นักถักทอชุมชนรุ่นหนึ่ง กับการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
หลังจากการเข้าร่วมหลักสูตรนักถักทอชุมชนในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา สมเกียรติ สาระ หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.หนองอียอ เล่าว่าได้เกิดโรงเรียนครอบครัวขึ้น ซึ่งมีการพัฒนาเด็กและเยาวชน เช่น มีการเรียนการทางครูภูมิปัญญา การเรียนรู้ในเรื่องของอาชีพ การทำเกษตรอินทรีย์ การดูแลผู้สูงอายุ อีกทั้งการทำสันทนาการต่างๆ
“ซึ่งการที่เด็กทำกิจกรรมก็จะไปตอบโจทย์การประเมินพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. จะมีพื้นฐานของสาธารณะ ส่วนในเรื่องการศึกษา กิจกรรมของเด็กก็จะไปตอบโจทย์ในเรื่องของการศึกษา เช่น การศึกษาในเรื่องของอาชีพ การศึกษาในเรื่องของสมุนไพร การศึกษาในเรื่องของประเพณีความเป็นมาต่างๆ การศึกษาในเรื่องของสาธารณะสุข เด็กๆ ก็จะไปดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุ เด็กๆ ก็ต้องไปเรียนรู้เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุจากคุณหมอ ซึ่งก็ต้องดูแลสุขภาพตามอาการ ในเรื่องของการพัฒนาเด็กและเยาวชน เด็กก็จะไปทำกิจกรรม และสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ ในเรื่องของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เด็กจะทำกิจกรรมในเรื่องของประเพณีต่างๆ การเรียนรู้ประเพณีบุญบั้งไฟ การเข้าร่วมกิจกรรม การแห่เทียนเข้าพรรษา การทำบายศรี การห่อข้าวต้ม อันนี้ก็จะเป็นคนในชุมชนถ่ายทอดให้เด็กๆ ให้เรียนรู้ อันนี้ก็จะเป็นการถ่ายทอดให้เด็กๆ รักษาประเพณีวัฒนธรรมในคนรุ่นใหม่ ในเรื่องของการปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในตัวนี้ก็จะตอบโจทย์ในเรื่องของการที่เด็กมารวมกันทำกิจกรรมต่างๆ”
กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยลดการทะเลาะเบาะแว้งของกลุ่มวัยรุ่น และการไปใช้เวลาว่างโยเปล่าประโยชน์ ทำให้ทำเรื่องผิดๆ ได้ เช่น เรื่องของยาเสพติด
เรื่องของการเงิน การปกครองก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กคิดในเรื่องของกิจกรรมเป็นการทำกิจกรรมในเรื่องของประชาธิปไตย ก็จะใช้ในเรื่องของการประชุม ใช้มติในที่ประชุม และในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กิจกรรมนี้ก็จะทำในเรื่องของการจัดการขยะ การร่วมกันทำความสะอาด การร่วมกันปลูกต้นไม้ ดูแลทรัพยากรในตำบล นี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เด็กทำแล้วสามารถเอาไปตอบโจทย์ตัวชี้วัดของอบต.ได้
ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะมองว่าอบต. ไปทำเรื่องเยาวชนจะเป็นภาระ หรือเป็นงานที่นอกเหนือหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้วเด็กที่เขารวมกลุ่มมาทำกิจกรรมให้กับอบต. ซึ่งตอบโจทย์ของเรา เพราะทำให้อบต. ได้งาน ได้ตัวชี้วัดที่ชัดเจน และครอบคลุมมากกว่าที่เจ้าหน้าที่อบต. จะไปทำเอง เพราะสามารถลดขั้นตอนได้ครับ
จากคำพูดที่ว่า “อบต.ขายเด็กกิน” มีสาเหตุมาจากการไปตรวจประเมินมาตรฐาน จะมีการประเมินตามตัวชี้วัดต่างๆ ตัวชี้วัดอันนี้อบต.ก็จะนำไปใช้ตอบโจทย์ด้านศาสนา วัฒนธรรม ก็ใช้เยาวชนทำ การศึกษาก็ใช้ในเรื่องของเยาวชนไปตอบโจทย์ กรรมการก็เห็นว่าทำไมทุกกิจกรรม เยาวชนสามารถไปตอบโจทย์ได้หมดเลย ซึ่งตอนนี้กลายเป็นว่ากิจกรรมทุกกิจกรรมจะเอากิจกรรมของเยาวชนมาอ้างอิง เราจับในเรื่องของเด็กเรื่องเดียว แต่กิจกรรมที่เด็กทำสามารถไปสร้างการทำงานด้านต่างๆ ที่เป็นหน้าที่อบต. ได้หมดเลย
ความแตกต่างก่อน และหลังตอนเข้าหลักสูตรนักถักทอฯ ก่อนเข้าหลักสูตรนักถักทอฯ การคิดกิจกรรมต่างๆ ก็จะเป็นเจ้าหน้าที่อบต. ส่วนใหญ่ ในเรื่องของการทำกิจกรรม เราจะเป็นคนนำเสนอแล้วให้เด็กทำตาม ส่วนในเรื่องของกรรมการก็จะเป็นในเรื่องของโครงสร้าง ไม่ได้มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ พอเข้ามาในหลักสูตรนักถักทอชุมชน ก็ได้เรียนรู้ในเรื่องของ “การวิเคราะห์ภาคีเครือข่าย” และ“การประสานงาน”
“ได้ใช้ความรู้ในเรื่องของการประสานงาน เรื่องที่เด่นชัดที่สุดคือโรงเรียนทั้งสามโรงเรียน และสี่โรงเรียนในอบต. อันนี้ทางโรงเรียนมีการในคุณครูที่ทำในเรื่องของเด็กและเยาวชน มาร่วมเป็นกรรมการ เราก็จะได้ในเรื่องเด็กสามารถคิดกิจกรรมและนำไปให้กรรมการ เพื่อกรรมการจะได้คิดวางแผน ประเมินผล เราก็เป็นเพียงผู้ประสานงานที่เป็นฝ่ายเลขา เราก็จะเบาลงในเรื่องของการเข้าไปทำในกิจกรรมต่างๆ แล้วก็จะมีแกนนำเด็กเข้ามาในช่วงหลักสูตรนักถักทอฯ เพราะเราได้รู้จักกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน หนึ่งในนั้นก็คือสถาบันยุวโพธิชน ซึ่งเราก็ได้ส่งเด็กของเราไปร่วม 17 คนซึ่งเด็กสามารถกลับมาแล้วมาทำกิจกรรมได้ งานอบต. ของเราก็สามารถไปต่อได้อย่างดี แล้วคนที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนก็ไม่ต้องไปลงแรงเหนื่อย ก็จะมีแกนนำเด็กและเยาวชน และมีกรรมการภาคีเครือข่ายมาช่วยทำกระบวนการตรงนี้ทำให้เราขับเคลื่อนได้ดีขึ้น”
ทุกวันนี้ทางอบต.ได้เข้าไปมีส่วนช่วยในเรื่องของกำลังใจ เพราะว่าพอเด็กไปทำโครงการก็จะฉุดในเรื่องของการเรียน เคยมีเกิดขึ้นในช่วงที่เด็กทำกิจกรรมแต่ไม่ได้แบ่งเวลา การเจอกันและประชุมในวันนั้นก็สามารถแก้ไขได้โดย เด็กก็จะไปแบ่งเวลาเรียน ตารางกิจกรรม ตารางครอบครัว ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็เด็กสามารถที่จะพูดคุยและจัดการกับตัวเองได้ และเราก็เสริมในเรื่องของการให้กำลังใจต่างๆ เด็กก็คือเด็ก บางทีเขาไปค่ายมาก็มีพลังเพิ่มขึ้น พอนานไปพลังอาจลดลง ซึ่งตรงนี้ต้องค่อยดู กระตุ้น และให้กำลังใจเด็กๆ เพื่อให้เขามีความมั่นคงทางอารมณ์เพิ่มขึ้น
ตัวอย่างของการแก้ปัญหาของตัวเด็กเอง สมเกียรติ เล่าว่า “จะมีในเรื่องของเด็กที่ออกจากระบบได้สามสี่เดือน แล้วแกนนำเด็กก็จะไปชวนเด็กที่ออกนอกระบบ ไปพูด ไปคุย แล้วเด็กก็มีความคิดที่อยากกลับมาเรียน แต่ไม่อยากจะสื่อสารกับทางโรงเรียนโดยตรงเด็กก็สื่อสารผ่านเพื่อน เพื่อนก็สื่อสารผ่านครู บางทีเพื่อนก็มาสื่อสารผ่านอบต. ก็จะเป็นเครือข่ายการสื่อสาร"
“ก็จะใช้ Facebook เพจโรงเรียนครอบครัว โดยมีการให้กำลังใจ ว่าคนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ช่วยเหลือกัน ซึ่ง Facebook มีจุดประสงค์เพื่อประสานงาน ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ที่ใช้ Facebook เพราะว่าเด็กเรามีกันทุกคน บางทีการใช้โทรศัพท์ถ้าเด็กเรียนอยู่ได้ก็ไม่สามรถคุยได้ เลยฝากขึ้นไว้ที่ Facebook เขาก็จะมาเปิดอ่าน หรือแชร์กันไป”
นอกจากติดตามงานน้องๆ ผ่าน Facebook แล้ว ก็จะมีการติดตามงานโดยการมานั่งประชุมกัน มาถอดบทเรียนกัน เช่นที่ผ่านมามีการจัดค่ายแกนนำรุ่นใหม่ ตัวแกนนำหลักๆ ก็จะอยู่มัธยมปลาย แล้วเขากังวลว่าถ้าเขาจบไปก็จะไม่มีรุ่นน้องต่อยอด เขาก็เลยไปให้น้องๆ มัธยมต้น และไม่เกิน ม.4 มาร่วมกิจกรรมให้ทำกิจกรรมสามวัน และให้เรียนรูจากรุ่นหนึ่ง เรียนรู้จาโครงงาน แล้วรุ่นพี่ก็จะเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเรียนรู้ในช่วงก่อนที่พี่เลี้ยงจะจบ ไปเรียนต่อ
“ในแกนนำรุ่นหนึ่งให้เด็กคิดกิจกรรมที่อยากทำ และในรุ่นสองให้เด็กคิดกิจกรรมอะไรก็ได้เพื่อจะดูว่าแกนนำที่คัดมา 15 คนใช่ตัวจริงไหม ซึ่งพอได้ตัวจริงมาก็จะพัฒนาไปเป็นเด็กที่ยุวโพธิชน จะให้เขาเป็นคนถ่ายทอดได้”
ภาคีเครือข่าย
ยุวโพธิชนเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการทำกระบวนการในจิตใจเด็ก การให้เด็กรู้จักตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ศรัทธาในการเป็นตัวเอง และทำให้เด็กมีการกล้าแสดงออก มีการคิด การเขียน การรู้จักตนเอง ซึ่งจะเป็นการระเบิดจากข้างใน ซึ่งเมื่อเด็กมีสิ่งเหล่านี้แล้ว ซึ่งเมื่อมาอยู่ในสังคมแล้ว สามารถรอดพ้นจากกระแสสังคมต่างๆ ได้ เช่นการรู้จักมีภูมิคุ้มกันในตนเอง เพราะได้ใช้ในเรื่องของปรัชญา และพุทธศาสนา ทำให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างมั่นคงต่อเนื่องได้ ซึ่งคิดว่าสามารถตอบโจทย์ของเด็กเราได้ในเรื่องของเด็กใจร้อน ไม่รู้จักการรอคอย ซึ่งตรงนี้สามารถไปสร้างกระบวนการให้เด็กอยู่อย่างยากลำบากได้ในเวลา 21 วัน ซึ่งในการวิจัยที่เขาเผยแพร่อยู่ ถ้าคนเราทำอะไรซ้ำๆ กันอย่างน้อย 21 วัน พอหลังจากนั้นเขาก็จะทำทกวัน ซึ่งยุวโพธิชนก็ใช้หลักการนี้ การตื่นนอน การสวดมนต์ การสร้างคุณค่าในตัวเอง ไม่หลงไปตามกระแส
บทบาทของนักถักทอฯ
บทบาทของนักถักทอฯ มีหน้าที่ประสานงาน ตอนนี้เด็กเป็นคนคิดงานเองแล้ว เราคอยอยู่ห่างไม่เข้าไปในเรื่องของลายละเอียด เราเห็นว่าเด็กเขาคิดเองทำเองได้แล้ว เราเป็นผู้สนับสนุน อย่างเช่นว่า เขาจะทำกิจกรรมอะไร เราก็จะสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ และก็ค่อยประสานงานกับผู้บริหารกับปลัดว่าเด็กอยากทำกิจกรรมนี้ และคอยให้กำลังใจ คอยให้คำแนะนำ
“ตอนนี้เราอยากให้เด็ก เยาวชนสามารถเป็นนักจัดกระบวนการสันทนาการให้กับชุมชนได้ คือเวลามีกิจกรรมอะไรในชุมชนก็อยากให้เด็กสามารถมาทำกิจกรรมสันทนาการ ทำการถอดบทเรียน สามารถทำกระบวนการต่างๆ ได้ในอบต. เพราะว่าการจัดกิจกรรมอะไรต่างๆ ทางอบต. ยังมีจุดอ่อนในเรื่องการการประเมิน การถอดบทเรียน ในการอบรมอะไรต่างๆ เราก็จะขอใช้เด็กกลุ่มนี้มาทำกระบวนการ และสันทธนาการอะไรต่างๆ ซึ่งตอนนี้ทางอบต. เราได้สมัครเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะด้วย ซึ่งมีการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็จะไปเป็นตัวสำคัญในการจักกระบวนการนี้ด้วย คืออยากให้เขาพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เด็ก เยาวชนในตำบล เพื่อให้คนอื่นมาศึกษาด้วย เพราะตอนนี้เด็กก็ศึกษาในเรื่องของชุมชนเป็นหลักอยู่แล้วด้วย”
คาดหวังว่าในอีกสี่ปีข้างหน้าก็จะมีกลุ่มเยาวชนที่ผู้ปกครอง ชุมชน โรงเรียนได้ให้การสนับสนุน และก็เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนที่มีความต่อเนื่อง เพราะเราหวังว่ากลุ่มเด็ก เยาวชนที่จบไปเรียนในมหาวิทยาลัย เขาจะกลับมาเป็นกำลังสำคัญพาน้องๆ ทำกิจกรรม และชุมชนก็จะเกิดความมั่นใจว่าเด็กกลุ่มนี้เมื่อกลับมาจะทำเพื่อชุมชน กลับมาพัฒนาชุมชนในอีกสี่ปีข้างหน้า และเราก็จะไปลดเรื่องของการพัฒนาด้านต่างๆ ทำให้การพัฒนาด้านต่างๆ ของชุมชนง่ายขึ้น และประหยัดในเรื่องของเวลา ทรัพยากรที่จะเข้ามาคือทรัพยากรมนุษย์
“ในอบต. มีการคุยกันตลอด ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง รู้จักบทบาทการทำงานกันมากขึ้น ทำให้มีความสุขกับการทำงาน และเด็กจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ในการขับเคลื่อน อย่างเช่นว่าตอนนี้เราจะสำรวจในเรื่องของข้อมูลหลักสุขภาพของคนในชุมชน อสม.จะเป็นคนเขียนข้อมูล และมาบันทึกในระบบโปรแกรมที่อบต. และมีแผนกตรวจสอบโยเจ้าหน้าที่อบต. เพื่อความถูกต้อง”
ตอนนี้แกนนำเยาวชนเก่งมาก เก่ง และเร็ว เรียนรู้เร็ว เพราะเขาได้เรียนรู้มาตั้งแต่ม.2-3 และเรียนรู้กับพี่ๆ ซึ่งแกนนำตอนนี้ก็มาจากกลุ่มของแกนนำรุ่นแรกๆ เขาเห็นตัวอย่างที่ดีมาจากรุ่นพี่ มีการคิดเก่งมากขึ้น เลียนแบบสิ่งดีๆ จากรุ่นพี่ เด็กม.2-3 สามารถขึ้นมาเป็นแกนนำเด็ก เยาวชนว่า ไม่ได้ดูที่อายุ เราดูที่หนึ่งเขามีความพร้อมไหม โดยให้เขาประเมินตัวเอง
สุดท้ายสำหรับตัวเองรู้สึกงานเพิ่มขึ้น แต่ว่าเราเบาลง หมายความว่านักถักทอฯ ที่มา 5 คน แต่ก่อนยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ไม่ดี เพราะเราอาจยังไม่ไว้วางใจ แต่ตอนนี้พอเราเรียนหลักสูตรนักถักทอฯ เราสามารถไว้วางใจ เราปล่อยให้เขาลองผิด ลองถูกได้ สองในเรื่องของเยาวชน เขามีกลุ่มของเขา ซึ่งแต่ก่อนเราทำเองหมด แต่ตอนนี้เราแค่ไปนั่งดูเฉยๆ ก็สบายไม่ค่อยมีงานหนัก เพราะมีคนช่วยเยอะ และการตรวจประเมินตอนนี้ให้น้องๆ ได้ฝึกทำ ได้ลองถูก ผิด รู้จักความผิดพลาด เพราะจะได้เรียนรู้จากการลงมือทำเอง ซึ่งอีก 2-3 ปีข้างหน้าเขาก็จะเก่งสามารถที่จะไปทำงานเพื่อสังคม
“ฝากถึงนักถักทอฯ รุ่นสอง เมื่อเจออุปสรรคอย่าท้อ เพราะปัญหาทุกอย่างมีทางออก เมื่อเราเจอปัญหา ให้เรากลับมาคิด และวางแผนหนึ่ง สอง สาม เมื่อทำอันที่หนึ่งไม่ได้ก็มาทำอันที่สอง ที่สาม และอย่าเพิ่งล้มเลิก เมื่อเราทำสำเร็จเราก็จะคิดว่า เราก็ทำได้นะ เรามีการมั่นใจในตัวเองว่าเราก็ทำได้ให้เราคิดว่าปัญหาคือโจทย์ เราไปทำข้อสอบเมื่อเจอโจทย์ยาก ก็ไปทำข้ออื่นก่อนแล้วค่อยกับมาทำข้อที่ทำไม่ได้ ให้คิดว่าปัญหาคือโจทย์ที่เราต้องแก้ให้ได้ แล้วจะสนุก และคิดว่าที่เราทำเราไม่ได้ทำเพื่อตนเอง เราทำเพื่อผู้อื่น เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคขึ้น เราก็ไม่ต้องไปคิดเสียดาย เสียใจหรือเสียความรู้สึก เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อตนเอง เราทำเพื่อคนอื่น ได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เมื่อมีทุกข์สักวันมันก็หาย เมื่อมีสุขอย่าหลงกับมัน ทุกข์สุขอยู่ที่ใจเรา เราต้องมีสติอยู่กับตนเอง เพื่อดึงตัวเองกลับมาเวลาพูดอะไรไร้สาระ เรามีความเป็นจิตอาสามากขึ้น”