รัฐพล ย่างคุณธรรม : บทสัมภาษณ์เยาวชน Best Practice โครงการการศึกษาขั้นตอนและวิธีการในการทำผ้ากัญชงของชาติพันธุ์ม้ง

นายรัฐพล ย่างคุณธรรม (พิท) อายุ 17 ปี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (สายวิทย์-คณิต) โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

โครงการการศึกษาขั้นตอนและวิธีการในการทำผ้ากัญชงของชาติพันธุ์ม้ง อำเอพบพระ จังหวัดตาก

­

ถาม ขอให้แนะนำตัว

ตอบ ชื่อรัฐพล ย่างคุณธรรม ชื่อเล่น พิท อายุ 17 ปี เรียนโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

­

ถาม เรียนสายอะไร?

ตอบ สายวิทย์-คณิต

­

ถาม น้องพีทมาทำโครงการนี้ได้อย่างไร?

ตอบ เพื่อนมาทำก่อนเห็นว่าดีก็ชวนมา สนใจ นึกขึ้นมาได้ว่าถ้าเราทำขึ้นมาเป็นผ้าใยกัญชงได้มันก็ดีกับตัวเอง ก็เลยมาทำ

­

ถาม ทำหน้าที่อะไรในโครงการ?

ตอบ เป็นคนติดต่อประสานงานกับเพื่อน

­

ถาม ช่วยเล่าประวัติของว่าเราเติบโตมาอย่างไร?

ตอบ ผมเป็นม้งขาว ซึ่งพ่อแม่ไม่เคยปลูกกัญชงเลย ก็เลยสนใจเรื่องกัญชงขึ้นมา (ผ้าใยกัญชงทำในกลุ่มม้งเขียว)

­

ถาม เอกลักษณ์ของม้งขาวคืออะไร?

ตอบ เนื้อผ้าที่สวมใส่จะไม่ลายมาก จะเป็นผืนเรียบๆ เอกลักษณ์ชุมชนมีภาษาม้ง ใช้เฉพาะภาษาม้ง และใช้ภาษาไทยบ้าง ภาษาของม้งขาวต่างกับม้งเขียวบางคำเช่น คำว่า เต้ กับ เกล้ ความเชื่อเหมือนกันต่างเฉพาะภาษา มีรากภาษาเดียวกันแต่บางคำพูดมาก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร

­

ถาม เราเป็นคนแบบไหน อย่างไร?

ตอบ หนูเป็นคนร่าเริง รักเพื่อน ชอบทำกิจกรรม เด่นๆ คือการเต้น รองลงมากิจกรรมในโรงเรียนวันวิทยาศาสตร์ วันครู และวันภาษาไทย เป็นกล้าแสดงออกตั้งแต่เด็ก

­

ถาม โครงการนี้เป็นโครงการแรกไหมที่ทำวิจัย?

ตอบ ใช่

­

ถาม งานวิจัย แตกต่างอย่างไรกับกิจกรรมอื่นๆ การเต้น การแสดง?

ตอบ ต้องใช้ สมอง ความรู้ ส่วนการเต้น ใช้ความสามารถที่จะต้องฝึกฝน

­

ถาม เราได้ใช้ความรู้เก่าที่เรามีกับโครงการวิจัยนี้บ้างไหม?

ตอบ ใช้ เช่น เรื่องความเชื่อ คนตายจะเอาผ้ากัญชงไปให้

­

ถาม ทักษะอะไรในตัวเองที่มีและได้ใช้ในโครงการ?

ตอบ ผมคิดว่าเป็นรอยยิ้ม เสียงเรียกความเฮฮาภายในกลุ่ม ช่วยคลายเครียด ให้กับเพื่อนๆ

­

ถาม มีเหตุการณ์ไหนบ้างที่เพื่อนเครียดมากๆ แล้วเราได้ช่วย?

ตอบ ถ้าเพื่อนตึงๆ ก็จะเริ่มแซวว่าเดี๋ยวงานไม่เสร็จนะ เพื่อนก็จะยิ้มๆ ขึ้นมา จะเข้ามุขเรา

­

ถาม หนูประสานงานเก็บข้อมูล เจอปัญหอุปสรรคอะไรบ้าง?

ตอบ การประสานงานไม่ยาก แต่ไม่เข้าใจว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร? ต้องใช้การจำการเตือนจากเพื่อน หนูเป็นคนขี้ลืมง่าย ถ้าหนูสนุกสนานเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาเพื่อคลายความเครียด ก็จะลืมอะไรนิดๆ หน่อยๆ มีเพื่อนคอยเตือน

­

ถาม ประทับใจอะไรในโครงการนี้จากการทำหน้าที่ของเรา?

ตอบ ประทับใจการเตือนของเพื่อน ถ้าเราลืมอะไรเพื่อนในทีมก็จะเตือนเรา เรื่องเด่นๆ ที่ประทับใจคือ ครูจูนเพราะครูจะเล่ารายละเอียดได้ดีมาก เป็นขั้นตอน บอกว่าลำดับที่ 1 ควรทำอะไรได้ ลำดับที่ 2 คืออย่างไร ลำดับที่ 3 คืออย่างไร

­

ถาม ตอนที่สัมภาษณ์มีเหตุการณ์อะไรไหมที่เรารู้สึกว่าประทับใจ เกิดปัญหาขึ้นแล้วเราต้องแก้ปัญหามีบ้างไหม ระหว่างการลงชุมชน?

ตอบ หนูคิดว่าประทับใจตรงที่ไปถามเขา เขาตอบกลับมา เวลาที่ไปถามไม่ได้ถามภาษาไทย เราถามเป็นภาษาม้งอย่างสุภาพ เขาให้ความร่วมมือดี แต่มีบางคนที่ค่อยๆ พูด ไม่ได้พูดอย่างชัดเจนและรวดเร็วเขาค่อยๆ พูด นานมาก เราก็ต้องอดทนฟังและนั่งจด

­

ถาม แสดงว่าการสัมภาษณ์ไม่ใช่การถามอย่างเดียว?

ตอบ เราต้องรอให้เขาพูดจบ

­

ถาม ทักษะการรอเป็นสำคัญอย่างไรกับการทำงาน?

ตอบ ช่วยให้เราได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น

­

ถาม ถ้าเรารอนานมากถามก็ตอบช้าๆ เราทำอย่างไรต่อไป?

ตอบ เราจะให้เพื่อนค่อยๆ ถามและรออย่างสุภาพ เพื่อนจะช่วยเค้นว่า อย่างนี้เป็นอย่างไร เป็นอย่างไร ค่อยๆ พูด

­

ถาม มีหงุดหงิดบางไหม?

ตอบ มีเล็กน้อย

­

ถาม หนูดับอารมณ์ความหงุดหงิดของตัวเอง จัดการตัวเองอย่างไร?

ตอบ ส่งสายตาให้เพื่อน เพื่อนก็จะรู้กันช่วยถามให้แล้วเราก็ร่วมแจมไปกับเขา เหมือนกับเราถามไปไม่โดน ก็ก้าวถอยหลังให้เพื่อน ถามไปก่อนถ้าเพื่อนได้เราก็ค่อยถามไป

­

ถาม ตลอด 6 ที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงอะไรที่สำคัญที่สุดในตัวเราจากพีทคนก่อนกับพีทหลังโครงการ?

ตอบ ความสนใจของผม เมื่อก่อนตอนที่ไม่ได้ทำโครงการคิดว่าผ้ากัญชงทำได้แค่ผ้าเรียบๆ หนูไม่เห็นถึงความสวยงามไม่คิดว่าจะเป็นแบบนั้นได้ มองว่ามันจะเป็นแค่ผ้าเรียบๆ พอมาทำโครงการนี้หนูได้รู้ว่าสามารถปักลายลงบนผ้าได้ ทำสวยได้นะ เลยสนใจมากขึ้น

­

ถาม อะไรที่ทำให้เราคิดได้แบบนี้ เปลี่ยนได้นี่ ผ้ากัญชงสร้างสรรค์ได้ อะไรในตัวเราที่เปลี่ยนมุมมองไป?

ตอบ ความรักและความเข้าใจของเรา ก็รู้ว่าทำอย่างนี้ได้ ไม่ใช่แค่ผ้าเรียบๆ

­

ถาม ช่วยเล่าเรื่องการเรียนรู้ของเราจากการทำโครงการนี้?

ตอบ การวางแผนว่าต้องทำอย่างไรก่อน การตั้งคำถามคือ ครูบอกว่าเราจะต้องไม่ถามเป็นคำถามปลายปิด ถามเป็นคำถามปลายเปิด คือ ทำให้เขาพูดกับเราได้เรื่อยๆ เรื่องการไปสัมภาษณ์มีความกล้ามากขึ้น กล้าถามมากขึ้น ตัวเองมีความกล้าอยู่บ้างแต่ไม่เคยไปถามใคร พูดคุยกับคนต่างวัย เราต้องค่อยๆ พูดทีละคำ

­

ถาม รู้วิธีการสื่อสาร?

ตอบ ใช่ครับ

­

ถาม การถามต่างจากการพูดกับเพื่อนอย่างไร?

ตอบ ปกติหนูก็คุยกับเพื่อนไม่ค่อยรู้เรื่องจะค่อยๆ พูดกับเพื่อน ค่อยๆ พูดให้เข้าใจกัน

­

ถาม ตอนคุยกลุ่มเราอยากต่อยอดไปเป็นธุรกิจ ทำไมเราเห็นมุมมองอยากต่อยอด?

ตอบ ที่เชียงใหม่มีการทำ ที่นี่น่าจะมีการทำได้ด้วย

­

ถาม ที่บ้านของน้องทำเกษตรไหม?

ตอบ ทำ

­

ถาม คิดว่าจะลองให้ครอบครัวได้ลองปลูกไหม?

ตอบ คิดอยู่ แต่ว่าสังคมคนม้ง จะถือพ่อกับแม่เป็นใหญ่ ยังไม่เคยถามว่าจะปลูกไหม

­

ถาม ที่บ้านรู้ไหมว่าเรากำลังทำโครงการอะไรกับอยู่?

ตอบ รู้ครับ แต่ว่าไม่ค่อยสนใจมากเพราะเขาไม่ใช่คนที่ปลูกกัญชงจริงๆ

­

ถาม พอเราไปเห็นผู้ใหญ่ที่ปลูกกัญชงมา ผู้ใหญ่เห็นเด็กกลุ่มนี้มาสัมภาษณ์เรื่องการปลูกกัญชง เขาพูดอย่างไรกันบ้าง?

ตอบ จากที่ลงพื้นที่มีคนหนึ่งเขาบอกว่าดีใจ ว่ายังมีเยาวชนที่นึกถึงกัญชงอยู่ รู้สึกภาคภูมิใจที่เราได้ทำแบบนี้ และเขาชมเราแบบนี้ 

­

สัมภาษณ์วันที่ 20 มกราคม 2563