การประชุมเชิงปฎิบัติการผู้ประสานงานภูมิภาค โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ครั้งที่ 2/2555

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555  ณ โรงแรมวินเซอร์สวีทส์ สุขุมวิท 20

 

โรงเรียน จิระศาสตร์วิทยา  เริ่มนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงตัง หลังจากโรงเรียนประสบปัญหาอุทกภัยปี พ.ศ.2553 - 2554 โดยขับเคลื่อนผ่าน 3 ทีมคือ 1.ทีมบริหาร 2. ครูผู้สอน 8 กลุ่มสาระ และ 3. ทีมที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งขึ้นเป็น “สภาครู”  มีการจัดประชุมครูทุกสัปดาห์ เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่การเรียนทุกวิชา  เน้นการอบรม สัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครู  มีการปรับภูมิทัศน์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

 

โรงเรียน จิระศาสตร์วิทยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีครูประมาณ 200 คน นักเรียนประมาณ 3,000 คน  นักเรียนส่วนใหญ่ค่อนข้างมีฐานะ เป็นโรงเรียนในเมืองทำให้มีพื้นที่น้อย เมื่อปี พ.ศ.2548ผู้บริหารซื้อพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อทำสวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอ เพียง และได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงเมื่อปี พ.ศ.2552 ยอมรับว่าช่วงแรกๆ ที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโรงเรียน ยังไม่เข้าใจมากเท่าที่ควร  กอปรกับช่วงปี พ.ศ.2553- 2554 โรงเรียนประสบอุทกภัยทำให้โรงเรียนต้องปรับภูมิทัศน์ใหม่ ผู้บริหารจึงนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ทำให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

 

การ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนจิระศาสตร์ ประกอบด้วย1.ทีมบริหารมีท่านประธานที่ปรึกษาผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยฝ่าย ต่างๆ6 ฝ่าย 2. ครูผู้สอน 8 กลุ่มสาระ และ 3. ทีมที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง  โดยผู้บริหารจะจัดตั้งสภาครูขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของคุณครู  มีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆและหัวหน้าสายชั้น หัวหน้าสภาครูจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้แต่ละฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อนด้วย

 

มี การจัดประชุมครูทุกสัปดาห์ เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่การเรียนทุกวิชา  ส่วนตัวครูจะเน้นให้มีการอบรม สัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจ  โดยมีเทคนิคการกระตุ้นครูคือแต่งตั้ง ยกย่อง และชมเชย  โดยทุกสิ้นปีจะมีการประกาศเกียรติคุณชมเชยให้กับครูที่พยายามผลักดันให้นัก เรียนมีคุณภาพเป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุขตามหลักปรัชญาของโรงเรียนคือ “ฉลาดและมีคุณธรรม”

 

นอก จากนี้ยังมีการจัดประชุมร่วมระหว่างครูกับผู้บริหารทุกสัปดาห์ ให้ครูเขียนรายงานการทำงานทุกวัน หากมีปัญหาก็สามารถเข้าถึงและสอบถามผู้บริหารได้  มีหัวหน้าสายชั้นและสภาครูแต่ละสายชั้นทำหน้าที่ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วิธีพูดคุยแบบเพื่อนต่อเพื่อน  มีการปรับภูมิทัศน์ให้เข้ากับบรรยากาศพยายามปลูกตัดเปลี่ยนต้นไม้ทำเป็นสวน วรรณคดีต่างๆ และมีศูนย์ฝึกประสบการณ์ สวนคอมพิวเตอร์ สวนศิลปะ สวนดนตรีไทยและสากล ให้เด็กเลือกเรียนตามอัธยาศัย มีกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์เพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ส่วนปัญหาเรื่องการบริหารงานไม่ค่อยมี เพราะเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ เมื่อมีครูโยกย้ายมาใหม่จะสามารถทำงานต่อได้ทันทีตามระบบที่วางไว้ ได้รับการหนุนเสริมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาช่วยเข้ามาอบรม ครูที่โรงเรียน