พิเชษฐ์ เบญจมาศ : เทคนิคการโคชเยาวชนทำโครงการเพื่อชุมชน PBL

เทคนิคเด่น ที่มักใช้ในการโคชพลเมืองเยาวชน :

  • การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เช่น เรื่องเวลานัดหมาย ที่ใช้ความตรงต่อเวลา เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ โดยทำให้เห็นเป็นแบบ
  • การตั้งคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น “ทำไม” ถามหาเหตุผลที่มาของความคิด “อย่างไร” ถามหารายละเอียดความคิดนั้น
  • การสร้างแรงบันดาลใจ ผ่านการยกตัวอย่างบุคคลสำคัญ บุคคลตัวอย่าง และพาลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ความยืดหยุ่น และรอคอย เป็นการฝึกตนในการมองงาน มองเยาวชน สื่อสารผ่านพี่เลี้ยงเพื่อช่วยการทำงาน

ข้อค้นพบในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างสำนึกพลเมืองของเยาวชนในจังหวัด :

  • โครงงานฐานวิจัยเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับเยาวชน - เยาวชนต้องการพื้นที่การแสดงออก ทั้งที่เป็นเยาวชนในระบบ และเยาวชนนอกระบบ เพราะพื้นที่ที่เยาวชนอยู่ ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เยาวชนรวมกลุ่มแสดงออกในทางที่ไม่ดีมากกว่า เมื่อเปิดพื้นที่ เยาวชนพบ รวมตัว สื่อสาร และสามารถสร้างสนามพลังใหม่ได้ โดยระบบการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย สามารถจัดระบบประสบการ์ใหม่แก่เยาวชน ให้มีระบบการทำงาน การสิ่อสาร เป็นการเสริมศักยภาพ นอกระบบการศึกษา ผ่าน ความสนใจจริง ชีวิตจริง พื้นที่จริง
  • พี่เลี้ยงสร้างสัมพันธ์ – การออกแบบให้พี่เลี้ยงทำหน้าที่เป็นตัวประสานข้อกลาง ระหว่างเยาวชน และเจ้าหน้าที่โครงการ ส่งผลให้ เกิดการลดช่องว่างระหว่างเยาวชน กับงานที่ทำในรูปแบบโครงงาน และเป็นการพัฒนาระบบกลไกที่ทำหน้าที่ดูแลงานเยาวชนได้ โดยเป็นการตัดวงจรงานเยาวชนที่คนนอกชวนทำ แต่เป็นงานเยาวชนที่มาจากคนในเอง
  • R-D-M – นวัตกรรมการเรียนรู้ แบบ _R Reseach ประกอบด้วย R1 Review R2 Research R3 Reconceptual ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลสิ่งที่สนใจ ทั้งในเชิงเอกสาร พื้นที่ แล้วสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติการ ส่งผลให้งานที่เยาวชนจะ Development พัฒนา มีความชัดเจน ครบถ้วนขึ้น สุดท้ายต้องสร้างการเคลื่อนไหว Movement แก่สังคม ชุมชนนั้นๆ โดยทางโครงการออกแบบการบริหารงบประมาณ 30,000 บาท ดังกล่าว เป็นช่วง R ให้งบประมาณ 10,000 บาท ช่วง D M 20,000 บาท