การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโยธินบูรณะ

“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่  27  พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี

 

ครู เพลินจิตรสอนวิชาประวัติศาสตร์ ชั้น ม.6  เนื่องจากหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจนว่านักเรียนต้องสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ครูเพลินจิตรจึงกำหนดให้นักเรียนทำอะไรก็ได้ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขรายวิชาประวัติศาสตร์ ต้องนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้  สร้างแรงจูงใจให้ด้วยการมอบเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตรให้กลุ่มที่ชนะเลิศ ทำให้เด็กสนุกกับการเรียน
 

ออกแบบการเรียนรู้:  โรงเรียน เริ่มนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาขับเคลื่อนในปี พ.ศ.2552 ตอนแรกไม่รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร แต่เมื่อได้ศึกษาดูแล้วพบว่าคือปรัชญาชีวิตที่เราใช้อยู่ทุกวัน ในส่วนรายวิชาที่รับผิดชอบคือวิชาประวัติศาสตร์ ชั้น ม.6 ซึ่งมีตัวชี้วัดอยู่ในหลักสูตรชัดเจน มาตรฐานที่ 4.1 นักเรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยโครงงาน วิชาการทางวิทยาศาสตร์ ต้องสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา พอดีว่าเราเรียนปริญญาโทด้านการวิจัยมา ทำให้รู้ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ว่าทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งความรู้  ซึ่งก็ไม่พ้นหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แต่เราจะไม่บอกเด็กว่าคืออะไร
 

เรา จะบอกว่าหลักสูตรกำหนดมาชัดเจนว่านักเรียนต้องสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์  เราจะบอกเลยว่าคุณจะทำอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่คุณทำต้องเกิดประโยชน์ต่อสังคม เราจะแนะนำว่าภายใต้เงื่อนไขวิชาประวัติศาสตร์ คุณจะต้องสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าขึ้นมา ภายใต้ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เด็กจะจับกลุ่มรวมกัน 8 - 10 คน เพราะมีงานหลากหลายหน้าที่ทั้ง paper 5 บท และมีสื่อมัลติมีเดียประวิติศาสตร์ เราจะดึงความสนใจโดยการจัดประกวดรางวัลที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 700 บาท พร้อมเกียรติบัตรของโรงเรียน  ยิ่งเป็นเด็ก ม.6 เขาต้องการเก็บสะสมผลงานจึงเป็นแรงกระตุ้นให้เขาอีกช่องทางหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นโครงการในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล เพื่อประหยัดค่าเดินทางและความปลอดภัยของตัวนักเรียน ซึ่งเด็กๆ จะสนุกกับการเรียนมาก เพราะได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง

 

ใน บทที่ 3 ของการวิจัย จะมีวิธีการดำเนินงาน ซึ่งจะมีตาราง วัน เดือน ปี กิจกรรม การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง และชื่อผู้รับผิดชอบ เราจะบอกกับนักเรียนอย่างชัดเจนว่า ในช่องของผู้รับผิดชอบจะต้องมีชื่อสมาชิกทุกคน ถ้าไม่มีคนนั้นจะติดศูนย์ เพราะไม่ช่วยเพื่อนทำ แล้วเด็กต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งที่เขาทำสอดคล้องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไร เด็กจะตอบรับกลับมา เมื่อมีการประชุมวางแผนเลือกหัวข้อ แสดงว่าทุกคนได้ร่วมกันทำ ได้ร่วมกันคิดว่าหลักปรัชญาฯ อยู่ตรงไหน ก่อนที่เด็กจะเลือกหัวข้อแสดงว่าเขามั่นใจว่าทำได้ และอยู่ภายใต้เงื่อนไข เด็กจะยอมรับว่าหัวข้อนี้เราทำได้ และรู้ว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไขอยู่ตรงไหน อันนี้เป็นเหตุเป็นผลแน่นอน เพราะเราไม่ไปต่างจังหวัด เป็นความพอประมาณก็ได้เพราะเรามีเงินในกระเป๋าแค่นี้ เราจะไม่บอกเด็กตรงๆ ว่าอย่างไรตรงไหน แต่จะให้เด็กเรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติ หากเขาไปแล้วทำไม่ได้ ก็ต้องกลับมานับหนึ่งใหม่ แสดงว่าเขาบกพร่องในหลักของความรู้ แต่ว่าในทุกขั้นตอนเขาจะต้องอาศัยหลักตรงนี้ และอาศัยหลักคุณธรรมด้วยว่าเขามีความอดทนไหม มีใครบ้างไม่ฟังเพื่อน  รู้จักความเสียสละ ลดอัตตาความเป็นตัวตนก่อนที่จะได้หัวข้อ ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น วันต่อมาก็เป็นการนำเสนอผ่านสื่อมัลติมีเดีย เด็กจะมีความสุขมากกับการนำเสนอ เพราะได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง เด็กจะพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ให้เขาค่อยเรียนรู้ไป มีอะไรให้เขาโทรศัพท์มาถามเราได้

โรงเรียน โยธินบูรณะจะถูกเคี่ยวกรำเด็กด้วยโครงงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ อยู่ ม. 1 เมื่อมาถึง ม.6 เด็กจึงไม่รู้สึกว่ายาก เพราะเป็นชีวิตที่ทุกคนต้องรู้และนำไปปฏิบัติ เพราะถ้ารู้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขก็วางไว้ตรงนั้น แต่ถ้าทุกคนสามารถซึมซับได้จะเป็นเรื่องดีมาก  เรียกว่าเป็นนวัตกรรมก็น่าจะได้ เพราะที่โรงเรียนเป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงและศูนย์ประวัติศาสตร์ของ สพม.1 จะต้องจัดอบรมครู นำผลงานของเด็ก 5 บทมานำเสนอให้ดู ปรากฏว่าอาจารย์นำไปถ่ายเอกสารเยอะมาก เพราะเขาเห็นว่าเด็กมีชิ้นงาน
 

เด็ก จะได้ในตัวหลักปรัชญาฯ ว่าจริงๆ แล้วมันคือหลักปรัชญาชีวิต เมื่อเด็กเจอปัญหาอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเขามีความรู้และมีความอดทน มีคุณธรรม รับรองเขามีภูมิคุ้มกันแน่นอน จะพยายามบอกเด็กให้รับรู้ตรงนี้
 

แรงบันดาลใจในการทำเศรษฐกิจพอเพียง: โดย ส่วนตัวเป็นคนที่รักและภาคภูมิใจในความเป็นครูอยู่แล้ว มองว่าอาชีพนี้สามารถช่วยพัฒนาประเทศได้ เวลาที่เราพูดจะพยายามพูดในเรื่องของการรักชาติรักแผ่นดิน ประกอบกับมีโอกาสได้ไปเขียนหนังสือของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลปัจจุบัน ทำให้ได้เห็นว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านทำเพื่อประชาชนจริงๆ ทำให้เราอยากทำหน้าที่เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้คงอยู่สืบไป  คิดว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับทั้งสังคมโลก แม้แต่ออสเตรียยังมาขอแนวคิดนี้เพื่อไปทำวิจัย ถ้าทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่เราจะต้องรู้ แล้วค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำ และมีความอดทน ถ้าทุกคนทำได้จะนำไปสู่ความยั่งยืน ถ้าทุกคนทำได้จะดีกับตัวเราเองและส่งผลต่อสังคม
 

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากเด็กนักเรียน: ที่เห็นชัดเจนคือทักษะการทำงานของเด็ก เวลาที่เขาจะทำ เขาจะรู้ว่าต้องวางแผนและแบ่งงานกันทำอย่างไรเพื่อให้ทุกคนได้ทำงาน และนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน มีเด็กที่ได้ทุนเศรษฐกิจพอเพียงเขาจะขึ้น Facebookว่า “มันเป็นความเหนื่อย แต่เป็นความเหนื่อยที่คุ้มค่าและเต็มใจที่จะเหนื่อย” เขาจะมาเล่าให้เราฟังจากสิ่งที่เขาได้ไปเรียนรู้ เขาจะเรียนรู้ว่าจะทำอะไรต้องรู้จักความพอดี พอประมาณ และอีกคนจะมีปัญหากับเพื่อนในเรื่องของอารมณ์ แต่ด้วยความที่เขาสนใจในเรื่องของปรัชญาศาสนาและจิตวิทยา เราจะค่อย ๆ สอนให้เขามีคุณธรรม ทุกวันนี้เขาจะเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากที่เขาเคยเป็นคนอารมณ์แรงทุกอย่าง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แต่เขาสามารถเริ่มได้จากตัวเขาเอง และทำให้เขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เด็กจะต้องทำกิจกรรมบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าต้องทำงานอย่างไร ให้ได้คะแนนเหมือนกับคนอื่นๆ โดยที่ทุกคนต้องรู้จักประมาณตนว่าสามารถทำงานได้ขนาดไหน และต้องช่วยเหลือกันด้วยหลักคุณธรรม และสุดท้ายคือเป็นประโยชน์แก่ทุกคน เพราะทุกคนได้คะแนนดี