การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์

“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่  27  พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี



การ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการ  ในรูปแบบเฉพาะ ใช้สิ่งที่โรงเรียนทำอยู่แล้วคือเรื่องป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมเข้ามาจับกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดความพอเพียงไว้ 6 ประการคือ 1.พึ่งพาตนเอง 2.ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3.ให้โรงเรียนเป็นครูและแหล่งเรียนรู้ 4. บริหารแบบบูรณาการ 5. ประหยัดอดออม ลดค่าใช้จ่าย 6. รู้คุณค่าความพอเพียง เน้นใช้ “สื่อท้องถิ่น” ที่เป็นบริบทของชุมชนมาใช้จัดการเรียนรู้ มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ เพื่อใช้เป็น “กุศโลบาย” ขยายผลไปสู่ครู  ครูและนักเรียนของโรงเรียนทุกคนเข้าใจนิยาม ความหมาย และวิเคราะห์ได้ แต่ยังไม่มีการนำไปปฏิบัติ ใช้หลักการขับเคลื่อนแบบ “หมากรุกโมเดล” คือขับเคลื่อนไปทั้งกระดาน ตั้งแต่ผู้อำนวยการ ครูแกนนำ  นักเรียน และเครือข่าย  ส่วนการต่อยอดจะเน้นทำในสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วจึงขยายผลไปสู่โรงเรียนรอบข้าง

โรงเรียน คลองพิทยาลงกรณ์มีบริบทที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกรุงเทพฯ  มีการทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องทะเลกรุงเทพฯ  และกรุงเทพศึกษา อยู่แล้ว คลองพิทยาลงกรณ์อยู่ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อชีวิตที่ ดีของกรุงเทพฯ  26  แห่ง ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  มีโครงการเด่น 4  โครงการคือ 1.เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 2.ออมทรัพย์และสหกรณ์ 3.การออกกำลังกาย และ 4.โภชนาการ  ในรูปแบบฐานกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติจริง  ครูส่วนใหญ่รู้แล้วว่าตัวเองต้องทำอะไร ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อต้องขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงนำโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนเคยทำมาจับเข้ากล่องเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งเรื่องหลักสูตรสถานศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์หรือจุดมุ่งหมายการศึกษาของชาติ เราต้องทำให้ครูเข้าใจและปฏิเสธไม่ได้  ไม่ว่าอย่างไรเขาก็ต้องสอนเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะถูกบังคับโดย พ.ร.บ. เมื่อเป็นเช่นนี้ โรงเรียนจึงสร้างเป็น “วิสัยทัศน์” ขึ้นมา และเริ่มขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน

โรงเรียน คลองพิทยาลงกรณ์กำหนดความพอเพียงไว้ 6 ประการคือ 1.พึ่งพาตนเอง 2.ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3.ให้โรงเรียนเป็นครูและแหล่งเรียนรู้ 4. บริหารแบบบูรณาการ 5. ประหยัดอดออม ลดค่าใช้จ่าย 6. รู้คุณค่าความพอเพียง โรงเรียนไม่ได้เน้นหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แต่ทำ 6 เรื่องนี้แทน

การ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของคลองพิทยาลงกรณ์ดำเนินการโดยฝ่าย วิชาการซึ่งรับภาระหนักที่สุด  เพราะที่โรงเรียนมีหลักสูตรกรุงเทพศึกษา และป่าชายเลนอยู่แล้ว และมีการทบทวนหลักสูตรทุกปี ผมมาอยู่ที่นี่ 4 ปี พบว่าทุกต้นปีแต่ละสายชั้นต้องมีหลักสูตรกรุงเทพศึกษา และป่าชายเลน นำเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปจับทำแผนการสอนจากง่ายไปถึงยาก นำหลัก 3 ห่วง  2 เงื่อนไขเข้าไปจับ โรงเรียนจะใช้วิธีอบรมครูบ่อยๆ เมื่อครูเข้าใจก็จะไปถึงตัวเด็กได้ง่าย

ก่อน หน้านี้คลองพิทยาลงกรณ์ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบ เฉพาะของเราเอง แต่เมื่อครูของเราได้รับการอบรมมากขึ้นก็นำความรู้มาขยายผลต่อ  จนครูในโรงเรียนเริ่มเข้าใจมากขึ้น แต่ถ้าถามว่าสำเร็จไหม คงไม่ใช่ แต่ครูเริ่มเข้าใจมากขึ้น เพราะได้ไปอบรมมากขึ้น ได้ลงมือปฏิบัติจริง ให้ครูเรียนรู้เรื่องแผนการจัดการเรียนรู้ โดยจัดให้มีการอบรมและนำตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้มาให้ดูว่า ครูสามารถตอบได้ไหม  นำหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขไปจับ ถ้าครูตอบได้แสดงว่าครูเข้าใจนิยามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อครูเข้าใจแล้วจึงให้เขียนแผนของตัวเอง ส่วนใหญ่วิชาที่เห็นภาพชัดเจนมากๆ คือวิชาการงานหรือวิชาในภาคปฏิบัติ ส่วนวิชาอื่นๆ โรงเรียนเน้นใช้
“สื่อท้องถิ่น” ที่เน้นความเป็นบริบทของชุมชน  เช่น นำฝักโกงกางมาเป็นสื่อการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็ก ป.1 เป็นต้น  

ส่วน ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กต้องยอมรับว่ายังเห็นไม่ชัดเจนมากนัก  อาจจะเหมือนของโรงเรียนลาซาลจันทบุรีคือ เด็กรู้นิยาม เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แต่การปฏิบัติยังไม่ชัดเจน แต่ในภาพรวมเด็กคิดว่าเด็กเข้าใจแล้ว ตัวอย่างเช่น เรื่องการออมที่นี่เด็กจะมีการออมเงินเยอะมาก คลองพิทยาลงกรณ์เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนประมาณ  500 คน ในแต่ละปีเด็กสามารถออมเงินได้มากถึง 900,000 – 1,000,000 บาท ซึ่งอาจจะพออนุมานได้ว่าเด็กรู้จักคำว่าประหยัด  แต่ยังไม่ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริงๆ แต่เด็กเริ่มเกิดความตระหนัก นอกจากนี้โรงเรียนยังส่งเสริมให้เด็กใช้เสื้อผ้าเก่า  โดยเราจัดกิจกรรมมัดย้อมผลิตภัณฑ์จากเปลือกตะบูนที่เป็นวัสดุท้องถิ่นทุกวัน ศุกร์ เด็กจะเห็นว่าเสื้อผ้าเก่าก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  แม้แต่ครูก็ใส่เสื้อมัดย้อม จนเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนไปแล้ว เหมือนเป็นการสร้างแบบอย่างของโรงเรียนให้คนอื่นเห็น แต่การปลูกฝังให้ลงลึกไปถึงการดำเนินชีวิตนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร แม้กระทั่งครูก็เช่นกัน เราจะดูว่าครูคนไหนเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ดูได้จากการกู้เงิน หากครูคนไหนมีหนี้สินมาก แสดงว่าครูยังไม่เข้าใจ ตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่เราพอจะมองได้  โชคดีที่โรงเรียนมีการกู้หนี้ยืมสินน้อย แสดงว่าครูก็อยู่อย่างพอเพียงพอสมควร แต่ตัวชี้วัดนี้ยังไม่ถือว่าเป็นความ สำเร็จที่เป็นรูปธรรม  

ส่วน ปัญหาของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนคลองพิทยาลง กรณ์นั้นก็คงมีเหมือนกับโรงเรียนอื่น ในฐานะผู้บริหารเราต้องทำให้ดูอยู่ให้เห็น ต้องทำให้ครูและนักเรียนเห็นเป็นแบบอย่าง เช่น  มาเช้ากลับเย็น  ไม่ทำอะไรที่สื่อให้เห็นว่าผู้บริหารกับครูแบ่งชนชั้นกัน  โดยเฉพาะเรื่องการทำงาน เราต้องทำร่วมกับครูจริงๆ  ไม่ใช่ให้แต่นโยบายอย่างเดียว  บางเรื่องที่ครูไม่สามารถทำได้ ผู้บริหารต้องเข้ามาช่วย เช่น การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ การเชิญวิทยากร ที่ต้องใช้ความสามารถของผู้บริหาร เพราะบางครั้งศักยภาพครูยังไม่ถึงที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้

สำหรับ โครงการที่หนุนให้ครูทำแล้วประทับใจ คือโครงการยุวเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพมหานคร หลายคนมองว่าเราเป็นโรงเรียนในกรุงเทพฯ ทำโครงการเกษตรได้อย่างไร  แต่คลองพิทยาลงกรณ์มีจุดแข็งคือมีพื้นที่มากถึง 30 ไร่ จึงรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการประมาณ 40 คน  ที่มีพื้นฐานเรื่องการงานพื้นฐานอาชีพอยู่บ้าง เพราะกิจกรรมของเรามีทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น  ไปศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น  เราวางแผนพาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่ โดยให้ขี่จักรยานไป เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ท้องถิ่นตัวเอง เกิดความรักความหวงแหนในภูมิปัญญาท้องถิ่น จากนั้นนำมาต่อยอดเป็นโครงการสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสียด้วยรากแสม  เมื่อเด็กได้เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรมสังคมต่างๆ เขาก็ต่อยอดจากสิ่งเหล่านี้ไปหาผักพื้นบ้านมาประกอบอาหาร โดยไปศึกษาจากผู้ปกครองว่าเคยทำอะไรมาบ้างในอดีต แล้วนำกลับมาต่อยอดในโรงเรียน เป็นการทำให้เด็กเห็นคุณค่าความสำคัญของชุมชน เช่น ไข่เค็มชายคลองภูมิปัญญาชาวบ้านที่สูญหายไปแล้ว  แต่เด็กก็ไปสืบค้นข้อมูลและฟื้นขั้นตอนวิธีการทำขึ้นมาใหม่  ไข่เค็มชายคลองคือการนำดินที่อยู่ตามคันดินของบ่อกุ้ง ซึ่งเป็นดินผสมน้ำทะเลมาพอกไข่นั่นเอง

ใน ฐานะผู้บริหารบทบาทของเราคือ ให้การสนับสนุนครูทุกอย่าง เช่น หากครูต้องการพานักเรียนไปเรียนรู้นอกสถานที่ เราไม่อนุญาตไม่ได้  แต่เราก็ต้องมีขั้นตอนกระบวนการด้วยเช่นกัน เช่นครูต้องทำหนังสือขออนุมัติ มีการจัดทำแผนงบประมาณ แผนการเดินทาง หากเรื่องใดที่ครูไม่สามารถทำได้ ในฐานะผู้บริหารเราต้องช่วยอำนวยความสะดวกให้ทุกเรื่อง  

คลอง พิทยากรลงกรณ์มีโครงการอยู่หลายโครงการ  เมื่อโรงเรียนมีแผนจะขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงนำตัวชี้ วัดของเศรษฐกิจพอเพียงลงกล่องต่างๆ  จนปี พ.ศ. 2552 ได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง จึงนำตัวชี้วัด 5 ด้านมานั่งคุยกันว่าแต่ละด้านเราจะทำอะไรกันบ้าง โรงเรียนควรเตรียมตัวอย่างไร ครูและนักเรียนต้องเตรียมตัวอย่างไร และชุมชนต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อให้กรรมการเข้าไปประเมิน ซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควร โชคดีที่ปี พ.ศ. 2551 คลองพิทยาลงกรณ์ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน จึงพอมีวิธีการทำงานที่เป็นระบบอยู่บ้าง แม้ว่า ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะบอกว่าโรงเรียนมีกิจกรรมเยอะมาก  เกินศักยภาพและเกินบทบาทของโรงเรียน แต่เราก็สามารถดึงกิจกรรมต่างๆ ให้เข้ามาอยู่ในกรอบการประเมิน 5 ด้านได้  ด้วยการทำความเข้าใจตัวชี้วัดแต่ละตัวว่าอะไรที่เราทำเกินไป อะไรที่ต้องทำเพิ่ม เพื่อให้ผ่านการประเมิน

แต่ หลังจากประเมินเสร็จแล้ว สิ่งที่ตามมาคือครูหลายคนยังไม่เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดการอบรมขึ้น โชคดีมีคุณครูของเราเป็นวิทยากรของมูลนธิสยามกัมมาจล ก็ให้ครูท่านนี้เป็นหลักในการหาทีมงานเพิ่มอีก  5 คน เพื่อขยายผลไปสู่ครูท่านอื่นต่อไป  ถามว่าครบไหม  ผมตอบได้เลยไม่ครบทุกคน

นอกจากการอบรมครูแล้ว การสร้างแหล่งเรียนรู้ คือ
“กุศโลบาย” หนึ่งที่เราใช้ขยายผลไปสู่ครู ให้ครูรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ และประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจัดอบรมยุว มัคคุเทศก์ ให้ครูไปอบรมด้วย เพื่อให้ครูเป็นทั้งนักปฏิบัติและผู้นำเสนอได้ ซึ่งช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครูได้มาก การขยายผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผมว่า “เครือข่าย” เป็น สิ่งสำคัญ  คลองพิทยาลงกรณ์มีเครือข่ายทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น ตอนนี้สปาฟ่า(ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์) มาขอข้อมูลโรงเรียนเรื่องป่าชายเลนเพื่อนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเรื่องที่โรงเรียนทำอยู่แล้ว ถือเป็นฐานการเรียนรู้ของชุมชน  ที่คนในชุมชนต้องมาเรียนรู้เรื่องป่าชายเลนกับโรงเรียน  สิ่งเหล่านี้ทำให้ครูรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาทำไม่สูญเปล่า ทำแล้วเห็นผลกลับมา แต่มันก็ยังเป็นภาพของกิจกรรม การ ลงลึกถึงตัวบุคคลให้มีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันยังต้องใช้เวลาอีกนานพอ สมควร เราต้องเข้าใจว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือหลักคิด หลักปฏิบัติ ครูและนักเรียนของโรงเรียนทุกคนเข้าใจนิยามความหมายหมดแล้ว ถึงขั้นวิเคราะห์ได้แล้ว เหลือแต่การนำไปปฏิบัติ การคิดอย่างมีเหตุมีผลเท่านั้นที่ยังไม่สามารถวัดผลได้ ครูไม่ค่อยมีปัญหา จะมีปัญหาก็คือเด็กที่มีคุณลักษณะนิสัยพอเพียงซึ่งเป็นภาพที่เรายังมองไม่ ออก

การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ : คลองพิทยาลงกรณ์เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีครู 22 คน เด็ก 500 คน การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้จึงแตกต่างจากที่อื่น ไม่มีการสั่งการจากบนลงล่าง แต่ทุกคนเท่าเทียมกัน การพัฒนาครูเป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้อำนวยการได้เรียนรู้มาทั้งจาก สพฐ. สำนักงานทรัพย์สินฯ และมูลนิธิสยามกัมมาจล  จนครูในโรงเรียนมีภูมิรู้มากขึ้น และเมื่อได้รับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจึงต้องเตรียมรับมือกับการศึกษาดูงาน โดยจัดทำเป็น “หมากรุกโมเดล” ที่ต้องขับเคลื่อนไปทั้งกระดาน นั่นคือตั้งแต่ผู้อำนวยการ ครูแกนนำ  นักเรียน รวมไปถึงเครือข่ายด้วย  

การขยายผล : หากมีคนเข้ามาศึกษาดูงาน เขาจะได้เรียนรู้ทุกเรื่องทั้งเศรษฐกิจพอเพียง ป่าชายเลน และสิ่งแวดล้อม เมื่อมาถึงสิ่งแรกที่ทุกคนต้องเรียนรู้คือ นโยบายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง จากนั้นจะดูเรื่องหลักสูตรต่างๆ อาทิ กรุงเทพศึกษา ทะเลกรุงเทพฯ เป็นต้น ดูการเขียนแผนการสอน เสร็จแล้วไปสู่ฐานกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนกำลังพัฒนาฐานการเรียนรู้ใหม่ ให้ผู้มาศึกษาดูงานสามารถเรียนรู้ได้เองผ่านแผ่นพับที่บอกเล่าแนวคิดของฐาน การเรียนรู้ไว้อย่างละเอียด แม้จะไม่มีวิทยากรก็ตาม  ซึ่งเหตุผลที่เราทำตรงนี้เพราะป้องกันปัญหาว่าหากมีคนมาเรียนดูงานมาก ครูและนักเรียนจะไม่มีเวลาเรียนนั่นเอง

นอก จากนี้โรงเรียนยังมีแผนที่จะนำเสียงสะท้อนจากผู้มาศึกษาดูงานมาปรับปรุง แก้ไขศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น  โดยอาจทำในรูปของแบบสอบถาม เราไม่อยากได้คำชม แต่อยากได้คำแนะนำเพื่อให้ศูนย์พัฒนายิ่งขึ้น และที่สำคัญคือให้ครูนำเนื้อหาในฐานการเรียนรู้แต่ละฐานมาจัดทำเป็นหนังสือ อ่านเพิ่มเติมเพื่อเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ของโรงเรียนด้วย 

การต่อยอด : สำหรับคลองพิทยาลงกรณ์การต่อยอดคงเน้นไปที่การพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของ โรงเรียน ที่เรียกว่าทำไปตามกำลังเท่าที่จะทำได้ ตอนนี้เราต้อนรับผู้มาเรียนรู้ดูงานแทบจะไม่ไหวแล้ว  เพราะนอกจากดูงานแล้ว เรายังเปิดโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ ไม่ใช่เฉพาะเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น แต่ยังมีคนมาดูงานเรื่องสิ่งแวดล้อมกับป่าชายเลนเป็นจำนวนมาก  เมื่อก่อนผู้ปกครองมองว่าโรงเรียนทำแต่กิจกรรมไม่ได้สอนนักเรียนเลย แต่พอผลสัมฤทธิ์ออกมาพบว่าคลองพิทยาลงกรณ์ไม่ได้แพ้โรงเรียนอื่นๆ  เสียงตอบรับจากผู้ปกครองจึงดีขึ้น  เด็กที่มาทำกิจกรรมหลายคนอุปนิสัยเปลี่ยนไป ผู้ปกครองก็ดีใจ

การ ต่อยอดการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของคลองพิทยาลงกรณ์จะเน้น ทำในสิ่งที่เรายังขาดอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อในโรงเรียนเข้มแข็งแล้วการขยายผลไปสู่โรงเรียนรอบข้างน่าจะทำได้ดี ขึ้น  ผมเป็นรองผู้อำนวยการที่นี่มา 4 ปีแล้ว เห็นอะไรหลายอย่าง ครูบางคนรู้ว่าจะมาทำงานที่โรงเรียนนี้ก็ไม่ยอมมา กลัวว่าจะทำงานหนัก เพราะที่นี่เราทำงานแปดวัน  วันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่ได้หยุด เนื่องจากที่โรงเรียนเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้มีจักรยานเช่า มีพิพิธภัณฑ์  จึงมีคนเข้ามาท่องเที่ยวและดูงานมาก ครูและนักเรียนของโรงเรียนจึงต้องพร้อมรับมือกับการทำงานเช่นนี้