ธีรภัทธ์ ใจสมุทร์ : ​บทสัมภาษณ์เยาวชนเด่นโครงการยาสมุนไพรจากป่าชายเลนกับระบบสุขภาพของคนในชุมชนบ้านท่าน้ำเค็มใต้

บทสัมภาษณ์เยาวชนเด่นโครงการยาสมุนไพรจากป่าชายเลนกับระบบสุขภาพของคนในชุมชนบ้านท่าน้ำเค็มใต้  ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล


ชื่อ – นามสกุล ธีรภัทธ์ ใจสมุทร์ ชื่อเล่น ก๊อต

อายุ 18 ปี การศึกษา : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์



ถาม: ตำแหน่งในโครงการของเราคือ

ตอบ: เป็นประธานโครงการครับ


ถาม: ก่อนไปถึงโครงการพี่อยากให้ก๊อต ลองนึกถึงตัวเองและลองอธิบายตัวเราก่อนว่านิสัยเป็นอย่างไร บุคลิกอย่างไร

ตอบ: ก่อนเข้าโครงการเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยกล้าแสดงออก


ถาม: ขี้อายระดับไหน

ตอบ: ขี้อายไม่มาก แต่ถ้าพูดจับไมค์ไม่ได้ครับ พูดแล้วจะมีอาการตื่นเต้นครับ


ถาม: นิสัยส่วนตัวเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ: เป็นคนเฟรนลี่ครับ ไม่เครียด เป็นคนร่าเริง แจ่มใส


ถาม: เรามีงานอดิเรก และมีอะไรชอบทำไหม หรือความสนใจของเรา

ตอบ: เล่นฟุตบอลครับ


ถาม: เล่นบ่อยแค่ไหนฟุตบอล

ตอบ: เมื่อก่อนเล่นทุกสัปดาห์ครับ มีแข่งทุกสัปดาห์ แต่หลังๆ มานี้ไม่มีรายการเล่น


ถาม: เล่นกับเพื่อนหรือจริงจังแบบนักกีฬา ชุมชน

ตอบ: ฟุตบอลลีกจังหวัด เป็นตัวแทนอำเภอท่าแพครับ บางรายการก็เป็นตัวแทนโรงเรียนด้วยครับ ผมแข่งขันหลายรายการ


ถาม: ชื่อทีมอะไรคะ

ตอบ: บาราเกตุ เอฟซี


ถาม: บาราเกตุ มาจากภาษาอะไร

ตอบ: เป็นชื่อโบราณของหมู่บ้าน สมัยก่อนเรียกว่าบาราเกตุ แต่ผมก็ไม่รู้ความเป็นครับ


ถาม: เล่นตำแหน่งอะไร ในทีม

ตอบ: กองหลัง


ถาม: กองหลัง มีคุณสมบัติอย่างไร

ตอบ: ต้องแกร่งครับ เวลาปะทะ ต้องแข่งแกร่ง ไม่ล้มง่ายๆ


ถาม: หน้าที่ในกองหลังในทีมต้องทำอย่างไรบ้าง

ตอบ: คอยสกัดไม่ให้กองหน้านำบอลผ่านกองหลัง เพื่อไปยิงประตูได้ครับ


ถาม: อยากเป็นกองหลังอยู่แล้ว

ตอบ: ครับเพราะเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ ตั้งแต่ ป.5 ป.6


ถาม: แล้วมีไอดอลไหม

ตอบ: พี่ต้น นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม


ถาม: เคยได้ยินชื่อแต่นึกหน้าไม่ออกล่ะ ตอนนี้เขายังแตะอยู่ไหม

ตอบ: ยังเตะอยู่ครับ บุรีรัมย์ยูไนเต็ด


ถาม: ถ้าต่างประเทศมีไหม

ตอบ: มีครับ เซร์ฆิโอ ราโมส เป็นกองหลังเหมือนกัน


ถาม: พี่ต้นทำไมเราชื่นชอบเขา

ตอบ: เพราะว่ามีระเบียบวินัย เสมอต้นเสมอปลาย เล่นดีตลอด พี่เขาเป็นนายร้อยตำรวจด้วยครับ


ถาม: แล้วเราว่าความมีวินัยมันสำคัญอย่างไร เราถึงรู้สึกชื่นชอบพี่เขา ที่เขามีระเบียบวินัย

ตอบ: มีวินัยในการซ้อม ไม่อู้ ซ้อมเต็มที่ มีวินัยในตัวเอง เราซ้อมเราทำก็ได้กับตัวเรา


ถาม: พี่จะโยงเข้าโครงการแล้วนะ แล้วตัวเรามีวินัยหรือเปล่า

ตอบ: ผมเป็นคนมีวินัยอยู่บ้างแต่ไม่ถึงขนาดเข้มข้นครับ


ถาม: เรามีอย่างไรถ้าเปรียบเทียบ ที่บอกว่าไม่ได้เข้มเกินไป เรามีอะไรที่คิดว่าไม่เต็มที่เหรอ

ตอบ: เรื่องการเรียน ยกตัวอย่างเวลาเรียนที่ครูนัดสอบเป็นหน่วย ส่วนใหญ่แล้วต้องให้ถึงเวลาก่อนผมถึงอ่านหนังสือ บางคนมีวินัยกว่านั้นครับ ครูสั่งก็อ่านเลย แต่ผมถ้าพรุ่งนี้ไม่สอบก็ไม่อ่าน ชอบอ่านเวลาใกล้ๆ สอบครับ


ถาม: ตอนนี้ก็ยังเป็นเหรอ

ตอบ: ครับ


ถาม: แล้วตอนนี้ผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ: ผมอยู่สายวิทย์ การเรียนก็อยู่ในระดับดีครับ


ถาม: ดีในที่นี้คือเราพอใจ

ตอบ: ครับ เพราะว่าผมทำเต็มที่แล้ว ภูมิใจในตัวเอง


ถาม: เราเป็นคนชอบไปโรงเรียนไหม

ตอบ: ก็ชอบครับ อยู่บ้านไม่มีอะไรทำ


ถาม: อันนี้ชั้นอะไรแล้วนะพี่จำไม่ได้แล้ว

ตอบ: ม.6 ครับ


ถาม: เราทำโครงการอะไรนะ

ตอบ: โครางการยาสมุนไพรจากป่าชายเลนกับระบบสุขภาพของคนในชุมชนบ้านท่าน้ำเค็มใต้


ถาม: โครงการนี้เรามีเป้าหมายอย่างไรบ้าง

ตอบ: นำสมุนไพรจากป่าชายเลน มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และได้ใช้จริงกับผู้ป่วยในชุมชนครับ


ถาม: ก่อนหน้าที่จะมาทำโครงการนี้ ตัวก๊อตเองเคยได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมาก่อนบ้างไหม

ตอบ: ไม่เคยเลย


ถาม: ถ้าเป็นเมื่อก่อนชีวิตประจำวันเราทำอะไรบ้าง

ตอบ: อยู่บ้าน อยู่กับเพื่อน ตอนเย็นไปเล่นฟุตบอลกับเพื่อนที่สนามครับ


ถาม: ก็ใช้ชีวิตในโรงเรียนไป ซ้อมฟุตบอลแล้วก็กลับบ้าน เรามีภาระหน้าที่ที่บ้านต้องรับผิดชอบไหม

ตอบ: มีกวาดบ้าน อาบน้ำไปโรงเรียน ซักผ้า รับผิดชอบเรื่องส่วนตัวทั่วๆ ไปครับ


ถาม: แล้วถ้าเสาร์อาทิตย์ล่ะ เราทำอะไรบ้าง

ตอบ: ช่วยงานที่บ้านครับ ที่บ้านทำธุรกิจผ้าม่าน


ถาม: เราเป็นคนในชุมชนนี้เลยรึเปล่า

ตอบ: ในชุมชนนี้เลย


ถาม: แล้วเรามาเข้าร่วมโครงการนี้ได้อย่างไร

ตอบ: ปีที่แล้ว มีพี่ที่ทำโครงการนี้อยู่ เขามาชวนผมไปเข้าร่วมเวทีสรุปโครงการ หลังจากนั้นมาพอพี่บังเชษฐ์มีประชุมก็พาผมไปด้วยครับ


ถาม: แล้วก๊อตรู้ไหมว่าเหตุผลอะไร ที่เขาชวนเราไปฟังด้วย

ตอบ: ผมคิดว่าเพราะผมไปร่วมแสดงละครในโครงการที่ปีก่อนที่โรงเรียนอนุบาล ซึ่งก็เป็นช่วงท้ายๆ ของโครงการ แล้วเขาดูจากการที่เห็นว่าผมกล้าแสดงออก เลยชวน ครั้งนั้นผมแสดงเป็นตัวประกอบไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไร


ถาม: ใครเป็นคนมาชวนไปแสดงละคร

ตอบ: เพื่อนสนิทครับ เขาร่วมแสดงละครด้วย


ถาม: แล้วทำไมเราถึงสนใจ

ตอบ: ผมเห็นว่าโครงการที่ทำเป็นโครงการในชุมชน ผมอยากมีส่วนร่วมบ้าง เพราะผมไปเรียนต่างอำเภอ ไม่ค่อยมีโอกาสได้พบปะกับเพื่อนๆ ในชุมชน ผมเลยถือโอกาสนี้ได้พบเพื่อนและทำกิจกรรมร่วมกันครับ


ถาม: ระหว่างเพื่อนทำกิจกรรมเรารู้ไหมว่ามีโครงการนี้อยู่

ตอบ: ไม่รู้ครับ เพราะผมไปเรียนแล้วก็กลับบ้าน


ถาม: เราก็มีเพื่อนคนนี้มาชวน เพื่อนชื่ออะไรนะ

ตอบ: อับดุลฮาดี มานีอาเหล็ม เรารู้อยู่แล้วว่าเพื่อนทำโครงการในหมู่บ้าน เพื่อนชวนก็สนใจอยากมีส่วนร่วมบ้าง ผมอยากมีส่วนร่วมในชุมชนมากกว่านี้ เมื่อก่อนไม่ได้คบหากับเพื่อนเลย เห็นเพื่อนทำโครงการดูน่าสนุกก็เลยสนใจอยากทำบ้าง


ถาม: ก็เลยทำต่อมาในปีที่ 2 ร่วมกับเพื่อนที่ชวนเราด้วยใช่ไหม

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: เล่าห้พี่ฟังหน่อยได้ไหมว่าคิดอย่างไรถึงทำโครงการนี้ขึ้นมา

ตอบ: บังเชษฐ์ถามขึ้นมาว่าอะไรที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ผมก็บอกว่ามี “ป่าชายเลน” ตอนนั้นบังเชษฐ์ก็ถามอีกว่า “ป่าชายเลนทำอะไรได้อีกบ้าง” ผมหาในอินเตอร์เน็ตพบว่ามีสมุนไพรในป่าชายเลนของเราที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ เลยคุยกันในกลุ่มว่าทำโครงการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในป่าชายเลนดีไหม


ถาม: ถ้าก่อนทำโครงการ แล้วพูดถึงป่าชายเลน ตัวก๊อตเองให้ความสำคัญกับมันอย่างไรบ้าง เรามองป่าชายเลนอย่างไร

ตอบ: ก่อนนี้ผมมองป่าชายเลนเป็นเรื่องปกติอย่างหนึ่ง ไม่ได้นึกถึงความพิเศษ รู้ว่ามีในหมู่บ้านแต่ไม่เคยไปดู


ถาม: ก็คือว่ามี อยู่ตรงนี้ คือบ้านเราทำธุรกิจผ้าม่าน แล้วถ้าคนในชุมชนอาชีพหลักคืออะไร ทำอะไรกัน

ตอบ: กรีดยางครับ


ถาม: พื้นเพก็ไม่ได้ไปคลุกคลีกับป่าชายเลน แต่เราก็รู้ว่ามันมีอยู่ แล้วทีนี้เราก็ได้ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพร ก็เลยเกิดมาเป็นโครงการนี้พี่เข้าใจถูกไหม

ตอบ: ใช่ครับ บังเชษฐ์บอกว่าให้เล็งเห็นปัญหาของชุมชนว่ามีอะไรบ้าง เพื่อนบางคนบอกว่ามีโรคเบาหวาน ความดัน ซึ่งสมุนไพรในป่าชายเลนมีอยู่ตัวหนึ่งที่ช่วยลดเบาหวานความดัน ก็เลยอยากทำตรงนี้ขึ้นมาครับ


ถาม: มีเพื่อนพูดขึ้นมาว่า เป็นโรคเบาหวาน ความดันนะ ก๊อตเองรู้มาก่อนไหมว่ามี หรือต้องไปเช็คมาก่อนไหมว่ามันมีข้อมูลจริงๆ

ตอบ: เช็คกับ อสม.


ถาม: ทำไมต้องเช็คด้วยคะ

ตอบ: เพราะอยากรู้ว่าคนในชุมชนมีเป็นเบาหวาน ความดันมากไหม เป็นปัญหาของชุมชนนี้จริงหรือไม่ ถ้าเรารู้กลุ่มเป้าหมาย เราสามารถนำสมุนไพรไปให้ผู้ที่มีอาการได้กินได้ใช้จริงได้ด้วยครับ


ถาม: แล้วจากการไปเช็คข้อมูล ผลออกมาเป็นอย่างไรบ้างสรุป สถิติผู้ป่วย ในชุมชนของเรา

ตอบ: เยอะครับ ประมาณ 300 กว่าคน


ถาม: จากจำนวนคนทั้งหมดกี่คน

ตอบ: พันกว่าคนได้ครับ


ถาม: ก็เยอะนะ 1 ใน 3

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: หลังจากที่ได้โจทย์มาแล้วเราเริ่มทำอะไร

ตอบ: ตอนแรกลงพื้นที่สำรวจในป่าชายเลนว่ามีพันธ์ไม้ที่เป็นสมุนไพร 5 ชนิดที่สามารถเอามาเป็นสมุนไพรได้ครับ หลังจากนั้นก็ลงพื้นที่สำรวจกับ อสม. ว่ามีผู้ป่วยกี่คน หลังจากนั้นก็ศึกษาว่าสมุนไพรนี้ว่ามีสรรพคุณในการรักษาเบาหวานกับความดันเตรียมตัวกันเพื่อทำสมุนไพรนี้ขึ้นมา จากนั้นก็รวมตัวกันแปรรูปสมุนไพรเป็นยาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ชาแปรรูปและสบู่จากใบขลู่ ชามีสรรพคุณเบาเทาอาการของโรคเบาหวานและความดันได้ครับ


ถาม: เราเป็นประธาน แต่เราได้มาจับโครงการนี้เต็มตัวเป็นครั้งแรก ทั้งๆ ที่เพื่อนเราทำมาก่อนทำไมเราถึงได้มาเป็นประธานกลุ่มได้เลือกกันอย่างไร

ตอบ: วันนั้นนัดกันมาประมาณ 30 กว่าคนแล้ว เขาอยากเลือกประธาน เสนอว่าใครอยากเป็นก็ให้ยกมือ มีผมคนหนึ่งแล้วก็มีเพื่อนอีกคนหนึ่ง บังเชษฐ์ก็ให้เพื่อนทุกๆ คนโหวตว่า ให้ใครเป็นแล้วก็ได้ผมเป็นประธาน


ถาม: 30 คนนี้เป็นใครมาจากไหนกันบ้างคะ

ตอบ: ก็มีต่างหมู่บ้านบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนในหมู่บ้าน


ถาม: แล้วเราไปหาสมาชิกมาได้อย่างไรตั้ง 30 กว่าคน เพราะบางพื้นที่จะหาคนมาทำงานนี้มันไม่ง่ายนะ

ตอบ: ที่นี่กลุ่มเยาวชนรวมตัวกัน กลุ่มเยาวชนบ้านท่าน้ำเค็มใต้ กลุ่มเยาวชนคนรักท่าแพ เป็นกลุ่มเยาวชนอยู่แล้ว เราก็ดึงเพื่อนมาทำโครงการนี้


ถาม: กลุ่มเยาวชนคนรักท่าแพ ที่มีอยู่แล้ว มันมีตั้งแต่ปีแรกเลยเหรอ หรือว่ามีก่อนปีแรกอีก

ตอบ: มันมีมานานแล้วครับ


ถาม: อันนี้อยากจะให้วิเคราะห์นิดหนึ่งเหมือนที่พี่บอก บางพื้นที่เค้าหาคนหาน้องๆ มาร่วมทำโครงการก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อันนี้คือจุดเด่นของชุมชนเราในส่วนของเด็กและเยาวชนเราคิดว่ามีอะไร

ตอบ: ส่วนใหญ่เรียนโรงเรียนเดียวกัน อยู่ในชุมชนเดียวกัน เวลาบอกกล่าวชักชวนกันมาก็ทำได้ง่าย


ถาม: ก็ 30 คนนี้โหวตแล้วเราได้คะแนนกี่คะแนน

ตอบ: ก็เยอะอยู่เหมือนกันครับ


ถาม: ได้กี่คะแนนจำได้ไหม

ตอบ: จำไม่ได้ครับ


ถาม: คิดว่าทำไมเพื่อนอยากเลือกเรา

ตอบ: คิดว่าตอนแรกผมกล้ายกมือแล้ว เพื่อนก็คงคิดว่าผมก็กล้าที่จะทำจริงๆ


ถาม: แล้วทำไมเราถึงกล้าที่ยกมือ

ตอบ: ตอนแรกไม่มีใครยกมือเลย ผมอยากเป็นผู้นำของเพื่อนๆ ครับ เพราะผมคิดว่าผมจะทำอย่างจริงจัง ถ้าผมไม่ยกก็คือไม่มีใครกล้ายก


ถาม: แล้วยกมือกันมากี่คน ที่อยู่บนกระดานที่จะโหวตเลือกกัน

ตอบ: 2 คนครับ


ถาม: แล้วเราก็ได้มาเป็นประธาน หน้าที่ประธานเราต้องทำอะไรบ้าง

ตอบ: จัดการบริหารทุกอย่าง ทำงานอะไรก็มอบหมายให้เพื่อนแต่ละคนไปทำ บริหารเวลา บริหารงานให้ดีครับ


ถาม: ในโครงการเรามีพี่เลี้ยงไหม เห็นเราพูดถึงบังเชษฐ์ เข้ามาช่วยในการโหวตประธาน พี่เลี้ยงเราคือใครคะ

ตอบ: จ๊ะบ๊ะ (ฮาบีบ๊ะ เส็นสมมาตร)


ถาม: แล้วเรารู้จักจ๊ะมาก่อนไหม

ตอบ: ก็รู้จักครับ คนในหมู่บ้านด้วยกัน


ถาม: แล้วการทำงานส่วนใหญ่ จ๊ะได้เข้ามาช่วยตรงส่วนไหนบ้าง

ตอบ: ช่วยแนะนำการทำโครงการ คอยช่วยให้คำปรึกษา เวลามีปัญหาก็ไปปรึกษาแกครับ


ถาม: แล้วเราไปปรึกษาแกบ่อยไหมเพราะว่า เราเป็นประธานด้วย

ตอบ: ก็เป็นบางครั้ง อะไรที่มันยาก แล้วทำไม่ได้ก็ไปถามแก แล้วอะไรที่ทำเองได้ก็ไม่ปรึกษา เพราะเขามอบหมายให้ผมทำ


ถาม: ก็คือเราคิดแก้ปัญหาเองก่อน ถ้าไม่แน่ใจก็จะไปถาม อยู่ถูกไหม

ตอบ: ครับ


ถาม: เป็นประธานก็ต้องดูแลจัดการ พอมาเป็นจริงๆ มันเหมือนที่เราคิดไหม มีอะไรน่าหนักใจไหมในการทำโครงการของเรา

ตอบ: เราต้องบริหารจัดการเอง ต้องแบ่งงานให้สมาชิกทุกคนครับ มันจะหนักอยู่ตรงนี้แหละครับ แต่ว่าอย่างอื่นก็โอเคครับ


ถาม: แล้ว 30 คนนี้ อยู่ด้วยกันจนตลอดรอดฝั่งไหม

ตอบ: ไม่ครับ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่ไม่ค่อยเข้ามา ผู้หญิงถ้าต่างหมู่บ้านก็ไม่ค่อยมา เพราะว่าประชุมกันดึก ทำงานกันดึก ก็เลยเหลือแต่คนในชุมชน


ถาม: หลักๆ สักกี่คนที่ทำ ที่เป็นแกนๆ ทำโครงการ

ตอบ: ประมาณ 10 คนครับ ที่ว่าช่วยๆ กันครับ


ถาม: ไม่มากไม่น้อย ในโครงการของเราที่ก๊อตบอก เก็บข้อมูลแล้วก็ เริ่มแรกเราก็บอกว่าไปสำรวจพันธุ์ไม้ใช่ไหม อันนี้อยากให้เล่ารายละเอียดให้ฟังหน่อยว่า เราแบ่งหน้าที่กันอย่างไร ทำอะไรบ้าง

ตอบ: ให้สมาชิกไปปริ้นภาพ สรรพคุณ ลักษณะของพันธุ์ไม้ ไปสำรวจ แล้วพันธุ์ไม้นี้ตรงกับที่เราปริ้นมาตรงกันไหม ถ้าตรงกัน ตรงกันอย่างไรบ้าง


ถาม: ทำไมเราถึงเลือกหาข้อมูลแล้วปริ้นมาก่อน ก่อนที่จะเราจะไปดูก่อน ค่อยมาหาข้อมูล

ตอบ: เพราะว่าไม่รู้จักพันธุ์ไม้ชนิดไหนเลย ก็เลยปริ้นไปแล้วก็เอามาเทียบลักษณะกัน จะได้รู้ว่าชนิดไหนใช่หรือไม่ใช่


ถาม: แล้วเราเซิร์สคำคีย์เวิร์ดอย่างไร

ตอบ: พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนครับ


ถาม: แล้วปริ้นกันไปกี่พันธุ์ไม้เราพอจะจำได้ไหม

ตอบ: ประมาณ 30 พันธุ์ไม้ครับ


ถาม: คล้ายๆกับการสุ่มตามที่ขึ้นมานั้นแหละ

ตอบ: ครับ ก็ทั้งหมดที่เจอคือ 18 พันธุ์ไม้


ถาม: ก็คือเจอ 18 พันธุ์ไม้แต่เอา 5 พันธุ์เอามาทำสมุนไพรได้

ตอบ: ครับ ซึ่งที่เป็นเบาหวานมีพันธุ์ไม้เดียวครับ ก็เอามาทำเป็นยาเบาหวานความดัน


ถาม: ป่าชายเลนมีชื่อไหม

ตอบ: แถวบ้านเรียกตลิ่งสูง


ถาม: เวลาไป ไปกันอย่างไร

ตอบ: หลังหมู่บ้านสามารถขี่จักรยานยนต์ไปได้ครับ


ถาม: เราขี่รถไปแล้วจอดไว้แล้วไปสำรวจกัน

ตอบ: ครับ


ถาม: เราจะนัดกันวันไหน

ตอบ: เสาร์อาทิตย์ครับ


ถาม: แล้วใช้เวลากี่วันในการสำรวจ

ตอบ: วันเดียวครับ ช่วยๆ กันหา กระจายกัน


ถาม: หลังจากนั้น ได้ข้อมูลมา แล้วก็ไปเก็บข้อมูลที่ อสม. ตรงนี้ทำอย่างไรกันต่อ

ตอบ: แม่ผม แม่ของเพื่อน และพี่เลี้ยง เป็น อสม. อยู่แล้ว พวกเราเลยไปถามขอยอดสถิติม ข้อมูล อสม. เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพราะ อสม. ลงพื้นที่เดือนละครั้งอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นข้อมูลผู้ป่วยในชุมชน ถามจาก อสม. จึงชัดเจนที่สุด


ถาม: คือเราเอาสถิติมาดูใช่ไหม

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: สถิตินั้นเรามีรายงานอะไรไว้ไหม

ตอบ: ไม่ครับ


ถาม: แต่เราพอจะจำได้อยู่ว่ามีประมาณ 300 กว่าคน เราคิดว่าการที่คนในชุมชน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มันเป็นปัญหาไหม

ตอบ: ใช่ครับเป็นปัญหาครับ


ถาม: อะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นปัญหา เพราะว่าโดยปกติแล้วคนจะไม่ค่อยสนจนกว่าจะเป็นจริงๆ

ตอบ: เห็นว่าปัญหาเป็นกันเยอะ ไปทางไหนก็เจอ


ถาม: คนใกล้ตัวเราเป็นไหม คนที่เป็นเบาหวาน

ตอบ: ไม่มีครับ


ถาม: จากสถิติที่ได้มา ก็ทำให้เราคิดว่ามันต้องทำอะไรสักอย่างถูกไหม

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: นอกจากถามแม่ ถามพี่เลี้ยง แล้วเราได้สอบถามข้อมูลจากใครอีกไหมคะ

ตอบ: ไม่ครับ


ถาม: ตอนนี้มาถึงขั้นตอนการแปรรูปล่ะ เราเริ่มอย่างไร

ตอบ: ตอนแรกก็หาในยูทูปครับ มันไม่ได้อย่างที่ทำกันครับ เลยไปศึกษาดูงานที่ทุ่งหว้าครับ


ถาม: ใครเป็นคนแนะนำให้เราไปศึกษาดูงานที่นี้

ตอบ: บังเชษฐ์ครับ อยู่ในงานของบังเชษฐ์ครับ ก็เลยแนะนำให้ไปที่นั่น


ถาม: ผลตรงนี้เกิดขึ้นเพราะว่าเราลองทำแล้ว ไม่ได้ผล หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งในแพลนอยู่ที่แล้ว

ตอบ: เป็นส่วนหนึ่งในแพลนอยู่แล้วครับ เพราะเรื่องครั้งก่อนลองทำดู ได้ผลออกมาไม่เหมือนกับที่เป็นอยู่ในยูทูป


ถาม: แล้วเรารู้ไหมว่ามีปัญหาอะไร มันถึงไม่ได้อย่างเขาทำในยูทูป

ตอบ: ไม่รู้เหมือนกันครับ เพราะไม่มีใครให้คำปรึกษากับเรื่องนี้ครับ


ถาม: หลังไปดูงานได้ข้อมูลอะไรมาบ้าง

ตอบ: ได้ความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับการทำชาใบขลู่ ตอนแรกๆ กลับมาทำ เราก็ยังทำกันไม่ค่อยได้ เพราะไม่ชำนาญ แต่ก็ลองปรับเปลี่ยนจนทำออกมาได้สำเร็จ


ถาม: ต้องทำอย่างไร วิธีที่ทำแล้วได้ผล

ตอบ: เอาใบขลู่มาเด็ด ล้างน้ำ แล้วนำไปตากให้แห้ง เสร็จแล้วเอามานึ่งประมาณ 5-10 นาที กระจายให้ใบแยกกัน รอจนสะเด็ดน้ำ หลังจากนั้นเอาไปคั่วให้น้ำในใบแห้ง พแห้งแล้ว คั่วให้ใบกรอบ เสร็จแล้วนำไปตากแดดอีกครั้ง พอใบแห้งสนิทสามารถเอาไปชงชาได้เลย


ถาม: อันนั้นที่เราไปได้เรียนรู้จากทุ่งหว้า แล้วที่ก๊อตบอกว่าตอนแรกทำเองไม่ได้ จากที่ไปดูงานมา เราได้วิเคราะห์กันไหมว่าเราพลาดตรงไหน

ตอบ: ตอนแรกคือใบไม่แห้ง เลยใช้ไม่ได้ครับ


ถาม: หมายถึงตอนดูงานเขาก็ให้ข้อมูลละเอียด แต่พอเรามาทำเอง ได้ผลออกมาไม่เหมือนที่ไปเรียนใช่ไหม ถึงต้องมีแก้ไข แล้วเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้

ตอบ: ตอนแรกทำทิ้งไปบ้าง พอทำแล้วคิดว่าแห้งแล้ว แต่พอเอาไปใส่ในกระปุกพอเช้ามามันมีความชื้นอยู่ครับ เลยต้องมาดูวิธีการคั่ว การนึ่งการตากแดดใหม่


ถาม: เวลาเราไปทำ เราไปทำที่ไหนกัน

ตอบ: บ้านเพื่อนในกลุ่ม สมาชิกในกลุ่ม


ถาม: มันเป็นแบบนี้หรือเปล่า เราต้องปรับให้พร้อมกับเครื่องมือที่เรามี

ตอบ: ครับ


ถาม: แล้วมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ผลิตภัณฑ์แปรรูปของเรา

ตอบ: หม้อนึ่งครับ แล้วก็กระทะใบใหญ่ ที่ต้องคั่ว มีตะกร้าเอาไว้ตากใบยา ไม่ให้มันซ้อนกัน เวลาตากแดดมันจะไม่แห้ง


ถาม: ส่วนใหญ่ใช้เวลาไหนในการทำงานคะ

ตอบ: จะเป็นตอนเช้าตื่นขึ้นมาช่วยกันทำ บางทีทำจนดึกเลยครับ เพราะต้องใช้เวลานานในการทำ


ถาม: ใช้เวลานานกี่วัน

ตอบ: ประมาณ 2 วันครับกว่าจะออกมาได้


ถาม: มีชา และสบู่มาได้อย่างไร

ตอบ: สบู่ใช้ใบขลู่ ช่วยขัดผิวได้ ผมนำมาทดลองใช้ ขัดผิวได้จริง ตอนแรกก็ดูในยูทูปเหมือนกัน ต่อมาแฟนบังเชษฐ์ไปเรียนทำสบู่มา เลยมาช่วยเป็นวิทยากรในการทำสบู่ครับ


ถาม: ต่อนี้หลักๆ มี 2 ผลิตภัณฑ์ ชากับสบู่ใช่ไหม

ตอบ: ครับ


ถาม: ตัวชา เราได้ไปเก็บผลสำรวจอะไรไหม มันช่วยลดอาการเบาหวานได้จริงไหม

ตอบ: พอสรุปโครงการเวลามันเร่งรัดไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครับ เพราะต้องใช้เวลา 1 – 2 เดือนครับ ซึ่งชาใบขลู่ลดน้ำตาลในเลือดไม่ใช่ว่ากินแล้วมันจะหาย คือแค่บรรเทาครับ


ถาม: รสชาติเป็นอย่างไร

ตอบ: มันเหมือนชาครับจะออกขมๆ


ถาม: มีกลิ่นเฉพาะไหม

ตอบ: มีครับ กลิ่นสมุนไพรฉุนๆ คนเป็นเบาหวานกินก็ช่วยบรรเทา คนที่ไม่เป็นก็กินได้ กินไว้ป้องกันครับ


ถาม: ก๊อตบอกว่าเรามีจำหน่าย ช่องทางการวางผลิตภัณฑ์วางที่ไหน

ตอบ: ออกบูธขายตามงานของกลุ่มในโครงการ และมีโพสขายทางเฟสบุ๊กส่วนตัวบ้างครับ


ถาม: ขายอย่างไรบ้าง ชาเป็นห่อ ห่อละกี่บาท

ตอบ: ห่อละ 39 บาท


ถาม: แล้วสบู่ ก้อนล่ะเท่าไหร่

ตอบ: ก้อนละ 39


ถาม: 39 บาท 3 ก้อน 100 รึเปล่า

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: แล้วชาเหมือนกันไม

ตอบ: ชานี้ก็แล้วแต่ครับ ถ้าใครเอา 3 ถุงก็ 100 ครับ


ถาม: เราเคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อนไหม เพราะมันดูยิบย่อยมากเลยในการใส่ซอง

ตอบ:ไม่เคยทำ


ถาม: ในทีมมีใครเคยทำมีประสบการณ์หรือเปล่าคะ

ตอบ: ไม่เลยครับคือทำครั้งแรกกันทั้งหมด


ถาม: เรื่องนี้สำหรับเรามันยากไหม

ตอบ: ช่วงแรกผมเองยังคิดว่าพวกเราคงทำกันไม่ได้ เพราะไม่เคยทำมาก่อน แต่พอลงมือทำแล้ว ความผิดพลาดทำให้เราพัฒนาไปเรื่อยๆ จนทำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง เมื่อได้เรียนรู้ ได้ทำจนเป็นแล้วมันก็ง่ายขึ้น


ถาม: ที่คิดว่าทำไมได้คิดว่าอย่างไรเหรอคะ

ตอบ: เพราะไม่เคยทำครับอะไรแบบนี้ครับ


ถาม: การทำงานในทีมเรื่องไหน เป็นเรื่องยากสำหรับเรา

ตอบ: เรื่องการนัดหมาย บางครั้งนัดล่วงหน้าเป็นอาทิตย์ก็ไม่มาตาม หรือไม่ก็มาสาย มันเป็นเรื่องยากที่จะไปบังคับให้มาตรงเวลาครับ


ถาม: แล้วเราแก้ปัญหาอย่างไร

ตอบ: แก้ปัญหา สมมุติว่าจะนัด 10 โมง เราก็นัด 9 โมง สมาชิกก็จะมาถึงกันตอน 10 โมงพอดี


ถาม: ทีนี้นอกจากในกลุ่มเรา พ่อแม่ แล้วคนในชุมชนเรารับรู้ไหมว่าเราทำโครงการอะไรกันเพื่ออะไร

ตอบ: รู้ครับ เพราะตอนนั้นกลุ่มเยาวชนเราไปปลูกป่าชายเลนกันในวันพ่อ วันที่ 5 ธันวา 2562 พวกเราได้บอกเล่าสู่ชุมชนว่าทำอะไรกันอยู่ แล้วก็ได้ช่วยปลูกป่าชายเลนตรงนั้น

ตอบ: ช่วงตอนกลางๆ โครงการครับ แต่ยังไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ แค่บอกให้เขารู้ว่าเราทำอะไรไปแล้ว และกำลังจะทำอะไรต่อ


ถาม: เมื่อมาทำโครงการความรู้สึกของก๊อตที่มีต่อป่าโกงกาง ของชุมชนซึ่งเป็นบ้านของเราเปลี่ยนไปไหม

ตอบ: เปลี่ยนไปครับ เมื่อก่อนแค่รู้ว่าเป็นป่าชายเลนก็เฉยๆ แต่พอได้มาศึกษา ได้รู้ว่ามัน มีประโยชน์อะไรบ้าง ผมรู้สึกว่าป่าชายเลนเป็นของเรา เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ป่าชายเลยเป็นที่ทำมาหากิน ตรงนั้นเป็นท่าเรือของหมู่บ้าน ถ้าป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ ก็มีสัตว์น้ำ มีสมุนไพรนานาชนิด ป่าชายเลนมีคุณค่ากับหมู่บ้านของเรามาก


ถาม: แล้วเสียงตอบรับจากคนในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ: ก็ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ครับ นอกจากขายแล้ว พวกเราได้นำชาไปแจกสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน บางคนก็ขอซื้อครับ


ถาม: ตอนนี้ยังทำกันอยู่ไม

ตอบ: ตอนนี้โตขึ้นภาระหน้าที่ก็มากขึ้น ยังไม่ได้เตรียมตัวกันมากเท่าไหร่ พอขึ้น ม.6 ภาระมันเยอะ


ถาม: พอความรู้สึกของเราต่อป่าโกงกางเปลี่ยนแปลงไป มันได้เชื่อมเราไปสู่ เรื่องธรรมชาติ โดยรวมด้วยไหม พฤติกรรมความคิดเราเปลี่ยนไปด้วยหรือเปล่า

ตอบ: ก็เปลี่ยนครับ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติที่อยู่ในชุมชนเรามีประโยชน์ต่างกันและมีคุณค่าทั้งหมดเลย


ถาม: เราเห็นสิ่งมีค่าอยู่รอบตัว แล้วมันมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเราไหม ยกตัวอย่างเช่น โครงการของเราเกี่ยวกับสุขภาพด้วย สิ่งแวดล้อมด้วย มันทำให้เราปรับพฤติกรรม ของตัวเองด้านสุขภาพอย่างไรไหม หรือว่าด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนทิ้งขยะไม่เป็นที่ เดียวนี้ก็เปลี่ยนไป ลองนึกถึงตัวเองว่าเราเห็นความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของตัวเองบ้างไหม

ตอบ: ความเปลี่ยนแปลงของผมน่าจะตอนที่ไปป่าชายเลน เดี๋ยวนี้ผมอยากรู้อยากเห็นว่าพันธุ์ไม้ต่างๆ ทำอะไรได้บ้าง มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงเฉยๆ ไม่อยากรู้จักก็ไม่รู้จัก ก็ได้แต่ผ่านไป


ถาม: เวลาทำงานต้องมีการคิดวางแผนต่างๆ มันมีประโยชน์อะไรต่อการเรียนไหมทางความคิด

ตอบ: มีครับ งานกลุ่มที่โรงเรียนก็มีการจัดการวางแผนเวลาดีขึ้นครับ


ถาม: แล้วการเรียนเราดีขึ้นหรือเปล่า

ตอบ: ดีขึ้นมาสักนิดครับ


ถาม: สักนิดนี้เป็นเพราะอะไร

ตอบ: การได้ทำโครงการ ทำให้ได้เรียนรู้ว่าต้องจัดการกับงานอย่างไร วางแผนกับมันอย่างไร และนำไปปรับใช้ในงานกลุ่มที่โรงเรียน


ถาม: ที่ก๊อตบอกว่าอยากรู้เรื่องรอบตัวมากขึ้น คิดว่ามันดีไหม

ตอบ: กดีครับ พอเรารู้ว่ามีประโยชน์ มีคุณค่า เราจะเห็นคุณค่าของมัน เราก็อยากปกป้องมัน รักษามันให้อยู่กับหมู่บ้านไปนานๆ


ถาม: ในใจเราตอนนี้ ถ้าเรามีเวลา อยากจะทำอะไรให้ชุมชนอีกไหม

ตอบ: อยากเขียนป้ายพันธุ์ไม้ บอกชื่อและสรรพคุณไปติดไว้ คนในชุมชนบางคนก็ไม่รู้ว่าต้นไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ถ้าเขาได้เห็นว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเขา เขาก็จะไม่ทำลาย ช่วยรักษา เห็นคุณค่ามันเหมือนที่เราเห็น


ถาม: แล้วมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองตรงไหนอีกไหม ที่เราพัฒนาขึ้นหลังจากทำโครงการนี้

ตอบ: กระบวนการทำโครงการทำให้ได้เรียนรู้ว่าต้องจัดการกับงานอย่างไร วางแผนกับมันอย่างไร และนำไปปรับใช้ในงานกลุ่มที่โรงเรียน รวมถึงการเป็นผู้นำ ผมเรียนรู้ว่าเราต้องรับฟังความคิดเห็นสมาชิกด้วย ผมว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงไปมาก กล้าแสดงออก กล้าพบผู้คน กล้าคุยมากขึ้น กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย เมื่อก่อนถ้าให้ทำสิ่งที่ไม่เคย ผมคงหนี แต่ตอนนี้เห็นปัญหาแล้วอยากเผชิญหน้า เพราะเราได้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้เห็นปัญหาแล้วเราสามารถแก้ไขมันได้ ผมเลยไม่กลัวการเผชิญปัญหา เพราะรู้ว่าจะผ่านพ้นไปได้


ถาม: ที่นี่บทบาทที่เราเป็นประธานเหมือนก็จะต้องควบคุมงาน เพื่อให้ได้ตามแผน ในขณะเดียวกันก๊อตก็บอกว่าเราต้องความคิดเห็นของคนอื่น ตรงนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในการที่จะวางบทบาทของเราไม่ให้เผด็จการจนเกินไป แล้วก็รับฟังคนอื่นด้วยแต่ก็ต้องทำให้งานเป็นไปได้ตามแผน

ตอบ: เวลาเสนออะไรไป ผมถามทุกคนว่าโอเคไหม ทำได้ไหม ต้องถามกันก่อนครับ ถ้าทำไม่ได้ก็หาวิธีการทำใหม่ ต้องให้โอเคกันทุกฝ่ายถึงจะไปกันได้ครับ


ถาม: มันมีอะไรที่ต้องขัดแย้งกันในกลุ่มบ้างไหม

ตอบ: ข้อดีของกลุ่มเรา คือ ทุกคนรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วยอมรับกันได้ ถ้าความคิดเห็นแตกต่างกัน เราจะเลือกว่าวิธีไหนเราทำได้แล้วดีที่สุดแล้วเลือกใช้วิธีนั้น


ถาม: มีความสามารถอะไรไหมที่เราเพิ่งค้นพบในตัวเองหลังจากทำโครงการนี้

ตอบ: การพูด กล้าแสดงออกมากขึ้นครับ เจอคนใหม่ๆ ก็จะเข้ากันได้ง่าย เฟลนลี่ครับ เมื่อก่อนถ้าเพิ่งพบกันผมไม่ค่อยคุยเลย


ถาม: แล้วมันดีอย่างไรความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจากตรงนี้

ตอบ: มันดีตรงที่เรากล้าพบสิ่งใหม่ๆครับ


ถาม: การที่กล้าพบเจอสิ่งใหม่ๆ นี้ดีอย่างไร

ตอบ: ไม่กลัวครับ เวลาไปมหาวิทยาลัย บางทีเพื่อนไม่ได้ไปด้วย เราต้องไปเจอสถานที่ใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ เราจะปรับตัวได้ครับ


ถาม: เปิดตัวเองรับสิ่งใหม่ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนเป็นคนโลกส่วนตัวสูงไหม

ตอบ: สูงครับ


ถาม: สูงระดับไหนลองอธิบายสิ ความมีโรคส่วนตัวสูง เพราะแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกัน

ตอบ: ถ้าเจอคนรู้จักแต่ไม่เคยคุย ผมไม่เข้าหา ไม่คุย จนคนอื่นคิดว่าผมหยิ่ง แต่จริงๆ คือ ผมไม่กล้าคุยด้วย เดี๋ยวนี้บุคลิกเปลี่ยนไป ผมยิ้มแย้มมากขึ้น


ถาม: เรามีความฝันอะไรไหม อยากเป็นอะไรในอนาคต

ตอบ: อยากเป็นตำรวจ


ถาม: เรามีแรงบันดาลใจมาจากไหน

ตอบ: ชอบมานานแล้วครับ การรับราชการเป็นความภูมิใจของคนในบ้านด้วยครับ คือเป็นอาชีพที่มั่นคง


ถาม: ตัวเองก็ชอบด้วยใช่ไหม คนที่บ้านไม่ได้มาบังคับอะไร

ตอบ: ไม่บังคับ


ถาม: ข้าราชการเป็นได้หลายอาชีพ ทำไมต้องเป็นตำรวจ

ตอบ: ชอบงานนี้มากกว่า เป็นตำรวจฝ่ายปราบปราม


ถาม: เท่ๆ แบบนี้เปล่า

ตอบ: ใช่ครับ เท่ๆ


ถาม: มันก็เสี่ยงอันตรายนะทำไมเราถึงอยากทำ ฝ่ายปราบปราม

ตอบ: เพราะว่ามันชนะ มันเหมือนพระเอก


ถาม: แล้วมีอะไรที่อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นอีกไหม

ตอบ: ความมีวินัยในตัวเอง อยากให้ตัวเองมีวินัยมากกว่านี้ อยากมีความขยันมากขึ้น


ถาม: แล้วมันส่งผลกับเรายังไงถ้าเรามีวินัยมากขึ้น

ตอบ: ถ้ามีวินัยอยากทำอะไรเราก็ทำได้ เช่น การอ่านหนังสือสอบ ถ้ามีวินัยในการอ่าน ขยันเตรียมตัว ผลก็จะออกมาดี แต่ถ้าเราไม่มีวินัยอ่านหนังสือ ผลอาจไม่ได้อย่างที่หวัง ผมนำมาเรื่องนี้มาใช้จัดตารางอ่านหนังสือ เพราะผมกำลังเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ วางแผนแล้วก็ต้องมีวินัยทำตามแผนที่วางไว้


ถาม: เราพอใจกับผลลัพธ์ ผลงานกับการทำโครงการของเรามากน้อยแค่ไหน

ตอบ: ภูมิใจที่ได้มีผลิตภัณฑ์เป็นแบรนด์ออกมาเลย ในนามเยาวชนคนรักท่าแพ


ถาม: โลโก้นี้เราออกแบบกันเองไหม หรือว่าอย่างไร

ตอบ: คือโลโก้นี้มีมานานแล้วครับ มีตั้งแต่รุ่นก่อนทำมา หลายปีแล้วครับ


ถาม: กลุ่มเก่ากลุ่มใหม่ เราก็รวมตัวกัน ในกลุ่มเยาวชนรักท่าแพ

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: ก๊อตก็มีเวลาน้อยลงแหละ ยังมีรุ่นน้องๆที่เข้ามาที่ยังร่วมกลุ่มกันอยู่ไหม

ตอบ: ตอนนี้ไม่มีเลยครับ


ถาม: ตอนแรกๆ รวมกลุ่มกันเยอะอยู่ น้องๆ ไปไหนกันหมด

ตอบ: รุ่นผมเรียนที่เดียวกันหมด คือเรียนแถวบ้าน รุ่นต่อจากผมแยกกันไป ไปเรียนต่างอำเภอบ้าง ติดต่อกันได้ยาก ถึงติดต่อกันได้ก็มีเวลาไม่ตรงกัน


ถาม: พี่งง Time line นิดหน่อย ตอนนี้ ก๊อต ม.6 แล้วตอนทำโครงการเราอยู่ ม.อะไร

ตอบ: ม.5 ครับ ตอนเพื่อนทำโครงการปีแรก คือ ตอน ม.5 เทอม 2 แล้ว ผมรู้แล้วว่าเขามีกลุ่มทำเยาวชนที่โครงการ แต่ไม่รู้ว่าเขาทำโครงการอะไร


ถาม: แล้วเพื่อนที่ชวนเขาทำอะไร ตอนที่เขามาชวน

ตอบ: ก็มาบอกว่าให้ไปช่วยแสดงละครแค่นั้น


ถาม: ขอให้เราช่วยไปทำกิจกรรมมหกรรมที่โรงเรียนอนุบาลสตูล เราก็ไปครั้งแรกตอนนั้นเลย

ตอบ: ใช่ครับ


ถาม: แล้วเพื่อนคนที่มาชวนก๊อต เขาอยู่กลุ่มเยาวชนรักท่าแพไหม หรือว่าอยู่โครงการอื่น

ตอบ: อยู่กลุ่มเดียวกันกับคนรักท่าแพ


ถาม: เขาไม่ได้เรียนโรงเรียนกับเราเหรอ

ตอบ: ไม่ครับเป็นเพื่อนเก่า


ถาม: แต่พอก๊อตเข้ามาทำโครงการเราก็ชวนเพื่อนในโรงเรียนเดียวกับเรามาทำด้วยถูกไหม

ตอบ: ผมคนเดียวในโรงเรียนนั้น ผมเรียนอยู่ในโรงเรียนในเมืองครับ แต่เพื่อนอยู่เรียนอยู่แถวบ้านผมเรียนแบบไปกลับ ขี่รถจักรยานยนต์ไปกลับครับ


ถาม: ขี่มอเตอร์ไซต์กี่กิโล

ตอบ: ก็ไปกลับประมาณ 50 กิโล


ถาม: แล้วเราไม่โดดเดี่ยวเหรอ เราก็เป็นเด็กในชุมชน

ตอบ: นั้นแหละครับ คือเหตุผลที่ผมเข้ามาทำ ผมรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะไม่สนิทกับใครในหมู่บ้านเลย เคยมีเพื่อนแต่เป็นเพื่อนเก่าจริงๆ พอเห็นเพื่อนจับกลุ่มกันทำโครงการก็เลยอยากเข้ามาทำครับ


ถาม: แบ่งเวลายังไง เพราะเราต้องอยู่ในทีมฟุตบอล แล้วก็ต้องเป็นประธานโครงการด้วย

ตอบ: บางทีก็ซ้อมเสร็จเย็น ก็นัดประชุมกันประมาณ 2 ทุ่มครับ ถ้าเป็นช่วงโรงเรียนปิดก็นัดกันมาทำงานกลางคืน


ถาม: พอมาทำจริงๆ มันมีไหมที่เรารู้สึกว่า มันหนักเกินไม่น่าเลย อย่างน้อยไม่น่าเป็นประธานเลยขอเป็นสมาชิกน่าจะสบายกว่า

ตอบ: มีครับ


ถาม: มีเหตุการณ์อะไร พลิกๆ ไหม

ตอบ: ผมไปต่างจังหวัด แต่ว่าได้อมอบหมายงานไว้ให้รองประธานครับ พอผมไปแล้ว ทำไม่ได้เลย คือไม่ทำตามแผน เละเทะ


ถาม: แล้วเราโกรธเพื่อนไหม อุตส่ามอบหมายงานให้ก่อนแล้ว

ตอบ: ก็มีบ้างครับ แต่ต้องเก็บอารมณ์ เป็นผู้นำต้องนิ่งครับ ไม่โวยวาย เพราะถ้าโวยวายจะเป็นปัญหาใหญ่ เพื่อนบางคนอาจไม่พอใจ ทำให้กลุ่มแตกกันครับ ผมก็มอบหมายงานใหม่


ถาม: เคยเป็นเรื่องมาแล้วไหม

ตอบ: ก็มีบ้างครับ เรียกว่าไม่เข้าใจกันครับ


ถาม: เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

ตอบ:เพื่อนในกลุ่มเคยมีปัญหากัน เป็นเรื่องส่วนตัวที่ทะเลาะมาจากที่โรงเรียน เลยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม พอทะเลาะกันแล้วต่างคนต่างไม่ทำงาน เพราะไม่อยากมาเห็นหน้ากัน แต่ก็มีบางคนเข้ามาช่วยงานประมาณ 4-5 คน


ถาม: ความเป็นผู้นำนี้เราไปฝึกมาจากไหน

ตอบ: มันเรียนรู้กับทุกๆ วันจากการทำโครงการ


ถาม: เรื่องตรงนี้ได้มาปรึกษาบังเชษฐ์ หรือว่าพี่เลี้ยงไหม

ตอบ: มีปรึกษาพี่เลี้ยงครับ


ถาม: เขามีแนะนำอะไรบ้างไหม

ตอบ: วันนั้นเขาก็นัดมาเคลียกัน แล้วก็จบกันได้ด้วยดีเลยทำงานต่อได้ มีผู้ใหญ่เข้ามาเคลียปัญหาให้ มันง่ายกว่าครับ ถ้าเคลียกันเองเดียวเป็นเรื่องอีก ก็เลยไปปรึกษาผู้ใหญ่เรื่องนี้ครับ


ถาม: ที่เราต้องไปบอกผู้ใหญ่เป็นเพราะเรามองว่าอย่างไร ถ้าเราไม่แก้ปัญหาตรงนี้มันจะทำงานต่อไม่ได้ หรือว่าเพราะอะไร

ตอบ: มันจะทำงานต่อไปไม่ได้ครับ ถ้าผมไปช่วยแก้ปัญหาเพื่อนจะหาว่าผมเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ผมเลยต้องบอกผู้ใหญ่ให้มาเคลียกันมันง่ายกว่าครับ


ถาม: ตอนนั้นพอจะจำได้ไหมว่ามันกำลังอยู่ขั้นไหนของโครงการล่ะ

ตอบ: ขั้นแปรรูปผลิตภัณฑ์แล้ว ที่ต้องช่วยกันจริงๆ แต่ดันมาทะเลาะกัน ถ้านัดกันกลุ่มนี้มาอีกกลุ่มไม่มา ผมเครียดมาก รู้สึกท้อเลยครับ


ถาม: เราทิ้งระยะเวลาไปเท่าไหร่ ถึงจะเคลียกันนั้นจนกลับมาทำงาน

ตอบ: เกือบ 1 เดือนได้ครับ นานมาก


ถาม: แล้วยังพอก๊อตได้มาลอง ทำโครงการนี้ อยากจะสนิทกับเพื่อนในชุมชนมันเป็นไปตามที่ก๊อตหวังไว้ไหมว่าฉันไม่เหงาแล้ว

ตอบ: ก็เป็นไปตามที่หวังไว้ครับ ผมได้สนิทกับเพื่อนมากขึ้น เพราะตั้งแต่จบ ป.6 ก็ไม่ค่อยได้เจอหน้าเพื่อนเก่าเลย ได้แต่ยิ้ม แต่ไม่เคยคุยกันครับ แต่พอได้มาคลุกคลีในชุมชน ได้ความสนิทของตอนประถมกลับมาเหมือนเดิม


ถาม: มีเสียงตอบรับจากผู้ใหญ่บ้างไหม

ตอบ: เขาพูดว่าทำงานกันได้ดีครับ ชื่นชม พอบังเชษฐ์ได้มอบหมายงานมาให้ เราได้ทำตามกำหนดเวลามีความรับผิดชอบสูง ใส่ใจงานที่ทำครับ


ถาม: ได้ยินแล้วรู้สึกอย่างไร

ตอบ: ก็รู้สึกดีครับ คิดว่าตัวเองพัฒนาขึ้นครับ


ถาม: จริงๆ แอบอยากรู้แหละว่ามีสมาชิกคนไหนที่ทำให้ก๊อตรู้สึกหนักใจมากที่สุดไหม มันต้องมีตัวป้วนสักคน ที่เรารู้สึกว่าทำงานด้วยยาก

ตอบ: ก็มีครับ รจนา


ถาม: ที่ชวนเรา

ตอบ: ไม่ค่อยฟังความคิดเห็นของเพื่อนเวลาเสนอครับ แต่จะเอาแต่ใจตัวเองทุกอย่าง


ถาม: แล้วก๊อตต้องทำอย่างไรครับ ที่เขาไม่ฟังคนอื่น แล้วเราต้องมาเป็นหัวหน้าทีมด้วย

ตอบ: ก็พูดให้เขาเข้าใจครับว่าเราต้องทำแบบนี้ๆ เราต้องฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ถาม: เขายอมเราไหม

ตอบ: ก็ยอมบ้างไม่ยอมบ้างครับ แต่ต้องตามผมครับ เพราะเพื่อนเห็นด้วยกับผมครับ