เรื่องเล่าจาก

เรื่องเล่าจาก "เวทีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้บริหารและครูแกนนำโรงเรียนเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" วันที่ 14 มิถุนายน 2555 โดยรองผู้อำนวยการเกตน์สินี โกมลไสย โรงเรียนสนามบิน จังหวัดขอนแก่น การถอดบทเรียนความสำเร็จศูนย์การเรียนรู้

­

โรงเรียนสนามบินมีบริบทที่แตกต่าง เพราะที่โรงเรียนจะมีครูแกนนำที่ไปเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยบูรณาการสู่การเรียนการสอน โดยจะเป็นครูอาสาจำนวน 10 คน ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่ปรัชญาฯ ของพระองค์ท่าน ทางโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นผู้ขับเคลื่อน ได้ส่งหนังสือมายังโรงเรียนเพื่อคัดเลือกครูเข้าร่วม แล้วเราได้ให้ครูของเราเป็นจิตอาสา โดยเข้าร่วมตั้งแต่ปี 49 ได้ครูแกนนำมา 10 คน หลังจากกลับมาก็ได้มาคุยกันว่าเราจะขับเคลื่อนอย่างไร เพราะว่าหลักปรัชญานี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แล้วเราก็มาคุยกันจนกระทั่งทำเป็นวิสัยทัศน์ของโรงเรียนซึ่งในปัจจุบันนี้ก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนสนามบินที่ “อยู่อย่างพอเพียง”

­

เราได้นำหลักการของพระองค์ท่านมาทำความเข้าใจก่อน แล้วเข้าถึงเพื่อที่จะนำไปปฏิบัติ เราใช้หลัก A4 คือ Awareness เป็นความตระหนักและเห็นคุณค่า เราจัดการประชุมบุคลากรทั้งหมดโดยเฉพาะคุณครูซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญได้ คุยกับคุณครูทั้งโรงเรียนว่าเห็นพ้องต้องกันอย่างไรในการนำหลักปรัชญาฯ มาใช้ในการบูรณาการสู่การเรียนการสอน เราได้ให้ครูแกนนำที่ได้ไปฝึกเขียนแผนจากท่าน ดร.ปรียานุชเป็นผู้ขยายผลซึ่งในปี 49 นั้นมีหลายหน่วยงานมากที่ได้ตีความ บ้างก็บอกว่า 10 30 30 30 นับเป็นหลักที่เน้นไปทางการเกษตร ทางครูแกนนำก็บอกว่ายังไม่ใช่ แต่เป็นหลักคิดในการดำรงชีวิต เราไม่จำเป็นต้องทำนาไม่จำเป็นต้องทำเกษตร ซึ่งโรงเรียนสนามบินมีแต่คอนกรีตยังทำไม่ได้ในส่วนนี้ เพราะฉะนั้นเราจะนำมาใช้อย่างไรจะต้องมาคุยกัน

­

A ที่ 2 ก็คือ Attempt ความพยายามที่จะขับเคลื่อนหลักปรัชญาฯ เราจะต้องขับเคลื่อนสู่การเรียนการสอนให้ได้เพราะการเรียนการสอนจะมีความยั่งยืน ต้องสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3 ตามที่โรงเรียนเราจัดการศึกษา อนุบาลเราก็จัดตามวัยของเขา ไม่ได้ใช้ทฤษฎีอะไรมากมายเราเน้นที่กิจกรรม พัฒนาร่างกาย อารมณ์ และสังคมของเขา ส่วนชั้นที่โตขึ้นนั้นมานั้นครูทุกคนจะต้องมีแผนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนทุกรายวิชา ซึ่งเราก็ทำได้เพราะว่าเรามีครูแกนนำท่านผู้บริหารก็เข้าใจ และครูก็เข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติได้เราก็ทำเรื่อยมาและยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของสพป.และสพม. หลายแห่งที่จังหวัดร้อยเอ็ดเราก็ได้ไปช่วยเหลือผ่านทาง ศน.วิภา ก็ได้เชิญพวกเราไปช่วยเรื่องการบูรณาการสู่การเรียนการสอน

­

นอกจากนั้นก็ยังทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการเรียนการสอนคือกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น การทำนาหมักชีวภาพ หรือการสวดมนต์ไหว้พระจะเน้นหลักคุณธรรม อาจจะอยู่ในรูปของชุมนุมหรืออะไรที่เหมาะสมกับโรงเรียน เพื่อให้ตอกย ้าหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ในการทำกิจกรรมครูที่มีความเข้าใจนิยามหรือหลักการตีความแล้ว ในขณะทำกิจกรรมต้องนำหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อน 4 มิติ มาพูดเราก็นำหลักตรงนี้มาเป็นหลักคิดในการดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง จนกระทั่งเข้าสู่วิถีชีวิตและให้เป็ นนิสัย เช่น การเรียนการสอนคณิตวิทยาศาสตร์ ครูก็ถาม “มีความพอประมาณตรงไหน มีเหตุผลไหม มีภูมิคุ้มกันไหม” คือมีการย้ายกันอยู่ในชั่วโมงนั้น

­

3 ห่วง 2เงื่อนไข นั้นนอาจจะพูดไม่ครบทุกส่วน แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีเหตุมีผล มีคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กันไปเมื่อสิ้นภาคเรียนเราก็มาแสดงเป็น Achievement ร่วมกันมาชื่นชมและดูผลผลิตร่วมกัน โดยการจัดเวทีให้แสดงผลงาน ไม่ว่าจะเป็นละคร โครงงาน หรือเป็นอะไรก็ได้ เราจะจัดหนึ่งวันและให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะเรื่องการแสดงเด็ก ๆ จะชอบมากเพราะเราเป็นโรงเรียนประถม ไม่ว่าจะนำเสนอแบบละครหรือโครงงานก็จะพูดถึงหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อน 4 มิติ เด็กจะเป็นคนนำเสนอเองในเมื่อเขานำเสนอเองได้ เขาพูดเองได้แสดงว่าเขาซึมซับ และเราจะชื่นชมร่วมกัน ต่อไปเราก็พัฒนาเป็น Accredit ซึ่งเราจะพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ในปี 49 เราได้ขับเคลื่อน และในปี 50 เราก็ได้เป็นสถานศึกษาพอเพียง ปัจจุบัน เราได้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งเราก็ได้รายงานแก่ผู้เกี่ยวข้องและเผยแพร่สู่สาธารณชน สำหรับคำถามที่อาจารย์ถามว่า “เราจะช่วยเหลือทั้ง 15 โรงเรียนได้อย่างไร” ในข้อนิยามดิฉันว่าเขาเข้าใจเพราะว่าทั้งจากสื่อที่มีเยอะมาก ทั้งทางกระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิสยามกัมมาจลและโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ผลิตหนังสือออกมาเยอะมาก รวมทั้งสื่อไม่ว่าจะเป็นซีดีหรือสื่อสิ่งพิมพ์และทางศูนย์คุณธรรมก็ยังผลิตสื่อออกมาเยอะมากเช่น หนังสือ นิทาน ซีดี และโปสเตอร์ เพราะฉะนั้นในเรื่องนิยามดิฉันไม่ห่วงแต่ขั้นตีความนี่ต่างหาก รวมถึงขั้นนำไปใช้ที่ดิฉันห่วง เพราะเด็กไม่สามารถอธิบายได้ว่าการทำงานชิ้นนั้นนำหลักปรัชญาฯ มาอธิบายได้อย่างไร และครูส่วนหนึ่งที่ได้ทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาฯ ยังไม่แม่น แต่หลังจากที่ ดร. ปรียานุช ท่านได้ให้ช่วยเหลือเพื่อนครูอยู่ตลอดในเรื่องของแผน ซึ่งแผนส่วนหนึ่งสามารถดูได้ทางเว็บไซต์แล้ว และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เลย สำหรับการที่จะช่วยเหลือทั้ง 15 โรง ดิฉันว่าในขั้นตีความเราต้องดูบริบทของแต่ละโรงว่าต้องการจะให้ช่วยอย่างไร ซึ่งแต่ละโรงก็มีความต้องการไม่เหมือนกัน เพราะจำนวนนักเรียน ครู ผู้บริหาร สิ่งแวดล้อม และสังคมนั้นแตกต่างกันออกไป