อรอุมา ชูแสง : เทคนิคการโคชเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชน

เทคนิคเด่น ที่มักใช้ในการโคชพลเมืองเยาวชน

  1. การเรียนรู้ร่วมกับเยาวชนผ่านกิจกรรม เช่น การเข้าร่วมเวทีที่เยาวชนมีบทบาทเป็นผู้นำและเมื่อเห็นอะไรที่แนะนำเยาวชนเพื่อปรับแผนกิจกรรมทั้งก่อน ระหว่างและหลัง ก็ให้ข้อเสนอบนฐานที่เยาวชนสามารถทำได้และเรียนรู้ได้
  2. การตั้งคำถามกระตุ้นเน้นย้ำสม่ำเสมอ เช่น เราได้เรียนรู้อะไร เรามีความรู้สึกอย่างไร อยากจะปรับปรุงอะไร อยากทำอะไรเพิ่มเติมให้ดีขึ้น และการเน้นย้ำเรื่องการบันทึกและการสื่อสารกิจกรรมผ่านภาพถ่าย /การเขียนเรื่องเล่ากิจกรรมประกอบภาพ
  3. การเปิดโอกาสให้เยาวชนลงมือปฏิบัติการจริง ค่อยให้กำลังใจ เชียร์ สนับสนุน
  4. การมีตัวอย่างการเรียนรู้ใหม่ๆเช่น การมีบุคคลต้นแบบ สื่อ คลิปวิดิโอ เป็นต้น

ข้อค้นพบในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างสำนึกพลเมืองของเยาวชนในจังหวัด

  1. การนำกระบวนการเรียนรู้เยาวชนActiveCitizen นำไปปรับใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพเยาวชน และการทำให้มีความต่อเนื่องโดยคุณครู ผู้ปกครองหรือคนทำงานด้านเด็กสามารถนำไปจัดการเรียนรู้/หลักสูตรการเรียนรู้บนฐานชุมชนได้ทำ เช่น การจัดหลักสูตรการสอนผ่านการเรียนรู้รายวิชาชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เป็นต้น
  2. กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสำหรับเด็กเยาวชน (วิจัยน้อย) เพราะเป็นงานวิจัยที่ไม่ได้ยึดแบบแผนแต่สร้างความรู้และพัฒนาเยาวชนผ่านการลงมือทำผ่านการปฏิบัติการจริงทดลองทำจริง เยาวชนสามารถเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างมีความสุข เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้การทำงานกับผู้อื่น ได้