การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโพนทองวิทยายน

“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่  27  พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี

 

ครู นาฎยา ใช้วิธีให้เด็กเขียน “อนุทิน” ทุกครั้งหลังจบการเรียนการสอน โดยให้เด็กเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้ว่าได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องอะไร  ความประทับใจ ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ทำให้เด็กมีความคุ้นชินกับการเขียนอนุทิน ซึ่งสามารถสะท้อนการสอนของครู  และการเรียนรู้ของนักเรียนได้ นอกจากนี้ครูนาฎยา ยังบูรณาการหลักปรัชญาฯ วิชาวิทยาศาสตร์ สังคม และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
 

ออกแบบการเรียนรู้: เริ่มศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลสถานศึกษาพอเพียง  โดยเริ่มจากการหัดเขียนแผนก่อน เพราะต้องส่งแผนบูรณาการอย่างน้อย 1 แผนให้รองผู้อำนวยการดู  และนำไปจัดการเรียนการสอนให้เห็นจริง  ช่วงแรกๆ ไม่ค่อยเข้าใจว่าการเขียนแผนต้องทำอย่างไร จนมาได้รู้จักกับอาจารย์สารภี สายหอม ที่เข้าใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง เมื่อได้ศึกษาจึงเริ่มเข้าใจว่าต้องทำอย่างไร
 

เนื่อง ด้วยนโยบายของโรงเรียน  ผู้อำนวยการท่านน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน และท่านจะมีนวัตกรรมคือ  PT Model ที่ขับเคลื่อนผ่านครู  ส่วนนวัตกรรมของเราคือ  School post ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนทั้งระบบ  PT Model โดย P คือ Process และ T Transfer เป็นกระบวนการถ่ายโอนความรู้สู่กระบวนการเรียนการสอนซึ่งจะบูรณาการ 3 ส่วน คือ การอ่าน การให้เด็กใฝ่รู้ใฝ่เรียน และการหาทักษะการคิดคือ การทำโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 3  ส่วนบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยใช้ PT Model ครูก็จะน้อมนำหลักเข้าไปจัดการเรียนรู้
 

ใน ขณะเดียวกันโรงเรียนก็มีกิจกรรมในช่วงหลังจากกิจกรรมหน้าเสาธงเสร็จ วันจันทร์อาจารย์จะ Speaking Day เป็นวันพูดภาษาอังกฤษ เด็กนักเรียนจะนำเสนอข่าว หรืออะไรก็ได้ที่เป็นภาษาอังกฤษ จนถึง 8.00 น. หลังจากนั้นก็จะเป็นกิจกรรมจิตอาสา เนื่องจากโรงเรียนมีเนื้อที่มาก  ใบไม้เยอะมาก มอบหมายให้เด็ก ๆ มีเขตรับผิดชอบของตัวเอง วันอังคารเป็นกิจกรรมรักการอ่าน วันพุธเป็นกิจกรรมจิตอาสาเข้าเขตพื้นที่ วัน พฤหัสฯ ผู้อำนวยการจะมาตอกย้ำเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้พูดทุกวันว่าเป็นหลักปรัชญา แต่ท่านจะมีเรื่องเล่าให้เด็กฟังทุกวัน ทุกสัปดาห์ เพื่อตอกย้ำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น โดยผู้อำนวยการจะลงมาเล่นเองเลย มาช่วยครูด้วยในเรื่องของการขับเคลื่อนส่วนวันศุกร์ก็เป็นในเรื่องของจิตอาสา
 

เรา รับหน้าที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์  แต่ครูในกลุ่มสาระยังไม่เช้าเรื่องนี้ชัดเจน  ขณะที่เราก็ต้องมาช่วยขับเคลื่อนเรื่องนี้ในโรงเรียน จึงปรึกษาอาจารย์สารภีให้มาช่วยฝึกเขียนแผนและเริ่มศึกษามาเรื่อย ๆ จนใช้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมบูรณาการเข้ากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำเรื่องนี้มาสอนกับเด็ก พบ ว่าเด็กสามารถเข้าใจโดยที่เราไม่ได้สอนเรื่อง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเลย แต่จะสะท้อนจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เช่น สอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ก็จะบอกเขาว่าในปัจจุบันมีพืชที่เรียกว่า "เอเลี่ยนสปีชีส์" นัก เรียนจะมีวิธีการจัดการอย่างไร ให้นักเรียนออกแบบกิจกรรม เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น ให้เขามองย้อนกลับไปที่ชุมชนของว่ามีเอเลี่ยนสปีชีส์อยู่ไหม เมื่อสำรวจปัญหาได้ ก็จะให้นักเรียนเลือกหนึ่งปัญหา เพื่อแก้ไข บางคนก็เลือกแก้ไขโดยการไปรณรงค์ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ บางคนไปสัมภาษณ์  ตอบแบบสอบถาม สร้างความตระหนักให้กับชุมชน
 

เมื่อ เด็กกลับมาเราจะย้อนถามเขาในเรื่องของการตีความ โดยนำการวิจัยเข้าไปใช้ด้วย ให้เด็กทำเป็นโครงงาน พร้อมกับทำความเข้าใจไปพร้อมกัน เช่น คำพูดอย่างนี้เมื่อถอดเทปออกมาจะตีความว่าอย่างไร จนได้เป็นโครงงานหนึ่งเล่ม หลังจากนั้นก็จะกำหนดให้เขานำเสนอต่อหน้าเพื่อนๆ และน้องๆ สุดท้ายก่อนการนำเสนอจะกำหนดให้เด็กเขียน “อนุทิน” ส่ง เพื่อให้เขาได้ทบทวนตัวเองว่า วันนี้ไปทำอะไรมา ได้เรียนรู้อะไร และเขาจะนำเรื่องการสำรวจนี้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องใดต่อไป  รวมถึงความประทับ ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ชอบหรือไม่ ให้เขามีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเด็กมักจะไม่บอกเราตรงๆ เราเองก็ต้องนำไปวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งจากการตั้งคำถาม
 

หลัง จากเสร็จสิ้นกระบวนการต่างๆ เมื่อเราตั้งคำถามจากอนุทินของเขาแล้วให้เด็กอ่านว่า เราตีความถูกต้องตามที่เขาเขียนหรือไม่ เราจะค่อยๆ บอกเขาทีละน้อยว่าคืออะไร เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร ถ้าบางเรื่องเป็นการทดลองก็จะแทรกเข้าไปในนั้นเลย เวลาให้ทำงานเป็นกลุ่มจะต้องมีแบบฝึกหัดที่เป็นการเชื่อมโยงหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เช่น ทำไมนักเรียนต้องมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เขาจะเข้าใจตรงนี้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการทดลองหรืออะไรก็ตามจะมีแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดให้เขาเขียน
 

เด็ก นักเรียนจะมีความคุ้นชินกับการเขียนอนุทิน หลังจากที่เรียนชั่วโมงนี้เสร็จแล้ว เขาจะกลับไปเขียนอนุทินว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ ความสำเร็จที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตของเขา สิ่งเด็กเขียนมาเป็นการสะท้อนการสอนของครูและตัวนักเรียนเช่นกัน ส่วนข้อเสนอแนะเด็กมักบอกว่าอาทิตย์หน้าอยากไปทดลองที่ไหน เขาจะเขียนมาและมาช่วยกันออกแบบว่าอาทิตย์หน้าเพื่อนๆ จะไปที่ไหนกันดี ถึงแม้ว่าครูจะมีแผนการสอนอยู่แล้วแต่บางครั้งก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสิ่ง ที่เด็กสะท้อน  การเขียนอนุทินเราจะให้เขาเขียนทุกครั้งหลังเรียนจบ โดยไม่กำหนดเวลาส่ง แต่จะบอกว่าควรจะไม่เกินหนึ่งสัปดาห์  ซึ่งเด็กจะรู้เวลาว่าต้องส่งตอน  ไม่เช่นนั้นแล้วเขาจะลืม

 

หลัง จากเรียนไปได้สักระยะจะมีการสัมภาษณ์ จัดวงพูดคุยกันภายในกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อทบทวนความรู้เดิม และเชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นจะมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบทดสอบหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง โดย ให้เป็นสถานการณ์ที่สอดคล้องต่อสิ่งที่เรียน เราจะไม่บอกว่าพอเพียงอยู่ตรงไหน แต่เราจะใช้คำถามถามเขาโดยไม่รู้ตัว พยายามไม่ดึง STS science Technology มาใช้  แต่จะแทรกทักษะการคิดหลายๆ อย่าง ไม่ใช่เฉพาะให้เด็กไปสำรวจโจทย์ที่ครูให้เรื่องของสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีโจทย์ในชุมชน บ้าน  วัด ให้เขาออกแบบหมู่บ้านในฝัน เด็กๆ จะออกแบบของเขามา เชื่อมโยงเป็นเกม ทำให้สนุกกับการเรียน  ไม่เบื่อ เด็กจะมีสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ  มานำเสนอยู่เสมอ เช่น เรียนเรื่องแรง เด็กจะประดิษฐ์ชุดอวกาศที่ปลอดภัยที่สุดมา  ส่วนเรื่องแรงบั้งไฟทำอย่างไรที่จุดแล้วบั้งไฟไม่แตก และเป็นอันตรายน้อยสุด เขาจะคิดมานำเสนอเพื่อนๆ ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ แต่ทุกครั้งต้องมีอนุทินตลอด เพื่อที่เราจะนำไปปรับใช้ต่อในชั่วโมงเรียนต่อไป
 

หลัง จากวัดประเมินผล เราจะให้เขาทำงานเป็นกลุ่มคละตั้งแต่แรก ดูเกรดของเทอมที่แล้ว พยายามคละเรื่องความสามารถ ให้ออกมาจากความคิดของเขาเอง โดยเราจะคอยให้กำลังใจ ไม่ดุเด็กที่เขาอ่อน ส่วนใหญ่จะใช้ Action Research สอนไปด้วย ทำวิจัยไปด้วยว่าเขามีปัญหาเรื่องอะไร เพื่อใช้เป็นกรอบของการพัฒนาไปด้วย การเก็บคะแนนจะไม่เน้นการสอบเท่าไร แต่ให้เด็กตอบตามความคิดของเขาเอง  ถามตอบในห้อง  โดยก่อนสอนจะตกลงกับนักเรียนก่อนว่าเราต้องส่งอนุทินทุกครั้ง มีภาระงานให้นักเรียนทำ ถ้าทำไม่เสร็จก็กลับไปทำที่บ้าน แต่ไม่เชิงเป็นการบ้าน
 

แรงบันดาลใจในการทำเศรษฐกิจพอเพียง:  เพราะมีความศรัทธาในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว ตัวเองตระหนักเสมอว่าคิดก็พอเพียง ทำก็พอเพียง พูดก็พอเพียง ทุกอย่างเดินทางสายกลางเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มันคือความสุข และพยายามสอนนักเรียนอย่างนี้เสมอ จริงๆ ตั้งใจที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานในห้องทดลอง แต่เมื่อได้มาทำงานในด้านนี้ รู้สึกภูมิใจเมื่อนักเรียนที่จบไปมาเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเราตอกย้ำให้เขาเห็นเสมอ ให้เขาเดินทางสายกลาง ยึดมาตลอด ตระหนักและมั่นใจในหลักนี้ว่าคือทางรอดของตัวเราและประเทศชาติ
 

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากเด็กนักเรียน: เด็กรู้ศักยภาพของโรงเรียน โรงเรียนเราใบไม้เยอะ มีสระน้ำ 2 สระ แต่ละเดือนเสียค่าไฟเยอะมาก ทำอย่างไรให้ประหยัดไฟ เด็กมีจิตอาสาโดยการคิดจักรยานปั่นน้ำ แต่ปั่นน้ำอย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์  ทำอย่างไรให้ใบไม้หายไปด้วย เด็กนักเรียนนำใบไม้ไปบด ทำอย่างไรต่อ เนื่องจากโรงเรียนอยู่ใกล้กับโรงงานแป้งมัน เป็นการเชื่อมโยงกับชุมชน ขอกากแป้งมันมาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยอัดเม็ดได้อีก เด็กก็สามารถคิดเอง  เราให้โจทย์กับเขาในการทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ โดยนำหลักปรัชญาฯ เข้าไปใช้ในการคิด ตัวเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง เราจะเน้นให้เขารักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ที่เห็นชัดเจนคือเด็ก ม. 1 ตอนเข้าค่ายรับน้อง ผอ.จะเน้นว่าโรงเรียนเรานำหลักปรัชญาฯ มาใช้ขับเคลื่อนทั้งระบบ ให้เขาดูบริบทของโรงเรียนว่าเป็นอย่างไร มีเด็กคนหนึ่งมาเล่าประสบการณ์ เกี่ยวกับการนำเงินมาใช้ในโรงเรียนว่า นำเงินมาเท่าไหร่ คนแรกนำเงินมา 100 บาท อีกคนหนึ่งนำเงินมา 30 บาท ถามเขาต่อไปว่ากินข้าววันละเท่าไหร่ คนแรกบอกใช้วันละ 30 บาทเหลือเงิน 70 บาทเอาไปใช้เล่นเกม อีกคนหนึ่งถึงจะไม่มีเงินเก็บ แต่เขาก็ไม่เดือดร้อน สามารถอยู่ได้ เมื่อเด็กคนนั้นเห็นเขาก็เริ่มปรับตัว จากที่นำเงินที่เหลือไปเล่นเกมก็เปลี่ยนเป็นเก็บเงินแทน
 

ผู้บริหารกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: หาก มีโรงเรียนอยู่ใกล้ๆ กันจะจัดประชุมร่วมกัน โดยมีผู้อำนวยการบรรยายให้ฟังประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้เห็นภาพรวมของการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ถ้ามีครูก็จะจัดกลุ่มครูให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ถ้ามีเด็กนักเรียนมาด้วยจะมีนักเรียนแกนนำเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หากชั่วโมงไหนที่ครูแกนนำลงมาเป็นวิทยากร ก็จะเตรียมใบงานหรือชุดการสอนเอาไว้ให้ครูไปสอนแทน ใครที่มาแบบผ่านๆ  ผู้อำนวยการไม่อยากรับ  เพราะอยากให้คนที่มาเรียนรู้มีศรัทธาจริงๆ คนที่ตั้งใจจริงเราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หากมีเด็กมาด้วยจะเปิดวง KM ให้ สำหรับวงเด็กจะใช้เกมให้เขาเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง