กรกช มณีสว่าง : พัฒนาการเจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่มจากมุมมองของตนเอง ในโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ปีที่ 2

นายกรกช มณีสว่าง (กช) 

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสาธารณะและพี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชน (โค้ช)


ก) ออกแบบ วางแผนการผลิตและ เผยแพร่สื่อ เพื่อการสื่อสารผลการปฏิบัติงานขององค์กรสู่สาธารณะ สำหรับการทำหน้าที่ในส่วนนี้ทำให้ตนเองได้เรียนรู้ไปในการทำงานไม่ว่า จะเป็นเรื่องการถ่ายภาพให้ภาพนั้นดูมีพลัง สื่อความหมาย และสามารถถ่ายทอดเป็นเรื่องราวได้จากเมื่อก่อนเป็นคนที่ไม่เคยได้คำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่นการถ่ายรูปแบบไม่มีหลัก ไม่มีพลัง ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ในเรื่องทักษะการใช้ภาษาในการถ่ายทอดสู่สาธารณะให้คนอ่าน อ่านแล้วเข้าใจ มีทักษะในการคิดอย่างเป็นลำดับคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น รู้จักนำทฤษฎีที่เรียนมานำมาประยุทธ์ใช้ในการทำงาน เช่น การออกแบบโปสเตอร์, การทำภาพประกอบเพลงสงขลาส่องแสง ซึ่งในแต่ละครั้งในการออกแบบจะต้องนำพวกทฤษฎีต่างๆที่เคยเรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการดึงดูความสนใจ เพิ่มเสน่ห์ให้กับชิ้นงาน เป็นต้น

ข) ควบคุมดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร สำหรับการทำหน้าที่ในส่วนนี้ทำให้ตนเองได้เรียนรู้ไปในการทำงานคือ เป็นการฝึกฝนเรียนรู้งาน โดยนำวิชาความรู้พื้นฐานที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ ทั้งเป็นการฝึกฝนเพื่อต่อยอดในองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ทำให้ตนเองมีทักษะในเรื่องการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนที่จะฝึกฝนตนเองให้มีความทันสมัยในเรื่อง social network และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามต่างๆกับผู้ร่วมงาน เมื่อมีข้อสงสัยได้อยู่เสมอ และเมื่อสิ่งไหนที่ตนเองไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ตนเองก็จะพยายามหาคำตอบนั้นให้ได้จากแหล่งสืบค้นต่างๆไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือแหล่งสืบค้นผ่านทางโลกออนไลน์ เช่น การใช้กล้องถ่ายภาพจำพวก DSLR ในการถ่ายภาพและวีดีโอ ซึ่งตนเองไม่มีความรู้พื้นฐานในการใช้กล้องจำพวกเลย ทำให้ตนเองจะต้องศึกษาเรียนรู้ในการหาเทคนิคต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการถ่ายภาพให้ดีขึ้น และเพื่อเป็นการยกระดับตัวเอง ในการฝึกการคิดอย่างสร้างสรรค์ ที่จะผลิตสื่อ ในหลายรูปแบบ

ค) หนุนเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเยาวชน ดังนี้

๑) พัฒนาโครงการของกลุ่มเยาวชนแกนนำ สำหรับการทำงานในส่วนนี้ พัฒนาในเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบคิด คิดมีเหตุมีผล มีทักษะในการรู้จักการตั้งคำถามกับเยาวชนมากขึ้น ว่าจะต้องมองจาก สภาพปัญหา, สาเหตุปัญหา, ผลกระทบปัญหา, ไอเดียร์ในการแก้ไขปัญหา และภาพฝันที่ตัวเยาวชนเองอยากจะให้เกิดขึ้นเมื่อทำโครงการเสร็จสิ้น เพื่อให้ตัวเยาวชนเองได้คิดทบทวนถึงงานที่ตนเองทำ ทำให้ตัวเยาวชนเองนั้นรู้จักเป็นคนที่จะเรียนรู้ในการตั้งคำถาม และเข้าใจหลักการเขียนโครงการที่ถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้ตนเองได้พัฒนาในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานและระหว่างเยาวชนในโครงการ รู้จักการทำงานเป็นทีมงาน รักและมีความสามัคคีกันมากขึ้น

๒) ประสาน กำกับ ติดตาม ให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ สำหรับการทำงานในส่วนนี้ พัฒนาในเรื่อง การมีทักษะในการสื่อสารในการประสานมากขึ้น มีความกล้าที่จะประสานงานกับคุณครูที่ปรึกษาและเยาวชนในโครงการ จากเมื่อก่อนเป็นคนไม่กล้าประสานงาน มีทักษะในการบริหารจัดการเวลาที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับการทำงานและการติดตามโครงการของเยาวชน รู้จักการวางแผนงาน ก่อนลงติดตามการทำงานของเยาวชน โดยมีการทำตารางงานในการบันทึกของตนเอง เพื่อง่ายต่อการวางแผน

๓) สังเกตการณ์ บันทึก และรายงาน ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนกิจกรรม และพัฒนาการของเยาวชนแกนนำสำหรับการทำงานในส่วนนี้ พัฒนาในเรื่องมีทักษะในการสังเกต เป็นการฝึกให้ตนเองมองตัวเยาวชน และจดบันทึกการทำงานของกลุ่มเยาวชน ร่วมถึงตัวเยาวชนแต่ละบุคคล ในการลงไปติดตามโครงการเยาวชนในแต่ละครั้งว่ามีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง รู้จักมีการใช้ถ้อยคำและภาษาในการเขียนเรียบเรียง วิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกจากการลงพื้นที่ กลั่นกรองออกมาเขียนเป็นรายงานได้ เมื่อลงไปติดตามโครงการเยาวชน

๔) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเสริมสร้างพลังการขับเคลื่อนกิจกรรมของเยาวชนแกนนำ สำหรับการทำงานในส่วนนี้ ตนเองมีความรู้สึกว่า มีทักษะความสามารถในการหนุนเสริมเติมเต็มโครงการของเยาวชนในส่วนที่ขาดหายไปได้ในบางส่วน เช่น การลงไปพื้นที่ของโครงการห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ น้องๆไม่มีความรู้ในการทำแผนที่เดินดิน ในฐานะพี่เลี้ยงจะต้องเป็นผู้เติมเต็มทักษะนั้นๆ โดยตนเองจะต้องศึกษาเรียนรู้จากแหล่งสืบค้นต่างๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นมาถ่ายทอดให้กับเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ตนเองรู้สึกว่าเมื่อก่อน ตนเองเป็นคนไม่มีประสบการณ์ในการณ์แลกเปลี่ยนกับเยาวชน ไม่กล้าที่จะทำอะไร ไม่กล้าที่จะตัดสินใจเรื่องใดเลยกลับมากล้าทำในสิ่งนั้นๆมากขึ้น

๕) รายงานความก้าวหน้าการจัดกิจกรรมของเยาวชนแกนนำผ่านสื่อ Social Network สำหรับการทำงานในส่วนนี้ พัฒนาในเรื่องการมีทักษะในการนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์ เรียบเรียง และถ่ายทอดสื่อสารออกมาเป็นภาษาถ้อยคำที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและมีพลังแสดงสู่สาธารณะ มีทักษะในการใช้ช่องทางการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างเยาวชนแกนนำกับพี่เลี้ยงกลุ่ม เป็นการติดตามโครงการของเยาวชน และสร้างสัมพันธภาพไปในตัว

ง) ปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการและงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย สำหรับการทำงานในส่วนนี้ ตามที่ได้รับมอบหมายเช่น ๑) การเขียนหนังสือ(หนังสือราชการ,บันทึกข้อความ) ทำให้มีทักษะเรื่องการเขียนหนังสือต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักการเขียน รูปแบบหนังสือ ภาษาถ้อยคำที่ใช้ในการเขียน เป็นต้น ๒) การประเมินราคาในการซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ทำให้มีทักษะให้การประเมิน และเปรียบเทียบราคา คุณภาพ สินค้า เช่น คอมพิวเตอร์มี spec ที่มีคุณภาพเหมือนกัน แต่ราคาต่างกัน ถ้าจะซื้อจะต้องซื้อในราคาที่ถูกที่สุด รู้จักการต่อรองราคา ทำให้เราเป็นคนที่มีวิจารณญาณในการเลือกซื้อสินค้า มัธยัสถ์ ในการซื้อของและนอกจากนี้ยังทำให้ตนเองเป็นคนที่มีความโปร่งใส่ในการใช้เงินอีกด้วย ๓) การลงพื้นที่ติดตามโครงการเยาวชน ที่รับผิดชอบและร่วมกับโครงการเยาวชนกลุ่มอื่นๆเพื่อลงไปสังเกต ร่วมไปเรียนรู้ การทำงานของเยาวชนกลุ่มนั้น ทำให้เราได้รู้จักการเสียสละ การที่เราลงไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชนทำให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ในบางครั้งในสิ่งที่เยาวชนทำเรายังไม่มีประสบการณ์มาก่อน