เรื่องเล่าจาก“ประสบการณ์และบทเรียนการทำงานเยาวชน”

เรื่องเล่าจาก“ประสบการณ์และบทเรียนการทำงานเยาวชน”

นางสาวกฤษณา สุบินนาม

ครูผู้ดูแลเด็ก องค์การบริหารส่วนตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ฝึกการเล่าเรื่องด้วยวิธีเขียนในเวที”การเพิ่มสมรรถนะนักถักทอชุมชน :

การจัดการความรู้และการเป็นคุณอำนวย” วันที่ 20 – 22 มกราคม 2563


“ทำให้ดีที่สุด”

จุดเริ่มต้นของการเข้าร่วมกิจกรรม นักถักทอ (พี่เลี้ยง) เนื่องจากตัวของข้าพเจ้าเองได้เป็นครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ใน ศพด. อบต.สวาย และถูกมอบหมายให้เข้ามาอบรมในโครงการนี้ แรกเริ่มก็ยังไม่มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่อะไรเลย ว่านักถักทอคืออะไร ทำไปทำไม จะสำเร็จได้หรือ

จะเกิดคำถามขึ้นมามากมาย แต่พอได้เข้ามาอบรม ได้มา work shop ถึงเริ่มรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ “ทำให้ตัวของเราเองได้เริ่มเปิดใจ และซึมซับสิ่งต่าง ๆ ได้เริ่มต้นเพื่อที่จะเรียนรู้ในการเสียสละ" จากคำพูดของท่านวิทยากรท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ทำให้เรามีความมุมานะที่จะทำงานให้ดีเพื่อเด็ก

แต่พอได้ลงทำงานสำราจข้อมูลจริง กลับเจอปัญหาต่าง ๆ มากมาย อาทิ เช่น ความไม่ร่วมมือของคนในองค์กร ผู้นำท้องถิ่น และระบบที่ไม่พร้อม ยอมรับเลยนะว่ามีความท้อแท้ แต่ก็มาเจอกรณีศึกษาของเด็กชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักเรียนใน ศพด. ชีวิตของเด็กน่าสงสาร ต้องอาศัยอยู่กับญาติ โดยอาศัยที่ใต้ถุนบ้าน ใช้ผ้ากั้นเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อป้องกันแดดและฝน พ่อของเด็กก็ไม่มีบัตรประชาชน ไม่ได้รับสวัสดิการใด ๆ เลย

เราจึงมาย้อนคิดว่าถ้าเกิดไม่มีพ่อแล้ว เด็กจะใช้ชีวิตอย่างไร จะต้องกลายเป็นเด็กนอกระบบต่อไปหรือ? จึ งเป็นแรงผลักดันให้เราคิดที่จะสู้ต่อ จากสิ่งที่พบทำให้หันกลับมาเริ่มต้นสำรวจอีกครั้ง เพื่อเด้ก เพราะว่าเด็กที่ดีวันนี้ คือ อนาคตที่ดีของชาติในวันหน้า

ประสบการณ์จากการทำงาน ณ จุดนี้ ทำให้เรารู้ว่า กลไกทุกอย่างจะขาดใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ ทุกคนล้วนมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่ง

“ผ้าผืนหนึ่งจะไม่เป็นผ้าได้ ถ้าไม่มีด้ายพุ่ง ด้ายยืน คนทอ และสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ”

  ดังนั้นเมื่อได้รับโอกาสนี้ แล้วเราควรจะต้องทำให้ดีที่สุด#