ลองดู 2

"ถ้าผมรู้ ผมคงไม่ทำผิดพลาดเช่นนี้"

แน่นอนว่าคงไม่มีใครเอ่ยประโยคนี้หลังจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงคเกิดขึ้นกับตัวเองทั้งๆที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพียงแค่ได้ "รู้" เท่านั้นเอง สิ่งที่เป็นเงื่อนไขของความผิดพลาดนั้นคือ "การได้รู้" หากรู้ก็คงไม่เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้เป็นครั้งที่สอง

ดังนั้น "บทเรียน" ที่ได้รับในครั้งนี้ ก็คือ ข้อมูล (Data) และข่าวสาร (Information) ที่ผ่านการปฏิบัติด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ผ่านการสังเกต การเก็บข้อมูลของตนเอง บันทึกไว้ในสมองส่วนความจำและเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน นี้ ความรู้ที่ถูกเก็บไว้นั้น จึงจะถูกนำมาใช้จัดการกับเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า

ปัญหาอยู่ที่ว่า คนเรามักเก็บสิ่งที่รู้ไว้มิดชิดเกินกว่าจะนำมาถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น นับว่าเป็นการสูญเสีย "งบดุล" ทางชีวิตและสังคมอย่างมาก หากเราและคนรอบข้างจะผิดพลาดในสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่ได้นำเอาความรู้ที่ตกผลึก หรือที่เรียกว่า "ความรู้ฝังลึก" (Tacit knowledge) ที่อยู่ในตัวตนนั้นมาใช้ประโยชน์ แล้วจะทำอย่างไรล่ะ? การที่จะนำความรู้ฝังลึกนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เผื่อแผ่ผ่านประสบการณ์ของเรา หรือเจ้าของความรู้ ตรงนี้เองเป็นที่มาของ "การถอดบทเรียน"

ส่วน รูปแบบการถอดบทเรียนนั้น จะมีวิธีการอย่างไรนั้น สิ่งสำคัญที่เราควรตั้งคำถามกับตัวเองในฐานะผู้ที่จะถอดบทเรียน(ถอดบทเรียน ตัวเอง หรือถอดบทเรียนคนอื่น)

เราควรตั้งคำถามเหล่านี้ครับ

ข้อที่ ๑ โจทย์ หรือ คำถามของการถอดบทเรียน ว่าเราถอดบทเรียนอะไรและถอดบทเรียนเพื่ออะไร? ข้อนี้สำคัญมากครับ ที่ผมบอกว่าสำคัญมากเพราะอะไรนะหรือ...เพราะกรอบการถอดบทเรียน จะช่วยออกแบบวิธีการที่สอดคล้องและเราสามารถเลือกวิธีการที่สนองตอบต่อการ ได้มาซึ่ง "บทเรียน" มากที่สุด คล้ายๆกับเราตั้งโจทย์ หรือคำถามการวิจัย หากคำถามนั้นไม่ชัด ก็ทำให้ขั้นตอนต่างๆคลุมเครือไปด้วย การถอดบทเรียนก็เป็นไปแบบ "มึนๆ" ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลแบบมึนๆ เช่นกัน ข้อมูลที่เป็นบทเรียนที่ได้นั้นไม่ตอบสนองต่อการนำไปใช้ประโยชน์ บทเรียนที่ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ข้อที่ ๒ ใคร?? คือคนที่เราจะถอดบทเรียน ในที่นี้อาจเป็นการถอดบทเรียนตัวเองก็ย่อมได้ หรือ เป็นการถอดบทเรียนคนอื่น เพราะการรู้ตัวตนของคนที่จะถอดบทเรียนนำมาซึ่ง ข้อที่ ๓ ครับ

ข้อที่ ๓ วิธีการ ถอดบทเรียน หรือเรียกให้ดูดีภาษานักวิชาการว่า วิธีวิทยา (Methodology) ข้อนี้ผมไม่สามารถแนะนำเจาะจงได้ครับ ว่าเราควรเลือกใช้วิธีการไหน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้วิธีการนี้ กับ ใคร? ดังนั้นอย่างที่ผมบอกไงครับว่า รู้จัก "ใคร" ในข้อสองสัมพันธ์กับข้อสาม แต่ต้องระวังนะครับ นักถอดบทเรียนมือใหม่ หรือนักวิชาการที่เคร่งวิชา ชอบที่จะยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อที่ ๔ มุ่งหา "บทเรียนที่ดี" ( Best Practice) กรณีที่มีบทเรียนประเด็นคล้ายคลึงกัน หรือประเด็นเดียวกัน แต่แตกต่างบริบท การหาบทเรียนที่ดีถือว่าเป็นการได้ สุดยอดความรู้ ที่มีพลัง หรือพูดให้ดูดีว่า เป็นความรู้ที่ทรงอานุภาพครับ
การ ถอดบทเรียนเป็นกระบวนการครับ ไม่ได้ทำง่ายๆ ไม่มีฟังก์ชั่นค้นหา (Ctrl+F) อย่างคอมพิวเตอร์ที่คลิกปุ่มเดียวแล้วเจอเลย ดังนั้นจึงไม่มีคีย์ลัด

ขั้น ตอนการถอดบทเรียนต้องอาศัยความพอเหมาะพอดีในหลายๆองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยว ข้อง ทั้งองค์ประกอบที่เป็นส่วนของตัวผู้ถอดบทเรียนเอง (ความพร้อม,คุณสมบัติ,ทักษะ) ข้อนี้ผมจะนำไปเขียนในบันทึกเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องทำความเข้าใจครับ
นอก จากนั้นก็มีองค์ประกอบของผู้ถูกถอดบทเรียนด้วย องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้คือ องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการถอดบทเรียนต้องทำกับคน การจัดการอารมณ์ให้สมดุลเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ

ดังนั้นวิธีการใดก็ตามที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นคนมากที่สุด ย่อมได้เปรียบที่สุด