เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2555 ณ นกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล


โรงเรียนบ่อเจ็ดลูก มีความต้องการพัฒนาโรงเรียนและงานวิชาการ  เพราะครูไม่มีการพัฒนาใดๆ เลย สอนอย่างเดียว ไม่มีแผนการสอน การใช้สื่อ ผอ. จึงพาครูทำ ปรับและบริหารด้วยการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ หลังจากนั้นช่วยกันทำโครงการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ครูได้รับการอบรมจาก สกว. พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ถึงกับรีบเร่ง โดยนำกระบวนการ 10 ขั้นตอนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ปัจจุบันผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความร่วมมือดี ด้านเด็กสามารถทำได้ตามที่ครูจัดกระบวนการให้ พฤติกรรมครูก็เปลี่ยนขึ้นมาบ้าง เด็กก็ได้รับความรู้ ชุมชนมีส่วนร่วม ถือว่าได้ผ่านไประดับหนึ่ง คุณครูมีความมั่นใจมากขึ้น
 

บริบท : มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มีข้าราชการครู 4 คน พนักงานราชการครู 2 คน ผู้บริหาร 1 คน พนักงานบริการ 1 คน นักเรียน 82 คน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน 114 คน สภาพของชุมชนเป็นเกาะเล็ก ผู้ปกครองมีอาชีพประมง การเกษตร ชุมชนเข้มแข็งแต่ฐานะค่อนข้างยากจน ชุมชนติดทะเลจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยว
 

แรงบันดาลใจในการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ : จาก 5 – 6 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนไม่มีการพัฒนาใดๆ เลย คุณครูก็มีหน้าที่สอนอย่างเดียว ไม่มีแผนการสอน การใช้สื่อ หรือว่าการพัฒนา ด้วยความตั้งใจ อยากพัฒนาโรงเรียนและงานวิชาการ ครูมีลักษณะ ผอ. ว่าอย่างไรก็ว่าตามกัน ผอ. จึงพาครูทำ ปรับและบริหารด้วยการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ หลังจากนั้นช่วยกันทำโครงการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ครูได้รับการอบรมจาก สกว. พัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ถึงกับรีบเร่ง เพราะครูยังไม่มีพื้นฐานอะไรเลย ผอ. เชื่อมั่นว่า ถ้าครูเก่งเด็กเก่ง ถ้าครูเก่งตรงนี้จะทำยังไงต้องมีการพัฒนา เมื่อได้รับการพัฒนาแล้ว ครูมีความคิดที่หลากหลาย
 

การบริหาร : ผอ. จะเรียกประชุม มีการบันทึก ติดตาม รับฟัง ควบคุมกำกับดูแล เปิดโอกาสให้ครูออกแบบแผนแล้วตามอิสระ แล้วคอยให้คำปรึกษา ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ ทำไปแบบไม่เร่งรีบ ไม่บีบคั้นครู
 

กระบวนการ 10 ขั้นตอนที่นำมาใช้ : กระบวนการที่ 1 เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว กระบวนการที่ 2 วิเคราะห์จำแนกและแยก กระบวนการที่ 3 ย้อนรอยกระบวนการ กระบวนการที่ 4 พัฒนาโจทย์วิจัย กระบวนการที่ 5 ตั้งคำถาม กระบวนการที่ 6 ค้นหาวิธีการและก็เก็บข้อมูล กระบวนการที่ 7 ลงมือเก็บข้อมูล กระบวนการที่ 8 สรุป วิเคราะห์ ตรวจสอบ กระบวนการที่ 9 การใช้ประโยชน์จากข้อมูล กระบวนการที่ 10 สรุปรายงาน
 

ใช้กระบวนการวิจัยให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก เริ่มจากชี้แจงกับผู้ปกครองว่า โรงเรียนจะเรียนแบบวิจัย นักเรียนจะออกนอกพื้นที่ และขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง ให้การสนับสนุนในการให้ความรู้ต่อคำถามของนักเรียน เมื่อมีข้อสงสัย เมื่อประชุมผู้ปกครองเสร็จแล้ว ทางโรงเรียนก็ได้เริ่มกระบวนการเริ่มจากการเรียนรู้ ซึ่งดำเนินการตามเอกสาร ที่ สกว.จัดให้ใน 10 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมี รายการที่ปฏิบัติตามหัวข้อ ก็ปฏิบัติตามนั้นเลยทั้ง 10 ขั้นตอน ทุกชั้นก็ยึดถือตามแนวนี้หมด ปีที่แล้วโรงเรียนจัด 2 วัน ก็คือวันอังคารกับวันพุธตอนช่วงบ่าย ช่วงเช้าก็เรียนปกติ ช่วงบ่ายก็เป็นบูรณาการ ก็เรียน 2 วัน เทอมแรกเรียนวันอังคาร กับวันพุธ ก็เริ่มมาวิเคราะห์ดูว่า วันพุธจะเป็นพละ นักเรียนก็จะไม่ได้เรียนพละ เต็มที่ จึงเลื่อนมาเป็นวันจันทร์ กับวันอังคาร
 

หลังจากจัดกระบวนการแล้ว ในชั้นอนุบาลครูจะมีการซักถาม ชั้น ป.1 จะให้นักเรียนเขียน ว่าเห็นอะไรบ้าง ให้นักเรียนวาด คือบันทึกลงไปในกระดาษของนักเรียนเอง เพื่อฝึกกระบวนการของนักเรียน เป็นการฝึกบูรณาการในเรื่องของภาษา การวาดภาพ ทุกชั้นก็จะมีการถอดบทเรียน แล้วฝึกให้นักเรียนได้พูดและแนะนำตัวเอง ขั้นตอนตรงนี้สำคัญมาก คือแนะนำตัวเอง เป็นพื้นฐานที่นักเรียนจะต้องฝึกพูดก็พูดแนะนำตัวเองก่อน จากนั้นครูใช้กระบวนการการซักถาม ให้นักเรียนตอบคำถาม แล้วก็มาเขียนแผนผังความคิด
 

จุดเด่น  : มีโครงงานเรื่องที่นักเรียนสนใจ สอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่ทำการเกษตร มีการประมง มีการเกษตร ผู้ปกครองอยากปลูกแตง ปลูกฝัก ปลูกบวบ เด็กจะไปเดินสำรวจ ทุกชั้นจะต้องพานักเรียนออกเดินสำรวจเรื่องที่เขาชอบ อนุบาลสนใจเรื่องของไข่เป็ด ป.1 ประโยชน์ของน้ำมะพร้าว เพราะในชุมชนมีต้นมะพร้าวเยอะ คุณครูได้พาลงไปเก็บข้อมูลไปสอบถามภูมิปัญญาต่างๆ ประโยชน์ของน้ำมะพร้าวนอกจากจะใช้กิน ใช้ดื่มเพื่อความกระหาย เอาไปทำเป็นกะทิได้ ได้ข้อมูลมาในการทำในเรื่องของน้ำส้มสายชู จากน้ำมะพร้าว คือการพัฒนาต่อยอดจากน้ำมะพร้าวที่เราได้ศึกษา ป.2 กับ ป.3 รวมกัน เรื่องการเลี้ยงวัว เน้นในเรื่องเศรษฐกิจ ว่าถ้าเราเลี้ยงมากๆ จะหาแหล่งอาหารตรงไหน และขายเท่าไหร่ และชั้น ป.4 การพัฒนาโจทย์การทำขนมจากโดยใช้สมุนไพร  ป.5 – ป.6 รวมกัน ทำเรื่องเรียนรู้พัฒนาชุมชน เนื่องจากบ้านบ่อเจ็ดลูกมีแหล่งท่องเที่ยวมาก มีกิจกรรม เช่น การทำความสะอาดโบราณสถานบ่อเจ็ดลูก มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่ม ในการดำเนินกิจกรรมของเด็ก ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้มากมายหลากหลายภูมิปัญญา ภูมิปัญญาตรงนี้ก็คือในเรื่องของ การทำอวน ทำแห ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
 

“เราสามารถนำอะไรบ้างในท้องถิ่นที่มีอยู่มาทำเป็นน้ำส้มสายชู เขาก็ได้ทดลองโดยนำน้ำอ้อย มาทดลอง โดยใช้วิธีการเดียวกับน้ำมะพร้าว ก็คือนำน้ำมะพร้าวก็เอาไปต้มเสร็จ มากรอง ทิ้งไว้ หมักตั้งไว้ 3 – 4 วัน แล้วก็เอามาต้ม ตามกระบวนการ ซึ่งตรงนั้นนักเรียนก็จะได้กระบวนการ และทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปด้วย นักเรียนสามารถพัฒนาและทั้งความรู้และได้ทั้งการปฏิบัติและได้ทั้งการประยุกต์และนำไปใช้”
 

จุดด้อย : ครูไม่ครบชั้น ขาดสื่อ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์
 

ผลที่เกิดขึ้น : จากเดิมที่ชุมชนไม่เข้ามาโรงเรียนเลย เวลามีประชุม มากัน 10 คน น้อยมาก ปัจจุบันผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความร่วมมือดี ด้านเด็กสามารถทำได้ตามที่ครูจัดกระบวนการให้ พฤติกรรมครูก็เปลี่ยนขึ้นมาบ้าง เด็กก็ได้รับความรู้ ชุมชนมีส่วนร่วม ถือว่าได้ผ่านไประดับหนึ่ง คุณครูมีความมั่นใจมากขึ้น
 

“ระบบระเบียบมากขึ้น มีการสร้างข้อตกลง ทุกครั้งเวลาเด็กจะไปเล่น ขออนุญาตว่าจะไปเล่นกีฬา คุณครูครับขออนุญาตไปเล่นกีฬา ได้ เดี๋ยวลูกแบ่งกลุ่มมา ใครจะเล่นอะไรบ้าง ก็มีหัวหน้ากลุ่ม ก่อนจะเล่นก็จะไปสร้างข้อตกลงก่อน เขาก็ไปสร้างข้อตกลงว่า การเล่นเป็นยังไงบ้าง เพราะที่โรงเรียนไม่มีครูผู้ชาย มีแต่ครูผู้หญิงหมด ครูจะไปสอนพละมันก็ยากแต่มีเด็กโตๆ ที่เขาเก่ง ที่เขาพอเล่นอะไรได้เขาก็เป็นหัวหน้า เขาก็เขียนมาว่าเขาจะต้องทำยังไงบ้าง เด็กไปเล่นก็ตามที่ได้สร้างข้อตกลงตรงนั้น การแนะนำตัวเอง การพูด พูดจาก็ช้าๆ ชัดถ่อยชัดคำ คือดีขึ้น กล้าพูดกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าถาม ผู้ปกครองบอกว่า นี่ลูกกลับไป เมื่อก่อนไม่เคยพูดเลย ลูกไม่เคยถามอะไรเลยอยู่อนุบาล ถามพ่อแม่ว่า ไข่ นอกจากไข่ดาว แล้วทำอะไรได้อีก คุณแม่ก็มาเล่าให้ฟัง แม่ก็บอกว่า ทำขนม พอบอกว่าทำขนม เขาก็อยากทำขนม อันนั้นแหละคือประโยชน์ที่เด็กสงสัย ทุกชั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกชั้น คนที่เก่งก็จะพัฒนาไปเร็วหน่อย พาน้องๆ ทำได้”