การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสัตยาไส

การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสัตยาไส
“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่  27  พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี

 

โรงเรียนสัตยาไสนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโรงเรียน เพราะสอดคล้องกับแนวคิดของโรงเรียนเรื่อง การอยู่อย่างยั่งยืน ช่วงแรกโรงเรียนเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับเกษตร แต่จุดเปลี่ยนของครูสัตยาไสเกิดขึ้นเมื่อได้ไปประชุมที่กรุงเทพฯ ทำให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่อง “แนวคิด” ที่ต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน  หลังกลับจากการประชุม ครูในโรงเรียนมีการถอดองค์ความรู้โดยเริ่มที่ตัวเองว่าตัวเองได้ทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ้าง ได้นำเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตอย่างไร ให้ถอดเป็นองค์ความรู้มา ทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในสายเลือดของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว  มีการทำ Pre-Test และ post test ใช้วิธีการถามนำเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด
 

โรงเรียนสัตยาไสเป็นโรงเรียนประจำ และเป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล มีนักเรียนประมาณ 300 คน ครู 50 คน  มีพื้นที่มากถึง  300 ไร่ เป็นโรงเรียนประจำ เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล - ม.6 จุดเริ่มต้นท่าน ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ให้แนวคิดว่าเราจะอยู่อย่างไร อยู่อย่างยั่งยืน เพราะเดิมมูลนิธิได้รับการสนับสนุนด้วยเงินบริจาค แต่ปัจจุบันเงินบริจาคเริ่มน้อยลง ท่านมีแนวคิดว่าเราจะอยู่ได้อย่างไรโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ในตอนนั้นเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จัก โรงเรียนของเราเริ่มต้นจากการปลูกข้าว ปลูกได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ในที่สุดเราพยายามอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยลดค่าใช้จ่าย ดูว่าในโรงเรียนปัจจัยใดที่สามารถลดได้ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เราก็ทำเอง อาจจะเป็นฐานเรียนรู้ให้เด็กทำน้ำยา กวนน้ำยาเองแล้วส่งออกไปให้คนใช้กันเกิดการเรียนรู้ พอทำมาได้ระยะหนึ่งหนึ่ง เราได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง เราทำของเราเรื่อยๆ ไม่คาดหวังว่าจะได้อะไร แต่โรงเรียนก็รับการประเมินให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละเดือนมีคนมาดูงานบ่อยมาก เราพบปัญหาเรื่องการจัดการงานในทีมที่อาจจะยังไม่ราบรื่น แต่ในแง่ของเศรษฐกิจพอเพียงท่านอาจารย์อาจองค์ได้ให้นโยบาย และท่านเองก็เป็นผู้นำในเรื่องของความประหยัด เวลาที่ท่านเจอเราในกรณีใครทำอะไร ท่านจะถามเราอยู่สองข้อว่ามันดีไหม ครูทำดีไหม สิ่งครูทำดีต่อคนอื่นไหม ถ้าดีสองข้อทำเลย
 

แนวคิดตอนแรกเกิดจากประเด็นปัญหาคิดวิเคราะห์ว่า ทำอย่างไรให้เด็กเล็กคิดวิเคราะห์ได้ง่าย อาจารย์ท่านบอกว่าให้ถามสองข้อนี้กับเด็กว่าดีไหม ดีกับตัวเองไหม ดีกับคนอื่นไหม ถ้าดีสองข้อเราทำ ถ้าดีเพียงข้อใดข้อหนึ่งเราไม่ทำ นี่คือแนวคิดที่ท่านอาจารย์อาจองให้เรามาตลอด พอมาทำจนมาถึงปัจจุบันเราก็ยอมรับว่าเรายืนอยู่ได้แล้ว ไม่ว่าในอนาคตจะมีการบริจาคมากน้อยแค่ไหนนั่นแล้วแต่ปัจจัยที่เข้ามา แต่โรงเรียนเราอยู่ได้ เพราะตอนนี้เราปลูกข้าวได้แล้วปีละประมาณ 30 ตัน การที่เราทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยอมรับว่าตอนแรกเราคิดเหมือนทุกโรงเรียนว่าเป็นเรื่องเกษตร  แต่จุดเปลี่ยนในชีวิตของครูหลายๆ คนเกิดขึ้นเมื่อได้ไปประชุมที่กรุงเทพฯ ทำให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องเกษตร แต่เป็นเรื่องแนวคิด ซึ่งต้องเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน เมื่อกลับจากการประชุมพวกเรามาถอดองค์ความรู้โดยเริ่มที่ตัวเองว่าตัวเองได้ทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ้าง ได้นำเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตอย่างไร ให้ถอดเป็นองค์ความรู้มา ทำให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในสายเลือดของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว
 

เมื่อได้แนวคิดครูก็เริ่มถ่ายทอด ตัวเราเองเป็นหน่วยสนับสนุนตลอด แต่ไม่เคยออกหน้า พอเราจับเป็นแนวคิด เราสามารถสอดแทรกไปในการเรียนรู้ได้หมด เราจะใช้ “คำถาม” กระตุ้นเด็กตลอดเวลา เมื่อลงไปในเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก แผนที่เห็นได้ชัดคือเราเรียนแบบบูรณาการ เราจะให้เด็กตั้ง Pre-Test ออกมาก่อน หลังจากนั้นจึงทำ post test ออกมาเป็นกระบวนการคิดว่าเขาได้อะไร ให้นักเรียนแตกออกมา แล้วทำผังของตัวเองออกมา ตัวครูจะดูว่าแนวความคิดนี้อะไรที่ยังขาดเราจะเติม ให้เขาคิดในกลุ่มด้วยกันว่าเขาได้อะไรจากตรงนี้ หลังจากนั้นมาเราก็ไปถามให้เขานำเสนอจากกลุ่ม เพื่อนคิดอย่างไร แล้วให้เติมลงไป ส่วนเด็กโตเราจะใช้วิธีการถามนำ กระตุ้นแล้วให้เด็กคิด อันนี้เป็นแนวที่ใช้ในโรงเรียน
 

ในแง่ของปัญหาอุปสรรคในเรื่องของการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้หรือการขยายผล  ต้องยอมรับว่าถ้าพูดในแง่ของการเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ยังไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราเพิ่งเป็นปีแรก ประสบการณ์ที่เราได้มาคือการที่เราจะทำงานประเภทที่มีคนมาดูงานเยอะๆ นั้นสิ่งสำคัญคือทีม ตอนนี้ครูเราเสมือนนักรบอยู่ในสนามรบ เราจะดึงเด็กนักเรียนกลับมา ต้องเอาเด็กมาด้วยและสร้างทีมเด็กขึ้นมาประจำ เพราะที่โรงเรียนนอกจากจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ยังเป็นเรื่องของพลังงานทดแทน และเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ  ยอมรับว่าได้เป็นศูนย์แบบไม่ได้ตั้งใจ ในเรื่องของวิถีพุทธเราเห็นว่าตอนเช้าเด็กเขาทำอย่างไร หรือเรื่องของพลังงาน เด็กเล็กเขาจะรู้เพียงว่านั่นคือการปั่นจักรยานแล้วทำให้เกิดพลังงาน แต่ยอมรับว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นลงไปทุกรายละเอียดในเนื้อของงาน เราพูดถึงเรื่องทักษะชีวิตเพราะว่าเวลาที่เขาใช้ เช่น การทานข้าวเราจะถามว่า การที่เขาตักข้าวมาเยอะนั้นพอไหม ถ้าข้าวเหลือเราจะจัดการกับขยะนี้อย่างไรจะต้องใช้ในชีวิตประจำวันของเขาให้ได้ พอมาเจอปัญหาในเรื่องของการศึกษาดูงาน ที่มาเยอะยอมรับว่ารบกวนกระบวนการเรียนการสอนของเราพอสมควร แต่ดร.ปรียนุช ท่านแนะนำให้ทำเป็นสื่อออกมา แต่บางครั้งครูที่เข้ามาก็ต้องการดูดคุยกับครูมากกว่าการดูสื่อ ประกอบกับวิทยากรหลักของโรงเรียนมี 2 - 3 คน อาจทำให้การขยายผลทำได้ไม่เต็มที่ และสื่อที่นำเสนอก็ยังไม่สามารถสื่อความเป็นโรงเรียนสัตยาไสได้อย่างชัดเจน ตอนนี้เรากำลังพยายามทำเป็นรูปแบบของแผ่นพับ แต่ทีมงานที่จะทำในเรื่องนี้ยังมีไม่เพียงพอ
 

ปีนี้โรงเรียนจะมุ่งเน้นไปที่เด็ก  โดยใช้ช่วงเวลาเสาร์-อาทิตย์ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เราจะแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ ฐานดนตรีศิลปะ ฐานอาหาร ฐานเกษตร ฐานกีฬา เวียนกันไปตามเวรของครู เราจะเอาแนวคิดนี้เข้าไปเสริมที่โรงเรียนเป็น โครงการมหกรรมความดี  ซึ่งจัดขึ้นปีนี้เป็นปีที่สองแล้ว ทุกห้องเรียนจะมีมหกรรมความดี คือให้เด็กคิด โดยใช้ตัวนี้เข้าไปถามว่าเด็กสามารถทำได้ไหม พอเพียงหรือไม่ มีงบประมาณในการดำเนินการเพียงพอหรือเปล่า แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องการเกิดขึ้นเพราะเด็กคิด เช่น เด็ก ป.1เด็กจะบอกว่าเขายังทำอะไรไม่ได้ขอแค่ไหว้สวยๆ ก็พอ  ห้องของครูเองเด็กจะบอกว่าถ้าไหว้สวยๆ ยังไม่พอ เขาไปสังเกตเห็นว่าที่โรงอาหารรองเท้าไม่ได้จัดไว้เป็นระเบียบ เขามีหน้าที่ไปจัดเรียงรองเท้า พอทำเสร็จแล้ว เราจะสรุปโครงการหรือวิธีการรวบรวมเป็นองค์ความรู้ของเรา คือเราจะจัดมหกรรมความดีให้ชุมชนกับผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนดูตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก ให้เขามานำเสนอกันเองนี่คือมหกรรมการเรียนที่เราจัดในโรงเรียนของเรา พอเพียงต้องเกิดขึ้นที่ครูก่อน ถ้าครูทำไม่ได้ก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้เขาไม่ได้ ตอบคำถามเขาไม่ได้
 

ปีนี้เป็นแรกที่มี ป.1สองห้อง  โรงเรียนจึงทดลองแยกโรงเรียนหญิงโรงเรียนชาย ผู้ชายจะอยู่ด้านใน ผู้หญิงจะมีแค่อนุบาล กับ ป.3  พอ ป.4 เขาต้องแยกโรงเรียนเข้าไปอยู่อีกส่วนหนึ่ง เขาก็เจอกันตอนมีกิจกรรมใหญ่ๆ เช่นวันพ่อ วันแม่ แนวคิดของการแยกเริ่มต้นจากเราเจอปัญหาว่า เด็กผู้ชายเจอเด็กผู้หญิงที่อาจจะสนิทกันมากเกินคำว่าเพื่อนตามพัฒนาการของเด็ก หรือบางครั้งเด็กนักเรียนผู้ชายจะให้เพื่อนผู้หญิงทำให้  ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชายและหญิงจะห่างกันมาก  ครูแบ่งเป็นสองทีมด้วยกัน แต่มีอัตราครูเท่าเดิม แต่ชั่วโมงสอนต้องดับเบิ้ลเพราะมีบางกลุ่มต้องไปสอนสองฝั่ง เราก็เจอว่าข้อดีคือเด็กผู้ชาย จากที่ไม่เคยทำอะไรเองก็เริ่มทำได้ด้วยตัวเอง เริ่มค้นคว้า กระตือรือร้นในการเรียนด้วยตัวเอง และความรับผิดชอบจะตามมา