นันทกานต์ นันสาย : สัมภาษณ์เยาวชนเด่นโครงการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านสมุนไพรปกาเกอะญอ

เยาวชนเด่น โครงการสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านสมุนไพรปกาเกอะญอ

ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

ชื่อ นามสกุล นันทกานต์ นันสาย ชื่อเล่น กาน

อายุ 17 ปี โรงเรียนหัวช้างวิทยาคม อยู่ชั้น ม.5/1 สายวิทย์คณิต



ถาม : ให้กานแนะนำตัวนะ ชื่อนามสกุล ชื่อเช่น อายุ สถานะการเรียน โรงเรียนอะไร อยู่ชั้นอะไร

ชื่อ นางสาวนันทกานต์ นันสาย ชื่อเล่น กาน อายุ 17 โรงเรียนหัวช้างวิทยาคม อยู่ชั้น ม.5/1 สายวิทย์คณิตค่ะ


ถาม : หนูคิดว่าตัวเองเป็นคนที่บุคลิกนิสัยยังไง

ตอบ : คิดว่าตัวเองเป็นคนใจร้อน บางเวลาก็ใจเย็นมาก ชอบทำอะไรสวนกับคนอื่นตลอดเวลา เป็นคนค่อนข้างมีโลกส่วนตัว พูดไม่ค่อยรู้เรื่องและเรียบเรียงประโยคไม่ค่อยเป็น

ตอบ : เมื่อก่อนก็เป็น แต่ตอนนี้รู้สึกแต่ก็น้อยลงค่ะ


ถาม : โครงการของน้องกานนี้คือชื่อโครงการว่าอะไร

ตอบ : สืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้านปกาเกอะญอ ศึกษาเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน


ถาม : ก่อนหน้านี้หนูเคยทำกิจกรรมหรือเคยโครงการอะไรเกี่ยวกับงานชุมชนมาก่อนบ้างไหม

ตอบ : ไม่เคยค่ะ แต่ปีที่แล้วที่โครงการก่อนนี้รุ่นพี่ทำเรื่องย้อมสีฝ้ายธรรมชาติ หนูก็มีไปช่วยบ้างค่ะ

ตอบ : ถ้าเป็นโครงการ เป็นโครงการแรกค่ะ แต่ถ้าเป็นกิจกรรมมีไปทำความสะอาดวัดบ้างไปเก็บขยะหมู่บ้านบ้างค่ะ


ถาม : ถ้าเป็นการทำความสะอาดวัด เก็บขยะแบบนี้ใครเป็นคนเริ่มมาชวนเราไปทำ

ตอบ : ผู้ใหญ่บ้านก็จะประกาศ เราก็ชวนเพื่อนไปช่วยกันทำค่ะ


ถาม : แล้วเราจำเป็นต้องไปไหมถ้าเป็นงานของชุมชนของผู้ใหญ่บ้านที่ผู้ใหญ่บ้านเขาประกาศ

ตอบ : จริงๆ ก็จำเป็นทุกคนเพราะเป็นวัดของเรา ต้องไปช่วยกันไปทำค่ะ


ถาม : แต่เขาไม่ได้บังคับใช่ไหม

ตอบ : ไม่ได้บังคับ


ถาม : แล้วกานทำไมถึงไปคะ

ตอบ : แม่ให้ไปด้วยส่วนหนึ่ง แล้วเพื่อนชวนด้วย แล้วก็อยากไปเองด้วย แม่ไม่ได้บังคับค่ะ แม่บอกว่าถ้าบังคับแล้วจะไม่ได้บุญ ไม่อยากขัดคำแม่ค่ะก็ต้องไป


ถาม : คืองานพัฒนาชุมชนแบบนี้ ก็มีอยู่เรื่อยๆใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ มีอยู่เรื่อยๆ เวลาที่มีกิจกรรมหรือว่าวัดหญ้าเริ่มขึ้นหรือว่าใบไม้ร่วงเยอะ เพราะวัดเรามีพระอยู่องค์เดียวและไม่ได้มีเณรมีอะไรเยอะ


ถาม : ชวนกันไปกี่คน ทีมเราเวลาไปทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน

ตอบ : 3 คน


ถาม : เป็นเพื่อนสนิทกันเหรอ

ตอบ : ใช่ค่ะ ถ้าเราไปคนเดียวรู้สึกแปลกๆ เพราะตอนนั้นยังไม่ค่อยสนิทกับคนอายุที่ต่างกัน ไม่รู้จะคุยอะไรกับ ก็เลยต้องชวนเพื่อนไป


ถาม : แล้วพอไปแบบนั้นต่างคนต่างทำอะไรกันไป ไม่ยุ่งสุงสิงกันเหรอ

ตอบ : คุยกันแต่ก็ไม่ได้คุยกันมาก เพราะต้องรีบทำงานให้เสร็จมากกว่าค่ะ


ถาม : ต้องไปทั้งวันไหมคะ

ตอบ : ไม่ค่ะ เวลาเราไปกันเยอะๆ ครึ่งวันก็เสร็จค่ะ หลังจากนั้นก็เป็นของคนเฒ่า คนแก่จะไปสาน ไปเตรียมงานบุญ แต่พวกหนูก็จะไปถอนหญ้า กวาดใบไม้ เก็บขยะ อะไรพวกนั้นค่ะ


ถาม : กานเข้ามารู้จักโครงการเข้ามารู้จักพี่ทองได้ไง

ตอบ : รู้จักปูเป้ (จิณณพัต สุขหู) อยู่แล้วค่ะ อยู่บ้านใกล้พี่ลี้ (จิณณพัต สุขหู) ประธานโครงการด้วย


ถาม :รู้จัก ปูเป้ รู้จักพี่ลี่อยู่แล้ว เขามาชวนทำโครงการหรือว่าเราเห็นเขาทำ เราก็เลย น่าสนใจอยากทำด้วย

ตอบ : ปีที่แล้ว พี่เขาเห็นหนูว่าง ก็เลยชวนไปทำกิจกรรม กิจกรรมของปีที่แล้วได้มีโอกาสไปช่วยตอนจบงาน แล้วปีนี้มีกิจกรรมต่อ พี่ลี้และพี่หนึ่ง (ทันทิกา นันสาย) ก็จบออกไปเรียนข้างนอกไม่ได้กลับมาที่นี่อีก พี่ทองเลยมาชวนให้ไปทำโครงการนี้ด้วยกัน หนุก็เลยทำต่อจากปีที่แล้ว คิดว่ามันน่าสนใจ เพราะได้ออกไปเจอกับเพื่อนใหม่ๆ ไปทำอะไรใหม่ๆ หนูก็เลยตัดสินใจเข้ามาทำด้วยค่ะ


ถาม : ตอนที่หนูไปเป็นผู้ช่วยในโครงการแรกหนูไปช่วยอะไรบ้างคะ

ตอบ : ไปช่วยขั้นตอนต้มสี ย้อมสี ช่วยวาดรูปบ้างนิดหน่อย


ถาม : แล้วหนูเคยทำอะไรแบบนั้นมาก่อนไหม

ตอบ : ไม่เคยค่ะ ทำมากสุด คือทำงานกลุ่มที่โรงเรียนทำกับเพื่อน


ถาม : แล้วเคยเห็นคนอื่นทำมาก่อนไหม

ตอบ : เคยเห็นยาย ปั่นฝ้าย หนูอยู่ประถม แต่ตอนนี้เขาไม่ทำแล้ว

ตอบ : หนูก็ไปนั่งดูค่ะ หนูช่วยแค่เอาเม็ดฝ้ายออกเฉยๆ


ถาม :โครงการนี้เป็นความสนใจของพวกเราเลยไหมที่อยากทำขึ้นมา

ตอบ : โครงการนี้เป็นความสนใจของพวกเราเลยค่ะ ตอนแรกพี่ทองอยากให้สืบต่อจากปีที่แล้ว เขาย้อมสีและเอามาทอ แต่พวกหนูว่ามันยากเกินไป คิดดูว่ามีแบบอื่นไหมที่เราทำได้ สรุปออกมาเป็นสมุนไพรค่ะ หนูว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะว่าคนในหมู่บ้านคนเฒ่าคนแก่ส่วนใหญ่ต้มสมุนไพรดื่มกันอยู่แล้ว แต่เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยรู้จัก แต่จะรู้จักก็ตอนที่ตัวเองป่วย พ่อแม่เอามาให้ค่ะ


ถาม : ก็คือเราก็เห็นอยู่ว่าในชุมชนก็ยังมีการใช้สมุนไพรกันอยู่ใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ แต่มันก็มีน้อยลงจากเดิม จากที่ได้ไปถามคนที่เป็นผู้สูงอายุคนแก่มา


ถาม : แล้วพ่อแม่ของเรา หนูได้เห็นเขาใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันไหม

ตอบ : แม่หนูต้มดื่มตลอดเลยค่ะ เขาจะต้มดื่มทุกเช้าเลยค่ะ

ตอบ : รุ่นหนูยังเห็นอยู่ค่ะ แต่ถ้าหลังจากหนูไปแล้ว ไม่ค่อยเห็นไม่ค่อยสนใจแล้ว


ถาม : พี่อยากรู้เป็นค่าตัวเลขเหมือนที่เป็นรุ่นคนเฒ่าคนแก่ใช้ในชีวิตประจำวัน 100% รุ่นพ่อแม่หนูเหลือกี่ เปอร์เซ็นต์ รุ่นหนูกี่เปอร์เซ็นต์ รุ่นน้องเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าให้หนูลองวิเคราะห์ประเมินเอง

ตอบ : ถ้าเป็นรุ่นพ่อแม่หนูน่าจะประมาณ 60% ถ้าเป็นรุ่นหนูประมาณ 40% เพราะว่าส่วนใหญ่ก็ออกไปเรียนข้างนอก ไม่ค่อยมาเรียนทางด้านนี้กัน ถ้าเป็นรุ่นน้องจากหนูไปน่าจะสักประมาณ 20% ค่ะ เพราะว่าเด็กยิ่งไม่สนใจ แล้วยิ่งช่วงนี้มีอินเทอร์เน็ต เด็กๆ ก็จะเล่นเกมส์ เล่นยูทูป มากกว่าที่จะมาสนใจอะไรแบบนี้ค่ะ


ถาม : ในพื้นที่บ้านเราพอมีคนป่วยขึ้นมาเขาไปหาหมอกันที่ไหน

ตอบ : รุ่นพ่อแม่ก็ไปหาหมอที่โรงพยาบาลเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่แก่กว่านั้นลูกหลานก็จะพาไปโรงพยาบาลเหมือนกันแต่ก็จะต้มสมุนไพรหาหมอตำแย ควบคู่ด้วยค่ะ


ถาม : โรงพยาบาลอยู่ไกลไหมคะ

ตอบ : โรงพยาบาลไม่ไกลมาก ห่างจากโรงเรียนประมาณ 10-15 นาที


ถาม : ในโครงการนี้กานรับหน้าที่ทำอะไรบ้าง

ตอบ : หนูทำหน้าที่ฝ่ายสื่อแต่ก็มีไปช่วยพิมพ์ข้อมูลแล้วก็ช่วยดูเรื่องใบเสร็จรับเงิน

ตอบ : ฝ่ายสื่อ มีหน้าที่ไปเก็บรูป เก็บเสียงจากการสัมภาษณ์นักปราชญ์ในแต่ละครั้ง และถ่ายวิดีโอขั้นตอนการทำสมุนไพรที่นักปราชญ์สาธิต คัดวิดีโอ แล้วสรุปว่าเราไปทำอะไรมาบ้าง


ถาม : กานถ่ายใช้มือถือเหรอคะ

ตอบ : ใช่ค่ะ

ตอบ : หนูเสนอตัวไปเองค่ะ ว่าจะทำฝ่ายสื่อ


ถาม : เราสนใจอยู่แล้วหรือมีความสามารถทางด้านนี้อยู่แล้วรึเปล่า

ตอบ : หนูไม่เคยทำด้านสื่อมาก่อนเลย อยากลองอะไรใหม่ๆ ได้รู้จักกับแอฟนี้ใช้ยังไง ดูการถ่ายมุมกล้อง ได้เก็บเสียงว่าต้องเก็บเสียงยังไงมันถึงจะชัด ถ่ายวิดีโอยังไงให้ไม่ย้อนแสงหรือว่าถ่ายให้รูปออกมาสวยค่ะ


ถาม : อธิบายให้พี่ฟังหน่อยสิว่าที่บอกว่าต้องเก็บเสียงต้องเก็บยังไงให้ชัด ถ่ายยังไงไม่ให้ย้อนแสง มันมีเทคนิคอย่างไรบ้าง

ตอบ : เทคนิค คือ กล้องโทรศัพท์จะไม่ชัดเท่ากล้องดิจิตอล เราต้องเลือกมุม ปรับแสงตรงกล้องให้ไม่ย้อนแสงถ้าเป็นแสงตอนเช้า เราต้องย้อนแสงให้พระอาทิตย์ แสงมันจะได้เข้าทางด้านนักปราชญ์ ส่วนที่เก็บเสียงเราไม่ต้องใกล้กับนักปราชญ์มากและไม่ไกลกับนักปราชญ์เกินไป ถ้าใกล้มากเสียงนักปราชญ์จะทุ้มและถ้าไกลมากเสียงก็จะเบา เวลาเอาไปใส่วิดีโอทำให้ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ


ถาม : แล้วเรื่องพวกนี้หนูรู้เรื่องมาจากไหนคะ

ตอบ : เรียนรู้มาจากการลองทำค่ะ ลองฟังเสียง ค่อยๆ เรียนรู้จากการทำในแต่ละครั้ง


ถาม : ในการทำโครงการมีการอบรมการทำสื่อให้กับน้องด้วยไหมคะ

ตอบ : เคยมีค่ะ ตอนนั้นพี่ๆ มาสอน Photo Banner และถ่ายหนังสั้น ก็ได้ความรู้มาด้วย


ถาม : ตอนที่กานเล่ามาตอนแรก หนูก็ลองผิดลองถูกเอาเองใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ หนูแก้วิดีโอหลายรอบมาก พี่เขาบอกว่า “มันย้อนแสง เสียงตรงนี้เบาไป เสียงตรงนี้ลดลงอีกหน่อย” แก้ประมาณ 3 รอบ


ถาม : พี่ๆ คือใครบ้าง

ตอบ : พี่เทา พี่ยู พี่นิ่มนิ่ม แล้วก็ป้าๆ


ถาม : แล้วเวลาหนูทำงานออกมาแล้ว มีคนบอกให้ไปแก้อะไรแบบนี้หนูรู้สึกอย่างไรบ้าง รู้สึกไม่อยากทำไหม หรือว่าไม่พอใจรึเปล่า

ตอบ : ไม่ค่ะ หนูคิดว่าดีแล้วที่มีคนบอกว่าให้แก้ตรงไหน ถ้าเขาไม่บอก แล้วงานไม่สมบูรณ์ เอาไปให้คนอื่นดู เราจะรู้สึกว่าทำไมเขาไม่บอก ทำไมปล่อยให้เราส่งไปแบบนั้น จะรู้สึกเฟลมากกว่า


ถาม : แล้วตอนไปลองผิดลองถูก ทำใหม่แบบนี้ แล้วมีเพื่อนในทีมมาช่วยกันคิด มาช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาไหม

ตอบ : ตอนนั้นหนูก็ฟังว่าเขาให้หนูแก้ตรงไหน แล้วก็ให้เพื่อนมาถ่ายใหม่ ส่วนหนูก็เขียนบทให้ใหม่ ถ้าเกิดหนูทำไม่ได้ ตอนนั้นพี่ลี้ปิดเทอมพอดี หนูก็เลยให้พี่ลี้ช่วย เสียงตรงนี้ควรปรับอีกนะ ภาพตรงนี้ควรแก้ตรงไหน แล้วชื่อ ควรเอาไว้ตรงไหน


ถาม : ก็จังหวะลี้มาพอดี เลยมีคนให้คำปรึกษาใช่ไหมคะ

ตอบ : ใช่ค่ะ ถ้าเกิดไม่มีพี่ลี้ วิดีโอหนูคงจะก่ำกึ่ง เพราะหนูก็เร่งตัวเองส่วนหนึ่ง พี่ก็ช่วยเร่งอีกส่วนหนึ่ง ก็เลยทำให้งานออกมาเร็ว


ถาม : ตอนนั้นเป็นวิดีโอเกี่ยวกับอะไร

ตอบ : เราทำวิดีโอเกี่ยวกับอะไรมาบ้าง จุดเริ่มต้นที่เราทำโครงการนี้คืออะไร สมาชิกในโครงการมีใครบ้าง แล้วก็ขั้นตอนการดำเนินงานมีอะไรบ้าง หลังจากที่ทำเยาวชนแต่ละคนได้อะไรบ้าง พี่เลี้ยงได้อะไรบ้าง ได้อะไรจากการทำโครงการของเราบ้าง


ถาม : แล้วเรามีวิธีการนำเสนอแต่ละอย่าง แบบไหนบ้างให้มีคนมานั่งพูดหรือว่าทำยังไงบ้าง

ตอบ : ถ้าเป็นส่วนของจุดเริ่มต้นให้เพื่อนมาพูด ส่วนวิธีการดำเนินงานก็มีเสียงพูดมีรูปภาพตอนทำงานประกอบด้วยค่ะ


ถาม : อันนี้หนูเป็นคนคิดวางแผนเอง จะให้ออกมายังไงใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แล้วสุดท้าย เขาได้แก้กี่ครั้งนะ

ตอบ : คลิปแรก แก้ประมาณ 3 ครั้งค่ะ


ถาม : หนูทำกี่คลิปคะ

ตอบ : หนูทำประมาณ 3 หรือ 4 นี้แหละค่ะ หนูจำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ


ถาม : 3-4 คลิปนี้คนละเรื่องกันหมดเลยใช่หรือเปล่า

ตอบ : ก็ไม่เชิงว่าคนละเรื่อง มันก็มีบางจุดที่ยังมีเหมือนกัน บางจุดที่แนะนำตัว แนะนำว่าตัวเองทำอะไรบ้าง แล้วก็พูดถึงวิธีการดำเนินงานในโครงการ


ถาม : แล้วเราคิดว่าทำไมต้องนำเสนออกมาเป็นวิดีโอแบบนี้ด้วย

ตอบ : เพราะว่าวิดีโอเปิดใช้ได้หลายงาน ไม่ต้องมาพูดซ้ำๆ เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงโควิด เขาไม่ค่อยสะดวกมาตัดวิดีโอให้ เพื่อให้เขาเห็นว่ากิจกรรมมีการเคลื่อนไหวเรื่อยๆ ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว เหมือนรายงานการเคลื่อนไหวของโครงการว่าไปถึงไหนแล้ว แล้วเยาวชนได้อะไรบ้าง


ถาม : เราทำวิดีโอมาแล้ว เราเอาไปเผยแพร่ที่ไหนบ้างแล้วคะ

ตอบ : ตอนนี้ยังไม่ได้เผยแพร่ค่ะ ส่งให้พี่เขาก่อน ผู้ใหญ่ได้ดูแล้ว ถ้ามีโอกาสก็จะอัพลงยูทูป ช่วยให้คนที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ ให้เขาได้เห็นว่าหมู่บ้านเรามีอะไร ถ้าเกิดสนใจแล้วให้เข้ามาดู ที่หมู่บ้านเราในอนาคตอาจเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสมุนไพรค่ะ และคนหมู่บ้านก็จะมีรายได้ในส่วนนี้ค่ะ


ถาม : เรื่องตัดต่อนี่คะ หนูเรียนรู้ยังไง เพราะการตัดต่อพี่ก็ว่ามันยาก มันจะยังไง เราก็ไม่ได้มีอุปกรณ์อะไรจริงจัง

ตอบ : ตัดต่อตอนนั้นหนูใช้ Vegas ตอนแรกหนูดูการตัดต่อในยูทูปมาก่อน วิธีใช้เบื้องต้นว่าเป็นยังไง แล้วลองใช้ เพื่อนหนูคนหนึ่งเขาเคยใช้โปรแกรมนี้ ให้เขาช่วยแนะนำค่ะ


ถาม : ยากไหมตัดต่อ

ตอบ : ยากมากค่ะ ตอนแรกหนูเล่นไม่เป็น และกำลังตัดต่อ แถบเครื่องมือหลุดออกมา วิดีโอบางจุดหายไป ปรากฏว่าหนูไปลบข้อมูลของวิดีโอ ดีนะพี่ลี้อยู่ ถ้าพี่ลี้ไม่อยู่หนูต้องได้ตัดต่อใหม่ทั้งหมดเลย


ถาม : แล้วหนูได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกันบ้างจ๊ะ

ตอบ : อย่าเพิ่งลบข้อมูล ถ้ายังไม่ได้ส่งงาน ควรรอบคอบมากกว่านี้ เรียนรู้ให้เข้าใจก่อนที่จะทำค่ะ


ถาม : ได้เรียนรู้ด้วยไหมว่าระหว่างทางต้อง save เรื่อยๆ

ตอบ : ใช่ค่ะต้อง save เรื่อยๆ


ถาม : เรื่องตัดต่อมีส่วนไหนอีกไหมที่หนูว่ายาก

ตอบ : ก็ตรงที่ใส่เสียงค่ะ เพราะว่า Vegas มันมีช่องใส่เสียงเยอะมาก ช่อง 1 ช่อง 2 ช่อง 3 เราต้องเอาใส่ให้ถูก แล้วก็มีบางทีหนูเคยเจอแบบเสียง 1 กับ เสียง 2 มันกลืนกันไปเลย หาเสียง 1 ไม่เจอว่ามันอยู่ตรงไหน พอเปิดวิดีโอมาเสียง 1 แล้วเสียง 2 มาแทรกกันพูดพร้อมๆ กันเพราะเสียงมันซ้อนกัน ต้องมาแก้ใหม่ หนูว่าตรงเสียงยากที่สุด


ถาม : แล้วเสียง 1 เสียง 2 ช่องมันจะอยู่กันคนช่องคนละแทบใช่ไหมมันต่างกันอย่างไร

ตอบ : เสียง 1 คือเสียงเราพูด เสียงที่ 2 คือเสียงดนตรี เสียงที่ 3 คือเอฟเฟค


ถาม : ก็ทำละเอียดเหมือนกันนะ ไม่ใช่เสียงอย่างเดียวมีเสียงซาว เสียงเอฟเฟค

ตอบ : Vegas ทำได้ทุกอย่างค่ะ


ถาม : วิดีโอที่กานบอกพี่ที่ทำยาวๆ เลยทำกี่นาที

ตอบ : ถ้าจำไม่ผิดน่าจะประมาณ 7-8 นาที


ถาม : ในส่วนของวิดีโอมีความยากอย่างไรบ้าง

ตอบ : ยากตรงที่ถ่ายวิดีโอ เราต้องถ่ายไม่ให้มือเราสั่น ไม่ย้อนแสง แล้วก็เสียงมันออกมาโอเค ไม่มีเสียงอื่นแทรก ให้ได้แค่เสียงที่เราต้องการค่ะ แล้วก็ตรงเล่นโปรแกรมอีกอันหนึ่ง ที่หนูว่ายากแถบเครื่องมือมันเยอะมาก เราก็ต้องค่อยๆ ดูไปทีละแถบ ว่าแถบนี้ไว้ทำอะไร เพราะมันเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย หนูไม่ค่อยคล่องภาษาอังกฤษ

ตอบ : หยิบย่อยเยอะมาก แต่หนูว่าการเงินก็สุดยอดเหมือนกันรองลงมาจากวิดีโอเลย


ถาม : เดียวไปถามเรื่องการเงินบ้าง แต่เอาอันนี้ให้จบก่อน ก็คือถ่ายวิดีโอก็ต้องถ่าย ตัดต่อก็ต้องตัดต่อ เวลาไปสัมภาษณ์ผู้รู้เราก็ต้องบันทึกเสียงอะไรแบบนี้ด้วยใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ ถ้าถ่ายรูปนี้ก็มีเพื่อนช่วยถ่าย


ถาม : แล้วพวกเสียงที่เราบันทึกมาเราเอามาลงทำอะไรคะ

ตอบ : เอามาใส่ในวิดีโอค่ะ แล้วก็บางส่วนก็เอามาจด บางทีเขาจะพูดเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพร เราก็เอามาจด แล้วเราก็เอาไปเป็นคู่มือสมุนไพรด้วยค่ะ


ถาม : ตอนที่ไปถามผู้รู้หนู พอจะจำได้ไหมว่าหนูถามข้อมูลอะไรมาบ้าง

ตอบ : ถามว่าสมุนไพรอะไรบ้างที่ยังอยู่ อะไรบ้างที่เริ่มหายไปแล้ว แล้วสมุนไพรมีชื่อว่าอะไร แล้วก็วิธีการใช้เป็นอย่างไร


ถาม : เวลาไปนี้ไปกันทั้งทีมเลยใช่ไหมคะ

ตอบ : ไปกัน 3 คนค่ะ


ถาม : 3 คนมีใครบ้างคะ

ตอบ : มีหนู ปูเป้ เบญ แล้วก็ทำกันคนละอย่าง ถามผู้รู้ 1คน เก็บรูป 1 คน แล้วก็บันทึกข้อมูลอีก 1 คน


ถาม : ก็คือมีการแบ่งงานกันไปเรียบร้อย

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : มาพูดเรื่องการเงินกันบ้างที่หนูบอกว่ามันยากไม่แพ้กัน มันยากยังไง

ตอบ : เราต้องกรอกตัวเลขให้ตรงกับที่ประธานโครงการได้วางแผนไว้แล้วตั้งแต่แรก หนูไม่ค่อยเข้าใจตรงนั้น


ถาม : แล้วเป็นไงมาไงหนูถึงได้มารับหน้าที่เป็นคนทำรายละเอียดบัญชีอันนี้ด้วย

ตอบ : พี่เขาติดเรียนพอดี เลยต้องเอาบัญชีโครงการมาช่วยกันทำแทน


ถาม : คือในโครงการครั้งที่ 2 นี้ มีแกนนำจริงๆ กี่คนคะ

ตอบ : มี 5 คนค่ะ พออยู่อุดมศึกษาแล้วเขาก็ไม่ค่อยว่างให้เราเท่าไหร่ค่ะ


ถาม : แล้วก็จะมีในรุ่นราวคราวเดียวกับเราไปกันได้มี 3 คนใช่ไหมคะ

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : แต่หนูว่าการทำบัญชีที่ได้ลองทำมานี้ หนูว่ามันมีประโยชน์กับชีวิตจริงบ้างไหม

ตอบ : ก็คือได้ฝึกใช้ Excel ค่ะ คือเรื่องเงิน หนูไม่ค่อยได้ใช้ เพราะส่วนใหญ่ใช้ Power point มันทำให้หนูได้เปิดโลกทัศน์ แล้วทำให้เรารู้เลยว่า Excel เขาใช้กันอย่างไร


ถาม : ยากไหม Excel นี้

ตอบ : ถ้าเกิดเราเข้าใจมันก็ไม่ยาก หนูไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะมันเป็นแบบครั้งแรกที่ได้ลองทำ แต่ก็พอไปได้ค่ะ


ถาม : แต่ก็ทำออกมาได้ถูก ได้ครบใช่ไหม สุดท้ายแล้วตัวเลขก็ลงตัว

ตอบ : ใช่ค่ะ ค่อนข้างลงตัว พี่บอกว่าเราทำเท่าที่เราได้มาก่อน ค่อยเดียวจะปรับแก้ให้เราเอง


ถาม : ที่กานบอกว่าที่ต้องใส่ตัวเลขอะไรมันไม่ค่อยลงตัว มันขาดหายไปส่วนไหน

ตอบ : หนูใส่เลขผิด ตัวเลขมันเยอะ งง มากค่ะ

ตอบ : หนูเชื่อว่าถ้าอยู่ด้วยกันนานกว่านี้หนูก็คงโปรไปแล้ว


ถาม : ก็ต้องทำโครงการอีกไง

ตอบ : ถ้าไม่ยุ่งมากหนูก็จะทำ เพราะปีนี้ปีสุดท้ายด้วย แล้วต้องเรียนสายวิทย์คณิตด้วย แล้วหนูมีกลัวๆ ว่าถ้าทำโครงการมันจะติดอะไรหรือเปล่า กลัวไม่มีเวลา


ถาม : แต่ช่วงปีที่ผ่านมา มันก็ไม่ได้กระทบอะไรกับการเรียนใช่ไหม

ตอบ : ไม่ได้กระทบค่ะ หนูเร่งทำให้จบตอนปิดเทอมเลย พอเปิดเทอมหนูก็จะได้ไม่พะวงหน้าพะวงหลัง


ถาม : เพื่อนที่อยู่ในที่เดียวกันก็คือในทีมที่เป็นรุ่นน้อง 3 คน ก็คือ เรียนอยู่รุ่นเดียวกันไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ รุ่นเดียวกันค่ะ มีเพื่อนชื่อเบญ อยู่ชั้นเดียวกับหนูแต่คนละห้อง และก็ปูเป้ เป็นรุ่นพี่


ถาม : ตอนแรกเลยที่หนูอาสาอยากทำหน้าที่สื่ออันนี้ไม่เคยทำมาก่อน หนูไม่กลัวเหรอว่าจะทำไม่ได้เพราะว่ามันไม่เคยทำเลย

ตอบ : ไม่นะคะ ครั้งแรก ใครๆ ก็ผิดกันได้ แต่ถ้าเรามีเวลาก็ตั้งใจกับมันมากพอ มันอาจจะผิดบ้างแต่สิ่งที่จะได้มามันเป็นประสบการณ์การที่เราได้ทำอะไรใหม่ ๆ หนูว่ามันดีที่ได้ลองทำ


ถาม : แล้วอีก 4 คนในทีมมีหน้าที่อะไรบ้างคะ

ตอบ : เบญ อยู่ฝ่ายข้อมูลค่ะ ปูเป้เป็นเลขาค่ะ พี่ปานเป็นบัญชี พี่อนูเป็นประธาน


ถาม : พี่ที่เป็นบัญชี พี่อะไรนะคะ

ตอบ : พี่ปาน


ถาม : พี่ปานคนนี้ใช่ไหมที่บอกว่ามาให้หนูช่วยอีกทีหนึ่งที่ทำบัญชีการเงิน

ตอบ : เขาก็ไม่ได้ขอ แต่พวกหนูคิดว่าเขาไม่น่าจะมีเวลาว่างมาทำให้พวกหนูได้ เพราะพี่เขาเรียนเชียงใหม่


ถาม : แล้วมีอะไรอีกไหมที่เราได้จากการทำโครงการนี้แล้วทำให้เราคิดว่าไม่เคยทำมาก่อน

ตอบ : ได้ลดความมีโลกส่วนตัวสูงลงมา เข้ากับคนอื่นได้มาก ใจเขาใจเรา ถ้าไม่สนิทก็จะทำงานกับหนูไม่ค่อยได้ หนูเป็นคนค่อนข้างเป๊ะตรงต่อเวลา งานต้องเรียบร้อยและเสร็จก่อนกำหนด 1-2 วัน เผื่อมีข้อมูลตรงไหนที่ต้องแก้ไข


ถาม : มันเป็นนิสัยส่วนตัวของหนูอยู่แล้ว ที่ชอบทำอะไรเป๊ะๆ?

ตอบ : ใช่ค่ะ หนูชอบอะไรที่มันชัดเจนค่ะ ถ้าใกล้วันส่ง จะต้องได้มาแล้ว 80% และต้องเรียบร้อย ค่อนข้างเป๊ะ แล้วก็เคร่งเรื่องเวลา ถ้าสายมานิดหน่อยหนูก็จะเริ่มหัวร้อน แล้วเรื่องนี้ก็ฝึกให้ตัวเองเย็นลงเข้าใจคนอื่นมากขึ้น


ถาม : เวลาทำให้ตัวเองใจเย็นลงหนูทำอย่างไรคะ

ตอบ : นั่งนิ่งๆ ค่ะ ไม่พูดกับใครเลย ถ้าเกิดมันโอเคมันจะกลับมาเอ ถ้ายิ่งพูดจะยิ่งเหมือนสุมไฟให้มันร้อน


ถาม : แล้วปกติตัวกานวางแผนอะไรก่อนทำไหม

ตอบ : เวลาทำงานจะวางแผนคร่าวๆ แต่ไม่ได้คิดว่าต้องตามแผนเป๊ะๆ เพราะบางทีเราต้องยืดหยุ่นบ้าง เพื่อที่จะเพิ่มเติมและลดลง ให้เหมาะสมกับเวลาและให้ทันกำหนดส่ง


ถาม : แล้วทำได้อย่างที่คาดหวังไว้ไหม

ตอบ : ก็ค่อนข้างทำได้ค่ะ แต่ติดตรงวิดีโอนิดหน่อย หนูว่ารีบทำด้วยล่ะค่ะ ก็เลยอาจมีบางส่วนที่หนูทำตกหล่นไป ตรงส่วนของข้อมูลหนูว่ามันมีเวลาน้อยไป


ถาม : ถ้าเกิดว่ามีเวลาเพิ่มขึ้นแก้ได้ อยากจะเพิ่มเติมส่วนไหนลงไปในงาน

ตอบ : เพิ่มลูกเล่นในวิดีโอ แล้วก็ปรับแสงเล่นฟิวเตอร์ในแอฟค่ะ หนูถ่ายวิดีโอตัดส่งเสร็จแล้ว เพื่อนหนูบอกในแอฟมีฟิวเตอร์เยอะมากและมีลูกเล่นเยอะ ถ้าเกิดเราเอาไปใส่ในวิดีโอจะดีมากเลยค่ะ


ถาม : ถ้ามีเวลามากขึ้นหนูก็จะมีเวลาทำดีมากขึ้นใช่ไหมคะ

ตอบ : ใช่ค่ะ ตรงนั้นมันก็ดีแต่มันจะดีได้มากกว่านี้


ถาม : แล้วถ้าภาพรวมของโครงการเราทั้งหมดเลย ในบทบาทหน้าที่ของกานก็คือเรื่องทำสื่อแต่ว่าในทั้งหมดที่เราร่วมกันทำงานกับเพื่อนในโครงการนี้มีปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้เราหนักใจบ้างไหมคะ

ตอบ : อาจจะมีตรงที่ถ่ายวิดีโอนี้แหละค่ะ พี่เขาไม่ค่อยมีเวลา เราต้องใส่วิดีโอ เขาต้องอัดให้ด้วย เราก็ต้องทำใจขอเวลารบกวนช่วยถ่ายวิดีโอนี้ให้หน่อยค่ะ


ถาม : พี่ที่พูดถึงนี้หมายถึงใครเหรอคะ

ตอบ : พี่ทั้งสองคนค่ะ เพราะเขาไม่ค่อยมีเวลา พี่ปานก็ไปเรื่องเรียน พี่องุ่นเรียนจบเกษตรมา เขาก็ไปช่วยพ่อทำเกษตรมากกว่า มันจะเป็นช่วงปลูกข้าว เขาก็ไม่ค่อยวางเท่าไหร่ค่ะ


ถาม : แล้วงานส่วนอื่นๆ ที่พวกหนูต้องเริ่มต้นวางแผนงานกันใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ ก็มีการวางแผนกันว่ากิจกรรมที่ 1 และ 2 ทำอะไร อยากให้น้องๆ ในหมู่บ้านมาสักกี่คน และไปบ้านนักปราชญ์คนไหนบ้าง


ถาม : ส่วนนี้หนูรู้สึกว่าไม่ยากอะไร หนูทำได้สบาย

ตอบ : ใช่ค่ะ เพราะว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงค่ะ ผู้ชายไม่ค่อยมาเท่าไหร่ และน้องๆ ยังขาดความร่วมมือ


ถาม : มีน้องๆ มากันกี่คนคะ ได้ตรงตามเป้าหมายไหม

ตอบ : ประมาณ 5-10 คนก็เกินครึ่งค่ะ


ถาม : แล้วตอนที่หนูไปคุยกับผู้รู้คิดว่ามันยากไหม ต้องไปถามข้อมูลเคยทำมาก่อนรึเปล่า

ตอบ : ไม่เคยค่ะ มันยากตรงที่เดียวก็คือผู้รู้บอกชื่อที่เป็นภาษาของหนูเอง แล้วเขาก็จะไม่รู้ภาษาเมืองกับภาษาไทย หนูก็ไม่รู้เหมือนกันว่าภาษาไทยมันชื่อว่าอะไร หนูก็ต้องจดที่เป็นภาษาของหนู แล้วก็เอามาถามพี่เลี้ยงอีกทีว่ามันเรียกว่าอะไร


ถาม : เราก็ได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาบ้านเราเพิ่มขึ้นด้วยใช่ไหม คำที่เราไม่เคยรู้แบบนี้

ตอบ : ใช่ค่ะ แล้วเราได้รู้สึกสนิทกับนักปราชญ์ในหมู่บ้านมากขึ้น เพราะปกติเดินเจอกันก็ยิ้มให้กันบ้าง แต่พอได้ไปบ้านเขาบ่อยๆ ก็จะเริ่มสนิทกันมากขึ้น


ถาม : ผู้รู้ที่เราไปเก็บข้อมูลมีทั้งหมดกี่คนคะ

ตอบ : 8 คนค่ะ แต่ที่หนูจำชื่อได้ดีคือ อาจารย์โน อาจารย์เบียร์ และก็ป้าสุก ค่อนข้างคุยได้เยอะหน่อย


ถาม : แล้วเราได้เรียนรู้ได้ข้อมูลจากที่สอบถามบ้างคะ

ตอบ : เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร คนสมัยก่อนมีค่านิยมอย่างไร แล้วได้รู้ชื่อสมุนไพรเพิ่ม จากที่เราเห็นตามถนน คิดว่ามันคือหญ้าธรรมดา แต่ไม่ใช่หญ้าจริง ๆ แล้วเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง


ถาม : กานพอจะยกตัวเองให้พี่ได้ไหม ถ้าเอาสมุนไพรที่เราคิดว่าเด็ดๆ เลยในชุมชนเรา มีอะไรบ้างมีสรรพคุณยังไงมีวิธีใช้อย่างไร

ตอบ : สมุนไพรเย็น ยาแก้ เป็นยาที่หนูเคยเห็นตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้ วิงเวียน ปวดท้อง เป็นวิธีแก้ ถ้ากินก็จะช่วยให้หายเร็วขึ้น แต่ว่าเราต้องอ้วกออกก่อน ยาแก้เด็ดที่สุดแล้วในหมู่บ้านนี้


ถาม : ยาแก้เลยใช่ไหม ชื่อที่เค้าเรียกกัน และทำมาจากอะไร

ตอบ : หนูจำชื่อมันไม่ได้ค่ะมันมีหลายอย่างมาก ประมาณ 5-6 อัน แต่เขาจะเรียกว่า “ยาแก้”


ถาม : มีอันอื่นอีกไหมถ้าเป็นตัวเดี่ยวๆ เพราะยาแก้มันก็รวมๆ กันเพราะมันเอาหลายๆ อย่างมารวมกัน

ตอบ : “ลำเย็น”


ถาม : อันนี้เป็นยังไง

ตอบ : ลำเย็น สีจะออกสีส้มๆ น้ำมีรสชาติหวานๆ ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี ถ้าคนที่รู้จักเขาจะต้มดื่มทุกเช้า


ถาม : มีอีกสักอย่างไหม

ตอบ : ถ้าเป็นของเด็กมีนางปะเป หนูไม่รู้ว่าภาษาไทยเค้าเรียกชื่อว่าอะไรแต่บ้านหนูเค้าเรียกว่า “นางปะเป” จมูกข้าวมี 3-4 อย่าง เอามาตำและนำไปโพกบนกระหม่อมของเด็ก จะช่วยให้เด็กมีความคุ้มกันที่ดีขึ้น กระหม่อมก็จะหนาขึ้น


ถาม : แล้วเราเห็นเขาทำแบบนี้มาก่อนไหม

ตอบ : เห็นค่ะ ตอนนี้ก็ยังเห็นอยู่


ถาม : กานเคยทำไหมตอนเด็กๆ

ตอบ : ตอนเด็กๆ หนูก็เคยเห็นเขาทำ พอมาได้ทำโครงการนี้ไปลองตำดู


ถาม : พื้นที่เราทำมา 2 โครงการแล้ว โครงการแรกเราก็ไปมีส่วนร่วม เหมือนไปเป็นผู้ช่วย แล้วโครงการนี้เราก็ทำเต็มตัวเลย เห็นเสียงตอบรับจากชุมชนเป็นอย่างไรบ้างคะ

ตอบ : เสียงตอบรับจากชุมชน นักปราชญ์บอกว่าถ้าเขาไม่อยู่ ดีแล้วที่พวกหนูมาสืบสานต่อ มันจะได้อยู่กับหมู่บ้านของเรานานๆ เพราะถ้าเกิดเขาไม่อยู่ก็ไม่มีใครสืบทอดต่อ ที่เป็นคำภีร์เขาเก็บไว้มันก็จะเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ไม่มีใครแปลออก และไม่มีใครรู้เชื่อสมุนไพรที่เขาสืบทอดมา


ถาม : แล้วเราคิดว่าชุมชนได้อะไรจากที่เราทำ

ตอบ : หนูคิดว่าได้มีเยาวชนรู้เพิ่มอีกว่าหมู่บ้านของเรามีอะไรดี แล้วก็มีเยาวชนสืบทอดเรื่องภูมิปัญญาสมุนไพร


ถาม :ความรู้สมุนไพรพวกนี้เป็นเรื่องใหม่ด้วยเหมือนกันใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ เป็นเรื่องใหม่ เพราะตอนแรกหนูไม่รู้ว่าช่วงแรกเขาใช้ยังไง


ถาม : แล้วหนูคิดว่าหนูจะเอาไปใช้ต่อยังไงในอนาคต

ตอบ : ในอนาคตหนูอยากเอาไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์แล้วก็หารายได้เข้าชุมชนค่ะ ให้คนในหมู่บ้านคนสูงอายุ ได้มาร่วมทำกิจกรรมร่วมกันและเป็นรายได้ของเขาด้วย


ถาม : กานอยากจะทำผลิตภัณฑ์อะไร

ตอบ : สเปรย์นวดค่ะ เพราะคนในหมู่บ้านไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ รวมถึงตัวหนูเองด้วยชอบปวดหลังปวดเท้าปวดขาปวดแขน


ถาม : สเปรย์นวดทำมาจากอะไรคะ

ตอบ : น่าจะเป็นสมุนไพรในหมู่บ้านนี้แหละค่ะ หนูจำชื่อไม่ได้จริงๆ ค่ะ


ถาม : น้องกานมีไลน์ไหม

ตอบ : มีค่ะ


ถาม : เดียวพี่ขอไลน์กานไว้ พวกชื่อสมุนไพรเราบันทึกเป็นภาษาปกาเกอะญอใช่ไหมพี่อาจจะให้หนูพิมพ์มาให้หน่อย

ตอบ : ชื่อที่เป็นภาษปกาเกอะญอมันอยู่ในโน้ตบุ๊กค่ะ ถ้าพี่จะเอาอันไหนพี่ก็ไลน์มาถามหนูเดียวหนูไปเอามาให้ได้ไหมค่ะ


ถาม : ได้ ไลน์หนูเป็นชื่ออะไร เป็นเบอร์โทรหรือว่าอย่างไร

ตอบ : ไอดี เป็นเบอร์โทรค่ะ


ถาม : บอกเบอร์โทรให้พี่ที

ตอบ : 085-712-8242


ถาม : สุดท้ายแล้วเราก็ทำออกมาเป็นคู่มือใช่ไหมคะ

ตอบ : ใช่ค่ะ เป็นคู่มือไว้ให้คนรุ่นหลัง รู้ว่าในหมู่บ้านของพวกเขามีสมุนไพรอะไรบ้าง แล้วถ้าคนนอกเขามีความสนใจก็ได้เข้ามาอ่านได้


ถาม : แล้วคู่มือเราเอาไปไว้ที่ไหน เราทำออกมากี่เล่ม

ตอบ : คู่มือตอนนี้หนูทำออกมาแค่เล่มเดียวเองค่ะ


ถาม : ในแผนงานของเรามีคืนความรู้ให้ชุมชนแบบนี้ด้วยไหม

ตอบ : มีค่ะ แต่ช่วงนั้นโควิดไม่อนุญาตให้รวมตัวกัน พวกเราคิดว่าไปประกาศตามสายว่าพวกเราทำอะไร ถ้าเกิดใครสงสัยก็สามารถถามได้


ถาม : พี่เห็นในรายงาน ว่าจริงๆ เราวางแผนจะทำคู่มือแล้วก็คืนข้อมูลแล้วก็จบ แต่พอมีโควิดเราก็ไปทำกิจกรรมอื่นเพิ่มเติมด้วยใช่ไหม เหมือนแจกหน้ากากอะไรแบบนี้ อันนี้มาได้อย่างไร

ตอบ : พี่ทองบอกว่าไหนๆ เราก็ทำโครงการ เขาก็ขอเพิ่มให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้านด้วย ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก ส่วนใหญ่อยู่บ้าน แล้วลูกหลานเขาส่วนใหญ่ออกไปทำงานข้างนอก ไม่ได้กลับมาในหมู่บ้านในช่วงโควิดนี้ด้วยค่ะ ก็เลยเอาไปแจก


ถาม : ออกไปข้างนอกไปทำกันกี่วัน

ตอบ : แจกหน้ากากวันหนึ่ง แล้วก็ไปแจกของอีก 2 วัน ค่ะ


ถาม : เราเอาหน้ากาก และของมาจากไหนคะ

ตอบ : ไปซื้อเอาที่ร้านค่ะ


ถาม : หนูอยากให้ใครเข้ามาสนับสนุนหรือให้ความรู้อะไรเพิ่มเติมอีกไหม เกี่ยวกับเรื่องอะไรอีกบ้าง

ตอบ : อยากให้คนมาให้ความรู้ สมมุติว่าอยากทำผลิตภัณฑ์เราจะเริ่มทำจากอะไรบ้าง


ถาม : ได้ทำโครงการนี้ มันกระตุ้นให้เราเห็นว่าเราอยากทำอะไรสำหรับตัวเองในอนาคตไหม

ตอบ : ในอนาคตหลังจากทำโครงการ หนูค่อนข้างมีพลังงานในตัวเอง ถ้าไม่ได้ทำอะไรเลย แต่คนอื่นเขาทำ ทำให้รู้สึกแย่ “ทำไมเราไม่ไปช่วยเขา รู้สึกทำงานไม่ค่อยเต็มที่” หนูชอบทำกิจกรรมมากๆ ถ้าได้ทำหนูก็จะทำได้เต็มที่ พอหลังจากทำกิจกรรมนี้แล้วหนูรู้สึกว่าอยากเรียนเภสัช หรือไม่ก็ไปทางวิศวกร หนูรู้สึกว่า 2 อันนี้ หนูทำได้ และเป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วยค่ะ


ถาม : แล้วก่อนหน้าที่จะมาทำโครงการ ความฝันเรื่องอาชีพหนูเหมือนหรือต่างจากตอนนี้ไหม

ตอบ : ต่างค่ะ ก่อนหน้านี้หนูอยากเป็นทูต


ถาม : เพราะอะไรคะ

ตอบ : เพราะตอนนั้นหนูสนใจภาษาต่างประเทศ แล้วหนูก็ไปดูอาชีพที่ใช้ภาษาต่างประเทศ แล้วก็เป็นข้าราชการด้วย


ถาม : แล้วตอนนี้เอนเอียงไปทางไหนมากกว่ากัน

ตอบ : เอนเอียงไปทางวิศวะมากกว่า หนูชอบอะไรที่มันได้ลงมือทำแล้วเห็นเป็นชิ้นเป็นอันมากกว่า


ถาม : มีความสามารถอะไรที่ทำโครงการนี้แล้วเราได้ค้นพบว่าเราไม่เคยรู้มากก่อน แล้วเราก็ทำอย่างนี้ได้เหมือนกันนะ

ตอบ : เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ การทำสื่ออเพราะปกติไม่ค่อยได้ใช้ เมีเพื่อนที่ทำเป็นแล้ว เขาเป็นคนทำ ส่วนเราแค่รวบรวมข้อมูลมากกว่าที่จะทำสื่อเองค่ะ


ถาม : แล้วพวกทักษะที่ได้จากการทำงานโครงการมันเอาไปใช้ในการเรียนหรือว่าใช้ในชีวิตประจำวันได้บ้างไหม

ตอบ : ได้นะคะ


ถาม : มีอะไรบ้างคะ

ตอบ : ตัดต่อวิดีโอ แล้วโรงเรียนหนูรับโครงการมาใหม่ โครงการของสภาเด็กและเยาวชนที่ทุกปีจะได้ทำคือโครงการกล้าดิน แล้วโครงการกล้าดิน เขาต้องการคนที่ถ่ายรูปเป็น 2 คน และใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอเป็น หนูเคยทำการตัดต่อ เขาต้องการตัวไปช่วยในโครงการตรงนี้ สุดท้ายก็ได้ทำกิจกรรมตามที่เราอยากทำ


ถาม : แล้วทักษะพวกการบันทึก เก็บรวบรวมข้อมูลพอจะเอาไปเป็นประโยชน์ในการเรียนไหม

ตอบ :ทักษะที่ได้จากโครงการช่วยเรื่องการจดบันทึกความรู้จากที่ครูสอนในแต่ละครั้ง เราฟังแล้วเอามาเรียบเรียงใหม่ทำให้เราเข้าใจเนื้อหานี้มากขึ้น แล้วใช้อ่านเวลาสอบ พอเวลาใกล้สอบเราจะได้ไม่ต้องเครียดมาก


ถาม : ส่วนตัวของกานเ อยากพัฒนาตัวเองหรือเรียนรู้เพิ่มเติมอะไรอีกไหมคะ

ตอบ : เรื่องเป็นการจัดการความคิดเรียบเรียงคำพูดแล้วก็ส่วนของการเข้าสังคมที่อยากจะพัฒนา


ถาม : การจัดการความคิดอย่างไร

ตอบ : บางทีเราทำงานกับเพื่อน แล้วเพื่อนทำงานไม่ได้ตามที่เราต้องการ เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ สอนแล้วก็นึกถึงใจเขาใจเรา ถ้าเราใช้คำพูดที่ไม่ดีจะเสียความรู้สึกเปล่าๆ


ถาม : แสดงว่ามันก็เคยเกิดขึ้นระหว่างทำงานด้วยกันในทีมใช่ไหม

ตอบ : ก็เกือบจะเกิดขึ้นค่ะ ช่วงแรกที่เราทำงานด้วยกัน เพราะความคิดหนูไม่ค่อยเหมือนเขาสักเท่าไหร่ หนูเป็นคนที่มีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ถ้าเรื่องนั้นมันไม่มีเหตุผลมา support มากพอหรือน่าเชื่อถือมากพอ


ถาม : แล้วตอนนี้เราเรียนรู้การสร้างสมดุลยังไงกับเรื่องนั้น

ตอบ : เข้าใจธรรมชาติของแต่ละคน ว่ามาตรฐานการทำงานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนแค่นี้เขาว่าดีแล้ว แต่สำหรับเรามันยังไม่ดีหรือแค่ปานกลาง แล้วก็ต้องฟังคนอื่นให้มากขึ้น


ถาม : ในเรื่องของคำพูด ที่จะพัฒนาคำพูด พี่ก็ว่าหนูพูดรู้เรื่องแล้วนะ หนูอยากจะพัฒนาตรงไหนอีก

ตอบ : ตอนหนูประสานงานหนูใช้คำพูด แล้วคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ หรือเข้าใจแต่ไม่ชัดเจนตามที่หนูอยากได้จริงๆ บางทีหนูพูดไม่ปะติดปะต่อ แล้วก็เรียงคำสลับ แล้วก็ทำให้เขาไม่เข้าใจ


ถาม : ส่วนอีกอันหนึ่งเรื่องการเข้าสังคม

ตอบ : หนูก็เป็นคนนิสัยเสียอย่างหนึ่ง หนูไม่อยากเข้าไปคุยกับใคร ถ้ารู้สึกว่าไม่อยากรู้จักจริงๆ คนนั้นเขาไม่ได้มีประโยชน์ต่อการทำงานหรือว่าไม่ได้มีผลต่อชีวิตหนู ก็จะปล่อยผ่านเขาไป ทำให้เราไม่ค่อยได้เจอคนหลายๆ รูปแบบหลายบุคลิก เพื่อนที่หนูคบแต่ละคนก็มีนิสัยคล้ายกับหนู คือทุกคนจะเป็นคนที่จริงจังกับการทำงาน ชัดเจนว่าตอนนี้เราต้องทำอะไรแล้วนิสัยจะเหมือนกันแทบจะทุกคน 80% มีนิสัยเหมือนหนู


ถาม : ก็พบคนจริงจังก็ดีแล้วไหมล่ะ

ตอบ : ก็ดีค่ะ ก็พากันจริงจังกันทุกอย่าง ล่าสุดพวกหนูทำโครงการกับมหาลัยทุกคนก็จริงจังกันหมดเลย แล้วพอนำเสนองานจริง มันมีจุดๆ หนึ่งที่พวกเราจริงจังกับจุดนี้มาก ถ้าโครงการเราผ่านเราก็จะได้ที่ 1 ผ่านฉลุย จะได้รางวัลแน่นอน แต่วันนั้นวิดีโอที่พวกหนูตั้งใจทำมันเปิดไม่ได้ แล้วหลังจากนั้นหนูไปเรียนวิชาแนะแนวครูก็ให้พูดถึงงานที่ผ่านมา กลุ่มพวกหนูร้องไห้น้ำตาแตกกันร้องไห้ทั้งคาบ หนูคิดว่าหวังมากเกินไปแล้วมันทำให้เสียใจมากๆ

ตอบ : ครูลืมเสียบสายวิดีโอให้หนูเลยเปิดไม่ได้ค่ะ เพื่อนหนูลอง 3 ครั้งเพื่อจะไปนำเสนอวันนั้น สงสารเพื่อนมากๆ


ถาม : แล้วหนูจะปรับยังไง หนูจะไม่จริงจังแล้วเหรอ

ตอบ : ไม่ใช่ไม่จริงจัง แต่ลดความคาดหวังลงบ้าง เพราะหนูอยู่โรงเรียนหนูจะเป็นคนเงียบมากๆ คนที่ไม่ใช่กลุ่มเพื่อนหนูแทบจะไม่คุยด้วยเลย

ตอบ : อยากมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นมากขึ้น หนูอยากเป็นแบบป๊อบที่เข้ากับทุกคนได้ เจอกันแล้วเฮฮาเหมือนรู้จักกันมา 10 ปี ค่ะ


ถาม : แล้วได้พยายามทำแล้วบ้างไหม

ตอบ : นี่พยายามทำแล้วค่ะ


ถาม : แล้วเป็นไงบ้างฝืนตัวเองไหม

ตอบ : ก็ฝืนค่ะ ปกติหนูก็ไม่ค่อยได้คุยเล่นกับใคร พอตอนนั้นก็ไม่อยากคุยเล่นกับเขา แต่ด้วยหน้าที่ เราพยายามเข้าหาทุกคนและทำให้ทุกคนเข้าหาเราได้ ตอนประสานงานจะได้ไม่เกร็ง


ถาม : สุดท้ายแหละประเมินโครงการตัวเองให้หน่อยถ้าให้คะแนนเต็ม 10 เราให้คะแนนโครงการเราเท่าไหร่ เพราะอะไร

ตอบ : ให้ 8 ค่ะ ถ้าจะให้ 10 ทุกคนต้องมาช่วยกันคิดช่วยกันออกความเห็นว่าตรงนี้ต้องปรับแก้ตรงนี้นะ มีอะไรต้องแก้บ้าง แต่ทุกคนก็ไม่ค่อยมีเวลาให้กับมันเท่าไหร่ ในการทำงานเป็นทีมไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่


ถาม : ไม่สมบูรณ์คืออย่างไร เหมือนไม่ค่อยมาพร้อมกันหรือว่าอย่างไร

ตอบ : กว่าจะนัดเวลามาเจอกันได้ พวกพี่ๆ เขาก็ไม่ค่อยว่าง


ถาม : แล้วจะให้ประเมินตัวเองจะให้ตัวเองเท่าไหร่

ตอบ : ก็ให้ 8 เหมือนกันค่ะ 2 คะแนน หักกับความผิดพลาดแล้วรู้สึกว่างานยังไม่ค่อยสมบูรณ์


ถาม : ผิดพลาดก็คือจุดไหน

ตอบ : ก็ตรงวิดีโอ


ถาม : แล้วส่วนที่เต็ม 8 ที่ให้ไปแล้ว ตรงไหนบ้างที่เป็นจุดแข็ง

ตอบ : ความพยายามในการพัฒนาตัวเองแล้วกล้าที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ แบบท้าทายตัวเอง แล้วก็ที่ผ่านตัวเองมาได้ คือ ไม่กดดันตัวเอง


ถาม : ก่อนหน้านี้กานเคยบอกว่าที่เคยไปทำโครงการกับสภาใช้สภาเด็กและเยาวชนไหมคะ

ตอบ : สภานักเรียนของโรงเรียนค่ะ


ถาม : แล้วหนูเป็นหนึ่งในนั้นไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ หนูเป็นสายวินัย


ถาม : เป็นกรรมการนักเรียนด้วย แล้วเป็นมานานรึยัง เป็นตั้งแต่ตอนไหน

ตอบ : ล่าสุดวันครู พอเปิดปิดเทอมมาก็ทำหน้าที่สภาเลย แล้วโครงการที่ได้ทำก็เป็นโครงการเดือนที่แล้วค่ะเป็นโครงการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ค่ะวิทยาลัยพลังงาน


ถาม : แล้วอะไรที่ทำให้เพื่อนหนูเลือกหนูมาทำงานด้วย ก่อนหน้านี้หนูเคยได้เป็นหัวหน้าห้องเป็นผู้นำในห้องมาก่อนไหมคะ

ตอบ :ก่อนหน้านี้เป็นการทำงานกลุ่มกันมากกว่าค่ะ เพื่อจะวางใจหนูกับเพื่อนอีกคนว่า 2 คนนี้ที่สุดของห้องแล้วในเรื่องความคิดการทำงานกลุ่ม ถ้าหนูว่าแบบนี้เขาก็ว่าแบบนี้ แต่ก็ไม่ได้ตามหนูหมดบางทีมีแก้ไขก็ต้องฟังว่าแก้ตรงนี้ แล้วก็เอามาปรับๆ กันช่วยกันทำ


ถาม : พี่อยากให้กานช่วยทวนเป้าหมายโครงการหน่อยช่วงแรกๆ จะฟังไม่ชัดว่าในโครงการที่กานทำปีนี้มันวางเป้าหมายไว้อย่างไร

ตอบ : เป้าหมายที่พวกหนูคิดไว้จะทำคู่มือสมุนไพร แล้วก็อยากลงไปศึกษาเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชน มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน


ถาม : แล้วตอนนี้เราทำได้แค่ไหนคะ

ตอบ : ตอนนี้พวกหนูก็ทำหยุดอยู่แค่คู่มือการทำสมุนไพร ยังไม่ได้ลงมือทำเป็นผลิตภัณฑ์อะไร


ถาม : หนูเป็นชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอ ใช่ไหม แล้วปกติรุ่นหนูยังพูดภาษาปกาเกอะญอกันอยู่ไหมคะ

ตอบ : พูดค่ะ พูดภาษาปกาเกอะญอ แล้วก็ภาษาเหนือ และก็ภาษาไทย


ถาม : ก็คืออยากรู้ว่าเด็กรุ่นนี้ในกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอว่าเค้ายังใช้ภาษานี้อยู่ไหมสื่อสารกับผู้ใหญ่ยังไง สื่อสารกันเองอย่างไร

ตอบ : ถ้าคุยกับผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาปกาเกอะญอ แต่ถ้ากับเพื่อนก็จะใช้ภาษาไทยกันบ้าง ปกาเกอะญอผสมภาษาไทยบ้าง ที่โรงเรียนก็ใช้ภาษาไทยกับภาษาเหนือ