วาซิม ติงหวัง : สัมภาษณ์เยาวชนเด่น​โครงการการเรียนรู้วัฒนธรรมปันจักสีลัตชุมชนบ้านทุ่ง ในรูปแบบสื่อโซเชียล

โครงการการเรียนรู้วัฒนธรรมปันจักสีลัตชุมชนบ้านทุ่ง ในรูปแบบสื่อโซเชียล


เยาวชนเด่น

นายวาซิม ปิงหวัง อายุ 15 ปี

กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจริยธรรมอิสลามมูลนิธิ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ถาม : เคยทำโครงการปีที่ 1 มาก่อนใช่ไหม

ตอบ : เคยทำมาก่อนแต่ไม่ได้ทำตั้งแต่แรก ผมมาเริ่มทำช่วงกลางโครงการแล้วเพราะมีคนชวนมาทำตอนแรกชวนมาเป็นเพื่อน แต่หลัง ๆ ไม่รู้ว่ามาเข้าโครงการได้อย่างไร


ถาม : ปีที่หนึ่งทำโครงการเกี่ยวกับอะไร

ตอบ: ทำโครงการเกี่ยวกับผักพื้นบ้าน มีสองหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้กันคือบ้านทุ่งกับบ้านทุ่งพัฒนา ปีแรกของบ้านทุ่งทำโครงการเกี่ยวกับปันจักสีลัตเหมือนปีนี้ แต่ว่าของบ้านทุ่งพัฒนาทำโครงการเกี่ยวกับผักพื้นบ้าน ก็คือแยกกันทำ พอมาปีที่สองมาทำร่วมกันเป็นโครงการปันจักสีลัต


ถาม : แต่เราแยกปีนี้ก็ไม่ได้ทำกับเขา

ตอบ : ไม่ใช่ครับ ปีที่แล้วเราไม่ได้ทำกับเขาแต่ปีนี้เรามาทำกับเขา


ถาม: วาซิมอยู่หมู่บ้านอะไร

ตอบ : บ้านทุ่งพัฒนา


ถาม: ที่เราบอกว่าปีที่หนึ่งมีคนมาชวน คนที่มาชวนเราคือใคร

ตอบ : คนที่มาชวนเป็นญาติ เขาชวนมาเป็นเพื่อน


ถาม : แต่ว่าเขาทำโครงการนี้หรอ

ตอบ : เป็นพี่เลี้ยงที่ทำโครงการนี้


ถาม : แล้วไปหลวมตัวมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเอาตอนไหน

ตอบ : ก็หลวมตัวมาตั้งแต่ตอนนั้น เพราะเขาชวนมาเรื่อยๆ จนได้รู้จักกับบังเชษฐ์ บังหยาดก็เลยได้มาอยู่ในนี้เลยครับ


ถาม : ตอนที่เราเข้ามาแรก ๆ ความรู้สึกของเราที่มีกับโครงการนี้รู้สึกอย่างไร

ตอบ : ตอนแรกยังงงๆ ว่าเขาทำอะไร ยังไม่เข้าใจ แต่พอได้มาเข้าร่วมก็เข้าใจว่าเขามาทำโครงการเกี่ยวกับฐานวิจัย เกี่ยวกับผักพื้นบ้านอยากให้ทุกคนรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้านในบ้านทุ่ง


ถาม : ตอนที่มาเห็นแรก ๆ เรามองว่าเครียดไหม ดูเป็นวิชาการไหม

ตอบ : ตอนแรก ๆ ไม่ค่อยวิชาการ สนุกสนาน แต่หลังๆ ให้เขียนงานก็จะวิชาการหน่อย


ถาม : ก่อนหน้าถูกชวนมาทำโครงการปกติเวลาอยู่บ้านเราทำอะไร

ตอบ : ปกติอยู่บ้านเฉยๆ แต่มีงานเสริมคือขายของส่งของ


ถาม : ขายของอะไร

ตอบ : เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ส่งของพึ่งมาทำตอนโควิด


ถาม : แต่ตอนที่เราทำโครงการปีที่ 1 ก็ทำแบบนี้อยู่แล้ว รับจ้างทั่วไปใช่ไหม

ตอบ : มันเป็นเกี่ยวกับขายของออนไลน์


ถาม : แล้วพอมาทำโครงการนี้กระทบกับงานหรือเปล่า

ตอบ : ไม่กระทบครับ ขายของออนไลน์มีเวลาตอบแชท ไม่ได้มากระทบกับงานนี้ เพราะว่างานนี้เราก็มาทำอีกแบบหนึ่ง


ถาม : เราจัดการได้ตั้งแต่ตอนแรกที่มาทำเลยไหมหรือว่าพึ่งมาจัดการได้ช่วงท้ายๆ

ตอบ : พึ่งมาจัดการได้ตอนท้าย


ถาม: แล้วช่วงแรกที่ต้องตอบแชทลูกค้าด้วย ทำงานโครงการด้วยเหนื่อยไหม

ตอบ : ก็ไม่ได้เหนื่อยเท่าไหร่ ลูกค้าไม่ได้เยอะขนาดต้องตอบตลอดเวลา อย่างส่งของก็ส่งช่วงตอนเย็น ตามบ้านแล้วก็ส่งไปรษณีย์


ถาม : บุคลิกนิสัยของเราก่อนเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างไร

ตอบ : ปกติเป็นคนเงียบ ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร อยู่คนเดียว เวลากลับมาจากโรงเรียนจะอยู่คนเดียว


ถาม : แล้วกิจกรรมในชุมชนเราเคยทำไหม

ตอบ : ไม่เคยทำ


ถาม : แต่ว่าปกติในชุมชนเขามีกิจกรรมอะไรให้เด็กไปทำร่วมกันไหม

ตอบ : ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ที่รู้ ๆ ไม่ค่อยเห็น ไม่ค่อยมีกิจกรรมให้เด็กทำ


ถาม : ตอนทำปีที่หนึ่งทำเกี่ยวกับผักพื้นบ้าน ปีนั้นจบไปแล้วอะไรทำให้เราตัดสินใจที่อยากทำโครงการในปีที่สองต่อ

ตอบ : จริงๆ ปีที่สองพูดกับตัวเองว่าไม่น่าจะได้ทำแล้วเพราะว่าต่างคนก็ต่างแยกย้ายกัน ไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน แต่พอเขานัดมาทำโครงการเลยได้มาทำอีก


ถาม : ใครนัดประชุม

ตอบ : บังเชษฐ์ บังหยาด เขานัดแล้วช่วงนั้นเป็นช่วงที่อยู่ๆ ก็ได้เข้ากลุ่มแกนนำของเยาวชน ก็เลยต้องกลับมาทำโครงการอีกครั้ง เป็นเครือข่ายของแต่ละชุมชน ยกระดับแกนนำมาอีกระดับหนึ่ง


ถาม : มีตำแหน่ง บทบาทอะไรไหมในกลุ่ม

ตอบ : ส่วนใหญ่เป็นถ่ายภาพวิดีโอ ไลฟ์สด


ถาม : เพราะเราชอบ ถนัดทางด้านนี้หรอ

ตอบ : ชอบก็ส่วนหนึ่ง เพราะถ่ายภาพวิดีโอเป็นกิจวัตรที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว


ถาม : เพราะว่าอะไร

ตอบ : เป็นคนที่ชอบถ่ายภาพอยู่แล้ว เขาเลยให้มาทำงานสายนี้


ถาม : ถ่ายรูปที่ว่าส่วนใหญ่ถ่ายลงเฟสบุ๊ค หรือชอบถ่ายภาพแบบไหน

ตอบ : ก็มีทิวทัศน์บ้าง รูปตัวเองบ้าง


ถาม : บทบาทนี้พี่ๆ เขาเลือกหรือว่าเราอาสา

ตอบ : อาสาเพราะว่ายังไม่ได้แบ่งบาททชัดเจน


ถาม : ที่บอกว่าเขาร่วมกลุ่มแกนนำเยาวชน เราเข้าช่วงไหนของโครงการ

ตอบ : ช่วงจบโครงการไปแล้ว เหมือนกับว่าตอนนั้นเขาเพิ่งริเริ่มมีแกนนำเยาวชนในปีสอง


ถาม : แล้วเขามาบอกว่าเราได้รับการคัดเลือก อย่างนี้ไหม

ตอบ : เขาบอกว่าเราถูกเลือกให้เป็นแกนนำเยาวชน


ถาม : แล้วตอนนั้นรู้สึกอย่างไร เพราะตอนแรกคิดว่าจะไม่ได้ทำโครงการนี้แล้วในปีที่สอง แล้วอยู่ ๆ ได้รับคัดเลือก ณ ตอนนั้นความรู้สึกเป็นอย่างไร

ตอบ : ตอนนั้นรู้สึกเฉยๆ เพราะว่าตอนแรกจะไม่ทำแล้ว ไหนๆ เขาก็เชิญแล้วเพื่อไม่ให้เสียโอกาสก็เลยทำต่อ


ถาม : เรามองเห็นโอกาสอะไรตรงนั้นถึงตอบตกลง

ตอบ : มองเห็นโอกาสจากปีหนึ่งที่ได้ทำ เเรามีความกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าพูดกล้าทำมากขึ้นเลยมองเห็นโอกาสในปีนี้อีกก็เลยมาทำ


ถาม : ลึก ๆ แล้วเราก็อยากทำโครงการในปีนี้อยู่แล้วไหม

ตอบ : แค่ช่วงนั้นคิดว่าไม่น่ามีใครทำโครงการต่อแล้วในชุมชนเพราะไม่ค่อยมีคนรวมตัวกันแล้ว ต่างคนต่างแยกย้าย


ถาม : พี่ขอทวนความเข้าใจพี่หน่อยว่าถูกไหม ตอนแรกที่เราคิดว่าไม่มีโอกาสได้ทำเพราะว่าเพื่อนๆ ในหมู่บ้านแยกย้ายกันไปแล้ว ทำให้เราไม่มีทีมที่จะมาทำโครงการในปีที่สองแล้วพอมาปีที่สองบังเชษฐ์ พวกพี่ๆ เขาชวนมาเลยเห็นโอกาส ก็เลยมาทำต่อ แต่ว่าทำร่วมกับอีกหมู่บ้านหนึ่ง

ตอบ : แต่ว่าก็ยังมีทีมเดิมของบ้านทุ่งพัฒนาทำร่วมกัน ความหมายที่บอกว่าไม่ได้รวมตัวกันแล้วคือเราแยกย้าย ไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน ก็เลยคิดว่ามันน่าจะรวมกลุ่มกันยาก


ถาม : แยกย้ายในที่นี่หมายความว่าไปเรียนต่อที่อื่นถูกไหม

ตอบ : หมายถึงว่าไม่ค่อยอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ไปเรียนที่อื่น


ถาม : ลองเล่าที่มาให้ฟังหน่อยว่าแล้วอย่างไรเราถึงมาเข้าร่วมกับโครงการในปีที่สองได้ ปีที่สองเราทำโครงการอะไร

ตอบ : ปีที่สองทำโครงการเกี่ยวกับปันจักสีลัตร่วมกับอีกหมู่บ้านหนึ่ง สาเหตุที่ทำโครงการร่วมกันเพราะเล็งเห็นว่าวัฒนธรรมนี้มีที่เดียวในจังหวัดสตูลและเป็นวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนก็เลยอยากสืบสานต่อไป


ถาม : ชุมชนของโครงการนี้อยู่ใกล้กับชุมชนเราไหม

ตอบ : อยู่ใกล้กับบ้านเพราะเมื่อก่อนตรงนั้นเป็นบ้านทุ่งหมดเลย ต่อมาพื้นที่กว้างขึ้นก็เลยต้องแยกมาเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งมีชื่อหมู่บ้านว่าบ้านทุ่งพัฒนาซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน


ถาม : พอเรามาทำร่วมกับโครงการนี้แล้วมีปัญหาอะไรไหม เราเคยทำงานร่วมกันมาก่อนไหมกับทีมนี้

ตอบ : ไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อนเลย มันมีปัญหาตรงที่เวลานัดประชุมบางคนก็มาไม่ค่อยตรงเวลาบางคนก็ไม่ได้มา


ถาม : กับตัวเราต้องปรับตัวเองเข้ากับเพื่อนไหมหรือว่าก็สนิทกันตั้งแต่ปีที่หนึ่งแล้ว

ตอบ : มีบ้างที่สนิทกันแล้วบ้างในชุมชนบ้านทุ่ง ไม่ได้ปรับตัวอะไรเยอะ ตอนทำโครงการปีที่หนึ่งได้เจอหน้ากันอยู่แล้ว


ถาม : แล้วเราได้รับบทบาทเป็นอะไรในโครงการนี้

ตอบ : มันไม่ชัดเจนทำหลายอย่าง มีทั้งถ่ายรูป เขียนโน้ต มีหลายอย่างแบ่งกันทำ แต่ถ้าในรูปเล่มรายงานคือฝ่ายประชาสัมพันธ์


ถาม : แล้วหน้าที่หลัก ๆ ของเราทำอะไรบ้างฝ่ายประชาสัมพันธ์สำหรับเรา

ตอบ : หลัก ๆ เวลามีนัดประชุม จะนัดกันในกลุ่มแล้วมีประชาสัมพันธ์ภายในเพจเวลามีงาน แต่ช่วงนี้เพจเงียบหน่อย เพราะต่างคนต่างไปเรียน คนทำเพจก็ไม่มีแล้วเพราะว่าเขาไปเรียน


ถาม : ชื่อเพจอะไรนะ

ตอบ : รวมพลเยาวชนคนรักปันจักสีลัต


ถาม : ใครเป็นคนดูแลเพจนี้

ตอบ : ผมเป็นคนดูแล


ถาม : เราเป็นคนตัดสินใจเข้าร่วมกับเพื่อน ๆ เองหรือว่าได้ข้อแนะนำจากใครหรือเปล่าถึงมาเข้าร่วม

ตอบ : ที่ได้มาเข้าร่วมกับเพื่อน ๆ กลุ่มนี้ตอนนั้นเรานัดประชุมรวมกันทั้งสองหมู่บ้าน เขาเลยให้ตัดสินใจว่าจะทำโครงการร่วมกันหรือทำแยก ได้มติว่าทำร่วมกัน


ถาม : ของหมู่บ้านเราที่ไปร่วมกับพี่ ๆ มีกี่คน

ตอบ : มีประมาณ 4-5 คนได้


ถาม : ในทีมมีกี่คนทั้งโครงการ

ตอบ : คนที่ทำหลัก ๆ มีประมาณ 7-8 คน


ถาม : ตอนที่ถามตอนนั้นคิดกันอยู่แล้วไหมว่าจะทำโครงการปันจักสีลัตปีสองต่อหรือว่าตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะทำโครงการอะไร

ตอบ : ตอนนั้นยังไม่รู้ครับว่าจะทำโครงการอะไร ตอนแรกว่าจะแยกกันทำเพราะว่ามันได้สองงบ แต่พอรวมกันมันได้ก้อนเดียว แต่ไม่มีพี่เลี้ยงเพราะว่าพี่เลี้ยงไม่ว่างก็เลยต้องมาทำร่วมกัน


ถาม : ตัดสินใจรวมกลุ่มกันแล้ว ไปไงมาไงถึงตัดสินใจทำโครงการปันจักสีลัต ใครเป็นคนเสนอความคิดเห็น

ตอบ : มีพี่ ๆ กลุ่มนั้นเสนอความคิดเห็น มีการถามขึ้นมาว่า เรามาทำเรื่องปันจักสีลัตต่อไหมเพราะว่าปีแรกยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ ยังรำกันไม่ได้ เพราะว่าปันจักสีลัตเกี่ยวข้องกับท่าร่ายรำ คล้ายๆ ลองทำใหม่อีกครั้งในปีนี้ อยากให้พวกเรามีส่วนร่วมเพราะว่าในกลุ่มของพวกเราบางคนเคยรำปันจักสีลัตอยู่บ้างแล้ว พวกเราก็มองว่าก็ดีเหมือนกันเพราะจะได้สืบสานการรำต่อไปด้วย ทำให้คนรู้ด้วยจักสร้างเพจประชาสัมพันธ์


ถาม : แล้วเราไม่เสนอโครงการผักพื้นบ้านของเราให้ทำต่อในปีที่สองบ้างละ

ตอบ : ผมไม่รู้จะทำอะไร เพราะว่าผักเราเคยทำแล้วเดี๋ยวก็เขียนแบบเดิมอีก


ถาม : ถ้าอย่างนั้นก็ทำปันจักสีลัตดีกว่าดีใช่ไหม อย่างพี่ๆ เขามีความรู้อยู่แล้วเพราะเคยทำ แล้วเรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มาก่อนไหม

ตอบ : ไม่เลย ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เพราะว่าไม่เคยคลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้


ถาม :เราเสนอความคิดเห็นอะไรไหม

ตอบ :มีเสนอไปแต่ก็บอกเขาไปว่าทำโครงการอะไรก็ได้ ได้หมด


ถาม : ได้โครงการมาแล้วแบ่งหน้าที่กันแล้ว ปีที่สองโครงการของเรามีเป้าหมายเพื่ออะไรในปีนี้

ตอบ : อยากให้มีการสืบสานวัฒนธรรมนี้ต่อไป อยากให้คนภายนอกรับรู้ว่าในจังหวัดสตูลยังมีปันจักสีลัตเป็นมกดกทางวัฒนธรรมอยู่ เป็นวัฒนธรรมที่เหมือนกัน 3 จังหวัด แต่ในสตูลมีที่นี่ที่เดียว เราอยากทำสิ่งนี้ เพราะกล้าพูดได้เลยว่ามีที่เดียวในจังหวัดสตูล


ถาม : ตอนนี้มีผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องปันจักสีลัตกี่คนในจังหวัดสตูล

ตอบ : มีอยู่หลัก ๆ 2 -3 คน


ถาม : ที่เราบอกว่ามีที่เดียวที่จังหวัดสตูลเราคิดว่ามันมีความสำคัญอะไรอย่างไรกับชุมชนเราไหมทำไมเราต้องรักษาไว้

ตอบ : มีความสำคัญเพราะว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีมาแต่เนิ่นนานในชุมชน สืบสานมาจากมาเลเซีย ถ้าเราไม่สืบสานหรือว่าไม่รักษา ก็จะหายไปและกลายเป็นตำนานเพราะไม่มีคนสืบสานต่อ


ถาม : ปันจักสีลัตคือศิลปะการป้องกันตัวหรืออะไร ลองอธิบายให้ฟังหน่อย

ตอบ : คือศิลปะการป้องกันตัว สามารถป้องกันตัวเองได้เวลาถูกทำร้าย


ถาม : ปกติใช้เล่นในโอกาสสำคัญไหม

ตอบ : ส่วนใหญ่เวลามีงานแต่ง จะมีการนำปันจักสีลัตไปโชว์ แต่ใช้ท่ารำแบบสวยงาม ตอนที่เขารำ เขาจะรำแบบสวยงามไม่ได้ต่อสู้แบบดุเดือด


ถาม : แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าในจังหวัดสตูลมีแค่หมู่บ้านเราที่มีปันจักสีลัต

ตอบ : รู้จากปราชญ์ที่ร่วมโครงการ เขาเป็นคนบอกข้อมูล


ถาม : กลุ่มเป้าหมายของเรามีทั้งคนในชุมชน และคนภายนอกด้วยใช่ไหม ทำไมเราถึงต้องการให้คนภายนอกรับรู้ด้วย

ตอบ : เป็นวัฒนธรรมที่มีอยู่ที่เดียวก็เลยอยากให้คนมาสนใจ ชุมชนอาจมีรายได้จากการแสดง เพราะเป็นการแสดงที่เป็นที่นิยมในบางพื้นที่


ถาม : เขาต้องแต่งตัวสวย ๆ ด้วยใช่ไหมเวลาโชว์

ตอบ : แต่งตัวแนวมลายู


ถาม : หลังจากเราได้กลุ่มเป้าหมายแล้ว คราวนี้อยากให้ลองเล่าเป็นกิจกรรมคร่าวๆ ของเราก็ได้ที่ทำภายในโครงการนี้ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง

ตอบ : มีการสร้างเพจเผยแพร่ในเฟสบุ๊ค ทำยูทูป สร้างสถานที่เล่นปันจักสีลัต และสร้างกิจกรรมให้คนมาเรียนรู้ท่าทางการป้องกันตัวของปันจักสีลัต


ถาม : แล้วกิจกรรมลงพื้นที่สอบถามประวัติมีไหม

ตอบ : ยังไม่มี ไม่มีการลงพื้นที่


ถาม : แต่ตอนลงพื้นที่ไปเรียนรู้กับปราชญ์ผู้รู้เราไปไหม

ตอบ : ปราชญ์ผู้รู้ก็คือคนที่สอนปันจักสีลัตให้เรา


ถาม : ลองเล่าให้ฟังหน่อยว่าพอเราตัดสินใจทำโครงการนี้แล้วในปีที่สองกิจกรรมที่ทำ อย่างเรื่องการสร้างเพจ ทำไมเราถึงสร้างเพจขึ้นมาเพราะอะไร

ตอบ : เพราะว่าอยากให้คนมาติดตามและสนใจเรื่องปันจักสีลัต


ถาม : ใครเสนอว่าต้องสร้างเพจขึ้นมา

ตอบ : ผมเสนอเองและเป็นคนทำเอง แล้วก็สร้างยูทูป เพราะเป็นเรื่องที่ถนัดอยู่แล้ว


ถาม : พอเราเสนอข้อมูลไปว่าทำเพจ เพื่อนๆ ว่าไงบ้างเขาเห็นด้วยไหม

ตอบ : เห็นด้วย เพื่อนๆ บอกว่าดีเพราะทำให้คนภายนอกรู้จักปันจักสีลัตของพวกเราด้วย


ถาม : เขาคาดหวังกับเราไหมเพื่อนๆ

ตอบ : ก็ไม่ได้คาดหวังอะไร เราก็โพสต์ไปเรื่อยๆ กิจกรรมที่ทำ เช่น การซ้อม เป็นวิดีโอบ้าง รูปภาพบ้าง


ถาม : มีการตั้งเป้าหมายในการทำเพจไหม เช่น ต้องการยอดไลค์ เท่าไร

ตอบ : ตอนนั้นยังไม่ได้คาดหวังแบบนั้น สร้างให้เราแชร์กันเองแล้วให้คนอื่นมาเห็น เพื่อให้มีคนเข้ามาติดตามมากดไลค์ มีคนมากดไลค์ไม่เกิน 50 คน ตอนนี้สมาชิกต่างคนต่างไปเรียนอย่างคู่รำผู้หญิงก็มีคนออกไปเพราะว่าเขาต้องไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย กลุ่มเลยขาดคนรำไปหนึ่งคน ตอนนี้น้องอีกคนเลยเข้ามาสานต่อ


ถาม : คนที่มากดไลค์ส่วนใหญ่เป็นคนในโครงการหรือว่าในจังหวัดเรา

ตอบ : ส่วนใหญ่เป็นคนในโครงการและคนในชุมชน


ถาม : แล้วเป็นไปตามที่วางแผนไว้ไหม

ตอบ : จริงๆ เราอยากให้คนนอกมาเห็น


ถาม : มีการออกแบบเพจของไหมว่าจะนำเสนอในลักษณะไหนบ้างหรือว่าโพสต์อะไรก็ได้

ตอบ : ผมออกแบบโลโก้ของกลุ่ม สร้างเพจและสร้างตรงที่เกี่ยวกับไว้ลงทุกอย่างที่เกี่ยวกับปันจักสีลัต เช่น การซ้อม การรำ และรูปภาพวิดีโอ รวมถึงตอนประชุม เวลามีกิจกรรมได้ขึ้นเวทีก็จะลงในเพจด้วย ลงความเคลื่อนไหวทุกอย่างเกี่ยวกับปันจักสีลัต


ถาม :แล้วยูทูปใครทำ

ตอบ : ลงไปสองคลิป ไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยได้อัดวิดีโอ ไม่ค่อยได้ตัดต่อเลยไม่ค่อยได้ลง แต่ทำไว้ก่อน ทำเป็นช่องเขียนว่ารวมพลเยาวชนคนรักปันจักสีลัตชาแนล


ถาม : เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำช่องยูทูปอยู่แล้วหรือว่าเราชอบดู

ตอบ : ชอบดูยูทูปมากกว่า คิดว่ามันน่าจะเผยแพร่ได้เพราะว่าคลิปแรกที่ลงไปมีคนดู 400 คน ถือว่าเยอะในการลงคลิปครั้งแรก


ถาม : คลิปแรกที่นำเสนอมีคนดูเยอะ เรานำเสนอเกี่ยวกับอะไร

ตอบ : ตอนนั้นมีงานแต่งแล้วมีคนจ้างไปแสดง ได้อัดวิดีโอไว้ เลยได้นำมาตัดต่อลงในช่อง


ถาม : เราอัดยาวเลยหรือว่าเราตัดต่อก่อนแล้วค่อยลงยูทูป

ตอบ : อัดแล้วมาตัดต่ออีกทีใส่โลโก้ในคลิป


ถาม : เราเป็นคนอัดเอง ตัดต่อเองเลยไหมหรือว่ามีเพื่อนมาช่วย

ตอบ : อัดและก็ตัดต่อเอง


ถาม : คาดหวังไหมตอนแรกที่ลงยูทูปว่าจะมีคนมาดูเยอะขนาดนี้

ตอบ : ตอนแรกไม่ได้คาดหวังว่าจะมาดูเยอะขนาดนี้ แต่พอเราแชร์ลงเพจ ลงเฟสส่วนตัวมีคนมา เห็นแล้วก็แชร์ต่อกันเลยมีคนมาดูเยอะ


ถาม : อีกคลิปที่ทำเกี่ยวกับอะไร

ตอบ : อีกคลิปคือเป็นเกี่ยวกับตอนใกล้จะจบโครงการแล้วรวบรวมภาพบรรยากาศ ความยาวประมาณ 1 นาที


ถาม : สำหรับยูทูปมีปัญหายากง่าย ตรงไหนไหมสำหรับเรา

ตอบ : ไม่ได้มีปัญหาอะไร ส่วนเรื่องตัดต่อก็เคยทำมาบ้างแล้วในตอนที่ทำผักพื้นบ้านตอนนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอ ผมตัดต่อเองเลยได้ความรู้มาจากตรงนั้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่พอรู้มาบ้างแล้ว มีพื้นฐานมาบ้างแล้ว


ถาม : อันนี้คือหน้าที่หลัก ๆ ที่วาซิมได้ดูแลรับผิดชอบ เป็นเรื่องของเพจกับวิดีโอ แล้วมีกิจกรรมอื่นไหมที่ต้องทำร่วมกับเพื่อนในโครงการ

ตอบ : เวลานำเสนองานส่วนใหญ่ผมที่เป็นคนพูด คนนำเสนอ


ถาม : เคยรู้สึกว่าอะไรๆ ก็เราบ้างไหม

ตอบ : ตอนแรกเคยรู้สึกเหมือนกันว่าทำไมงานอะไรๆ ก็ต้องเป็นเรทำ แต่หลัง ๆ ไม่เป็นไรเพราะเราได้ประสบการณ์ในส่วนนี้และได้ความรู้ทำให้เรามีความกล้าแสดงออกมากขึ้นด้วย


ถาม : เรื่องของข้อมูล ปันจักสีลัตในปีที่หนึ่งทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร

ตอบ : ปีที่หนึ่งทำเกี่ยวกับเก็บข้อมูลประวัติของปันจักสีลัต


ถาม : แล้วพอมาปีสองเราทำอะไรบ้าง

ตอบ : หลัก ๆ ที่ทำเกี่ยวกับปันจักสีลัตปีที่สอง พอได้ข้อมูลมาแล้วเน้นเผยแพร่มากกว่า ไปออกงานนำเสนอหรือว่ามีงานของ อบต.เราก็จะไปออกงาน หลัก ๆ ปีนี้ไม่เน้นหาข้อมูลเพราะมีข้อมูลเดิมอยู่แล้ว แต่เน้นเผยแพร่


ถาม : โดยการเอาข้อมูลของปีที่หนึ่งมาเผยแพร่

ตอบ : โดยการเอาข้อมูลของปีที่หนึ่งมาเผยแพร่ ตามเพจ ยูทูป


ถาม : เพราะฉะนั้นก่อนเราเผยแพร่ เราต้องประชุมกันก่อนไหมว่าจะเอาข้อมูลตรงไหนของปีที่หนึ่งมาเผยแพร่บ้าง

ตอบ : เราเอาส่วนสำคัญของปันจักสีลัตมาเผยแพร่ เช่น เรื่องท่ารำและประวัติของปันจักสีลัต


ถาม : ออกงานบ่อยไหมช่วงนั้น

ตอบ : ไม่บ่อยเพราะว่าติดช่วงโควิดด้วย


ถาม : เวลาออกงาน เขารู้จักเราได้อย่างไร คนที่เขามาจ้างให้เราไปออกงาน

ตอบ : มีพี่เลี้ยงทำงานอยู่ในองค์กร เขารู้จักกันแล้วขอให้เราไปออกงาน หรือบางครั้งมีกิจกรรมการประกวดวัฒนธรรม


ถาม : อย่างที่เราบอกว่ามีการไปออกกิจกรรมกับทาง อบต. คือพี่เลี้ยงเป็นคนจัดการให้

ตอบ : ครับ ออกงานของ อบต.เป็นการประกวดแล้วทางพี่เลี้ยงเป็นคนจัดการให้ ประกวดเรื่องวัฒนธรรม


ถาม : แล้วเราได้รางวัลไหม

ตอบ : ไม่ได้ ได้รางวัลชมเชยมา มีคนแข่งประมาณ 7 หรือว่า 12 ทีมไม่แน่ใจ


ถาม : เราคาดหวังไหมตอนที่ไปประกวดงานวัฒนธรรมว่าจะได้รางวัล หรือว่าเรากลัวไหมตอนนั้น

ตอบ : น่าจะเป็นงานแรกที่ได้ไปประกวด งานแรกของกลุ่มเยาวชนเพราะว่าจะมีกลุ่มผู้ใหญ่ด้วย ตอนนั้นไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แค่ให้คนรู้จักปันจักสีลัตของพวกเราให้มากขึ้นกว่าเดิมแค่นั้น


ถาม : เราไปนำเสนอในรูปแบบไหนตอนที่ไปประกวดวัฒนธรรม

ตอบ : ตอนที่ไปประกวดแรก ๆ จะเล่าประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัต พอเล่าเสร็จมีการร่ายรำและการต่อสู้ ปิดท้ายด้วยการฝากเพจและยูทูป


ถาม : ในกิจกรรมที่เราไปประกวดวัฒนธรรม วาซิมเป็นหนึ่งในนั้นไหมที่สาธิตท่าทางการต่อสู้

ตอบ : ผมเป็นคนที่บอกเล่าเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของปันจักสีลัต วันนั้นก็ซ้อมหนักเหมือนกันเพราะว่าพูดสด


ถาม : เรามีการซักซ้อมข้อมูลไหม

ตอบ : มีครับ เขาให้ข้อมูลมาซ้อมแล้วทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล ฝึกซ้อมไม่นานประมาณ 2-3 วัน


ถาม : ความรู้สึกตอนนั้นเป็นไงบ้างเราประหม่าไหม เพราะต้องไปพูด

ตอบ : ตอนซ้อมมันก็จำได้หมดแล้ว แต่พอขึ้นเวทีลืม ไม่ได้เต็มที่เพราะตื่นเต้น พอเห็นคนด้านหน้าเยอะมากก็ตื่นเต้น แต่แก้ปัญหาด้วยการตัดบทในส่วนที่ลืมแล้วไปต่อท้าย


ถาม : เขาดูออกไหม

ตอบ : น่าจะดูออกเพราะว่าเราก็มีอาการ


ถาม : เป็นงานใหญ่ไหมเราถึงประหม่าแล้วก็ตื่นเต้น

ตอบ : เป็นงานที่ทาง อบต. จัดขึ้นทุกปี มีการประกวดทุกปี มีคนเยอะประมาณ 500 คน


ถาม : ในเวทีนั้นมีปัญหาอะไรไหม ที่เรารู้สึกว่าเป็นปัญหา

ตอบ : ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แค่เราลืมบทนิดหน่อย


ถาม : พอได้รางวัลมาเป็นอย่างไรบ้าง มาพูดคุยกันไหม

ตอบ : ส่วนใหญ่เป็นการให้กำลังใจมากกว่า เราให้กำลังใจซึ่งกันและกันว่าไม่เป็นไรนะ


ถาม : อบต.ที่ไหนจัดหรอ

ตอบ : อบต.ละงู เป็นงานประจำปี เป็นงานที่จัดขึ้นทุกปี มีชื่องานว่าเทศกาลยอนหอยหลอด


ถาม : นี่คือเวทีแรกของเราเลยไหม ในการออกงาน

ตอบ : เป็นเวทีแรกในการออกงานเลย


ถาม : แล้วที่เราบอกว่าสาธิตท่าทางเรามีการเลือกไหมว่าเราจะเอาท่าไหนไปใช้ในการแสดง

ตอบ :มีทั้งหมด 12 ท่า ถ้าจำไม่ผิด แต่วันนั้นเอาไปผู้ชาย 4 ท่า ผู้หญิง 4 ท่า


ถาม : จำได้ไหมว่ามีท่าอะไรบ้างที่นำเสนอ

ตอบ : ท่าขวานฟ้า จระเข้ฟาดหาง


ถาม : สำหรับเวทีแรกที่เราออกงานครั้งแรก เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

ตอบ : อย่างแรกมีประสบการณ์ในการออกงาน ได้ลบความตื่นเต้นลงไปบ้างในงานต่อไปและได้รู้จุดบกพร่องของตัวเอง


ถาม : ที่เราบอกว่าได้รู้จุดบกพร่องสำหรับเรา เราบอกพร่องตรงไหนจากงานนี้

ตอบ : ตรงที่เราจำเนื้อหาไม่ได้ เพราะตื่นเต้น


ถาม : แล้วเวทีที่สองเราทำอะไร

ตอบ : บังเชษฐ์เชิญไปงานที่เป็นงานของเพื่อนของบังเชษฐ์ ชื่อบังศักรินทร์ของทีมเครือข่ายวรรณกรรมคู่สังคม


ถาม : งานนี้เป็นอย่างไรบ้าง การนำเสนอของเรา

ตอบ : สำหรับงานนี้ได้ไปแค่คู่ชายคู่เดียวเพราะว่าคู่หญิงไม่ว่าง เหมือนเดิมคือบอกเล่าประวัติแต่รอบนี้ผมไม่ได้บอกเล่า เป็นผู้เฒ่าผู้แก่เป็นคนบอกเล่า ผู้รู้ที่ซ้อมปันจักสีลัตให้พวกเรา


ถาม : เวทีนี้เราไปด้วยไหม

ตอบ : ไปครับ แต่พี่เขาให้ทำหน้าที่ไลฟ์สดในเพจของเครือข่ายวรรณกรรมเพื่อสังคม


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง สะดุดติดขัดตรงไหนไหม กับหน้าที่ของเราในวันนี้

ตอบ : ไม่ได้ติดขัดอะไรเพราะว่าคนไม่เยอะเท่าไหร่


ถาม : ก่อนเราจะออกงาน เรามีการประชุมกันไหมว่าจะใช้ท่าไหนในการทำการแสดง

ตอบ : มีการประชุมครับว่าจะเลือกท่าไหน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นท่าเดิมๆ ที่ใช้ทำการแสดง


ถาม : ทำไมเราถึงเลือกท่าจระเข้ฟาดหางมาใช้ในการทำการแสดงมันโดดเด่นอย่างไรบ้าง

ตอบ : ท่านี้โดดเด่นที่ว่ามันเป็นการต่อสู้ที่เรายกตัวขึ้นมาบนบ่า


ถาม : พอจบงานทุกครั้งเรามาคุยกันไหมว่าผลตอบรับของแต่ละงานเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรบ้างที่ครั้งต่อไปที่ต้องแก้ไข

ตอบ : มีกลับมาพูดคุยกันบ้าง ส่วนใหญ่พูดคุยกันว่ามีอะไรต้องแก้ไข ปรับปรุงไหม จุดไหนผิดพลาดก็ซ้อมใหม่


ถาม : ปีนี้กิจกรรมพวกซ้อมท่ามีไหม

ตอบ : มีครับมีซ้อมท่า ซ้อมอาทิตย์ละสองครั้ง วันเสาร์ อาทิตย์ ซ้อมการร่ายรำ


ถาม : ช่วงที่เขาซ้อมกันเราไปซ้อมกับเขาด้วยไหม

ตอบ : ผมไปด้วยแต่ว่าไม่ได้ซ้อม ผมเน้นเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลมากกว่า


ถาม : แล้วเรารู้ข้อมูลบ้างไหม

ตอบ : รู้แต่ว่าไม่ได้ถนัด


ถาม : อะไรบ้างที่เรารู้เพิ่มขึ้นจากการทำโครงการนี้มาก่อน แล้วก่อนที่เราจะทำเรารู้เรื่องของปันจักสีลัตมาก่อนไหม

ตอบ :ไม่มีความรู้มาก่อนครับเกี่ยวกับปันจักสีลัต


ถาม : แล้วพอเราทำโครงการนี้เราได้ข้อมูลอะไรเพิ่มบ้างจากปันจักสีลัต

ตอบ : ได้รู้ประวัติของปันจักสีลัตและท่ารำต่างๆ รู้ว่าทำไมต้องรำท่านี้ มีที่มา ที่ไปอย่างไร


ถาม : พอจะจำได้ไหม ที่เราบอกว่าทำไมต้องรำท่านั้น ท่านี้

ตอบ : จำไม่ค่อยได้เพราะว่าไม่ได้ดูนานแล้ว


ถาม : จะให้เราลองยกตัวอย่างให้หน่อยว่าทำไมต้องรำท่านี้

ตอบ : ท่าแรกในการรำของปันจักสีลัตคือท่ารำไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นการรำปันจักสีลัตแบบไหนต้องมีการรำไหว้ครูก่อน เป็นการให้ความเคารพให้เกียรติครู


ถาม : เราออกงานทั้งหมดกี่งาน

ตอบ : 4 งานแต่ว่างานที่ 3 กับ 4 จำไม่ได้


ถาม : งานที่ 3 กับ 4 เป็นงานเกี่ยวกับอะไรเราจำได้ไหม

ตอบ : เป็นงานนำเสนอที่นี่ด้วย


ถาม : แล้วงานแต่งที่เราบอกว่าอัดวิดีโอแล้วมีคนมาดู 500 กว่าคนคืองานไหน

ตอบ : งานนั้นอีกหนึ่งงานครับ


ถาม : แล้วงานแต่งที่เราอัดวิดีโอ คือใครเป็นแนะนำ เขารู้จักเราจากไหนหรือว่าใครเป็นคนแนะนำ

ตอบ : งานแต่งอยู่ใกล้บ้าน เขารู้จักกับปราชญ์กับพี่เลี้ยงแล้วเขาขอให้ไปช่วยรำให้


ถาม : เขาเห็นว่าเราซ้อมตรงนั้นด้วยใกล้กับที่เขาอยู่เลยชวนให้เราไปรำด้วย วันนั้นเรามีการประชุมกันไหม

ตอบ : ผมไม่แน่ใจว่าเขามีการประชุมกันไหมเพราะว่าผมไม่ได้ไปประชุมด้วย ผมไปวันที่อัดคลิปเลย


ถาม : ใครไปทำการแสดงบ้างวันนั้น

ตอบ : มีคู่ผู้ชาย เป็นเยาวชนหนึ่งคู่แล้วก็คู่ผู้ใหญ่หนึ่งคู่


ถาม : งานนี้มีปัญหาอะไรไหมในการทำงาน

ตอบ : ไม่มีปัญหาอะไร


ถาม : คนในงานเยอะไหมที่เขาเห็นการแสดงของเรา

ตอบ : เยอะอยู่ครับประมาณ 50-100 คน ได้ ไปงานแต่ง


ถาม : มีกิจกรรมอื่นอีกไหมในการทำโครงการนี้ ที่นอกจากการอัดคลิป ลงเพจ ทำยูทูป ทำการแสดง

ตอบ : ไม่มีครับ เพราะส่วนมากจะเน้นมาทางด้านนี้


ถาม : ปราชญ์ผู้รู้คือคนที่เราถามข้อมูลตั้งแต่ปีที่หนึ่งอยู่แล้วใช่ไหม

ตอบ : เป็นคนที่สอนปันจักสีลัตให้กับพวกเราแล้วเป็นคนที่รู้อยู่แล้วเพราะว่าเป็นคนที่สืบทอด เขารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แล้ว


ถาม : แล้วที่เราบอกว่าเรื่องการสร้างพื้นที่ เราสร้างตอนไหนของโครงการ

ตอบ : สร้างตอนท้ายของโครงการครับ


ถาม : เรามีวัตถุประสงค์อะไรในการสร้าง

ตอบ : เพื่อที่จะให้เรามีพื้นที่ในการซ้อมปัญจักสีลัตและเพื่อเป็นการเชิญชวนน้องๆ เด็ก ๆ ที่สนใจมาซ้อมปันจักสีลัตที่นั่นได้


ถาม : ปกติเราจะซ้อมแค่พวกเราหรือว่าดึงเด็กในชุมชนมาซ้อมด้วย

ตอบ : ปกติเวลาซ้อมจะซ้อมแต่พวกเรา


ถาม : เราสร้างพื้นที่สำหรับซ้อมคืออยากให้น้อง ๆ มาซ้อมด้วยใช่ไหม

ตอบ : ครับ


ถาม : เวลาทำกิจกรรมเรามีปัญหาภายในทีมบ้างไหมหรือว่าราบรื่นดี

ตอบ : แรก ๆ มีปัญหาเรื่องการนัดแล้วมาไม่ตรงเวลา ทำไมเราทำงานอยู่คนเดียว จริงๆ เพราะเรารับหน้าที่ทุกอย่าง คนอื่นถึงไม่ทำ


ถาม : เรามาเปลี่ยนความคิดพวกนี้เอาตอนไหน

ตอบ : ก็ยังคิดยู่บ้าง


ถาม : เรามีการเปิดใจคุยกับเพื่อนไหมว่าทำไมให้เราทำคนเดียว

ตอบ : เราปล่อยวางไปแล้วไม่ได้ติดใจอะไร


ถาม : เรารู้สึกว่าเป็นปัญหาในการทำงานของเราไหมที่ต้องรับผิดชอบ เพราะเราก็มีงานที่เราต้องทำอยู่แล้ว

ตอบ : มีนิดหน่อยเพราะกลัวทำไม่ทัน แต่บางงานเราก็แบ่งหน้าที่กันไม่ได้ทำคนเดียว


ถาม : มีช่วงที่เรารู้สึกว่าเราท้อไหม

ตอบ : ก็น่าจะมีอยู่บ้างเหมือนเราคิดว่าไม่ทำแล้ว ให้เราทำอยู่คนเดียว


ถาม : แล้วทำไมเราถึงตัดสินใจทำจนจบโครงการ

ตอบ : เราเริ่มทำโครงการมาแล้ว ต่อให้มีปัญหา เราก็อยากทำให้เสร็จสิ้น ไม่อยากปล่อยไว้กลางทาง


ถาม : คิดว่าชุมชนได้ประโยชน์อะไรจากการทำโครงการของเราไหม

ตอบ : ไม่ทราบเหมือนกันเพราะว่าคนในชุมชนเขาก็ไม่ได้มาสนใจอะไรเยอะแยะ


ถาม : แล้วคนที่สนใจส่วนใหญ่เป็นใคร

ตอบ : ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชนที่ทำงานและคนที่ดูในเฟส ในเพจ เขาแค่ดูแต่ว่าเขาไม่ได้มาซ้อมกับเราด้วย ก็แค่ดู


ถาม : ชาวบ้านให้ความร่วมมือไหม เพราะมีแค่ที่เดียวในจังหวัดสตูล

ตอบ : เขาทำงานของเขาที่ทำประจำมากกว่า ส่วนเราก็ซ้อมของเราไป


ถาม : สำหรับเราเองทำโครงการมาสองปี ในปีแรกที่เราทำโครงการตัวเองมีความเปลี่ยนแปลงอะไรไหม ในช่วงปีแรก

ตอบ : เมื่อก่อนผมเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกและเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบคบหาเพื่อน ไม่ค่อยอยู่กับเพื่อน แต่พอมาทำโครงการนี้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าคิด กล้าพูดมากขึ้น และได้อยู่กับเพื่อนมากขึ้น


ถาม : แล้วปีสองมีอะไรที่พัฒนายิ่งขึ้นไปอีกไหม

ตอบ : มีความกล้าพูดมากกว่าเดิม จากแรก ๆ มือสั่นเวลาถือไมค์ แต่ช่วงหลังไม่เป็นแล้ว


ถาม : ในวันงามหกรรมเรารับหน้าที่ทำอะไรไหม

ตอบ : มีทั้งออนไลน์และก็รวม ช่วงนั้นรับบทเป็นสันทนาการ เวลาพักเบรกนำเล่นเกม


ถาม : ตื่นแต้นไหมตอนเป็นสันทนาการ

ตอบ : ตื่นเต้นครับเพราะว่าผมไม่ได้เป็นคนที่สันทนาการเก่งเพอไปได้


ถาม : ถ้าเป็นในเรื่องของความสามารถของเรา เราคิดว่าตั้งแต่ปีหนึ่งจนปีสองเราคิดว่ามีความสามารถ อะไรบ้างที่รู้สึกพัฒนาได้ดีจากการทำโครงการนี้

ตอบ : รู้สึกว่าตัวเองมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความคิดพัฒนาในเรื่องของความคิดมากขึ้น


ถาม : จากก่อนหน้าเป็นอย่างไรที่เราบอกว่าเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

ตอบ : ก่อนหน้านี้เราเป็นคนที่ไม่ค่อยมาร่วมงานแบบนี้ ชอบอยู่คนเดียวมากกว่า


ถาม : เรื่องทักษะมีการพัฒนาขึ้นไหม หรืออย่างก่อนหน้าที่จะมาทำโครงการเราตัดต่อวิดีโอเป็นไหม

ตอบ : ก็มาทำเป็นตอนที่ทำโครงการนี้แหละครับ


ถาม : แล้วพอมาปีสองเป็นอย่างไรบ้างในการตัดต่อวิดีโอ

ตอบ : ตอนที่อยู่ปีสองก็ตัดได้ แต่ตอนนี้ความชอบมันหายไปเพราะว่าเราไม่ได้ทำนาน


ถาม : วาซิมคิดว่าในตัวเองมีอะไรบ้างที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดหลังจากการทำโครงการนี้

ตอบ : เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น


ถาม : มีความสามารถอะไรบ้างที่เราพึ่งมาค้นพบว่าเราเองก็มีความสามารถทางด้านนี้

ตอบ : น่าจะเป็นเรื่องการพูด พิธีกร เพราะว่าเคยเป็นพิธีกรช่วงนำเสนอ ตอนแรกคิดว่าจะทำไม่ได้ แต่มันก็ผ่านไปได้ด้วยดี


ถาม : เป็นเวทีประชุมโครงการหรือว่าเวทีอะไรที่เขาให้เราไปพูดตอนนั้น

ตอบ : นำเสนองาน


ถาม : เราบอกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือเรื่องของการพูด ถ้าให้เราลองให้คะแนนตัวเองเราคิดว่าก่อนที่เราจะทำโครงการเราให้กี่คะแนน แล้วพอทำเสร็จแล้ววาซิมให้คะแนนเรื่องของความกล้าแสดงออกของเรากี่คะแนน

ตอบ : ก่อนทำโครงการให้ 3 คะแนน พอทำโครงการจบเต็ม 5 ให้ 5


ถาม : ทำไมก่อนทำโครงการถึงให้ 3 คะแนน

ตอบ : ตอนนั้นเราไม่รู้ ไม่ได้กล้า ไม่มีความกล้าเยอะขนาดนี้ ไม่มีคนหนุนหลังด้วย ยังไม่มีคนที่ให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษา


ถาม : พอทำโครงการแล้วให้ 5 ทำไมถึงให้เต็ม 5 เลย

ตอบ : รู้สึกว่าตัวเราเองพัฒนามากขึ้นจากที่เราไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ประสบการณ์ทำให้มีความกล้า จากโอกาสที่ผู้ใหญ่หยิบยื่นให้


ถาม : แล้วได้เอาทักษะพวกนี้ไปพัฒนาใช้กับชีวิตประจำวันของเราบ้างไหมในการเรียนของเรา

ตอบ : มีครับ ที่โรงเรียนก็พูดบ่อยเหมือนกัน เวลามีงานนำเสนอ เวลามีงานโรงเรียนบางครั้งก็ได้พูดเหมือนกัน


ถาม : ก่อนหน้านี้เราได้เป็นตัวแทนพูดอะไรแบบนี้ไหมในโรงเรียน

ตอบ : มีเป็นตัวแทนพูด เพราะว่าที่โรงเรียนจะมีการทำวิจัยเหมือนกัน ได้เป็นตัวแทนพูดเกี่ยวกับการนำเสนองานวิจัย


ถาม : พอทำโครงการแล้วช่วยให้เราพูดดีกว่าเดิมไหม

ตอบ : ครับ ที่โรงเรียนมีงานวิจัยแต่ละชั้นห้องผมเป็นตัวแทนของชั้น ม. 2 ตอนนั้นอยู่ม.2


ถาม : อนาคตอยากเป็นอะไร

ตอบ : อนาคตยังไม่รู้ว่าอยากเป็นอะไร เพราะมีหลายอย่างเลย บางคนก็แนะนำเป็นครูแนะแนวไหมเพราะว่าเราให้คำแนะนำได้ดี บางคนก็บอกเป็นนักข่าว เพราะว่าเราชอบหาข่าวเก่ง


ถาม : จบโครงการแล้วถ้ามีปีที่สาม เราจะมาทำไหม

ตอบ : ปีที่สามคิดว่าน่าจะมาอยู่ร่วมกันกับแกนนำแต่ในชุมชนไม่แน่ใจว่าจะได้ทำอีกไหม เพราะว่าต่างคนต่างไปเรียนต่อกันเยอะแล้ว ไม่ค่อยมีคนสานต่อแล้ว


ถาม : มีอะไรไหมที่เราอยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่านี้

ตอบ : เรื่องการตอบคำถาม บางครั้งเรายังจับใจความการตอบคำถามไม่ได้เลยอยากจะพัฒนาเรื่องตรงนี้


ถาม : เห็นว่าเราต้องทำงานช่วยที่บ้านด้วยแล้วทำไมเราถึงสละเวลามาทำงานตรงนี้ด้วย

ตอบ : เราทำงานก็อยู่ในส่วนของการทำงานอยู่แล้ว ทำงานหาเงินปกติ แต่การทำโครงการเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำ เลยอยากมีความรู้ ทักษะในเรื่องนี้


ถาม : ปกติเราเป็นเด็กที่ขวนขวาย ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ แบบนี้อยู่แล้วไหม

ตอบ : ปกติเป็นเด็กที่ชอบอยู่คนเดียวมากกว่า อยู่เงียบ ๆ ไม่ค่อยขวนขวายแบบนี้


ถาม : แล้วจุดไหนที่เอาตัวเองออกมาทำงานชุมชน ทำงานอนุรักษ์ปันจักสีลัตแบบนี้

ตอบ : แรก ๆ มีคนชวนมาเป็นเพื่อน หลังจากนั้นได้เข้ามาในโครงการนี้เลย เราก็มองว่าเป็นสิ่งที่ดีเหมือนกันเพราะว่าทำให้เราออกจากจุดที่เราชอบอยู่คนเดียว ไม่ค่อยคบหากับใคร


ถาม : แล้วเราชอบตัวเองแบบนี้ไหม

ตอบ : ชอบ ตอนนี้เพราะว่าเรามีความกล้ามากขึ้น พัฒนาจากเดิมขึ้นเยอะ เราไม่อยู่คนเดียวแล้วนะ


ถาม : ความรู้สึกที่เรามีต่อเพื่อน ชุมชน ปันจักสีลัต เปลี่ยนไปไหมตั้งแต่เราทำงานมา

ตอบ : เรารู้จักกันมากขึ้น รู้จักมิตรภาพกันระหว่างการทำงาน สนิทกันมากกว่าเดิม