สิริยากร ธรรมสละ : บทสัมภาษณ์เยาวชนเด่น โครงการการจัดการความมั่นคงทางอาหาร “ปลาน้ำยาว” โดยชุมชนมีส่วนร่วมยอดวัฒนา

เยาวชนเด่น นางสาวสิริยากร ธรรมสละ (นิ่ม) อายุ 17 ปี

เรียนระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีแพร่

โครงการการจัดการความมั่นคงทางอาหาร “ปลาน้ำยาว” โดยชุมชนมีส่วนร่วมยอดวัฒนา

­­

ถาม ขอให้แนะนำตัว

ตอบ สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาวสิริยากร ธรรมสละ ชื่อเล่นนิ่ม อายุ 17 ปี จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กำลังจะเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีแพร่ ทำโครงการจัดการความมั่นคงทางอาหาร “ปลาน้ำยาว” โดยชุมชนมีส่วนร่วมบ้านยอดดอยวัฒนา


ถาม ที่มาของการทำโครงการเป็นอย่างไร

ตอบ ในอดีตปลาน้ำจืดในลำน้ำยาว มีจำนวนมากแต่ปัจจุบันลดน้อยลง เพราะคนใช้เครื่องมือหลายหลายในการหาปลา ปลามีจำนวนลดลง อยากฟื้นฟู อนุรักษ์พื้นที่ให้ปลาที่หายากมีชีวิตอยู่ได้ในแม่น้ำ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ถาม ทำในพื้นที่ยอดดอยวัฒนาใช่ไหม

ตอบ ใช่ค่ะ เป็นพื้นที่ของหมู่บ้าน


ถาม หนูเป็นชาติพันธุ์ลั๊วะไหม

ตอบ ย่าหนูเป็นค่ะ หนูมีเชื้อสายชาติพันธุ์ลั๊วะแต่หนูพูดไม่เป็น


ถาม ภาพบรรยากาศของชุมชน ความผูกพันต่อลุ่มน้ำในวัยเด็กเป็นอย่างไร

ตอบ ตอนเด็ก ๆ ที่จำได้คือไปหาปลาสนุกมาก ๆ ไปกับคุณยายและญาติ ๆ เขาจะใช้อุปกรณ์ภาษาเหนือเรียกว่าหิง หรือ สวิง หาปลาได้จำนวนเยอะ ปลาคืออาหารหลักอย่างหนึ่งในครัวเรือน ต่อมาคนหาปลามากขึ้นและปลาหายากขึ้น ตอนนี้ชาวบ้านทำการเกษตรปลูกพืชหลายชนิด เขาขุดเจาะน้ำไปใช้ ปลาไม่มีที่อาศัย


ถาม ชุมชนหาปลาจากที่ไหน

ตอบจากลำน้ำยาวเป็นเขตของหมู่บ้าน มีชาวบ้านหาปลาช่วงกลางวันและกลางคืน นำกินและขายราคากิโลกรัมละหลายบาท เช่น พวกปลามันอร่อย ขายได้ราคาดี 


ถาม มีปลาแต่ไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนสมัยก่อน แถวนั้นมีเขตอนุรักษ์ปลาไหม

ตอบมีเขตอนุรักษ์แต่หนูไม่เคยไปค่ะเพราะว่าไกล ที่เขตอนุรักษ์มีปลาเยอะ มีคนในหมู่บ้านแอบลักลอบไปหาปลา บางครั้งมีคนรู้ บางครั้งไม่มีใครรู้ใครเห็น ที่จำได้คือคนในหมู่บ้านแอบจับปลาที่เขตอนุรักษ์ถูกจับได้ ปลาที่นั่นตัวใหญ่


ถาม โครงการไปทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาปลาสูญพันธุ์

ตอบเริ่มแก้ปัญหาเก็บข้อมูลพันธุ์ปลาของลำน้ำยาวว่ามีปลาชนิดไหนบ้าง รวบรวมข้อมูล ส่งเสริมให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของพันธุ์ปลาหายาก อยากให้คนในชุมชนไม่ทำผิดกฏของหมู่บ้านที่ตั้งไว้


ถาม ใครเป็นคนตั้งกฏ

ตอบ มีกฏของหมู่บ้านที่ตั้งไว้ พวกหนูจะเสนอแนะเพิ่ม


ถาม หนูจะเพิ่มกฏอะไรเข้าไปบ้าง

ตอบ ไม่หาปลาตอนกลางคืน ไม่หาปลาในฤดูวางไข่เว้นระยะออกไป เราคุยกับชุมชนยาก เขาถามว่าถ้าไม่หาปลาแล้วจะเอาอะไรมากิน มันยากต้องค่อย ๆ พูด ค่อยหากฏที่ตกลงกันได้ เช่น ไม่หาปลาในช่วงตอนกลางคืน


ถาม ได้ข้อมูลจากไหนที่ห้ามหาปลาเวลากลางคืนหรอฤดูวางไข่

ตอบ ห้ามหาปลาในตอนกลางคืนเป็นกฏผู้นำชุมชนตั้งไว้แล้ว แต่ผู้ใหญ่บ้านยังไม่ลงมติว่าจะมีโทษอย่างไรบ้าง การหาปลาในฤดูวางไข่ จะมีพันธุ์ปลาที่หายาก เราจะต้องคุยกับผู้นำชุมชนและคนในหมู่บ้าน


ถาม ศึกษาเรื่องพันธุ์ปลาหายากในลุ่มน้ำมีกี่ชนิด โครงการก็เป็นตัวขับเคลื่อนใช้กฏของหมู่บ้านให้เคร่งครัดขึ้น เสนอกฎใหม่ด้วย ตอนนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้ว

ตอบ ตอนนี้รอคืนข้อมูลให้ชุมชน เรื่องกฎการหาปลา โดยจะคืนข้อมูลผ่านเสียงตามสาย เพราะตอนนี้ห้ามชุมชนเกินห้าคน พวกหนูจึงคิดกันว่าจะประกาศออกเสียงตามสายเรื่องเกร็ดความรู้การอนุรักษ์พันธุ์ปลา การเคร่งครัดเรื่องกฏห้ามหาปลาตอนกลางคืน ให้คนมีจิตสำนึกเลิกหาปลาตอนกลางคืนตามกฏตั้งที่ตั้งไว้


ถาม ไปหาข้อมูลจากใครบ้าง

ตอบ ปราชญ์ชุมชนคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปลูกข้าว ตา อายุ 70 - 80 ปี คนสมัยนั้นรู้ว่าสมัยก่อนเป็นอย่างไร เขาก็เคยหาปลา


ถาม ถามอะไรบ้างกับปราชญ์ชุมชน

ตอบ เพื่อนอีกทีมจะถามข้อมูลเกี่ยวกับ ความเป็นมาของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถิ่นเดิมเราอยู่ที่ไหน พื้นที่หาปลามีที่ไหนบ้าง เขตนุรักษ์ของเรามีพันธุ์ปลาอะไรบ้าง ที่สมัยก่อนมีจำนวนมากแต่ตอนนี้ไม่มี


ถาม ก่อนหน้าเคยทำโครงการแบบนี้มาก่อนไหม

ตอบ ไม่เคยทำโครงการแบบนี้ เคยเป็นจิตอาสาช่วยชุมชน เช่น เก็บขยะ และกิจกรรมอื่นที่ชุมชนจัด ถ้าว่างจะออกไปช่วย


ถาม โครงการนี้เป็นโครงการแรกเข้ามาทำได้อย่างไร

ตอบ ตามเพื่อนมาทำ เห็นเพื่อนสนิทรุ่นเดียวกันห้องเดียวกันทำ เขาถามว่าทำไหม หนูจึงลองดูอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร


ถาม เป็นเหมือนที่คิดไว้ไหม

ตอบ ตอนนั้นไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ไม่สนใจด้วยซ้ำ เวทีต่าง ๆ ที่มีหนูไม่ได้เข้าร่วมกับเขา ไปครั้งแรกที่น่านวิทเทจ เป็นงานนำเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน หนูไปช่วยเพื่อนเพราะหนูเป็นพิธีกรที่โรงเรียน เพื่อนขอให้มาช่วยพูดนำเสนอโครงการ ตอนนั้นเสนอโครงการขยะ มีคนสนใจทำเรื่องขยะเยอะซึ่งพวกหนูก็สนใจเรื่องขยะเช่นกัน จึงได้ปรับเปลี่ยนโครงการเป็นการจัดการความมั่นคงทางอาหารปลาน้ำยาว ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่พวกหนูสนใจ จึงลองทำกับเพื่อน


ถาม จากคนที่ไม่เคยทำไปร่วมในเวทีครั้งนั้นเห็นบรรยากาศรู้สึกอย่างไรบ้างคะ

ตอบ มีเพื่อนจากต่างชุมชนมาพูด เขามีไอเดียความคิดใหม่ๆ จากที่ทำมาหลายปี หนูได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ การพูดนำเสนอการแสดงออกก็เอามาปรับเปลี่ยนในกลุ่มของเรา ตอนนั้นคิดในใจว่าทำไมเขาทำได้ เขามีความเป็นทีมและสามัคคีกัน


ถาม เราชอบทำอะไร มีนิสัยเป็นคนอย่างไร

ตอบหนูเป็นคนร่าเริง ชอบผจญภัย อยากรู้อะไรใหม่ ๆ ที่ไหนหนูไม่เคยไปหนูอยากไป ชอบทำสิ่งใหม่ไม่ชอบอยู่ที่เดิม ตามเพื่อนบ้างเพื่อนชวนไปไหนก็ไป อยากเที่ยวตอนนั้นไม่ได้สนใจอะไร ตอนเรียนก็เรียนตอนเที่ยวก็เที่ยว กิจกรรมหนูก็ทำตั้งแต่ ม.ปลาย เข้ากิจกรรมเยอะ ส่วนใหญ่เป็นพิธีกรคู่กับเพื่อนอีกคน อกกิจกรรมการแสดงหนูก็ทำ ไปชุมนุมเกษตรกรระดับประเทศ เป็นพิธีกรโครงการขยะตอนอยู่ ม.ต้น หนูปลูกผังมาตั้งแต่ ม.ต้น จึงถนัดเรื่องแบบนี้


ถาม เรามีพื้นฐานกล้าแสดงออกกล้าพูด เป็นเด็กกิจกรรมพอมาทำโครงการนี้ มีอะไรที่ท้าทายแปลกใหม่สำหรับเราบ้าง

ตอบ โครงการและพี่ๆ ตอนแรกไม่รู้จักพี่ ๆ ที่มาทำโครงการว่าเป็นคนอย่างไร หนูเห็นตัวโครงการ การวางแผนการใช้จ่ายไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเงินก้อนที่นำมาทำกิจกรรม เราต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับ เป็นการฝึกตัวเราเอง เมื่อเรารับหน้าที่นี้มาแล้วเราจะละเลยไม่ได้ “เราต้องทำเมื่อเราเลือกที่จะก็ต้องทำให้สุด ทำให้สำเร็จ เป็นการฝึกเราไปในตัว” ประสบการณ์หนูไปที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยไป พี่ ๆ พาไปพูดตอนจัดกิจกรรมที่น่านวินเทจและวิทยาลัยชุมชนน่าน ให้พูดนำเสนอซึ่งหนูต้องทำหนูต้องพูดเพราะว่าเพื่อนที่ไปด้วยไม่มีใครพูดเลย ณ เวลานั้นต้องทำให้ตัวเองพูดให้ได้


ถาม ถ้าเปรียบเทียบนิ่มก่อนเข้าร่วมโครงการกับนิ่มในปัจจุบันเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวเองบ้าง

ตอบ ความรับผิดชอบ ตอนนั้นหนูไม่อยากรับงานอะไรเลย หน้าที่ของคือการเงินก็จะทำแต่การเงิน ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเดียว ตอนนั้นต้องส่งรายงานแล้ว ไม่มีใครทำหนูจึงลุกขึ้นมาทำ เราจะปล่อยไปแบบนี้ไม่ได้ หนูทำรายงานส่งให้พี่ ๆ ช่วยดู เพราะหนูไม่เคยทำรายงาน ระยะแรก ถามใครก็มีใครรู้ คิดในใจว่าไม่ทำก็ได้ให้ช่างมันเถอะ มาคิดทบทวนอีกทีว่าถามตัวเองว่าจะไม่ทำจริง ๆ เหรอ จึงหอบโน๊ตบุ๊คมาทำตอนจนถึงเที่ยงคืน ทำให้เสร็จ


ถาม จากเหตุการณ์ที่เพื่อนไม่เอา ถามใครก็ไม่มีใครอยากทำสุดท้าย ไม่มีใครทำรายงานเลยเหลือเราทำคนเดียวเหรอ

ตอบ บางคนค่ะ หนูก็ถามในไลน์กลุ่ม (Line Group Chat) ซึ่งมีไว้คุยสื่อสารในกลุ่ม หนูถามไปว่ามีรูปภาพอะไรแบบไหนที่อยู่ในกล้องโทรศัพท์ของใครบ้างให้ส่งมา หนูเอาข้อมูลมาเขียนและถามเพื่อนบางคนที่เป็นเลขานุการ ให้เขาช่วยค้นหาข้อมูลกิจกรรมที่บันทึกลงในสมุด ซึ่งเป็นครั้งแรกและที่หนูทำไปผิดคือข้อมูลถูกแต่จัดเรียงผิด ผิดเพราะว่าหนูไม่เคยทำนี่เป็นครั้งแรก เมื่อส่งไปแล้วพี่เขาก็ช่วยแนะนำให้ทำยกตัวอย่างไล่ดูรายละเอียดจากต้นฉบับที่ทำมาแล้ว แก้ไขแล้วก็ส่งให้พี่เขาตรวจ


ถาม จากเหตุการณ์นี้ที่เราเป็นคนจัดการเงิน แต่ต้องไปรวบรวมข้อมูลจากเพื่อน ๆ รวบรวมรูปถ่าย จนกระทั่งต้องทำรายงานคนเดียวตอนดึกดื่น หนูคิดว่ามีทักษะอะไรเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์นี้

ตอบ ความมุ่งมั่นในการทำ เริ่มจากการทำผิดและเราต้องการทำให้ถูก ต้องทำให้เสร็จมุ่งมั่นที่จะทำ


ถาม หนูคุยกับตัวเองอย่างไร เรียกพลังความมุ่งมั่นมาจากไหน

ตอบ หนูคิดว่าต้องทำเพราะไม่มีใครทำ เขาเงียบเรารอมาหลายวัน และใกล้เวลาที่จะต้องส่ง ถ้าไม่ทำไม่ได้แล้ว หนูจึงเอาโน๊ตบุคมาตั้งและพิมพ์ คืออะไรที่เราไม่เคยไม่เคยทำลองทำดู “หนูรู้ด้วยตัวของหนูเองว่าต้องทำจริง ๆ ถ้าไม่ทำไม่ได้ต้องส่งแล้ว” หนูได้ทักษะจากการทำงานกลุ่ม การทำงานกลุ่มในห้องเรียนหนูบอกตัวเองว่าถ้าเราเก่งแบบนี้เราก็ต้องทำในหน้าที่ตรงนี้ ถ้าไม่มีใครทำเราก็ต้องทำ ได้ตรงนั้นมา


ถาม ใช้ประสบการณ์เดิมจากการทำงานกลุ่ม มีความรับผิอชอบ มีความมุ่งมั่น มีอะไรอีกบ้างจากสถานการณ์นี้

ตอบ ความอดทน ทำแล้วผิดคิดอะไรไม่ออก หนูนอนชาร์ตแบตตัวเอง แล้วลุกขึ้นมาทำอีก การกล้าแสดงออกของหนูชัดเจนตอนร่วมเวทีที่วิทยาลัยชุมชนน่าน หนูเป็นผู้หญิงคนเดียว และมีทีมอีกสามคน เพื่อนที่เป็นประธานไปลำปางมาร่วมได้อีกวัน เราแบ่งหน้าที่กันให้เขาพูดเขาไม่ทำ หนูก็เอาล่ะหนูทำได้ ให้เขาทำหน้าที่ของเขาก็คือวาดภาพระบายสี ให้เขาเขียนกระดาษปรุ๊พที่ต้องนำเสนอวันนี้ ตามที่เขาถนัดทำได้ไม่ต้องพูด เราพูดเอง ถ้าขึ้นเวทีแล้วเงียบทำไม่ได้ หนูจึงรับพูดเท่าที่รู้ ไม่มีข้อมูลและไม่ค่อยสนใจจึงพูดเท่าที่รู้เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น


ถาม เหตุการณ์วันนั้นเป็นอย่างไร

ตอบ ผ่านไปด้วยดี


ถาม อีกทักษะเป็นเรื่องความเสียสละ ที่นิ่มเสียสละเพื่อกลุ่ม มีเหตุการณ์ไหนที่บ่งบอกความเสียสละของนิ่ม

ตอบ ตรงนี้ที่หนูทำรายงานส่ง เป็นส่วนหนึ่งที่หนูเสียสละ วันนั้นที่ต้องพูดเป็นทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า


ถาม ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้มาจากไหนคะ

ตอบ การทำกิจกรรมหลายที่ ไปต่างจังหวัดหนูก็ไป การทำกิจกรรมช่วยหลายอย่างเรื่องการพูด การแสดงออก มีการคิด ค้นพบสิ่งใหม่ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ สิ่งที่ไม่เคยรู้เราก็ได้รู้ จากการที่เห็นเพื่อน ๆ เขาทำได้ในกิจกรรมที่เขาทำ ถ้าเขาแก้แบบนี้ได้แสดงว่าเขาทำแบบนี้นะ เราเรียนรู้แล้วนำมาปรับเป็นของเรา


ถาม มีทักษะอะไรอีกบ้างที่เพิ่มมากขึ้นจากการทำงานกับผู้ใหญ่ในชุมชน

ตอบ การเข้าหาผู้ใหญ่มารยาทเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเข้าไปถามคนที่มีอายุมากกว่า รู้สึกว่าเป็นสำนึกของเราที่รักบ้านเกิดของเราเอง


ถาม มีเหตุการณ์ คำพูดจากใครหรืออะไรที่ปลุกจิตสำนึกของเรา

ตอบ ค่อย ๆ มาตอนที่หนูเริ่มโตขึ้นแล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่าง บางครั้งมีแย่ลงบางครั้งมีดีขึ้น ชุมชนมีคนเฒ่าคนแก่เยอะ วัยรุ่นส่วนมากไม่เรียนต่อ ออกไปทำงาน ในส่วนลำน้ำจำนวนปลาลดลง ฟังจากที่คุณตาคุณยายเล่าให้ฟังว่า ปลามีมากไปหาปลาได้เยอะ เล่าเรื่องเก่า ๆ ให้ฟัง ตอนนั้นหนูถามตาว่ามีปลาอะไรบ้าง ที่ตาหามาได้เยอะ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว คนในชุมชนออกไปหาปลากันทั้งนั้น มีหลายคนในหมู่บ้านเขาที่ออกไปหากัน ทำให้ปลาลดลง หนูคิดว่าทำไมเราไม่อนุรักษ์กันบ้าง ทำไมถึงปล่อยปละละเลยขนาดนี้ อีกหน่อยจะเป็นอย่างไร เราจะเอาอะไรมากิน ถ้าเรายังไม่เว้นระยะอนุรักษ์ และยังไปหาปลาในเขตอนุรักษ์


ถาม จุดเปลี่ยนสำคัญของน้องนิ่มเป็นอย่างไร

ตอบ ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง ประธานต้องรู้ทุกอย่าง ต้องทำทุกอย่างได้ เลขานุการต้องทำเอกสารสรุปประชุมได้ มีเหตุการณ์ที่พี่ ๆ เขาติดต่อแจ้งเรื่องกิจรรมที่ทีมของเราต้องเข้าร่วมมาที่หนู หนูจะแจ้งประธานว่ามีนัดที่ทีมต้องไปเวทีสัมมนาหรือลงชุมชน หนูบอกเขาเพราะไม่อยากข้ามหน้าข้ามตา เขาบอกว่าให้บอกเองสิเธอเป็นคนรับเรื่อง ทำไมไม่บอกเอง เขาประชดประชัน หนูอยากวีนบ้างแต่หนูเลือกเก็บอาการ หนูไม่อยากให้ทะเลาะกันไปมากกว่านี้ หนูรู้นิสัยของเขาเพราะเราเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน

เรื่องความรับผิดชอบตอนนั้นหนูไม่รับเอกสารอะไรเลย หนูรับแค่การเงินอย่างเดียวหนูจะทำแค่สิ่งนี้ หนูไม่รู้เลยว่าการเงินมีความวุ่นวายขนาดไหน ต้องละเอียดกับตัวเลข เงินแต่ละบาทมีค่าเรียกว่าเป็นเงินหลวง พี่เขาอธิบายมาตอนนั้นหนูไม่เข้าใจ การเงินต้องสอดคล้องครอบคลุมกับเอกสาร ทุกอย่างต้องตรงกัน หนูคิดว่ามันต้องทำไปทีละกิจกรรม เอกสารต้องตรงกันตามกิจกรรม ต้องมีการเงินแนบไปด้วย จึงต้องจริงจังทำให้โปร่งใสที่สุด การเงินเราทุจริตไม่ได้ เงินทุกบาทเป็นเงินของกลุ่มไม่ใช่เงินของตัวเอง หนูคิดแบบนี้


ถาม ดีมากเลย ความรับผิดชอบของหนูเกิดจากหลายทางเกิดจากหน้างานของตัวเองที่บอก หนูมีการจัดการอย่างละเอียดมากในการทำบัญชี แบ่งเป็นกิจกรรมในเงินแต่ละส่วน เพื่อให้การทำงานของการเงินราบรื่นขึ้น ด้วยความละเอียดรอบคอบอันนี้ ความรับผิดชอบอีกเรื่องหนึ่งคือความเป็นเจ้าของกลุ่ม กลุ่มขัดแย้งเกี่ยงงานกัน เราก็ลงมาทำหน้าที่ของคนบางคน หรือหน้าที่ของกลุ่มเพื่อจะให้งานกลุ่มเสร็จ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ของเรา นี่คือความรับผิดชอบ เหตุการณ์เมื่อกี้ที่เราต้องกระโดดมาทำงานของเพื่อน พี่เห็นหนูมีอารมณ์หลากหลายตอนนั้นหนูมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง คนนี้ก็เพื่อนสนิท งานก็งานกลุ่ม มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างตอนสถานการณ์นั้น

ตอบ เพื่อนไม่ตามหน้าที่ หนูโกรธมาก หนูจะเครียดและหงุดหงิด มีโกรธบ้าง แต่เมื่อเราต้องไปเจอกับทุกคน เก็บอารมณ์นั้นไว้ไม่ระบายออกมา เวลาที่มีคนไปวีนพูดว่าโกรธคนนี้ ก็จะไม่โอเคสำหรับทุกคน หนูคิดแบบนี้ เวลาทำงานโกรธก็เก็บไว้ไม่ต้องมีเรื่อง เรื่องส่วนตัวก็คือเรื่องส่วนตัว เรื่องงานก็คืองาน ถ้ามีอารมณ์แบบนั้นหนูจะไม่เอามาลงกับเพื่อน ๆ เพราะว่าเป็นแบบนี้ดีอยู่ในระดับหนึ่งไม่อยากให้มันแย่ลงไปกว่าเดิม


ถาม หนูมีการจัดการภาวะอารมณ์ตัวเองอย่างไร เวลาไม่พอใจ โกรธ เครียด

ตอบ หนูพยายามไม่คิดเรื่องนั้น หาอะไรมาทำ มาดู เวลาโกรธจะฟังเพลงผ่อนคลายตัวเอง ไปเล่นน้ำ ไปแช่น้ำเล่นให้มันเย็นผ่อนคลายตัวเอง กินบ้างเพราะการกินทำให้หนูอารมณ์ดี หาวิธีให้ตัวเองไม่โกรธไม่หงุดหงิด เพราะว่าถ้าเราโกรธมันไม่ได้ผลอะไร เราจะโกรธหงุดหงิดไปทำไม ไม่มีอะไรดีขึ้นเลือกที่จะพูดดี ๆ กับเขาดีกว่า พูดตรง ๆ กับเขาเลย เพราะว่าเป็นเพื่อนสนิทและเป็นคนในทีม เป็นคนในหมู่บ้านชุมชนเดียวกันเห็นกันมาตั้งแต่เด็ก


ถาม หนูสื่อสารกับเพื่อนคนนั้นว่าอย่างไร

ตอบหนูแบ่งหน้าที่ให้เขาไปทำ เราไม่ชอบกิจกรรมนี้นะ ถ้าให้พิมพ์ข้อมูล ระยะแรกหนูทำคนเดียว ระยะที่สองเรารู้แล้วว่าต้องวางแผนอย่างไร ก็เลยแบ่งให้เขารับเอาไปทำ ให้รับผิดชอบไป 2 กิจกรรม อีกคนก็รับผิดชอบไป 2 กิจกรรม เวลาที่จะต้องส่งงานมาถึงแล้ว ทุกคนต้องพิมพ์ส่งมาทาง Line หรือFacebook ให้เรา หนูจะรับอีกคนเดียวไม่ได้เพราะว่าเป็นงานกลุ่มไม่ใช่งานเดียวเป็นงานของทีม หนูบอกเพื่อนว่า ไม่ไหวแล้วนะทำคนเดียว ทุกคนต้องช่วยกันแล้วนะ เพื่อนโอเค และถามว่างานนี้ต้องส่งเมื่อไร เขาก็ถาม หนูให้เขาพิมพ์ใส่โน๊ตบุคไว้เลยแล้วบอกว่า “ถ้าเราจะทำเมื่อไรจะถามให้ส่งมานะ” หนูแก้ปัญหาอารมณ์แบบนั้นและแก้ปัญหางานด้วย การทำงานของเพื่อนๆ ดีขึ้นเพราะทุกคนต้องรับผิดชอบ ถ้าคุณไม่รับผิดชอบก็แล้วแต่คุณ งานก็ไม่เดินสุดท้ายก็คือเป็นหนูที่ทำ


ถาม จากเหตุการณ์ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหา วิธีการสื่อสารหรือแม้กระทั่งควบคุมอารมณ์ตัวเองจัดการปัญหาด้วยตัวเอง หนูคิดว่าที่ผ่านมาทั้งหมดนี้หนูได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง

ตอบเรียนรู้เรื่องการควบคุมอารมณ์ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความพยายาม ความขยัน ความมุ่งมั่น มานะ เรียนรู้สิ่งที่ไม่รู้ สนใจเกี่ยวกับเรื่องการเงิน หนูชอบอยู่กับการเงิน อยู่ที่โรงเรียนหนูเป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หนูก็เลยไม่รู้คำว่าจะปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ๆ ชอบเกี่ยวกับเงิน หนูชอบเกี่ยวกับการทำบัญชี ทุกวันนี้หนูก็เวลาทำงานหนูก็รับมาทำบัญชี เราเห็นตัวเลขแล้วเราต้องมีความรับผิดชอบ ตอนนั้นการเงินหนูไม่รู้เลยต้องทำอย่างไร เป็นครั้งแรกที่หนูทำ ถ้าเราทำแล้วมีโอกาสทำงานแบบนี้เราได้ประสบการณ์ตรงนี้ไปทำด้วย


ถาม การเงินทำให้เราเป็นคนอย่างไรเหรอ

ตอบ ฝึกเราเป็นคนที่สุจริตเพราะไม่ใช่เงินของเรา เป็นเงินของหลวงของทีม เราเอามาใช้คนเดียวไม่ได้ ต้องทำให้คนอื่นรู้ว่าเราเงินตรงนี้มาจากไหน เราต้องรู้ว่าตัวนี้หายไปได้อย่างไร ถ้าเรารู้ที่มาที่ไป เขาจะรู้ว่าเราไม่โกง เพราะว่าปัญหาการเงินเป็นปัญหาใหญ่หลวง ถ้าเราทำหาย เราต้องรับผิดชอบ ทำการเงินต้องมีความละเอียดรู้ที่มาที่ไปของเงินทุกบาททุกสตางค์


ถาม สถานการณ์ที่เล่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อน ความรับผิดชอบหน้างาน เราต้องแก้ปัญหาเรื่องการขัดแย้งกันในกลุ่ม รวมถึงเรื่องการเงินที่เราอยากทำ หนูใช้คุณสมบัติอะไรในตัวเองที่มันผ่านเรื่องราวมาได้เพราะหนูเจอศึกหลายด้าน งานก็ต้องทำเพื่อนก็ต้องเคลียร์ หนูใช้คุณสมบัติอะไรคะที่มันทำให้สถานการณ์ได้จนงานสำเร็จ

ตอบ ถ้าอารมณ์เสียแล้วต้องไปเจอเพื่อนมาก ๆ หน้าหนูจะเสียดูเหมือนคนหงุดงิด โกรธ ใครถามอะไรก็ไม่พูดด้วย หงุดหงิดใส่ พอมาทำงานบอกตัวเองว่าไม่ได้แล้วที่จะทำเหมือนเดิม ต้องควบคุมตัวเองหาวิธีการเพื่อทำให้ไม่หงุดหงิด การอยู่แบบนี้สูญเปล่า ไม่มีอะไรแก้ปัญหาได้ ถ้าเราไม่ทำอไรสักอย่างก็ไม่ดีขึ้น ตรงนี้คือสิ่งที่ชัดเจนในตัวหนู


ถาม มีอะไรที่ยากมากสำหรับนิ่มในการทำโครงการนี้

ตอบ ไม่ยากเพราะมีพี่ ๆ คอยสนับสนุน เป็นแนวทางให้ทำ ถ้าคิดไม่ออก พี่ ๆ จะช่วยบอก เป็นแนวทางที่ทำให้เราคิดมากขึ้น “ไม่ยากถ้าเราทำอะไรด้วยใจที่เราอยากจะทำจริง ๆ”


ถาม เวลามีปัญหาไปปรึกษาใคร

ตอบเรื่องโครงการปรึกษาพี่กอล์ฟ พี่เขาเข้ากับพวกหนูได้ดี เป็นตัวของตัวเอง หนูก็เลยกล้าที่จะปรึกษา กล้าที่จะพูดอะไรกับพี่เขาได้


ถาม พี่เขาทำอะไรกับเรา

ตอบกล้าที่จะบอกได้ ถ้าเราไม่รู้ตรงไหนพี่เขาจะบอก อะไรที่เราคิดไม่ออก พี่เขาแนะนำยกตัวอย่างให้เราคิดตาม ทำให้เราคิดได้


ถาม การเป็นที่ปรึกษาตามที่หนูเล่า ดีต่อโครงการหรือพวกหนูอย่างไร

ตอบ ดีต่อโครงการ ถ้าทำโดยไม่มีที่ปรึกษาและเราไม่เคยทำ โครงการจะไปไม่รอด


ถาม วิธีการที่พี่กอล์ฟทำดีต่อทีมของเรา ต่อตัวหนูอย่างไร

ตอบ บางสิ่งที่เราไม่รู้ว่าถูกหรือผิด เราพูดให้พี่เขาฟังได้ ให้ทีมพวกหนูคิดตาม


ถาม พี่เขาเปิดอิสระ เราจึงกล้าพูดกล้าคิดอย่างเปิดใจ

ตอบ ค่ะ ไม่ได้ตีกรอบว่าต้องเป็นแบบนี้ ตัวโครงการของพวกหนูสามารถคิดไปได้ไกล


ถาม โตขึ้นมีความฝันอยากเป็นอะไร

ตอบ อยากพยาบาลพยาบาล หนูอยากดูแลคนป่วยอยากทำงานในโรงพยาบาล หนูมีประสบการณ์ไปโรงพยาบาลตอนเด็ก ๆ หนูเห็นเขาใส่ชุดสวย ๆ เห็นเขาพูดจาดี ๆ และช่วยรักษาให้ผู้ป่วยหายได้ เขาช่วยเหลือผู้ป่วย คนไข้ หนูเห็นเขาทำ หนูอยากเป็นพยาบาล เป็นความฝันของหนู


ถาม หนูคิดว่าทักษะที่ค้นเจอระหว่างทำโครงการ เช่น ภาวะที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้จะช่วยในอาชีพพยาบาลของหนูอย่างไร

ตอบ เรียนพยาบาลคือเริ่มจากโรงพยาบาล หนูต้องมีความรับผิดชอบงานที่ทำ ต้องมีความอดทน ต้องอ่านหนังสือทบทวนความรู้ที่เราต้องไปทำ หนูต้องอดทนในการเรียนการสอนและการปฏิบัติ ถ้าเราไปทำงานในโรงพยาบาล สมมติเรื่องความอดทนการควบคุมอารมณ์ หนูเคยเห็นคนไข้อาละวาด คนไข้เหวี่ยงวีน หนูต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ทำให้เป็นไปมากกว่าเดิม


ถาม ถ้าพี่เป็นคนไข้ที่รอนานมากแล้วหนูจะทำอย่างไรกับพี่

ตอบ หนูจะพูดกับเขาดี ๆ รอสักครู่ค่ะเดี๋ยวทางโรงพยาบาลของเราจะช่วยทำให้มันเร็วขึ้นนะคะ


ถาม เล่าเรื่องอนาคตให้ฟังหน่อยพอเราได้ทำครั้งแรกแล้วเป็นมากกว่ากิจกรรมในโรงเรียนส่งผลต่อคนในชุมชน ให้ความรู้กับชาวบ้านและได้เห็นคุณค่าจากวิถีชุมชนที่เคยมีดั้งเดิม หนูรู้สึกอย่างไรบ้างกับสิ่งที่ทำกับเพื่อน ๆ ภายในโครงการนี้

ตอบ รู้สึกท้าทายเราจะทำได้ไหม เราจะกล้าพูดกล้าทำ ในสิ่งที่เราไม่เคยทำเหรอ มีความท้าทายภายในตัว


ถาม ถ้าให้คะแนนความสำเร็จในโครงการของหนู ให้เท่าไรเต็มร้อย

ตอบ 90% จากงานสิ่งที่เราทำลงไปทั้งหมด งานสำเร็จ เราทำด้วยตัวเอง มีความรับผิดชอบ รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพและฝึกตัวเองได้ ปรับเปลี่ยนตัวหนูได้


ถาม อีก 10 % คือเรื่องอะไรที่ยังติดอยู่

ตอบ เรื่องทีมต้องเปลี่ยนตัวเอง มีความรับผิดชอบต่องานมากขึ้น ไม่ปล่อยให้คนใดคนหนึ่งทำงานอยู่คนเดียว เป็นครั้งแรกของทุกคนเหมือนกันอาจยังปรับตัวไม่ได้


ถาม จากเดิมที่เราเลือกเป็นการเงิน ปลุกศักยภาพการเป็นผู้นำของตัวเราจากสถานการณ์ พอเราค้นเจอศักยภาพการเป็นผู้นำของเราเอง เป็นอย่างไร

ตอบ ต้องทำ ต้องมุ่งมั่น ต้องทำให้ได้ ต้องกล้าที่จะทำ คิดแบบนั้นตอนนั้น หนูคิดว่าตัวเองมีความเป็นผู้นำอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำ ถ้าเราไม่เคยทำก็ลองทำดู ตอนนั้นทุกคนเทหนูหมด ตามที่เล่าให้ฟัง ถ้าไม่ทำทีมต้องแย่แน่ ๆ ไม่ใช่แค่เราที่แย่ คือทุกคนที่เชื่อมั่นในทีมของเรา อาจคิดว่าทำไมถึงไม่ทำกัน หนูจะรู้สึกอายไปด้วย ถ้าเขาถามว่า โครงการนี้ทำไมไม่ทำ โครงการนี้ไม่ส่งเหรอ เป็นของชุมชนและเป็นเรื่องน่าอายที่จะไม่ทำ


ถาม ถ้ามีโอกาสในโครงการหน้า เราจะมาทำอะไรวางตัวเองไว้ตำแหน่งไหน

ตอบ อยากอยู่ตำแหน่งเดิม และทำเรื่องการเงินบัญชี เป็นคนที่ทำรายงานเหมือนเดิมแต่จะแบ่งหน้าที่ให้คนอื่นทำบ้าง ไม่ใช่ให้หนูทำคนเดียว สอนเขาให้ทำส่งรายงานแบบนี้บ้าง เพราะหนูไม่รู้ว่าปีหน้าจะมีเวลามาทำแบบนี้ไหม พยาบาลเรียนหนัก จะส่งต่อให้น้อง ถ้ามีเวลาหนูจะมาทำโครงการแบบนี้เหมือนเดิม


ถาม ความรู้สึกที่มีต่อหมู่บ้านชุมชนเทียบก่อนและหลังทำโครงการของน้องเป็นอย่างไร

ตอบ รู้สึกรักชุมชนของเรามากขึ้น ก่อนไม่ค่อยอะไรตอนเด็ก ๆ ไม่ค่อยอยากอยู่ในชุมชนเพราะว่าไม่มีอะไรน่าสนใจ พอโครงการนี้เข้ามาหนูอยากทำให้ชุมชนเราเป็นชุมชนหนึ่งที่น่าอยู่ มีสัตว์ป่า มีแม่น้ำอุดมสมบูรณ์ มีปลาที่หลากหลาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อยากให้ชุมชนของเราเป็นชุมชนที่สะอาด มีความอุดมสมบูรณ์ คนในชุมชนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข