกงามทางด้านจิตใจ คือมีสภาพแวดล้อมดี สะอาด ปลอดภัย ร่มรื่น มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีวิถีวัฒนธรรมที่คงเส้นคงวา มีเหตุมีผล ไม่ต้องบีบบังคับกัน สอง การใช้จิตวิทยาเชิงบวก ทุกคนได้รับคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทำให้เราเคารพคนอื่น ไม่เปรียบเทียบ ไม่ประจาน ไม่พูดด้านลบ ไม่ลงโทษรุนแรง เอื้ออำนวยให้เด็กทำงานสำเร็จทุกชิ้น เพื่อให้เขารู้สึกมีคุณค่า ให้เกียรติ เชื่อใจ ให้การชื่นชม สาม การพัฒนากิจกรรม ให้เด็กเกิดสติ รู้ตัวไว มีสมาธิ สามารถเชื่อมโยงตัวเองกับคนอื่นและสิ่งต่างๆ มีความผ่อนคลายข้างใน ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที จัดในช่วงเช้าก่อนที่จะเรียน เพื่อปรับ จิตใจ ของนักเรียนให้มีความพร้อมในการเรียน รวมถึงครูผู้สอนสามารถประยุกต์ ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กระตุ้นความสนใจของนักเรียน ตัวอย่างกิจกรรมที่ทางโรงเรียนนำมาใช้ ได้แก่

1. กิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างพลังสงบให้เกิดความสงบภายในและการผ่อนคลายเช่นขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำเพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของเด็กให้มีความถี่ต่ำลงการทำโยคะเพื่อการบริหารอวัยวะภายในและเพื่อบริหารลมหายใจให้ได้อยู่กับลมหายใจการทำบอดี้สแกนเพื่อการผ่อนคลายแบบลึกและบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึกหรือแม้กระทั้งการนวดตัวเองหรือนวดกันและกันเพื่อส่งความรู้สึกดีต่อกันกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดสติเพื่อให้เด็กได้มีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอๆซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือดำเนินกิจกรรมนั้นต่อตัวอย่างกิจกรรมเช่นการเดินตามรอยเท้าการกำกับกายการอยู่กับลมหายใจการบอกการรับรู้จากประสาทสัมผัสขณะนั้นBrian Gym เป็นต้น

2. กิจกรรมฝึกสมาธิหรือการจดจ่อให้เด็กมีความสามารถในการคงสมาธิได้ยาวขึ้นเพื่อกำกับความเพียรทั้งการเรียนรู้และการทำงานให้สัมฤทธิผลเช่นกิจกรรมส่งน้ำส่งเทียนต่อบล็อกBrian Gymการจิตนาการเป็นภาพการร้อยลูกปัดการร้อยมาลัยการพับกระดาษการวาดภาพการฟังนิทานหรือเรื่องเล่าพิธีชาพิธีจัดดอกไม้เป็นต้น

3. กิจกรรมที่มุ่งให้เห็นความเชื่อมโยงเห็นคุณค่าของตัวเอง คนอื่น หรือสิ่งอื่นตัวอย่างกิจกรรมเช่นการสนทนากับต้นไม้การเล่าข่าวการค้นหาคุณค่าจากสิ่งที่ไร้ค่าการขอบคุณสิ่งต่างๆการค้นหาต้นกำเนิดของตัวเราและสิ่งต่างๆการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมของตัวเองและสิ่งต่างๆ-

4. กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการบ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงามนิทานเรื่องเล่าเพื่อการใคร่ครวญการใช้คำที่ให้พลังด้านบวกการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลื่อผู้อื่นการเดินทางไกลการอยู่ตามลำพังกับธรรมชาติ

5. กิจกรรมที่มุ่งบ่มเพาะพลังความรักความเมตตา เช่นการไหว้กันและไหว้สิ่งต่างๆการกอดการขอบคุณกันและขอบคุณสิ่งต่างๆการยกย่องชื่นชมความดีงามของคนอื่นๆการร่วมร่วมกันชื่นชมศิลปะ

จากกิจกรรมข้างต้นโรงเรียนบ้านนางแดดเหนือได้นำมาใช้กับผู้เรียน โดยเริ่มจากการส่งตัวแทนครูเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมที่โรงเรียนลำปรายมาศพัฒนา รวมถึงโรงเรียนในเครือข่าย จากนั้นจึงได้มีการขยายผลให้กับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง หรือโรงเรียนที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของการทำจิตศึกษา

3.ความสำเร็จความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับเด็ก

ตลอดระยะเวลา 1 ปีการศึกษาที่ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน ได้เริ่มศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนา EQ สำหรับนักเรียนเพื่อใช้พัฒนาการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยได้ส่งคณะครูเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนเครือข่ายนั้น แม้จะนำมาใช้จริงจังเพียงแค่ 1 ภาคเรียน(ภาคเรียนที่2) ผลที่ได้ พบว่า นักเรียนจะรู้สึกตื่นเต้นกับการจัดกิจกรรมจิตศึกษาอย่างมาก ตั้งใจและให้ความสนใจเป็นอย่างดี แม้ตอนแรกครูจะเป็นเพียงโค้ชหรือผู้ที่ให้คำแนะนำหรือชี้แนวทางเท่านั้น เนื่องจาก ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการพัฒนาของนักเรียน มีแหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงการสร้างสื่อที่ใช้สำหรับการจัดกิจกรรม แต่ก็ดึงดูดความสนใจของนักเรียนไม่ใช่น้อย เริ่มแรกการฝึกจิตศึกษาจะลำบากเนื่องจากนักเรียนไม่คุ้นเคย จนผ่านมาได้สักระยะ นักเรียนเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อน ครู หรือบุคคลอื่นในโรงเรียน เช่นในห้องเรียนจากที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น นักเรียนเริ่มแสดงความคิดเห็นในส่วนของตนเอง นอกจากนี้ยังรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ จากที่ไม่กล้าพูดเนื่องจากกลัวผิด หรืออายจากการล้อของเพื่อน ครูสังเกตพบว่าทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกันมากขึ้น กล่าวชื่นชมผู้อื่นด้วยเสียงปรบมือ รู้จักการรอคอย กระหายการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่คณะครูเห็นว่าได้มาถูกทางแล้ว แม้จะเป็นเพียงระยะเวลาไม่นานก็ตาม นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองได้เข้ามาเรียนรู้กับการจัดกิจกรรมร่วมกับนักเรียน พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเป็นอย่างมากกับการจัดกิจกรรมของทางโรงเรียน และได้พบว่านักเรียนในความปกครองของตนเองนั้นสนุกกับการมาเรียนมากยิ่งขึ้น ตั้งใจเรียนและมีความรับผิดชอบ โดยทางโรงเรียนก็ได้นำแนวทางการพัฒนานักเรียนนี้ให้ผู้ปกครองได้นำไปใช้กับลูกหลานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความคิดเห็น การไม่บังคับขู่เข็ญแต่ไม่ตามใจ การใช้เหตุผลในการพูด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้ทางโรงเรียนเห็นว่าจะต้องมีการศึกษาและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป

ซึ่งก็ยังมีผู้ปกครองบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจในการจัดกิจกรรมของทางโรงเรียน และมองว่า เสียเวลา ไม่มีประโยชน์ เพราะต้องการมุ่งที่ให้เด็กได้เรียนเพียงอย่างเดียว ซึ่งแนวความคิดนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้ายสำหรับทางโรงเรียนยิ่งนัก

4.สิ่งที่ครูได้เรียนรู้จากการสร้างการเรียนรู้

จากการที่ทางโรงเรียนได้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ทำให้ครูเข้าใจยิ่งขึ้นว่า เป้าหมายที่แท้ของการศึกษานั้นไม่ใช่แค่การเปลี่ยนผู้เรียนจากผู้ไม่รู้สู่ผู้รู้เท่านั้น แต่ทำให้ครูได้พบว่านักเรียนจะต้องเป็นผู้เป็นซึ่งในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ที่คิดเป็น สร้างองค์ความรู้ใหม่ภายใต้ประสบการณ์เดิม ทำให้ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรได้มีการทำ AAR (AfterActionReview ) คือการเรียนรู้ก่อนดำเนินการ เรียนรู้ระหว่างทำงานและการเรียนรู้หลังทำงาน มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันและช่วยกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน ทุกคนคุยกันมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็เข้าใจร่วมกันว่าคําตอบหรือวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการทํา AAR ไม่ใช่คําตอบสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริบทเปลี่ยนไปย่อมทําให้เกิดปัญหาใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยจนทำให้ครูได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ว่า กระบวนการเรียนรู้แบบ PLC (Professional Learning Community) โดยได้ยึดแนวทางที่ว่าครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ครูและนักเรียนเรียนรู้ไปด้วยกันและครูและครูเรียนรู้ไปด้วยกัน ครูเองก็ได้เกิดการเรียนรู้จากสภาพปัญหาที่เกิดระหว่างการทำกิจกรรมกับนักเรียนตั้งแต่เริ่มต้นทำ PLC จนถึงขั้นประเมินผล เป็นการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็กอย่างมีความหวังและมีความสุข ไม่ว่าผลจะออกมาระดับ ดีเยี่ยมระดับดี ระดับพอใช้ หรือระดับปรับปรุง ก็ไม่หยุดที่จะทำและจะเรียนรู้ให้ดีและมากยิ่งขึ้น

คุณครูวริศราสามหมอ