กัสมา หรนจันทร์ : บทสัมภาษณ์​เยาวชนเด่นโครงการสืบสานและสร้างการเรียนรู้ของเล่นพื้นบ้าน บ้านโกตา ม.7 ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล

บทสัมภาษณ์เยาวชนเด่นโครงการสืบสานและสร้างการเรียนรู้ของเล่นพื้นบ้าน  บ้านโกตา ม.7 ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล


เยาวชนเด่น

ชื่อ – นามสกุล กัสมา หรนจันทร์ ชื่อเล่น กัส

อายุ 16 ปี การศึกษา: ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกำแพงวิทยา



ถาม : แนะนำตัวก่อนนะ ชื่อ-นามสกุล อายุ เรียนอยู่ชั้นอะไร

ตอบ: หนูชื่อ นางสาวกัสมา หรนจันทร์ ชื่อเล่น กัส เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อายุ 16 ปี


ถาม : น้องกัสทำโครงการอะไรคะ

ตอบ : โครงการสืบสานและการเรียนรู้การทำของเล่นพื้นบ้านโกตาค่ะ


ถาม : เข้ามาทำโครงการนี้ได้อย่างไร

ตอบ : พี่ ม.5 เป็นคนชวนเป็นเพื่อนสนิทค่ะ เค้าชวนหนูทำโครงการนี้


ถาม : โครงการนี้เป็นโครงการปีแรกไหมหรือเคยทำเมื่อปีที่แล้วด้วย

ตอบ : ปีแรกค่ะ


ถาม : ตอนที่พี่เค้ามาชวน เค้ามาชวนหนูอย่างไรคะหนูถึงยอมมาทำกิจกรรมนี้ด้วย

ตอบ : ไม่แน่ใจเหมือนกัน เหมือนหนูไปนั่งเล่นด้วย แล้วสนใจ หนูสนใจกิจกรรมอยู่แล้ว ก็เลยอยากทำด้วย


ถาม : แสดงว่า เป็นเด็กกิจกรรมของโรงเรียน

ตอบ : ใช่ค่ะ เป็นเด็กกิจกรรม ชอบไปค่าย หรือทำกิจกรรม


ถาม : ทำไมถึงชอบคะ

ตอบ : มันเหมือนได้ละลายพฤติกรรมของตนเองด้วย มันทำให้เรากล้าหาญทำในสิ่งใหม่ๆ ตลอดเรื่อยๆ ค่ะ


ถาม : ความชอบนี้มีจุดเริ่มต้นอย่างไร มีใครผลักดันไหม

ตอบ : จุดเริ่มต้นมาจากที่โรงเรียนค่ะ เวลาเดินพาเหรด เวลามีกิจกรรมโรงเรียน หนูก็จะไปเต้น ไปร่วมด้วย


ถาม : เป็นคนกล้าแสดงออกอยู่แล้ว

ตอบ : ค่ะ


ถาม : แล้วในโรงเรียนมีหน้าที่เป็นประธาน เป็นสภาเด็กอะไรด้วยมั๊ย

ตอบ : เคยเป็นรองประธาน ตอน ป.5 กับเป็นประธาน ตอน ป.6 ค่ะ


ถาม : ความเป็นคนกล้าแสดงออกนี้ได้มาอย่างไร กัสพอจะวิเคราะห์ตัวเองได้ไหม เพราะส่วนใหญ่เด็กๆ เค้าไม่ค่อยกล้าแสดงออกกันนะ

ตอบ : หนูก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะ เป็นเพราะว่าหนูผ่านมาหลายเวที มันเจอมาหลายงาน แล้วก็มีความกล้าไปเองค่ะ ไม่ตื่น


ถาม : ทำไมถึงยากทำโครงการนี้

ตอบ : เป็นเพราะอยู่บ้านเฉยๆ มันไม่ได้อะไร เบื่อกับการอยู่บ้าน ไม่รู้จะทำอะไร ก็เลยมาทำโครงการนี้ดีกว่าค่ะ


ถาม : แล้วปกติที่กัสไม่ได้ทำโครงการนี้ กัสช่วยเล่าให้พี่ฟังหน่อยว่าชีวิตประจำวันหนูทำอะไรบ้าง เอาวันที่ไปโรงเรียนก่อนนะ แล้วก็เสาร์อาทิตย์

ตอบ : วันไปโรงเรียน จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เช้าจนถึง สี่โมงเย็นก็ไปโรงเรียน ค่ะ แล้วกลับเข้ามาบ้านทำการบ้าน เล่นโทรศัพท์ แล้วก็นอน ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ ก็ถ้าไม่มีงานกลุ่มอะไรหนูก็นอนเล่นโทรศัพท์อยู่ที่บ้านเฉยๆ ก็มีช่วยทำงานบ้านนิดหน่อย


ถาม : นิดหน่อยตามที่หนูบอก แต่ก็ไม่ได้มีหน้าที่ประจำว่าจะต้องทำอะไรในบ้านใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แล้วโครงการของเรา มีเป้าหมายการทำโครงการเป็นอย่างไร

ตอบ :เป้าหมายของโครงการ คือการทำของเล่นที่เราเห็นว่ากำลังหายไปจากชุมชน กลับมาแล้วก็เห็นเด็ก ๆ จากที่เล่นโทรศัพท์บ่อย ๆ ได้หันมารวมกลุ่มกันจริงๆ เพื่อเล่นของเล่นบ้าง เพราะสังเกตเห็นว่าเด็กไม่ค่อยมารวมตัวกันเหมือนเมื่อก่อน แต่ก้มหน้าก้มตาอยู่กับตัวเอง เล่นเกม เล่นมือถือ กันอย่างเดียว


ถาม : เมื่อก่อนตอนหนูรวมตัวกันเล่นอะไร

ตอบ : กระโดดยาง ตอนไปเรียนที่มัสยิดค่ะ เล่นวิ่งไล่จับ แล้วก็กระต่ายขาเดียว แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว เพราะโทรศัพท์เข้ามา


ถาม : ก่อนจะไปเข้าเรื่องโครงการปกติหนูชอบทำอะไรเป็นพิเศษไหม งานอดิเรก

ตอบ : งานอดิเรกหนูชอบเต้นค่ะ


ถาม : มีวงที่ชอบไหม

ตอบ : วง Black pink


ถาม : เต้น เพลงอะไรเป็นบ้างล่ะ

ตอบ : เต้นได้หมดนะคะ แต่ท่าทางหนูไม่ได้ชัดขนาดนั้น


ถาม : แล้วเราฝึกอย่างไร ฝึกเอง

ตอบ : ตอนนี้มี tiktok ค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็น Slow motion ช้าๆ ท่าทาง


ถาม : เพลงล่าสุดเต้นได้รึยัง

ตอบ : เต้นได้นิดหน่อยค่ะ


ถาม : Black pink แล้วมีอะไรอีกไหมที่ชอบ เต้น ชอบวงอะไรอีก

ตอบ : เต้นแบบงานคลาสิคอะไรแบบนั้นค่ะ เวลามีคอนเสิร์ต


ถาม : ยังไง

ตอบ : พี่รู้จักงานสุขใจในป่ายางไหมคะ


ถาม : งานอะไรขออีกที

ตอบ : มันจะเป็นของเด็กคลาสิกค่ะ เป็นงานของเด็กใต้ที่จะเต้นกัน


ถาม : สุขใจในป่ายางใครจัด

ตอบ : ของค่ายพนารัตน์ค่ะ พี่โอ๋


ถาม : เราก็ชอบเจอคน ไม่ได้เป็นคนรักสันโดษใช่ไหม

ตอบ : หนูชอบเจอคนค่ะ หนูอยู่คนเดียวชอบคิดฟุ้งซ่าน


ถาม : บทบาทหน้าที่ของกัสในโครงการคืออะไร

ตอบ : น่าจะทุกอย่าง


ถาม : แต่ละคนมีหน้าที่อย่างไร แบ่งกันอย่างไรภายในกลุ่ม

ตอบ : ส่วนมากผู้หญิงค่ะ จะเป็นคนแบ่งงาน คุมงาน ผู้ชายไม่ค่อยเท่าไหร่


ถาม : ในทีมมีกันกี่คน

ตอบ : ประมาณ 11 คนค่ะ


ถาม : เป็นตัวหลักแกนนำกี่คน

ตอบ : ก็ประมาณ 4-5 คนค่ะ


ถาม : กัสบอกว่าทำทุกอย่าง ลองยกตัวอย่างให้พี่ได้ไหมเช่นอะไรบ้าง

ตอบ : เตรียมงาน เขียนโน้ต Mid Map ส่วนใหญ่จะผู้หญิงทำ


ถาม : เวลาทำงานก็ต้องแบ่งหน้าที่กันใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ แต่พวกเค้าจะไม่ค่อยทำตามประสาผู้ชายค่ะ


ถาม : แล้วเค้าทำอะไรกัน พวกผู้ชาย

ตอบ : ถ้าขยันหน่อยเค้าก็มาช่วยค่ะ แต่ถ้าไม่ขยันเค้าก็จะไปมั่วๆ


ถาม : แล้วใครเป็นแผนกจิก

ตอบ : ก็มีหนูกับ ตาต้า 2 คนค่ะ คนจิกค่ะ


ถาม : บ้านเราไกลจากศูนย์ตรงนี้ไหม

ตอบ : ก็ประมาณ หลายกิโลอยู่ค่ะ


ถาม : กัสลองเล่าลำดับมาให้หน่อยว่า ทำอะไรบ้างที่ละขั้นตอนเลยนะ แล้วพี่จะชวนคุยรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนทำอย่างไร พี่อยากเห็นภาพร่วมว่าทำอะไรบ้าง

ตอบ : ตั้งแรกมีการประชุมกันทุกอาทิตย์ แล้วก็หลังจากประชุมเสร็จเราก็แบ่งงานไปสอบถามผู้รู้ในหมู่บ้านเกี่ยวกับเรื่องของเล่น หลังจากนั้นเราก็รวมข้อมูลของเล่นค่ะ ว่ามีกี่ชนิด แล้วมีอะไรที่เเล่นกันอยู่บ้างในตอนนี้ แล้วมีอะไรที่หายไปจากโกตาค่ะ เสร็จแล้วเราก็เริ่มทำของเล่นต่างๆ ค่ะ ประมาณ 27 อย่าง ทำกันมาเรื่อยๆ มีบางอย่างที่เราทำไม่ ก็ไปหาผู้รู้ให้เขาสอนทำ ไปหาวัสดุมาทำ ทดลองทำ หลังจากเราทดลองเล่นแล้ว เราก็อนน้องๆ เล่น สุดท้ายเราจัดงานมหกรรมการละเล่นพื้นบ้าน บ้านโกตาค่ะ เป็นการฝึกให้น้องๆ ลองเล่นของที่หายาก แล้วให้ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านได้กลับมาเล่นของเล่นที่เค้าไม่ได้เล่นมานานค่ะ


ถาม : ให้ผู้ใหญ่มาเล่นด้วยเหรอ

ตอบ : ใช่ค่ะ เราแบ่งเป็น 2 ช่วงค่ะ มีช่วงเช้า เป็นช่วงของเด็กๆ ช่วงกลางคืน เป็นเวีของผู้ใหญ่ ให้เค้ามาโชว์เด็กๆ เล่นค่ะ เพราะเด็กๆ ไม่เคยเห็น แล้วก็ผู้ใหญ่บางคนก็ไม่รู้จักด้วย


ถาม : กัสเล่าให้พี่ฟังหน่อยสิว่ากลุ่มเราคุยกันอย่างไร เลือกกันอย่างไร ถึงได้มาเป็นโครงการนี้

ตอบ : ตอนนั้นหนูไม่ได้อยู่ในที่ประชุมค่ะ จากที่ทราบมีคิดอยู่หลายโครงการค่ะ คิดเรื่องตำนานบ้านโกตา การใช้ชีวิตในบ้านโกตา สุดท้ายก็มาจบที่ของเล่นบ้านโกตาค่ะ แล้วก็หนูมารู้เรื่องตอนประชุมครั้ง ที่ 2 หรือ 3 ไม่แน่ใจแต่ตอนนั้นตกลงเรื่องโครงการกันได้แล้ว


ถาม : ส่วนตัวหนูรู้สึกว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจไหม

ตอบ : หนูก็คิดว่ามันน่าสนใจอยู่นะค่ะ เพราะตัวหนูก็ไม่รู้ว่าโกตาจริงๆ มีของเล่นอะไรบ้าง แล้วของเล่นบางอย่างเล่นอย่างไร มีหน้าตาเป็นอย่างไร


ถาม : มีของเล่นชิ้นที่เราชอบมากที่สุดไหม

ตอบ : มีค่ะ


ถาม : คืออะไร

ตอบ : หนูชอบ ลูกสะบ้า


ถาม : ลูกสะบ้าเล่นอย่างไร

ตอบ : มันเล่นคล้ายๆ เบตอง แต่มันเป็นการขัดค่ะ มันเป็นลูกแบนๆ แล้วมันจะขัดและพันกัน

ตอบ : มันท้าทายดี สนุกด้วยค่ะ


ถาม : เราประชุมกันที่ไหนมีวันชัดเจนไหม ว่าเป็นวันทุกวันเสาร์ อะไรแบบนี้

ตอบ : มีวันชัดเจนค่ะ จะประชุมกันทุกอาทิตย์นะคะ จะเป็นวันศุกร์หรือว่าวันเสาร์ค่ะ ตอนหลังจากเลิกโรงเรียนแล้ว

ตอบ : วันเสาร์ ก็เป็นตอนเย็นค่ะหรือไม่ก็เป็นตอนกลางคืน


ถาม : ที่ไหน

ตอบ : บ้านสมาชิกค่ะ ในกลุ่มจะหมุนเวียนไปเรื่อย


ถาม : ทำไมเราใช่วิธีเวียนไปเรื่อยๆ ทำไมไม่ที่ใดที่หนึ่งหรือไม่ไปบ้านพี่เลี้ยง

ตอบ : ไม่รู้เหมือนกันค่ะ รู้สึกว่าถ้าไปทุกอาทิตย์เกรงใจเค้าค่ะ เราใช้เวียนกันดีกว่าค่ะ


ถาม : แล้วอย่างนี้ผู้ปกครองของแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง ให้การตอบรับดีไหม เค้ารู้ไหมว่าเราทำอะไรกัน

ตอบ : เค้าให้การตอบรับดีค่ะ บางครอบครัวก็เข้าใจว่าเราทำอะไรกัน แต่ว่าบางครอบครัวก็ไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร


ถาม : แล้วเราอธิบายไหม

ตอบ : อธิบายค่ะ พออธิบายเยอะๆ เค้าก็บอกว่าไร้สาระ


ถาม : แล้วเรารู้สึกอย่างไรที่ผู้ใหญ่พูดแบบนั้น

ตอบ : หนูไม่พูดมากค่ะ หนูทำให้เค้าดูเฉยๆ


ถาม : แล้วตอนนี้เค้าเข้าใจยัง

ตอบ : ก็เข้าใจอยู่


ถาม : เราวัดจากอะไร เค้าเข้าใจแล้วนะ

ตอบ : จากงานมหกรรมการละเล่นโกตา เราถ่ายหนังสั้นเป็นการโปรโมทสถานที่ในชุมชน เพื่อบอกว่าอย่างน้อยสิ่งที่พวกเราทำอยู่ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ เราเป็นเด็กเราสามารถทำงานใหญ่ได้


ถาม : ถ่ายวิดีโอเผยแพร่ด้วยใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : เรามีประชุมทุกอาทิตย์ ประชุมอะไรกัน

ตอบ : ประชุมเรื่องโครงการค่ะว่าเราไปถึงไหนแล้ว เพราะเราแบ่งหน้าที่


ถาม : เราแบ่งงานกันอย่างไร

ตอบ : ดูจากใครใช้งานได้ดีกว่า บางคนไม่เอาอะไรเลย บางคนเอานิดหน่อย


ถาม : ก็คือดูกันไปตามแต่ละคน ตอนที่ประชุม เราวางงานแผนอะไรกันบ้างกับโครงการนี้

ตอบ : เราวางแผน ไปหาผู้รู้ ไปหาวัสดุในการทำ


ถาม : ตอนขั้นตอนกันวางแผน มีพี่เลี้ยงหรือมีคนช่วยเราทำไหม

ตอบ : มีพี่เลี้ยง


ถาม : เค้ามาช่วยกันอย่างไรบ้าง

ตอบ : เค้ามาแบ่งงาน มาช่วยแนะนำว่าจะทำอะไร คล้ายๆ ว่า ควรทำอันนี้ ให้เราคิดเองค่ะ ควรทำอันไหนก่อน แต่เค้าแค่มาแนะให้


ถาม : แล้วเรารู้สึกดีไหมที่มีพี่เลี้ยงมาแนะนำ

ตอบ : ดีค่ะ

ตอบ : ถ้าไม่มีพี่เลี้ยงไม่รู้ว่าโครงการจะเสร็จไหม เพราะว่าพวกพี่ๆ ที่เป็นผู้ชายไม่ค่อยเท่าไหร่ถ้าไม่ตามหรือคอยจิกเค้า ถ้าไม่มีพี่เลี้ยงเค้าก็จะเฉยๆ


ถาม : ในโครงการของสตูลมีพูดถึง 3R ใช่ไหม R1,R2,R3 คุ้นๆ ไหมมี Research,Review, Re-conceptual ใช่ไหม หนูพอเข้าใจไหมว่ามันหมายความว่าอย่างไร

ตอบ : หนูจำได้ลางๆ นะคะว่าเป็นการรวมข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือในการสัมภาษณ์ ผู้รู้


ถาม : คือ อันหนึ่งมันคือ Research คือการไปหาผู้รู้จากข้อมูลอินเทอร์เน็ตแล้วไปถามผู้รู้ ด้วยพวกเราได้ทำไหม

ตอบ : ทำค่ะ


ถาม : เล่าให้พี่ฟังหน่อยว่าผู้รู้ หนูรู้จักกันได้อย่างไร ใครแนะนำให้เรารู้จัก

ตอบ : พอดีมีพี่ในโครงการค่ะเป็นหลานของผู้รู้ เค้าก็บอกว่า ลุงของเค้ารู้จักของเล่นนี้ ยังทำได้อยู่ก็เลย


ถาม : คุณลุงชื่ออะไร

ตอบ : ชื่อ ดีนค่ะ


ถาม : รู้จักผู้รู้ด้านของเล่นกี่คน

ตอบ :3-4 คนค่ะ


ถาม : แล้วคนอื่นๆ รู้จักเขาได้อย่างไร

ตอบ : เรารู้จักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว แล้วก็พี่เลี้ยงแนะนำด้วย เราก็ไปสอบถามเอง


ถาม : แล้วมันต้องมีช่วงก่อนไหมว่า เราต้องเก็บข้อมูลรวบรวมก่อนว่าของเล่นเรามีอะไรบ้าง

ตอบ : ใช่ค่ะ ตอนนั้นวุ่นวายมากเลยค่ะ เพราะตอนนั้นหนูทำกัน 2 คน เกี่ยวกับการหาข้อมูลว่าของเล่นชิ้นนี้ ทำอย่างไร วัสดุนี้ต้องใช่อะไร เพราะว่าต้องเรียนด้วยค่ะ หนูต้องอยู่หอ กลับบ้านวันศุกร์ค่ะ หลักๆ หาข้อมูลจากในอินเทอร์เน็ตค่ะ


ถาม : เราหาอย่างไรเพราะมันเป็นของเล่นของบ้านโกตาเฉพาะเจาะจงเป็นของที่บ้านเรา

ตอบ : เพราะว่าเรารู้อยู่แล้วค่ะ ของเล่นบ้านโกตามีอะไรบ้าง แล้วเอาของเล่นนั้นไป Search ใน Google ค่ะ แล้วมันจะขึ้นข้อมูลมา แต่จะเอาของที่มีอยู่ในหมู่บ้านของเราค่ะ


ถาม : พอได้ข้อมูลจาก Google แล้วหนูเอาไปทำอะไรต่อ

ตอบ :เอาไปทำที่ 3R ค่ะ ตอนนั้นเค้าจะให้เอาไปใส่ใน 3R นี้แหละค่ะ


ถาม : ทำกับใครช่วยกันทำกับใคร

ตอบ : ทำกับเพื่อนในโครงการพอดีเค้ามีโน้ตบุ๊ก


ถาม : เวลาหนูทำงาน หนูไปทำที่บ้านใครเพราะว่าเพื่อนหนูมีโน้ตบุ๊ก

ตอบ : ก็ไปทำที่บ้านเพื่อนค่ะ หรือไม่ก็ทำในที่ประชุมเวลาเรียกประชุมค่ะ


ถาม : แล้วตอนไปสัมภาษณ์ผู้รู้เกิดขึ้นเมื่อไหร่

ตอบ : เกิดหลังจากที่ประชุมรอบที่เท่าไหร่ไม่รู้ค่ะ หนูจำไม่ได้ตอนถัดไปหนูก็นัดกันค่ะ เพราะเรารู้ว่าพรุ่งนี้เราจะทำอะไรเราก็นัดกันไป


ถาม : ก็คือในกลุ่มแกนนำของเรา

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : ในส่วนตรงนี้พี่เลี้ยงเราช่วยอะไรบ้างไหม ประสานกับผู้รู้ให้ไหมหรือว่าต้องทำเอง

ตอบ : ช่วยบอกค่ะ ว่าคนนี้รู้จัก แล้วเราก็ประสานงานกันเอง


ถาม : แล้วยากไหม ต้องติดต่อผู้ใหญ่ เราไม่รู้จักผู้ใหญ่มาก่อน

ตอบ : มันก็ไม่ได้ยากค่ะ เรารู้จัก โกตาเป็นชุมชนเล็กๆ รู้จักกันหมด


ถาม : ก่อนหน้านี้หนูรู้ไหมว่าเค้ามีความรู้เรื่องนี้

ตอบ : หนูไม่รู้ค่ะ


ถาม : แล้วไปหาเข้าหาผู้ใหญ่เราวางตัวอย่างไรบอกพี่หน่อย

ตอบ : วางตัวมีมารยาท เพราะหนูเป็นคนโพงพาง หนูก็จะเงียบๆ soft ลงมาหน่อยค่ะ


ถาม : เราต้องเตรียมคำถามอะไรไปก่อนไหม

ตอบ : เราไปสดๆ เลยค่ะ ของเล่นนี้ทำอย่างไร ใช่อะไรในการทำ


ถาม : แล้วตอนที่ไปเราแบ่งหน้าที่กันไหมว่าใครจะเป็นคนจด ใครเป็นคนสัมภาษณ์

ตอบ : แบ่งกันนิดหน่อยค่ะ


ถาม : อย่างกัสทำหน้าที่อะไร

ตอบ : หนูก็นั่งจำค่ะ หนูมีเมมโมรี่ ในสมองอยู่แล้ว ก็ใช่วิธีการจำๆ แล้วมันก็มีบันทึกเสียงอยู่บ้างบางช่วงค่ะ


ถาม : แล้วใครเป็นคนจด มีคนจดไหม

ตอบ : หนูกับตาต้า เป็นคนจดโน้ตไว้ค่ะ


ถาม : แล้วหลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว วันนั้นสัมภาษณ์กันเสร็จแล้ว หนูทำอย่างไรกันต่อ

ตอบ : เราก็มาสรุปลงในสมุดกระดาษว่าเราได้อะไรบ้างแล้วก็พูดกันในกลุ่มว่าเราไปหาใครได้อะไรมาให้พี่เลี้ยงเราดูค่ะ เพราะว่าพี่เลี้ยงไม่ว่างไปประชุมที่โน่นที่นี้


ถาม : เล่าให้พี่ฟังหน่อยสิว่าไปสัมภาษณ์ผู้รู้มาว่าได้อะไรบ้าง

ตอบ : ไม่มีอะไรน่าโม้ มันมีเข้าป่าไปหาไม้ไผ่ กระบอกฉับโผงค่ะ


ถาม : เล่นอย่างไร

ตอบ : มันเป็นกระบอกไม้ไผ่ ที่มันมีโพลงแล้วมันก็ใช้ไม้อีกอันหนึ่งสอยเข้าไปได้ค่ะ กระดาษหรือทิชชู เปียกน้ำแล้วยัดใส่กระบอกมันจะดัง บุ้ง


ถาม : คือหนูชอบอันนี้ เพราะว่าได้ออกไปเข้าป่าเก็บวัสดุใช่ไหม

ตอบ : แล้วก็ได้เล่นน้ำคลองด้วยค่ะ


ถาม : ได้เล่นน้ำคลอง รอบนี้ไปกับใคร

ตอบ : ก็ไปกันทั้งหมดค่ะ


ถาม : แล้วมีผู้ใหญ่ไปไหม ไปกันกี่คน

ตอบ : ผู้ใหญ่รอบนั้นไม่มีนะคะ


ถาม : หลักๆ ของผู้รู้หนูไปถามเรื่องการทำของเล่นถูกไหม เราพอจะบอกชื่อของเล่นได้ไหม มีกี่ชนิด

ตอบ : น่าจะ 27 ชนิด


ถาม : ถ้าให้เลือกเด่นๆ มาสัก 5 อัน

ตอบ : กระบอกฉับโผง ลูกสะบ้า กงจักร หมากขุม แล้วก็ลูกแก้ว


ถาม : อันนี้ที่กัสเลือกมาที่เด่นๆ ใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : อันไหนทำยากที่สุดใน 5 อันนี้

ตอบ : ยากที่สุดกระบอกฉับโผงค่ะ เพราะว่าต้องเข้าป่าไปหากระบอกไม้ไผ่ ไม้ไผ่ที่มันพอดีกระบอกกับตัวโพลงค่ะ แล้วก็ต้องเหลาอีกค่ะ


ถาม : เวลาไป เราต้องนัดกันมากันครบไหม

ตอบ : ไม่ครบค่ะ บางทีต้องไปคุ้ยที่บ้านที่นอน


ถาม : ลองเล่าให้ฟังหน่อยมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ตอบ : มีปัญหาเค้าไม่ค่อยตื่น แบบเค้าตื่นช้า บางคนแบบทำงานดึก


ถาม : แล้วเราทำอย่างไร

ตอบ : เราก็ไปคุ้ยถึงบ้านค่ะ


ถาม : ไปคุ้ยถึงบ้านเค้ามาไหม

ตอบ : ก็มาอยู่ค่ะ กว่าจะมาก็นานอยู่


ถาม : แล้วแบบนี้เราไปทันนัดของผู้ใหญ่ ผู้รู้ไหม เราก็ต้องนัดเค้าไว้ไหม

ตอบ : นัดค่ะ ส่วนใหญ่เค้าจะว่างตอนเย็นๆ ค่ะ ก็เลยทำให้คนทำงานดึกก็ตื่นทัน บางคนตื่นไม่ทันก็เลยไปช้าแบบพวกหนูไปก่อนแล้วเค้าก็ตามไป


ถาม : ขนาดว่านัดตอนเย็นนะ

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แล้วเรารู้สึกอย่างไรที่นัดแล้วเพื่อนไม่มาตามนัด

ตอบ : มันรู้สึกเหวี่ยงๆ นิดหนึ่งค่ะ เพราะว่าเรานัดแล้วยังมาช้า ขนาดยื้อเวลาสายๆ เย็นๆ แล้วค่ะ


ถาม : แล้วสุดท้ายมันแก้ปัญหาได้ไหมหรือเราก็ต้องทำใจปล่อยวาง

ตอบ : ก็แก้ได้บางครั้ง บางทีก็ช่างเค้า เค้ามาตอนไหน ก็ขอให้เค้ามาค่ะ


ถาม : แล้วตัวเราเอง เรารู้สึกอย่างไร เพื่อนมาช้าเรามาช้าด้วยก็ได้ เราค่อยตามมาก็ได้ ทำไมเราต้องมาก่อน มาตรงเวลา

ตอบ : มันรู้สึกว่าเกรงใจค่ะ คนที่เรานัดไว้อย่างน้อยๆ คนนัดสัก 10 คน เราไปก่อนเค้า แล้วค่อยให้เค้าตามมาก็ยังดี


ถาม : หลักๆ แล้วคนที่เป็นทัพหน้า พูดง่ายๆ มีสักกี่คน

ตอบ : มีสัก 3-4 คนค่ะ


ถาม : รวมหนู

ตอบ : ค่ะ


ถาม : แบ่งงานกันไปสอบถามผู้รู้ในชุมชนแล้ว เราก็มีการรวบรวมของเล่นในหมู่บ้าน ขั้นตอนนี้เราทำอะไรบ้าง

ตอบ : ก็ไปประชุม เขียนในกระดาษชาร์จแล้วค่อยๆ นึกค่ะว่ามีอะไรบ้าง แล้วถามผู้ปกครองบ้านที่เราไปประชุมให้เค้าบอกว่าตอนเด็กๆ เคยเล่นอะไร


ถาม : คำถามเมื่อกี้ รวบรวมข้อมูล ของเล่นในหมู่บ้าน ก็ให้ผู้ปกครองในบ้านที่เราไปประชุม ให้ผู้ปกครองช่วยอะไร

ตอบ : รื้อฟื้นความทรงจำค่ะว่าตอนเด็กๆ เคยเล่นอะไร แล้วก็ไปถาม พ่อแม่ของเรา ของแกนนำโครงการ ตอนเด็กๆ พ่อแม่เราเล่นอะไรกันบ้าง แล้วก็เอามารวบรวมข้อมูล


ถาม : ก็คือแต่ละคนต้องไปถามบ้านของตัวเองด้วยใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แล้วสรุปเราได้ข้อมูลมาตรงกันไหม

ตอบ : ก็ตรงกันค่ะ


ถาม : อะไรที่หายไปแล้วล่ะ

ตอบ : กงจักร ฉับโผลและลูกสะบ้าค่ะ หายไม่มีใครเล่นเลย


ถาม : เล่าให้พี่ฟังหน่อยใน 5 อย่าง หนูรู้สึกว่ามันโดดเด่นอย่างไร เริ่มจากฉับโผงก่อนเลย

ตอบ : ฉับโผง โดดเด่นตรงที่เราต้องทำให้มันเสียงดัง เวลาเราวิ่งไล่ยิงเพื่อน กระดาษจะกระเด็นออกไปเพราะแรงอัด


ถาม : เสียงดังมันทำให้เล่นกัน ได้มีการยิงเพื่อน สนุกเลยใช่ไหม

ตอบ : สนุกค่ะๆ ที่เห็นเพื่อนร้องโอ๊ยๆ สนุก


ถาม : สะบ้าล่ะ

ตอบ : สะบ้าหนูเห็นเค้าเล่น หนูว่ามันจะสนุกตรงที่เราต้องยิงให้โดนสะบ้าที่มันตั้งเรียงกันค่ะ


ถาม : แล้วอันนี้ต้องใช่ทักษะอะไรเป็นพิเศษไหม

ตอบ : ความแม่นยำ


ถาม : แล้วตัวกัส มีความแม่นยำขนาดไหนให้คะแนนเต็ม 10

ตอบ : ระดับ 6 ได้ เวลาโดนมันฟลุค


ถาม : สะบ้าคนไม่เล่นแล้ว

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : ฉับโผงหนูบอกแล้วแหละว่ามันหาวัสดุมาทำยากใช่ไหม คนเลยไม่เล่น แล้วสะบ้าเป็นเพราะอะไรทำไมคนถึงเลิกเล่น

ตอบ : ลูกสะบ้า หาได้แถวบ้านเมืองปาหนัน ขึ้นแถวๆ บนเขาค่ะ มีเยอะช่วงถือศีลอดของอิสลาม หรือไม่ก็ก่อนบวช


ถาม : เรารู้มาจากการจัดเก็บข้อมูลหรือเปล่า ข้อมูลเหล่านี้

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : ที่เราบอกว่าไม่ได้เตรียมคำถาม แต่ก็ไปถามสดๆ ก็ได้เรื่องได้ราวอยู่นะ สะบ้าเล่นกันตามฤดูกาล มันต้องไปเก็บลูกสะบ้า แล้วกงจักรล่ะทำไมถึงเลิกเล่น

ตอบ : ไม่รู้เหมือนกันค่ะ ตอนเด็กๆ หนูไม่เคยเห็นว่ากงจักรเป็นอย่างไรหนูมารู้ตอนที่ทำโครงการนี้ค่ะ


ถาม : แล้วมันเป็นอย่างไร พี่ก็ไม่รู้จัก กงจักร

ตอบ : มันใช่ฝาขวดเบียร์ค่ะ หรือว่าขวดแลคตาซอย ที่มันเปิดได้


ถาม : ฝาจีบ

ตอบ : เอามาทุบให้แบน เจาะรู 2 รูตรงกลาง แล้เอาเชือกมาหมุนๆ


ถาม : อันนี้พี่เคยเล่นอยู่ มันไม่ได้ทำยากนะอันนี้

ตอบ : ไม่ได้ทำยากค่ะ แต่ว่าไม่มีใครเล่น


ถาม : หนูว่าเป็นไปได้ไหมที่แบบ ยุคนี้มันมีโยโย่ แล้ว คือเราไม่ต้องไปทำหรือเปล่า หนูคิดว่าอย่างไร

ตอบ : น่าจะเป็น เปลี่ยนแปลงจาก กงจักรเป็นโยโย่


ถาม : อันนี้หนูชวนกันคิดไหม แล้วตอนนี้หนูคิดว่าอย่างไรเกี่ยวไหม

ตอบ : หนูว่าน่าจะเกี่ยวค่ะ


ถาม : หมากขุม

ตอบ : หมากขุม ที่เป็นเรือแล้วเป็นหลุมแล้ว มีลูกคล้ายๆ ลูกแก้วแต่ออกเป็นสีเทาๆ ถ้ามีลูกสีเทาก็ใช้ลูกสีเท่า ถ้าไม่มีก็ใช้ลูกแก้วแทน เพราะว่าลูกนั้นมันหายาก


ถาม : มันเป็นเมล็ดพืชเหรอหรือว่าอะไร

ตอบ : มันเมล็ดค่ะ แต่เมล็ดอะไรไม่รู้


ถาม : แล้วทำไมเค้าไม่เล่นกันแล้ว

ตอบ : อันนี้เค้าเล่นกันอยู่ เล่นเป็นช่วงๆ เหมือนกันค่ะ


ถาม : ลูกแก้วล่ะ

ตอบ : ดีดลูกแก้ว มันก็มีเป็นช่วงๆ แต่นานๆ กว่าจะเล่นกัน


ถาม : แล้วเค้าเล่นกันช่วงไหน

ตอบ : เด็กๆ จะเล่นกันตอนปิดเทอม


ถาม : สมัยก่อนพี่ก็เล่นกันนะตอนเที่ยง ดีดให้มันชนกันใช่ไหมเล่นแบบเดียวกันไหม ให้มันกระเด็นไปโดนกัน

ตอบ : ใช่ค่ะ ดีดในวงเอาลูกแก้วไปตั้งไว้ในวงของแต่ละคนแล้วก็ดีด ใครได้แล้วก็เสียอะไรแบบนั้น


ถาม : แล้วพักเที่ยงในโรงเรียนเดียวนี้เค้าทำอะไรกัน

ตอบ : หนูอยู่มัธยมใช่ไหมค่ะ หนูก็จะเล่นโทรศัพท์

ตอบ : สังคมมัธยมสมัยนี้เค้าไม่เล่นของแบบนี้กันแล้ว


ถาม : แล้วจำได้ไหมตอนประถมตอนเที่ยงเราทำอะไร

ตอบ : ตอนประถมวิ่งไล่จับ ปิดตาซ้อนแอบ มอญซ้อนผ้า เล่นผีเหรียญ จำได้โดนครูเก็บไปไม่คืนหลายอันเลย


ถาม : อันนี้ลองเล่าขั้นตอนกันทำงานให้พี่ฟังหน่อย ไปมาจากที่ไหนอย่างไร

ตอบ : ของเล่นบางอย่าง เราเคยเล่นกันอยู่แล้วค่ะ ไม่ยากสำหรับเราแต่สำหรับลูกสะบ้า เราไม่เคยเล่น หมู่บ้านเราไม่มีค่ะ ก็เลยต้องไปหาที่บ้านโตน เพราะว่าบ้านโตน ยังมีอยู่ค่ะ


ถาม : บ้านโตนอยู่ห่างจากบ้านโกตา กี่กิโลแล้วเราไปหากันอย่างไร

ตอบ : ตอนนั้นหนู ม.1-ม.3 ไปนอนบ้านเพื่อน เห็นเค้าเล่นสะบ้า ตอนนั้นหนูไม่รู้ว่ามันคืออะไร หนูก็ถามเพื่อนแล้วเพื่อนก็บอกว่าเค้าเล่นกันเป็นช่วงๆ


ถาม : เราก็ได้ไปหาลูกสะบ้าที่บ้านโตน ใช่ไหมตอนทำโครงการ

ตอบ : ตอนที่ทำโครงการคนที่ไปเอาลูกสะบ้า คือพี่เลี้ยงค่ะ


ถาม : แต่ไปเอาที่บ้านโตน เพราะว่าตัวกัสรู้ว่าที่บ้านโตนมันมีใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แล้วพี่เลี้ยงหามาได้ตามที่เราต้องการหรือเปล่า

ตอบ : ได้มาประมาณ 30 กว่าลูกค่ะ เราต้องยืม เพราะหายาก เต้องขึ้นเขาไปหาหลังจากเราจัดงานมหกรรมเสร็จเราต้องเอาไปคืนเค้า


ถาม : แล้วคนที่เราไปหานี้คือใคร

ตอบ : น่าจะเป็น ผู้รู้ไม่แน่ใจว่าเป็นผู้ใหญ่บ้านไหม เพราะหมู่บ้านนั้นเป็นบ้านที่เป็นศูนย์กลางในการเล่นสะบ้าค่ะ


ถาม : พี่เลี้ยงคนที่ไปให้เราคือใครค่ะ

ตอบ : บังปิง ค่ะ


ถาม : กี่กิโลหนูพอจะจำได้ไหม

ตอบ :30 กิโล ประมาณชั่วโมงค่ะ

ตอบ : เกือบถึงชั่วโมง เวลาหนูไปโรงเรียน หนูออกจากบ้าน 06:45 ถึงโรงเรียนก็ประมาณ 07:35 คิดว่า 40 นาทีค่ะ


ถาม : ต่อมาหนูบอกว่าทำของเล่นกันด้วย

ตอบ : ไม่ได้ทำใหม่ทั้งหมด เพราะของเล่นที่มันมีอยู่แล้ว ที่ไม่ต้องทำก็มีค่ะ แล้วที่มันต้องใหม่เราก็ต้องทำ


ถาม : แล้วบางอย่างเราทำไม่เป็นก็ให้ผู้รู้สอนใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : อันนี้เราคิดอย่างไรว่า ทำไม่ต้องไปหัดทำด้วย จริงๆเก็บข้อมูลอย่างเดียวก็ได้นะ ไม่ต้องไปหัดทำก็ได้ไหม

ตอบ :เพราะว่าเรารู้แล้ว เราต้องทำเป็นและเล่นเป็น จุดประสงค์ของเราคืออยากให้น้องๆ เล่นเป็น เราเองก็ต้องเล่นเป็นด้วย


ถาม : เล่นเป็นต้องทำเป็น ต้องทำเป็นนี้เพื่ออะไร

ตอบ : เพื่อที่ว่าเราจะได้ไปสอนน้องๆ ได้


ถาม : แล้วคนที่สอนเราทำของเล่นพอจะบอกชื่อได้ไหมค่ะ

ตอบ : บังดีนแล้วก็ มีคนที่เป็นพ่อในแกนนำนี้ด้วยค่ะ หนูจำชื่อไม่ได้แล้ว


ถาม : ก็คือผู้ปกครองบางคนก็มาช่วย

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : กิจกรรมนี้ผ่านไปราบรื่นดีไหม

ตอบ : ก็ไม่ค่อยราบรื่นเท่าไหร่


ถาม : เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลองเล่ามาซิ

ตอบ : ก็บังๆ มาบอกว่า ผู้ใหญ่บางคนดูถูกว่าเราคงทำไม่ถึงจุดหมายที่เราตั้งไว้ แล้วเราก็มีท้อบ้าง เพราะว่าบางคนไม่ร่วมมือ บางคนก็เลท บางคนก็เฉยๆ มีร้องไห้ไปแล้วหลายครั้งเหมือนกันกับโครงการนี้

ตอบ : เขาเห็นพวกบังๆ เป็นพวกเสเพลไม่ค่อยสนใจอะไร ขับรถไปเรื่อยๆ ไม่ทำอะไร ก็เลยดูถูกว่ามันทำแล้วไม่ได้อะไร ทำไปทำไม พวกบังๆ ก็เครียดเรื่องนี้กัน แต่สุดท้ายเค้าก็ทำสำเร็จ


ถาม : ร้องไห้จากการท้อโครงการนี้ใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ ความรู้สึกที่ทำไมเราบอกแล้วเค้าไม่สนใจ


ถาม : ตอนทำของเล่นเรานัดแนะกันอย่างไร

ตอบ : แบ่งเวลาเสาร์อาทิตย์ค่ะ เราจะเลือกวันหนึ่ง แล้วก็มารวมตัวกัน บางครั้งอาทิตย์เว้นอาทิตย์ บางทีก็ติดกันค่ะ


ถาม : อย่างนี้เราเลือกว่าไปบ้านใคร เราเลือกจากอะไร

ตอบ : เลือกจากว่า ของเล่นชิ้นนั้นเราทำกับใครค่ะ


ถาม : ตอนที่หนูได้ยินหนูก็ท้อ แล้วอะไรที่ทำให้หนูทำโครงการต่อจนสำเร็จ

ตอบ : อยากลบคำดูถูก ให้รู้ว่าเราทำได้เราเป็นเด็กแค่นี้ เราทำงานใหญ่ได้


ถาม : แล้วหนูคิดว่าขั้นตอนไหนของโครงการ ที่คิดว่าพิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำได้

ตอบ : สุดท้ายเลยค่ะ ที่จัดงานมหกรรม


ถาม : ไหนลองเล่าให้พี่ฟังหน่อยสิ ว่างานมหกรรมเราทำอะไรกันบ้าง

ตอบ : ก่อนเริ่มแรก ๆ เราได้ถ่ายทำ หนังสั้นเรื่องของเล่นที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ค่ะ แล้วก็คิดบทถ่ายทำ ตัดต่อเองหมดเลยค่ะ ตัดต่ออะไรเสร็จประมาณ 2 อาทิตย์ เตรียมงานมหกรรม ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ เครื่องเสียง หาปันจักสีลัตของบ้านทุ่งมาโชว์ในงานของเราด้วย แล้วก็กิจกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 2 ช่วง มีน้ำชา แล้วข้าวต้มเลี้ยงด้วย


ถาม : มันเป็นงานใหญ่ แล้วพวกหนูแบ่งงานกันอย่างไร

ตอบ : ก่อนหน้าจัดงานเราแบ่งงานกันว่า 2 ,3 คนนี้สามารถคุ้มงานด้านนี้ได้นะ


ถาม : แล้วอย่างกัส ทำหน้าที่อะไรวันนั้น

ตอบ : หนูทำหน้าที่เป็นพิธีกรค่ะ


ถาม : รู้สึกอย่างไรบ้าง

ตอบ : ก็รู้สึกดีค่ะ แล้วก็ตื่นเต้นนิดๆ


ถาม : ถ้าให้ประเมินตัวเอง เต็ม 10 หนูจะให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่

ตอบ :7 กว่าๆ เกือบ8 เพราะยังไม่ดีอย่างที่หนูหวังไว้


ถาม : แล้วหนูหวังไว้ประมาณไหน หนูคิดว่าขาดอะไรไป

ตอบ : หนูทำให้งานชะงักไป ทำให้การพูดไม่ต่อเนื่องกัน


ถาม : จัดงานตั้งแต่กี่โมงจนถึงกี่โมง

ตอบ : ตั้งแต่ สี่โมง ห้าโมง จนถึง สองทุ่มถึงสามทุ่มค่ะ


ถาม : มีเหตุการณ์ลี้ลับเกิดขึ้น มารบกวนกิจกรรมที่เราจะทำในเวทีหลัก เพราะว่ามันเกิดความชุลมุน

ตอบ : ใช่ค่ะ ทำให้งานนั้นจบเร็วไปมากค่ะ

ตอบ : มันไปต่อไม่ถูก มันเฟลค่ะ ทำไมเกิดขึ้นแบบนี้ แล้วงานเราจัดตรงนี้ มันก็ไปไม่ถึงจุดที่เราตั้งไว้ จริงๆ ค่ะ เลยต้องรีบปิดก่อน


ถาม : เราต้องรีบปิดเพราะความชุลมุนนี้เหรอ

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แล้วตอนนั้นกัสควบคุมสถานการณ์อย่างไร หรือควบคุมตัวเองอย่างไรเพราะว่ามันชุลมุน

ตอบ : ก็พยายามเป็นพิธีกรอยู่ตรงนั้นค่ะ พยายามปิดงานให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น หนูรู้สึกกลัว เกี่ยวกับการแสดงปันจักสีลัตที่ไม่ได้ขอเจ้าที่เจ้าทางก่อน


ถาม : อันนี้ก็ถือว่าเป็นบทเรียนนะ

ตอบ : ใช่ค่ะ บทเรียนอันยิ่งใหญ่เลยค่ะ


ถาม : จำได้ล่ะ เหมือนบังเชษฐ์ ก็พูดๆ อยู่ พี่เข้าใจล่ะ ตอนแรกที่หนูพูดถึงสิ่งลี้ลับพี่ก็คิดว่า หนูพูด แซวๆ ไง

ตอบ : หนูพูดจริงค่ะ เพราะหนูเจอมาแล้ว


ถาม : กลับมาเรื่องวิดีโอดีกว่า เรื่องวิดีโอหนูบอกว่าถ่ายทำกันเอง อันนี้ใครทำหน้าที่อะไรแล้วเราไปเรียนรู้การทำวิดีโอกันมาอย่างไร

ตอบ : ก่อนถ่ายทำมีให้ปล่อยคลิปไปแต่ละโครงการของเราก่อนค่ะแล้วก็มีการอบรมที่ชมรมนี้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ การทำทีเซอร์เป็นแบบไหนค่ะ แล้วก็พวกเราได้คิดกันว่าน่าจะทำเป็นหนังสั้นสักเรื่องค่ะ


ถาม : ยากไหม

ตอบ : จริงๆ ไม่ค่อยยากเท่าไหร่ บางคน มันไม่มา บางคนติดธุระ


ถาม : ปัญหาจะเป็นเรื่องนั้น มาไม่พร้อมกัน ต้องไปตาม

ตอบ : วันแรกที่ถ่ายมาพร้อมกัน ถ่ายไปแล้วบางซีนบางฉาก ก็หลังจากวันนั้น วัน 2 วัน 3 เค้าก็เริ่มไม่ค่อยมากัน


ถาม : การทำวิดีโอ วัน 2 วัน 3 ก็ไม่มา แล้วเราแก้ปัญหาอย่างไร

ตอบ : แก้ปัญหาโดยการไปหาถึงที่ค้ะ


ถาม : ก็ทำเหมือนเดิม

ตอบ : ใช่ค่ะ แล้วเราต้องรีบให้มันจบ


ถาม : ความเหนื่อยความท้อที่หนูร้องไห้เพราะเรื่องนี้เปล่า ที่ต้องไปตาม

ตอบ : ตาต้าค่ะ เพราะเค้าเซ้นซิทีฟกับเรื่องนี้มาก เค้าเครียดและร้องไห้


ถาม : แล้วส่วนตัวเราเครียดไหม

ตอบ : เครียดค่ะ


ถาม : แล้วพอทำออกมาได้เราภูมิใจไหม รู้สึกอย่างไรบ้าง

ตอบ : ภูมิใจค่ะ เราสามารถถ่ายเอง ตัดต่อเอง คิดบทเอง เราทำได้จริงๆ


ถาม : พี่เลี้ยงเค้าช่วยไหม ในส่วนวิดีโอ

ตอบ : พี่เลี้ยงคิดโครงเรื่องตอนแรกๆ ค่ะ ว่าจะทำโครงเรื่องแบบไหน หลังจากนั้นเราคิดเอง ทำตัวละครเอง แล้วถ่ายเก็บบรรยากาศ ว่าเรากำลังถ่ายทำ ส่งเข้ากลุ่มของโครงการเพื่อให้พี่เลี้ยงดูว่าเรามาทำงาน


ถาม : เนื้อหากี่นาทีค่ะ เรื่องสั้น

ตอบ : จำไม่ได้ น่าจะถึง 20 นาที


ถาม : เล่าเรื่องอะไรบ้าง

ตอบ : มันสะท้อน ถึงวัยรุ่นในปัจจุบันว่า มันมี 2 ด้าน ด้านแรกคล้าย ๆ กับว่า วัยรุ่นเล่นเกม

ตอบ : วัยรุ่นที่เล่นเกมค่ะ เล่นเกมส์ไซไฟจนเบื่อ แล้วก็วัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่กำลังเล่นของเล่นกันอยู่ คนเล่นเบื่อเพราะมีด่านซ้ำๆ เลยพากันไปหาของเล่น แล้วไปเล่นกับอีกกลุ่มหนึ่ง สุดท้ายหนังก็จบโดยการกระ โดดน้ำเล่นในคลองค่ะ มันเป็นกิจวัตประจำวัน ของเด็กๆ อยู่แล้วในการเล่นน้ำคลอง


ถาม : น้ำคลองมีชื่อว่าอะไรคะ

ตอบ : คลองละโง


ถาม : กระโดดคลองเป็นฉากสำคัญสุดนะพี่ว่า

ตอบ : เป็นฉากจบค่ะ


ถาม : มีอยู่ในวิดีโอใช่ไหม เดียวพี่ไปดู เห็นบรรยากาศ กัสได้เรียนรู้อะไรจากการทำโครงการนี้ได้อะไรบ้าง

ตอบ : ได้เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการทำของเล่น การพยายามยกระดับตัวเองขึ้นมา จากจุดที่เราไม่เคยทำอะไร จนมากล้าแสดงออกในสิ่งที่เราไม่เคยได้ทำ ความสัมพันธ์พวกพี่ๆ แกนนำ ธรรมดาเราไม่ค่อยได้คุย ไม่ค่อยได้เจอกัน ขนาดเดินผ่านหน้ายังเฉยๆ พอทำโครงการได้กระชับมิตรมากขึ้น สนิทกันมากขึ้น


ถาม: แล้วเสียงตอบรับจากชุมชนจากผู้ใหญ่เรารู้สึกว่า ทัศนคติกับพวกเค้ามันเปลี่ยนแปลงไปไหม

ตอบ : คิดว่าเปลี่ยนแปลงค่ะ เพราะว่าตอนฉายหนังความรู้สึกของหนูคิดว่า พอหนังจบเค้าก็ตบมือ โห่ร้องชื่นชม เค้ามีความสุขกันมากๆ ค่ะ


ถาม : เราคิดว่าชุมชนได้อะไรจากที่เราทำ

ตอบ : ได้ประโยชน์ตรงที่ของเล่นที่ เราสามารถผลิตขายได้ค่ะ บางอย่างที่หนูคิด ถ้าเราคิดจริงจังเราสามารถหาเงินเข้าชุมชนเราได้ค่ะ


ถาม : ในโครงการเรายังไม่ได้ทำขาย แต่หนูมองว่าถ้ามันจะต่อยอด มันสามารถขายได้ใช่ไหม อย่างเช่นอะไรบ้างที่หนูคิดว่ามันขายได้

ตอบ : ฉับโผง


ถาม : อยากให้สะท้อนตัวเองเพิ่มขึ้นอีกหน่อยว่า ตัวเรามีความมั่นใจอยู่แล้วกล้าแสดงออกเลย แต่หลังจากที่มาทำโครงการเรามีศักยภาพด้านไหนเพิ่มขึ้นไหมที่เรา เห็นในตัวเอง

ตอบ : ศักยภาพในการพูดค่ะ เพราะว่าเรารับบทพูดบ่อย จากที่เราพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เราก็พูดรู้เรื่องมาในอีกระดับหนึ่ง รับคุณสมบัติการเป็นพิธีกรมา


ถาม : คุณสมบัติการเป็นพิธีกรในความคิดหนู จะเป็นอย่างไร

ตอบ : ไม่ควรพูดเยอะไป ไม่ควรพูดน่าเบื่อ เราควรพูดให้คนที่ฟังอยู่กับเรา จ้องเราอยู่ตลอดค่ะ


ถาม : มีใครสอนเราไหม เราได้ความคิดนี้มาได้อย่างไร

ตอบ : ไม่รู้ใครสอน แต่ดูตัวอย่างคนอื่นๆ พูด แล้วหนูก็คิดเองถ้าเราพูดไม่ดี ไม่น่าสนใจ คนที่ฟังเราพูดเค้าก็จะคุยกันจ้อกแจ้ก โดยที่ไม่สนใจเรา เราจะเสียใจค่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องพูดให้เค้าหันมาสนใจเรา


ถาม : แล้วความรู้สึกเราที่มีต่อชุมชน เปลี่ยนแปลงไปไหมค่ะ

ตอบ : เปลี่ยนแปลงไปนิดหนึ่ง ปกติหนูไม่ค่อยเท่าไหร่กับชุมชน ตอนเด็กๆ หนูเป็นคนที่เวลาชุมชนมีงานอะไรหนูไม่ค่อยไปเพราะหนูไม่รู้เรื่อง


ถาม : แล้วตอนนี้เป็นอย่างไร

ตอบ : ตอนนี้มีบทบาทขึ้นมา ล่าสุดที่ชุมชนจัดงานฟุตบอลการกุศล ก็ขอช่วยชมรมพวกหนูค่ะ

ตอบ ไปช่วยเก็บภาพ ถ่ายภาพ


ถาม : แล้วอย่างนี้หนูรู้สึกภูมิใจไหมว่าเค้าเห็นความสามารถเรา เค้าชวนเราไปทำต่างหาก ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวกับโครงการเราแล้วนะ แต่เค้าก็ชวนเรา

ตอบ : มันก็คิดดีใจมานิดหนึ่งค่ะ แต่ว่าบางทีเป็นเพราะว่าเราทำโครงการนี้แล้วสำเร็จ แล้วเค้าเห็นว่าเราทำงานใหญ่ๆ ได้ เค้าก็ดึงตัวเราไปช่วยเค้า ถ้าไม่มีโครงการนี้ เค้าก็ไม่ให้เราไปช่วย เพราะเค้าไม่เห็นคุณค่าในตัวเรา


ถาม : เรารู้สึกโอเคไหม เห็นคุณค่าในตัวเองด้วยไหมเพราะคนอื่นเค้าเห็นแล้ว

ตอบ : ก็เห็นค่ะ เพราะว่าปกติแล้วงานแบบนี้ไม่ได้ไปเลยค่ะ ไม่รู้จะไปทำไม เราเป็นคนที่ไม่มีบทบาทในชุมชนเลยค่ะ


ถาม : แล้วแบบนี้หนูมีความฝันอะไรส่วนตัวไหมในอนาคตไหม อยากทำอะไร

ตอบ : หนูอยากเป็นนักกฎหมาย อยากเป็นวิศว แต่อีกอย่างอยากเป็นไกด์ อยากถ่ายรูป อยากพูดพิธีกรอะไรแบบนี้ค่ะ


ถาม : ค่อยๆ ดูไป พอมาทำโครงการเราได้ลองเป็นพิธีกร เราก็รู้สึกชอบเหมือนกัน ถูกไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ อะไรที่เกี่ยวกับกิจกรรมคือหนูชอบหมด


ถาม : แล้วมีเรื่องอะไรอีกไหมที่อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น หรือว่าเรียนรู้เพิ่มขึ้น

ตอบ : น่าจะเป็นเรื่องการถ่ายภาพค่ะ การตัดต่อ การแสดงอะไรแบบนี้ค่ะ


ถาม : เกี่ยวกับการสอนน้องๆ เล่นของเล่น อันนี้ได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ไหม

ตอบ : ได้สำเร็จนะคะ เพราะว่าเราก็ลองเล่นทุกอย่าง เราก็เล่นเป็นแล้ว

ตอบ : ตอนงานมหกรรม เราประชาสัมพันธ์กิจกรรมรอบหมู่บ้าน ประมาณ 2-3 รอบ ขี่รถพ่วงกันเลยค่ะ ถ่ายทอดสด ประกาศออกไมค์ ผ่านเพจ


ถาม : ใครเป็นคนประกาศ

ตอบ : หนูเป็นคนประกาศ


ถาม : หนูลองยกตัวอย่างให้พี่ดูหน่อยสิ ว่าหนู ประกาศว่าอย่างไร

ตอบ : หนูก็พูดตามโปสเตอร์ตามที่เราทำค่ะ


ถาม : แล้วรถพ่วงของใคร

ตอบ : รถพ่วงของพี่เลี้ยงค่ะ