เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

เครือข่ายโรงเรียนวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง

วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2555 ณ นกน้ำรีสอร์ท อ.เมือง จ.สตูล


จริงๆ แล้วครูในประเทศไทยทำผิด พ.ร.บ.การศึกษาเยอะมาก  ถ้าจับก็ไม่มีคุกจะขัง  เพราะใน พ.ร.บ.การศึกษาบัญญัติไว้ว่า ครูต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก จัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้เด็กสามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพ เน้นที่วิธีการ กระบวนการมากกว่าองค์ความรู้ และต้องพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์     สำหรับวิธีการเชิญชวนให้โรงเรียนอื่นนำ “กระบวนการวิจัย” เข้าไปใช้ เราจะสะท้อนชีวิตราชการความเป็นครู และผู้บริหารให้เขาเห็นว่า หน้าที่ของเขาคืออะไร  และเขาได้ทำหน้าที่นั้นหรือยัง ตอบโจทย์วิชาชีพครูหรือยัง ทั้งจรรยาบรรณ และเป้าหมาย  การใช้กระบวนการวิจัยเป็น “เครื่องมือ” พัฒนาโรงเรียนนั้นถ้าจะให้เห็นผลชัดเจนต้องใช้เวลา โดยปีที่ 1 เติมความรู้งานวิจัยให้ชัด  ปีที่ 2  เป็นงานเกี่ยวกับโครงสร้างโรงเรียน การวัดประเมินผล   ผู้ปกครอง  ศึกษานิเทศ  เขตพื้นที่การศึกษา  ซึ่งเป็นระบบใหญ่ที่ติดขัด ครูไม่สามารถทำนอกกรอบได้   เราต้องพยายามสร้าง “พลัง” และ “ความมั่นใจ” ให้เกิดขึ้นกับครู และบอกครูว่านี่คือเส้นทางที่ถูกต้อง เป็นการทำงานเพื่องาน  ทำงานเพื่อเด็ก   ช่วงจังหวะที่ไหนที่ทำงานยากๆ ก็จัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ใช้หลัก KM เข้ามาช่วย ค้นหาคนที่สำเร็จให้เจอและกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จึงจะเพิ่มพูนความสำเร็จให้แน่นขึ้นได้  หากทำได้เช่นนี้จากคนหมู่น้อยก็จะเริ่มขยายออกไป  จับคนหมู่น้อยมาคุยกัน  ให้เขาเห็นและกลับไปทำต่อ ที่สำคัญคือต้องมีจังหวะในการพาเขาเดิน ซึ่งในโรงเรียนขนาดเล็กจะทำได้ง่ายกว่า   เห็นผลสำเร็จเร็วกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

ขบวนการ “ก่อการดี” ก่อนที่ผมจะย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสตูล ผมเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนตะโละใสมาก่อน ซึ่งโมเดลการเรียนการสอนของโรงเรียนตะโละใสได้รับความสนใจมาก    โรงเรียนเกือบทั่วประเทศมาดูงานที่นี่   ผมมีเพื่อนเป็นผู้บริหารจำนวนมาก  เขารับรู้ในการทำงานของเรา เขาก็ชื่นชม  แต่เขาไม่ทำ ซึ่งสะท้อนมุมมองวิถีชีวิตของราชการว่า เป็นสถานการณ์ที่ผู้บริหารอยู่กับระบบอยู่ได้และอยู่อย่างมีความสุข ไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องเหนื่อย แต่ที่ผมทำครูก็เหนื่อย   ผู้บริหารก็เหนื่อย  ผู้ปกครองก็ต้องสละเวลา ทุกฝ่ายต้องทุ่มเท  แต่ผลประโยชน์เกื้อกูลก็ไม่ต่าง ครูตะโละใสร้องไห้ระหว่างทำวิจัยหลายครั้ง  เพราะเขาต้องทำงานวันเสาร์-อาทิตย์  บางวันต้องกลับบ้านค่ำ   ต้องตอบคำถามครูที่อื่น หรือคนข้างบ้านว่าทำไมต้องไปโรงเรียนอีก ทำไมต้องกลับบ้านค่ำ    หลังจากที่โรงเรียนตะโละใสจบโครงการ   เราก็มาคุยกันว่า เรามีเพื่อนร่วมทางน้อย   ในทีมโรงเรียนตะโละใสเองก็มีการเปลี่ยนแปลง   รองฯ ยุงยุทธ์ ก็ย้าย   อ.หุดดีนก็ลาออกเพื่อไปเป็นผู้บริหารที่อื่น  ผมก็ต้องไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสตูล   แต่แกนนำทั้ง 3 คนก็ตกลงกันว่า  เราจะนำกระบวนการนี้ไปใช้ต่อ     ในขณะที่บังหรน ซึ่งเป็นศึกษานิเทศก็ลาออก เพราะอยู่ในระบบทำงานไม่ได้  แล้วมาขยับตรงนี้เต็มตัว ต่อมาเราจึงกลายเป็น Core team ทำหน้าที่กระจายข้อมูลความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหารโรงเรียนอื่นๆ  
 

ช่วงแรกที่ไปอยู่โรงเรียนอนุบาลสตูล แรกๆ ก็ยาก ไม่รู้จะเอากระบวนการวิจัยไปลงตรงไหน เพราะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด  ผู้ปกครองเป็นคนมีความรู้ ต้องการให้ลูกเก่ง  สอบได้โรงเรียนดี โรงเรียนดัง   โชคดีอนุบาลสตูลเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล  ก็เอาหลักสูตรนั่งคุยกัน เอาหลักสูตรมาตรฐานรองรับ โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นตัวเดินเรื่อง 1 ปีผ่านไปก็มาคุยกันว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องมารวมพลังขยายเครือข่าย  ก็เริ่มกำหนดคุณสมบัติโดยเริ่มที่ตัวผู้บริหารที่มีใจสู้  เอาจริงเอาจังในการทำงาน   จริงๆ ตอนแรกต้องการผู้บริหารครอบคลุมทั้งจังหวัด  ทำทุกโรง  แต่ก็คิดว่านำพาไม่ไหว และยากในการขับเคลื่อน ในช่วงแรกจึงคัดสรรผู้บริหารมา 15 โรงเรียน  เชิญไปร่วมเวทีนำเสนองานวิจัยที่อนุบาลสตูล  


จริงๆ ครูในประเทศไทยทำผิด พ.ร.บ.การศึกษาเยอะมาก  ถ้าจับก็ไม่มีคุกจะขัง  เพราะใน พ.ร.บ.ได้บัญญัติเอาไว้ว่า ครูต้องสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก จัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  ให้เด็กสามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพ เน้นที่วิธีการ กระบวนการ  มากกว่าองค์ความรู้ และต้องพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์     ที่เราคุยกัน 15 โรงนั้นมีผอ.บางคนบอกว่า  “ชวนมากินกาแฟ 15 คน มากินลูกยุ  11 คน”  ก็เลยเหลือ 11 โรงเรียน คือเชียร์แล้วรับหลักการ   แรกๆ  ก็คิดว่าน่าจะเลือกพื้นที่ที่มีฐานวิจัยของ สกว.ที่ทำกับชาวบ้านอยู่แล้ว  แต่ก็ไม่ได้ทุกที่    เมื่อได้ผู้บริหารมาแล้ว ก็ต้องมาตกลงกันเรื่องเวลา  เพราะงานนี้จะใช้เวลาราชการอย่างเดียวไม่ได้    โชคดีที่เรามีความสัมพันธ์ส่วนตัว  รู้จักกันมาก่อน  มีจิตสาธารณะ จึงมาวิเคราะห์ร่วมกันเห็นว่ามีโอกาสที่จะเป็นไปได้


สำหรับวิธีการเชิญชวนให้คนอื่นมาสนใจกระบวนการคือ เราจะสะท้อนชีวิตราชการความเป็นครู ความเป็นผู้บริหารให้เขาเห็นว่า หน้าที่ของเราคืออะไร  และเราได้ทำหน้าที่นั้นหรือยัง ตอบโจทย์วิชาชีพครูหรือยัง จรรยาบรรณ เป้าหมายได้หรือยัง  และต้องยกระดับจิตใจเขา  โดยบอกเขาว่าเขาต้องเสียชาติเกิดแน่ถ้าไม่ได้ทดแทนคุณในขณะที่เขามีหน้าที่โดยตรง  เด็กเหล่านี้ผ่านสายพานคุณมาก่อน ถ้าเพาะชำไม่ดี ก็ได้ต้นกล้าไม่ดี เติบโตก็ไม่มีคุณภาพ เราต้องแก้ตรงนี้  เราต้องช่วยกัน  นอกจากนี้ยังสะท้อนเรื่องให้เขาเห็นผลสำเร็จว่า  อยู่ในขั้นน่าพอใจกล่าวคือ  ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีวิธีการ เทคนิคการสอนที่หลากหลาย  นักเรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด กล้าลงมือทำ  และสรุปสิ่งที่ทำมานำเสนอได้  ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม  แต่ยังมีรายละเอียดเรื่องกระบวนการที่ต้องเสริมกับครู และนักเรียน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองเพิ่มเติม 


สพฐ.ได้ปรับโครงสร้างเวลาเรียน ทำให้โรงเรียนสามารถเปิดพื้นที่ในการเรียน  คิดว่าเวลาที่เหมาะสมน่าจะเป็น 3 ปี ปีแรกๆ  ให้เรียนรู้กระบวนการ  แล้วค่อยพาครูบูรณาการ   เราต้องมีจังหวะในการพาเขาเดิน ซึ่งในโรงเรียนขนาดเล็กจะทำได้ง่ายกว่า   เห็นผลสำเร็จเร็วกว่า   โรงเรียนขนาดใหญ่สอนยาก เกิดยากกว่า 


ส่วนเรื่องการหาช่วงเวลาแยกออกมา  เรากำลังชวนทีม ผอ.ออกมาทำ Study lab  เพื่อสร้างกระบวนการเรียนการสอนให้ครูได้เรียนรู้และพิสูจน์หลักฐานด้วยตัวเองว่าเครื่องมือใหม่ตัวนี้ใช้ได้และทำได้เอง  บทบาทครูจึงเป็นผู้ทำ และผู้ถูกกระทำไปในตัว ซึ่งเริ่มเห็นว่าแนวทางดี  แต่กระบวนการที่ทำแต่ละโรงจะแตกต่างหลากหลายตามบริบท ก็จะพัฒนาครูขึ้นมาเรื่อยๆ 

 


“เทคนิค” การเลือกโรงเรียน สำหรับเทคนิคที่ใช้เลือกโรงเรียนเข้าสู่กระบวนการนั้นเรามอง ครูคือตัวแปรอันดับ 1  ส่วนอันดับ 2 คือระบบโครงสร้างการบริหารจัดการ  ในส่วนของครูจากที่ทำมา 1 - 2 ปี  พบว่าเราได้เพื่อนร่วมทางไม่กี่เปอร์เซ็นต์  จึงต้องทำซ้ำ  เพราะปัจจัยที่จะทำให้คนเปลี่ยนมีเหตุ ปัจจัยต่างกัน  จุด click ต่างกัน การพาทำต้องให้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ จึงจะปรับกระบวนการและนำวิธีการเหล่านี้ไปบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระ ได้  ครูบางคนสามารถให้เด็กทำโครงงานจากโครงการวิจัยได้เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น ที่โรงเรียนตะโละใส ครูเสนอโครงการทันตสุขภาพระดับประเทศที่เรานำกระบวนการนี้ไปใช้ คิดโดยครูที่รับผิดชอบโครงการ เป็นงานชิ้นแรกที่ทำเสร็จแล้วรายงาน ปีแรกได้รับรางวัลชนะเลิศ  ซึ่งตอนที่ได้รับรางวัลก็ยังไม่มั่นใจ  จึงทำซ้ำอีกปี ก็ได้รางวัลอีก   มีคนแซว่า ทำไมทำเหมือนเดิม แถมยังได้รางวัล 
 

ขณะนี้เราเห็นอยู่ว่าปัญหาคืออะไรและกำลังหาวิธีคุยกัน  เพราะครูยังเกร็งอยู่  ต้องเดินตามพี่ที่เลี้ยงแนะนำ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะฝังชิพในใจครูได้  ส่วนบางโรงก็เพิ่งเริ่ม กระบวนการยังไม่แน่น  จึงอยากให้ค่อยๆไป  แต่เมื่อฐานตรงนี้แน่นก็จะเริ่มคิดต่อไป เพราะเริ่มเห็นภาพชัดแล้ว ส่วนบทเรียนในการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จที่ต้องให้ความสำคัญคือ ต้องมีการถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน  เพราะผลผลิตของเด็กจะเห็นชัดเจน มีตัวชี้วัดชัดเจนว่า เด็กสามารถพัฒนาได้  มีที่ไปที่มา ครูก็ต้องมาเรียนบางเรื่องที่เด็กยังไม่รู้ และสนใจใคร่รู้หาเหตุหาผลว่าทำไม  ซึ่งบางทีอาจต่างจากแผนที่วางไว้  แต่จากการตั้งคำถามของเด็กบางคำถาม ครูก็ต้องหันกลับมาเคลียร์เรื่องที่เด็กสนใจก่อน   จุดคลิกของครูบางสถานการณ์พิสูจน์คนเก่งไม่ได้ บางทีเด็กที่เกเรคือเด็กที่แก้ปัญหาให้ครูได้   เช่น เด็กห้อง อ.หุดดีน ขาดเรียน 2 สัปดาห์  เพราะครอบครัวยากจน ไม่มีพ่อ เป็นเด็กหลังห้อง แต่เมื่อได้เรียนเรื่องป่าชายเลน  ได้ลงพื้นที่ เดินสำรวจในป่าชายเลน  เด็กคนนี้จะนำหน้าตลอด 
 

สำหรับกระบวนการทำงานที่วางไว้คือ ปีที่ 1 เติมความรู้งานวิจัยให้ชัด  ปีที่ 2  เป็นงานเกี่ยวกับโครงสร้างโรงเรียน การวัดประเมินผล   ผู้ปกครอง  ศึกษานิเทศ  เขตพื้นที่การศึกษา  ซึ่งเป็นระบบใหญ่ที่ติดขัด ครูไม่สามารถทำนอกกรอบได้   โดยเราต้องพยายามสร้าง “พลัง” และ “ความมั่นใจ” ให้เกิดขึ้นกับครู และบอกครูว่านี่คือเส้นทางที่ถูกต้อง เป็นการทำงานเพื่องาน  ทำงานเพื่อเด็ก   ช่วงจังหวะที่ไหนที่ทำงานยากๆ เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขาก็จะจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ใช้หลัก KM เข้ามาช่วย เพราะเชื่อว่าเรื่องยากๆ ในสังคมมีความสำเร็จอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องค้นหาคนที่สำเร็จให้เจอและกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จึงจะเพิ่มพูนความสำเร็จให้แน่นขึ้นได้  หากทำได้เช่นนี้จากคนหมู่น้อยก็จะเริ่มขยายออกไป  จับคนหมู่น้อยมาคุยกัน  ให้เขาเห็นและกลับไปทำต่อ