เรื่องเล่าจากค่ายถอดบทเรียนโครงงานพลเมืองรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน วันที่ 24-26 สิงหาคม 2561

  • ข้อมูลทั่วไป

(1) สังกัดและบทบาทหน้าที่ในหมู่บ้าน/ตำบล

สังกัดกลุ่ม/ชมรมในหมู่บ้าน/ตำบลบทบาทหน้าที่
กลุ่มสตรี

กลุ่ม อ.ส.ม.

กลุ่มเกษตรอินทรีย์
-คณะทำงานของกลุ่มสตรีในตำบล

-ดูแลและส่งเสริมเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน โดยได้รับบทบาทเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน

-ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ทุ่งรวงทอง โดยมีบทบาทเป็นคนประสานงาน

(2) ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชน

ประสบการณ์ทำงานด้านเด็กและเยาวชนความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ
·แรงบันดาลใจ ศักยภาพการทำงานด้านเด็กและเยาวชน

(1) ความใฝ่ฝัน เป้าหมายและแรงบันดาลใจในชีวิตตนเอง ในอนาคตอยากเป็นอย่างไร

อยากให้เด็กๆ มีอนาคต และเด็กที่ดูแลเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมีความรับผิดชอบในการใช้ชีวิตประจำวันอยากให้เด็กและเยาวชนเป็นแกนนำให้กับชุมชน และสามารถทำงานเป็นทีมโดยส่วนตัวภูมิใจที่ได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม

(2) อยากจะเห็นสิ่งดีๆ ของเด็กและเยาวชนของหมู่บ้าน/ตำบลเป็นอย่างไร ควรจะทำอะไรบ้าง

อยากเห็นเด็กในชุมชนมีการทำงานเป็นทีม และสามารถทำงานให้กับส่วนรวมมีความขยันและเป็นคนดีของพ่อแม่ ตั้งใจเรียน เพื่อนำความรู้มาพัฒนาบ้านเกิด

(3) ตารางระบุศักยภาพของตนเอง

คุณลักษณะศักยภาพที่มี
1.มีความรู้ ความสนใจพิเศษ

อยากเรียนรู้เรื่องการเป็นวิทยากรกระบวนการ แกนนำของเด็กและเยาวชน

2.ทักษะที่ถนัด ความสามารถพิเศษร้องเพลง นันทนาการ
3.ทัศนคติ มุมมองต่อกิจกรรมเด็กและเยาวชนในโรงเรียน หมู่บ้าน/ตำบลเด็กและเยาวชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่ผ่านมาเป็นอย่างดี และเป็นทีมที่เข้มแข็ง

(4) ตารางระบุประสบการณ์เรียนรู้และความต้องการพัฒนาศักยภาพ

ประสบการณ์ในการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน(ระบุช่วงเวลาและปี พ.ศ.)ความต้องการเรียนรู้หรือพัฒนาตนเองเพิ่มเติม
- อบรมการเป็นวิทยากรกระบวนการของโครงการครอบครัวเข้มแข็ง พ.ศ.2552

- อบรมโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว พ.ศ.2555

- อบรมเกษตรอินทรีย์ พ.ศ.2561

- ศึกษาดูงานที่มหาสารคาม

- อบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุและการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่นครปฐม

(5) อยากให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาหรือเสริมความรู้ ความสามารถในเรื่องอะไรบ้าง

เด็กยังไม่มีแกนนำที่ชัดเจนในการจัดกระบวนการในกิจกรรมต่างๆจึงอยากเห็นการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้มีการพัฒนาและสร้างแกนนำให้เข้มแข็ง และชัดเจนมากขึ้น

(6) ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชนของชุมชน

รู้สึกดีที่มีโครงการให้เด็กและเยาวชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกันให้เด็กเกิดการมีส่วนร่วมและได้ความรัก ความสามัคคี จากการที่ได้ลงพื้นที่พูดคุยซึ่งเด็กทุกคนชอบในการมีกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนจึงอยากให้มีทุกปี


เรื่องเล่าจากค่ายถอดบทเรียนโครงงานพลเมืองรุ่นใหม่สร้างสรรค์ชุมชน

วันที่ 24-26 สิงหาคม 2561

ณ พีรดา ริเวอร์วิว รีสอร์ท อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

...............................................

สายใจ คงทรัพย์ (พี่เลี้ยง)

โครงงานปลูกผักแปลงรวม เทศบาลตำบลเมืองแก

สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น คือ เกิดกิจกรรมดีๆ ในชุมชน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ชื่อสายใจ คงทรัพย์ ชื่อเล่นใจ เกิดปี พ.ศ.2511 อายุ 49 ปี สิ่งที่ชอบคือการได้มีโอกาสช่วยเหลืองานในชุมชน เรื่องการบริหารจัดการสุขภาพในชุมชน การเป็นผู้นำ ทำให้เรารู้จักคำว่าจิตอาสา สามารถทำได้ทุกเรื่อง จุดอ่อนคือ การที่เป็นผู้นำต้องเจอปัญหางานเยอะและไม่มีเวลา ต้องแบ่งบทบาทให้คนอื่นๆ แต่ก็เหมือนไม่พ้นเรา ไหนจะครอบครัว ไหนจะส่วนรวม เพื่อนร่วมงานที่เรามีก็จะได้แบ่งบทบาทหน้าที่และความถนัดของแต่ละคน อย่างนายสมศักดิ์ กองทอง จะดูแลในเรื่องความปลอดภัย รัฐมนตรีมหาดไทย ส่วนคุณสำราญลักษณ์ ส่วนคุณเยาวลักษณ์ งามขำ (แมว) ก็จะดูแลในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ คุณพี่สงวน ก็จะดูแลเรื่องเด็กเยาวชนและงานประเพณีต่างๆ

ปัญหาในชุมชน คือเรื่องขยะและท่อระบายน้ำที่มีน้ำขังและขยะอุดตัน ตอนนี้ที่หมู่บ้านอยากได้มากที่สุดคือ ถนน เพราะถนนมีความชำรุดมาก

โครงงานที่ทำคือ การปลูกผักแปลงรวม และการลงนา ขั้นตอนก็คือ หลังจากที่มีการเข้าค่ายแล้วได้ให้ให้เยาวชนได้เสนอโครงงาน ก็มีเยาวชนเสนอเรื่องการปลูกผัก ซึ่งมีสถานที่สาธารณะที่มีน้ำสมบูรณ์ มีคนเข้าร่วมโครงงานปลูกผัก 43 คน ทำแปลงโดยแกนนำ คือผู้นำชุมชน ร่วมกับแกนนำเยาวชน หลักจากได้แปลง ก็ได้มีการจองสถานที่ปักชื่อไว้เป็นของตนเอง

ปัญหาเมื่อเราทำโครงงาน จากตัวเราคือ ไม่ค่อยมีเวลาได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม เด็กบางคนยังไม่เข้าใจในเรื่องการดูแลผัก และสำคัญก็คือสิ่งแวดล้อม ปลูกผักไม่ถูกฤดูกาล ทำให้ผักไม่ได้ตามต้องการ แก้ปัญหาคือการให้เด็กนำผู้ปกครองมาทำด้วย เพื่อจะมีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเป็นพี่เลี้ยงก็สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการปลูกผักให้สมบูรณ์ แบ่งหน้าที่ให้กับแกนนำ ให้กำลังใจกับคนที่ทำงาน หาตลาด จำหน่ายผักให้

ตัวการ์ตูนที่ชอบ คือ เซล่ามูน

สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น คือ เกิดกิจกรรมดีๆ ในชุมชน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ นำผักมาบริโภค ได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ ได้สุขภาพต่อตัวเองและชุมชน

ต้องขอบคุณที่ทำให้เกิดโครงงานดีๆในชุมชน ให้ชุมชนให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น บางครั้งอาจไม่ค่อยทำได้ตามวัตถุประสงค์ก็ต้องขอโทษ หากว่าทำชุมชนให้ยังขาดบางเรื่องก็ต้องขอโทษ